Yodoko Guest House, When Organic Architecture settle down in Kansai. | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

  รากฐานของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการรับเอาอิทธิพลภายนอก ในที่นี่คือรับอิทธิพลจากตะวันตก สถาปนิกญี่ปุ่นรับกลืนกินกลั่นเป็นตัวพวกเขาเองในที่สุดตั้งแต่เมื่อเริ่มเปิดประเทศเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 จวบจนเมื่อโลกเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมฝั่งตะวันตกได้ปรับตัวจากความนิยมแบบนีโอคลาสสิคสู่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือ modern architecture ที่มีลักษณะเรียบง่ายมากขึ้น เพื่อตอบสนองแนวคิดเรื่องสถาปัตยกรรมรับใช้การปฏิวัติอุตสาหกรรม

  ในศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมสมัยได้เฟื่องฟูจากฝั่งตะวันตกสู่ตะวันออกที่ญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน มีสถาปนิกชาวยุโรป อเมริกัน จำนวนมากเข้ามาทำงานออกแบบในญี่ปุ่น หนึ่งในนั้นคือสถาปนิกระดับตำนานของยุคสมัยใหม่ ‘แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์’ สถาปนิกไร้ปริญญานามอุโฆษของศตวรรษที่ 20 ที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับนักเรียนสถาปัตยกรรมว่าเขาคือตำนาน ไรต์นั้นเป็นสถาปนิกอเมริกันที่เดินทางมาญี่ปุ่นหลายครั้ง ด้วยเป็นนักสะสมงานศิลปะภาพพิมพ์ไม้ของญี่ปุ่นที่เรียกว่าอุคิโยะเอะ มีไรต์งานออกแบบหลายชิ้นที่ญี่ปุ่น โดยในช่วงแรกเขาได้มีงานออกแบบที่กรุงโตเกียวแล้วคือ โรงแรมอิมพีเรียล และโรงเรียนเมียวนิชิคัง แต่ต่อมาในช่วงปลายปี 1910 ไรต์ได้มีโอกาสสร้างงานนอกโตเกียว คือ Yodoko Guest House ตั้งอยู่ที่ภูมิภาคคันไซ ณ อิชิยะ จังหวัดเฮียวโงะ

  เริ่มต้นเมื่อ ทะซะเอะมง ยะมะมุระ ผู้เป็นเจ้าของโรงสุราสาเกที่ชื่อเสียง สะคุระมะสะมุเนะ ต้องการบ้านพักตากอากาศ ให้เป็นบ้านหลังที่ 2 ของเขา ในไซท์อยู่เชิงเขา ที่มองออกไปจะพบกับวิวมุมกว้างของอ่าวโกเบ บ้านนี้ได้เริ่มต้นออกแบบเมื่อปี 1918 สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 1924 นับจากวันที่ออกแบบ นับได้ว่างานดีไซน์นี้มีอายุ 100 กว่าปีแล้ว แต่เมื่อเข้ามาชม ยังมีดูดีมีเสน่ห์แม้จะผ่านมากว่าศตวรรษแล้วก็ตาม บ้านนี้ไรต์มี local architect 2 คน ที่ช่วยสานงานจนแล้วเสร็จ คือ อะระตะ เอ็นโดะ ศิษย์ของไรต์ที่ตามมาจากสำนักทาไลซิน และมะโคะโตะ มินะมิ
  แรกเริ่มเมื่อสร้างเสร็จ บ้านนี้ทำหน้าที่เป็นบ้านตากอากาศ จวบจนเมื่อปี 1989 จึงได้เปิดให้เข้าชมแบบสาธารณะ ตัวบ้านได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเนื้อหาคือการเข้าไปอยู่ในสเปซของไรต์ จึงได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ผมได้เข้ามาชมยังทุกส่วนของบ้านหลังนี้ ผมเริ่มต้นจากเดินออกจากสถานีรถไฟมาราว 10 นาที ก็พาตัวเองมาถึงหน้าประตูบ้าน มันถูกตั้งอยู่บนเนินชัน ส่วนแรกที่พบคือหน้าบ้านที่กรุด้วยหินลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ที่เป็นลายเซนของไรต์ จนเมื่อซื้อตั๋วจึงได้เริ่มเข้าไปสำรวจยังสเปซภายในที่มากด้วยรายละเอียด

  พื้นที่ส่วนแรกที่พบคือส่วนห้องรับแขกแบบตะวันตก ตัวห้องถูกประดับด้วยหินโอะยะแกะลวดลายแบบเดียวกันทั้งหลัง หน้าต่างถูกประดับด้วยช่องแผ่นทองแดง สเปซภายในงานของไรต์ที่สัมผัสได้จากงานบ้านที่เขาออกแบบคือเสกลที่มีความเฉพาะ ด้วยความเล็กเป็นพิเศษ ทั้งจากความสูงของสเปซภายในห้องที่มีความสูงไม่มาก ขนาดและความสูงของเฟอร์นิเจอร์ที่น้อยกว่าปรกติสำหรับงานออกแบบจากสถาปนิกตะวันตก อีกทั้งความสูงของวงกบบนที่แทบจะติดหัวเมื่อเดินผ่าน สเกลของสเปซแบบนี้ทำให้ผู้ที่ขนาดตัวเล็ก เมื่อเข้ามาใช้งานจะรู้สึกว่าตัวใหญ่ขึ้นได้ มันช่วยสร้างอัตตาให้โตขึ้น ซึ่งสัดส่วนของสปซแบบนี้พบได้ในงานบ้านที่ไรต์ออกแบบในหลังอื่น ๆ เช่นกัน แต่กลับไม่พบลักษณะนี้ในงานสถาปัตยกรรมสาธารณะ ทำให้การเข้ามามีประสบการณ์ในงานออกแบบบ้านของเขามีความพิเศษที่ไม่สามารถอธิบายได้จากภาพถ่าย แม้จะใช้ช่างภาพฝีมือฉกาจแค่ไหนก็ตาม

  เมื่อเคลื่อนตัวมายังชั้น 3 ส่วนที่พิเศษคือการปะทะกันของสเปซแบบญี่ปุ่น ในชั้นนี้มีห้องแบบญี่ปุ่นที่ปูด้วยเสื่อทะทะมิ มันช่วยให้ดูอบอุ่นขึ้น มีลักษณะการใช้งานที่ยืดหยุ่นแบบตะวันออก แต่หน้าต่างที่เปิดสูง มีม่านบางช่วยรักษาความสลัวเพียงเล็กน้อย ทำให้อารมณ์ของห้องแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเปลี่ยนอารมณ์ไป จนเมื่อถึงชั้น 4 ที่เป็นชั้นบนสุด เป็นห้องรับประทานอาหารพร้อมระเบียงกว้างที่สามารถมองเห็นเมืองโกเบไปถึงทะเลได้ในมุม 270 องศา จนเมื่อชมครบทุกส่วนใช้สอยแล้ว จะเห็นได้ว่าแกนหลักของบ้านคือแนวเหนือใต้ ซึ่งล้อไปกับภูมิประเทศ ทำให้สถาปัตยกรรมดูกลมกลืนไปกับที่ตั้ง มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ แบบ Organic Architecture ที่ไรต์ใช้เป็นหลักในการออกแบบของเขาเสมอ

  จวบจนชมภายในเสร็จ กลับมายังทางเข้าอีกครั้ง ได้พิจารณาอ่างน้ำหินที่มีรายละเอียดพิเศษ ซึ่งจะสามารถเห็นความพิเศษได้เมื่อฝนตกจนมีน้ำฝนไหลมาจากหลังคาสู่ท่อน้ำฝน น้ำในอ่างหินนี้จะเต็มแล้วล้นออกมาที่ร่องรินไปยังพื้นด้านล่าง ทำให้ความพิเศษของน้ำฝน ธรรมชาติ จะมาพบกันเมื่อเวลาฝนตกอย่างมากพอเท่านั้น
  ภายนอกบ้านเป็นผนังคอนกรีตเรียบ กรุด้วยหินโอยะ ซึ่งเกิดลาวาและเถ้า มีลักษณะเป็นรูพรุน สามารถแกะสลักได้ง่าย มันจึงเป็นวัสดุที่ถูกเลือกให้กรุจนเป็นจุดเด่นของงานนี้ การใส่รายละเอียดแบบนี้ ทำให้ตัวบ้านถูกทอนเสกลลงจนมีสัดส่วนที่ดูกันเองมากขึ้น ซึ่งรายละเอียดแบบนี้จะพบได้ในงานของไรต์ช่วงเดียวกันในบ้านอื่น ๆ ที่สหรัฐอเมริกาเช่น Storer House,Samuel Freeman House,Millard House และ Ennis House

  บ้านหลังนี้เป็นการปะทะกันของตะวันตก-ตะวันออก ใหม่-เก่า วัสดุสมัยใหม่-งานช่างฝีมือ ที่ควรประสบการณ์กับสถาปัตยกรรมที่รวมการก่อสร้างบ้านของไรต์ที่หาดูได้ในญี่ปุ่น หลังนี้หลังเดียวเท่านั้น

    TAG
  • architecture
  • house
  • interior
  • Guest House
  • Yodoko Guest House
  • modern architecture
  • japan

Yodoko Guest House, When Organic Architecture settle down in Kansai.

ARCHITECTURE/HOUSE
February 2020
CONTRIBUTORS
Xaroj Phrawong
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAMSeptember 2022
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada InthaphuntMay 2022
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMOctober 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada InthaphuntMay 2021
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada InthaphuntApril 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

    เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

    Nada InthaphuntMarch 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )