WEL-D BY SHADE WORKS DESIGN “ศาลา”อเนกประสงค์ร่วมสมัย สถานที่เชื่อมครอบครัวและธรรมชาติโดยมีสถาปัตยกรรมเป็นพื้นหลัง | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

WEL-D BY SHADE WORKS DESIGN
“ศาลา”อเนกประสงค์ร่วมสมัย สถานที่เชื่อมครอบครัวและธรรมชาติโดยมีสถาปัตยกรรมเป็นพื้นหลัง

Writer : Nada Inthaphunt
Photograph : Napat Pattrayanond

จากภายนอกอาคาร “ศาลา” เป็นอาคารชั้นเดียวเรียบง่ายสีเข้ม นิ่ง เป็นฉากหลังให้สีเขียวของสวนและไม่โดดเด่นจากบริบท

“Weld” การเชื่อมต่อคือการหลอมรวมวัสดุเป็นเนื้อเดียวกันของโลหะ หากเป็นวัตถุดิบต่างชนิด “การเชื่อม” จึงมีหัวใจสำคัญให้งานประสานความสัมพันธ์ของคน สถานที่ ธรรมชาติ และวัสดุเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยได้ คุณกฤตพงษ์ มาพูนธนะ จาก Shade Works Design เป็นผู้ออกแบบ และบริษัท Wabisabi Spirit เป็นผู้ออกแบบสวน

ศาลาอเนกประสงค์เชื่อมต่อ “ความสัมพันธ์” ของธรรมชาติและผู้พักอาศัยในพื้นที่รั้วบ้านขนาดใหญ่ เพื่อเป็นพื้นที่ส่วนกลางระหว่างบ้านสองหลังที่กำลังขยายเพิ่ม รองรับคนสามรุ่นในพื้นที่เดียวให้เป็นพื้นที่พักผ่อน ทำงานอดิเรก ไปจนรับแขก จัดประชุมเล็กๆ กับผู้บริหารบริษัท โดยตั้งอยู่บนสนามหญ้าริมมุมหนึ่งของสระน้ำ และระหว่างทางเดินรถเข้าบ้านหลังใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางเดิมของพื้นที่

สวนกับมุมมองที่หลากหลาย
“ศาลาที่มีการใช้งานแบบอเนกประสงค์ทั้งไม่มีโปรแกรมไม่มาก ควรมีความหลากหลายของธรรมชาติ ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงถึงการบริหารจัดการพื้นที่แคบให้ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย จากองค์ประกอบธรรมชาติทั้งแสง ลม สวน และน้ำ โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นพื้นหลัง” ผู้ออกแบบอธิบายแนวคิดหลักในการออกแบบ

“ศาลาที่มีการใช้งานแบบอเนกประสงค์ทั้งไม่มีโปรแกรมไม่มาก ควรมีความหลากหลายของธรรมชาติ ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงถึงการบริหารจัดการพื้นที่แคบให้ได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย จากองค์ประกอบธรรมชาติทั้งแสง ลม สวน และน้ำ โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นพื้นหลัง”

สวนญี่ปุ่นแต่ละกลุ่มรอบอาคารและที่ไหลเข้ามาสู่ภายใน ผู้เชี่ยวชาญการจัดสวนแบบญี่ปุ่น บริษัทออกแบบสวนวาบิซาบิ ซึ่งเป็นมีความคุ้นเคยกับเจ้าของบ้านเข้ามาอาคารซึ่งเกือบเสร็จสมบูรณ์ เสนอตัวเป็นคนออกแบบสวนให้ลงตัวกับพื้นที่

ผนังวงกลม หรือ Moon Gate องค์ประกอบในสถาปัตยกรรมที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีน ผู้ออกแบบได้หยิบยกมาใส่เป็นฉากหลังเพื่อให้อาคารเป็นส่วนหนึ่งของสวน

จากภายนอกอาคาร “ศาลา” เป็นอาคารชั้นเดียวเรียบง่ายสีเข้ม นิ่ง เป็นฉากหลังให้สีเขียวของสวนและไม่โดดเด่นจากบริบท มองจากด้านข้างไม่เห็นความหนาของหลังคา ในขณะที่ภายในองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นกรอบแบ่งช่วงแบ่งมุมให้แต่ละพื้นที่ได้เห็นและแชร์สวนธรรมชาติที่หลากหลายจากนอกบ้านถึงภายใน

ให้ความสำคัญกับพื้นที่และการมองเห็นในสวนอย่างลงตัว ซึ่งลงตัวกับแก่นวัฒนธรรมความชื่นชอบของเจ้าของบ้าน “เจ้าของบ้านมีความชื่นชอบประเทศญี่ปุ่น มีงานอดิเรกปลูกบอนไซและสะสมศิลปะวัตถุที่มีกลิ่นไอหรือมาจากที่นั่นจริงๆ ในขณะที่โจทย์ของงานต้องร่วมสมัย ไม่โจ่งแจ้ง สามารถนำสิ่งอื่นไปวางได้” ผู้ออกแบบอธิบายลักษณะเด่นที่เป็นโจทย์หนึ่งของงาน เน้นการออกแบบให้พื้นที่สามารถจำลองความงามของธรรมชาติแบบสวนญี่ปุ่นออกมาใช้เท่านั้น

ผู้ออกแบบได้เล่าเสริมว่า สวนญี่ปุ่นแต่ละกลุ่มรอบอาคารและที่ไหลเข้ามาสู่ภายใน เจ้าของบ้านจะเป็นคนลงมือทำเอง แต่ตอนออกแบบและสร้างอาคารไปจนเกือบสมบูรณ์ ได้มีผู้เชี่ยวชาญการจัดสวนแบบญี่ปุ่น บริษัทออกแบบสวนวาบิซาบิ ซึ่งเป็นมีความคุ้นเคยกับเจ้าของบ้านเข้ามาเห็นพื้นที่ จึงเสนอตัวเป็นคนออกแบบสวนให้ลงตัว เพิ่มความสุขให้เจ้าของอาคารไปด้วย

มุมภายนอกของอาคารแต่ละฝั่งซึ่งสามารถสังเกตุเห็นส่วนผนังในการแบ่งกั้นมุมมองกลุ่มพื้นที่แต่ละส่วน แกนทิศจากพื้นที่บ้านหลังใหม่ซึ่งมองเห็นบ้านหลังเก่าเป็นพื้นหลังของศาลา

แกนทิศจากพื้นที่บ้านหลังใหม่ซึ่งมองเห็นบ้านหลังเก่าเป็นพื้นหลังของศาลา

ประตูทางเข้าจากพื้นที่บ้านหลังเก่า เมื่อเปิดเข้าจะพบห้องเสื่อทาทามิต้อนรับ

(ซ้าย) แกนทิศจากสระน้ำฝั่งท่าน้ำซึ่งเห็นทางเข้าจากบ้านหลังเก่า
(ขวา) ส่วนหนึ่งของรูปด้านฝั่งหลังคาเว้ารับแสงธรรมชาติให้พื้นที่

Diagram แยกส่วนตัวอาคารและหลังคา แสดงแกนผนังหลักจากบ้านหลังเก่าและบ้านหลังใหม่ ตัดกับเส้นจากท่าน้ำริมสระและทางเดินรถ เห็นการจัดการพื้นที่แคบให้เกิดมุมมองที่หลากหลายอย่างคุ้มค่า

“ผนัง” และ “หลังคา” ทั้งอาคารเว้นช่องว่างระหว่างกัน โดยอาศัยองค์ประกอบของผนังกระจก (ช่องว่างผนังและฝ้าที่ไม่มีส่วนรับน้ำหนัก) ฝ้าระแนงไม้ และการออกแบบโครงสร้างเหล็กในการรับน้ำหนัก ให้สายตาเชื่อมต่อความต่อเนื่อง เส้นขอบ-มุม ของฝ้าแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกัน

เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ Wel-D เกิดจากแกนเส้น Circulation สองแกนหลักจากบ้านหลังเก่าและบ้านหลังใหม่ ตัดกับเส้นจากท่าน้ำริมสระและทางเดินรถ เกิดเป็นแกนเส้น “ผนัง” อาคารซึ่งจบที่ระดับความสูงเท่ากันทั้งหลัง และมีบทบาทแบ่งการใช้งานพื้นที่ออกเป็นก้อนๆ แทรกพื้นที่สวนให้ไหลเข้ามาในงาน สร้างมุมมองที่หลากหลาย เกิดช่องลมและช่องแสงเข้าสู่อาคารได้รอบด้าน

มีชายคาของ “หลังคา” และ “ฝ้า” ที่มีสโลปขนานกันปกคลุมเต็มอาคารเสมือนเป็นก้อนวัตถุผืนเดียวขนาดใหญ่ ช่วยลดทอนและกระจายแสงเข้าพื้นที่ภายในได้อย่างพอเหมาะ โดยมี “Sky Light” เป็นช่องกระจายแสงธรรมชาติซึ่งอยู่บริเวณระดับความสูงที่สุดของหลังคาและฝ้า ทำหน้าที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับท้องฟ้าภายนอก

โถงทางเดิน แกนผนังเชื่อมระหว่างบ้านหลังเก่าและหลังใหม่

(ซ้าย) ชายคาของ “หลังคา” และ “ฝ้า” ที่มีสโลปขนานกันปกคลุมเต็มอาคารเสมือนเป็นก้อนวัตถุผืนเดียวขนาดใหญ่ ช่วยลดทอนและกระจายแสงเข้าพื้นที่ภายใน
(ขวา) เมื่อมองจากพื้นที่ใช้งานซึ่งอยู่ในจุดที่มืดกว่าจะให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลายกว่าแสงธรรมชาติ

“Sky Light” เป็นช่องกระจายแสงธรรมชาติซึ่งอยู่บริเวณระดับความสูงที่สุดของหลังคาและฝ้า ช่องแสงที่เป็นจุดรวมสายตาของอาคาร นอกจากทำหน้าที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับท้องฟ้าภายนอกแล้ว Skylight ถูกออกแบบให้ลดความร้อนของแสงอาทิตย์จากทิศเหนือ ช่วยกระจายแสงให้พอเหมาะต่อการใช้งาน ฝ้าสีอ่อนช่วยกระจายแสงไปส่วนอื่นของอาคารได้อย่างดี

ผู้ออกแบบตั้งใจให้พื้นที่มีความยืดหยุ่นกับการใช้งาน หน้าต่างและประตูทุกบานถูกออกแบบให้สามารถเปิดโล่งได้เต็มที่ เป็นความตั้งใจให้ผู้ใช้งานสามารถใช้พื้นที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ทั้งผนังกระจกแบ่งพื้นที่การใช้งานเหนือผนังทึบ สามารถเปิดระบายอากาศถ่ายเทได้ในบางจุด

ผู้ออกแบบจงใจออกแบบให้ “ผนัง” และ “หลังคา” ทั้งอาคารเว้นช่องว่างระหว่างกัน โดยอาศัยองค์ประกอบของผนังกระจก ฝ้าระแนงไม้ และการออกแบบโครงสร้างเหล็กในการรับน้ำหนัก ให้สายตาเชื่อมต่อความต่อเนื่อง เส้นขอบ-มุม ของฝ้าแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกัน ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งย้อนแย้งกับรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูแบนและทึบ สร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายให้ผู้ใช้งาน

“โจทย์ที่ได้รับมามีความเชื่อมประสานมีความลึกซึ้งมากกว่าแค่คำว่าต่อติด จึงเป็นที่มาของชื่อเชื่อม Weld แบบเชื่อมเหล็ก เพราะความตั้งใจให้พื้นที่เชื่อมต่อกับธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือครอบครัว ถ้าศาลากลายเป็นสถานที่ที่ทำให้ครอบครัวของบ้าน 2 หลัง อยู่ร่วมกัน ภารกิจการเชื่อมความสัมพันธ์ในครั้งนี้ก็ประสบความสำเร็จไปด้วย”

(ซ้าย) ห้องเสื่อทาทามิ ห้องอเนกประสงค์ที่ใช้รองรับทำกิจกรรมได้หลากหลาย รับลมและวิวที่เชื่อมอยู่ระหว่างสวนและสระน้ำของบ้าน
(ขวา) “เจ้าของบ้านมีความชื่นชอบประเทศญี่ปุ่น มีงานอดิเรกปลูกบอนไซและสะสมศิลปะวัตถุที่มีกลิ่นไอหรือมาจากที่นั่นจริงๆ ในขณะที่โจทย์ของงานต้องร่วมสมัย ไม่โจ่งแจ้ง สามารถนำสิ่งอื่นไปวางได้”

ห้องประชุมและห้องนั่งเล่น ชื่นชมสวนญี่ปุ่นจำลองความงามตามธรรมชาติ เห็นการไล่แสงที่ล้วนสร้างซีนเปลี่ยนไปตามบริบทของสภาพแวดล้อมด้วยตัวเอง

(ซ้าย) ผังอาคารที่เห็นแกนผนัง ทางเดินเป็นกลุ่มก้อน มีสวนธรรมชาติไหล่เข้ามาสอดแทรก
(ขวา) ผังหลังคาและส่วนของชายคายื่นออกที่มีส่วนคว้าน และช่องแสงเพื่อให้แสงธรรมชาติถูกกระจายเข้าถึง

Project : Wel-D
Architect : Kittapong Maphunthana, SHADE WORKS DESIGN
Landscape Architect : Wabisabi Spirit
Structural Engineer : twconstruction
Contractor : Virakon Kongmun, งานมหาศาล คอนสตรัคชั่น จำกัด
Wood Plastic Composite : People (Thailand) Co,.ltd

Area : 350 sq.m.
Project Loacation : Bangkok, Thailand
Project Complete Year : 2021

Original caption provided by Architect
Photographer: Napat Pattrayanond
    TAG
  • WEL-D
  • SHADE WORKS DESIGN
  • Pavilion
  • design
  • architecture

WEL-D BY SHADE WORKS DESIGN “ศาลา”อเนกประสงค์ร่วมสมัย สถานที่เชื่อมครอบครัวและธรรมชาติโดยมีสถาปัตยกรรมเป็นพื้นหลัง

ARCHITECTURE/Pavilion
3 years ago
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt, Napat Pattrayanond
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/RESORT

    “Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่

    ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่

    EVERYTHING TEAMa year ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )