VILLA LAMPHAYA BY POAR บ้านพักตากอากาศเนื้อเดียวกับโครงสร้างและอากาศแวดล้อม | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

VILLA LAMPHAYA BY POAR

วิลล่าลำพญา (Villa Lamphaya) บ้านพักตากอากาศใต้ถุนสูงของครอบครัวคุณดิว - ดุลยพล ศรีจันทร์ ดีไซเนอร์และผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ PDM ที่เคยให้สัมภาษณ์ถึงความชื่นชอบของครอบครัวกับแม่น้ำ จนเป็นที่มาของการเลือกที่ตั้งบ้านบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนใกล้ตลาดน้ำลำพญา ซึ่งใช้ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ เพียงประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อพบกับความรู้สึกสงบที่แตกต่างจากในเมือง เหมาะเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของครอบครัวและเพื่อน ๆ

Writer : Nada Inthaphunt Photograph : Light Is, POAR, Window Photo Studio

   ลักษณะบริบทของที่ดินผืนนี้ตั้งอยู่ด้านในของหมู่บ้านซึ่งมีแปลงที่ดินเพียง 5 แปลง ทิศใต้ของบ้านเป็นบ่อเลี้ยงปลา ทิศเหนือเป็นแปลงที่ดินอื่น ๆ ทิศตะวันตกเป็นแม่น้ำ “โดยรอบเป็นที่โล่ง เวิ้งว้าง จึงมีลมแรงควบคู่ไปด้วย ตัวที่ดินอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนซึ่งมีลักษณะน้ำที่ไหลบริเวณนั้นค่อนข้างเร็ว และตั้งอยู่บนพื้นที่รับน้ำไม่ให้เข้ากรุงเทพฯ” คุณโจ้ - พัชระ วงศ์บุญสิน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง POAR ( Patchara+Ornnicha Architects ) อธิบายองค์ประกอบหลักที่ค้นพบเมื่อได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่

   บริบทคือจุดเริ่มต้นหลักของการเลือกใช้วัสดุที่ตอบโจทย์ และถูกใช้ในการจัดองค์ประกอบของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดึงศักยภาพของบรรยากาศให้ผู้ใช้งานสัมผัสถึงความแตกต่าง เพิ่มโอกาสการสร้างจุดเปลี่ยนในเชิงพฤติกรรมการใช้งานของคนบนพื้นที่ที่ถูกลดทอนจนไม่สามารถตัดองค์ประกอบอะไรออกได้อีก

แก่นเนื้อเดียวกัน
   “เจ้าของโครงการ อยากให้วัสดุหลักของบ้านใช้สัจจะวัสดุ อาจเป็นไม้ หิน หรือคอนกรีต ซึ่งวัสดุตอบโจทย์การใช้งานกับพื้นที่ที่มีโอกาสรับน้ำท่วมที่สุดจึงเป็นคอนกรีตที่ทนน้ำขังตั้งแต่ฐานราก มีอัตราการซึมน้ำต่ำแบบคอนกรีตมารีน (Marine Concrete)” ผู้ออกแบบอธิบายถึงโจทย์การเลือกใช้วัสดุซึ่งเป็นวัสดุหลักที่ทำงานมาอย่างคุ้นเคยกับธรรมชาติของมัน

   เมื่อคอนกรีตมารีนขัดมันสามารถกลายเป็นทั้งวัสดุแสดงผิวจริงบนเนื้องานสถาปัตยกรรม และเป็นได้ทั้งโครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ตั้งแต่ฐานราก ใช้พื้น ผนัง และหลังคา แบบอัดแรงกำลังสูง (Post-tension) เพื่อลบภาพจำการใช้งานคอนกรีตแบบทั่วไป ลดความหนาของโครงสร้าง ไร้คาน ไร้รอยต่อเชื่อมระหว่างวัสดุ โดยที่งานระบบไฟทั้งหมดถูกฝังเป็นเนื้อเดียวกับตัวอาคาร เสมือนก้อนคอนกรีตที่ถูกลดทอนความรู้สึกทึบตันให้โปร่งบางเบาสะอาดตาขึ้น

การจัดวางบนความเวิ้งว้าง
   การสร้างบ้านบนพื้นที่โล่งลุ่มน้ำอาจกลายเป็นการสร้างความรู้สึกเวิ้งว้าง แปลกแยกแก่ผู้เข้ามาใช้งานและตัวพื้นที่ ผู้ออกแบบจัดสรรพื้นที่ด้วยการยกพื้นระดับคานคอดินชั้นล่างให้สูงขึ้น ถมดินให้ลาดลงไปยังแม่น้ำ เพิ่มพื้นที่การมองเห็นโดยใช้สถาปัตยกรรมของอาคารเป็นกรอบการมองแม่น้ำตั้งแต่จังหวะแรกที่เข้าถึงอาคาร

   “ในช่วงน้ำหลาก ที่ระดับน้ำจะสูงขึ้นในหลายระดับ วิลล่าลำพญาซึ่งมีรูปแบบอยู่ร่วมกับบริบทพร้อมรับน้ำแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ได้ใช้ประโยชน์จากความเวิ้งว้างเสมือนลอยอยู่บนผืนน้ำโดยสามารถมีฟังก์ชั่นการใช้งาน” ผู้ออกแบบได้เคยเขียนอธิบายถึงการอยู่ร่วมกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศ

   บ้านใต้ถุนสูงถูกวางผังเป็นตัว L มีโปรแกรมการใช้งานหลักถูกวางไว้บนชั้น 2 ของบ้าน ประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง มีห้องนั่งเล่นเชื่อมกับพื้นที่ระเบียงยาวขนาดใหญ่ซึ่งวางตัวขนานทิศตะวันตก โดยเพดานที่สูงโปร่ง 3.5 เมตร และการวางด้านยาวของบ้านให้ขนานกับทิศใต้ สามารถรับลมไหลเวียนภายใน (Cross Ventilation) ได้ตลอดแนวทุกพื้นที่ถึงกัน และมองเห็นพระอาทิตย์ตกแม่น้ำได้ทุกวัน

   การออกแบบให้สถาปัตยกรรม สถานที่ และคนเป็นส่วนหนึ่งของกันแต่ละช่วงเวลา เป็นวิธีหนึ่งในการออกแบบการปิดช่องว่างความเวิ้งว้างของ POAR ให้แต่ละองค์ประกอบได้ทำงานสัมพันธ์กัน “วิลล่าลำพญาจะไม่เหมือนบ้านหรืออาคารทั่วไป เรียกได้ว่าไม่มีพื้นที่ส่วนไหนที่ตัดขาดพื้นที่ภายในและภายนอกออกจากกันเลย ถึงแม้ช่วงเวลาที่ไม่มีคนอยู่ก็ตามครับ สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ นอกจากคนใช้บ้านตากอากาศแล้ว ตัวบ้านเองก็ตากอากาศไปด้วยเช่นกัน เสมือนตัวบ้านได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับอากาศและสภาพแวดล้อมในที่สุด”

POAR (Patchara + Ornnicha Architects)
Facebook: @poar.company
www.poar.co [email protected]

Project: Villa Lamphaya
Architect: POAR
Interior Architect: POAR x PDM
Lead Architect: Ornnicha Duriyaprapan
Design Team: Patchara Wongboonsin, Moke Kaengin
Structural Engineer: Basic Design co.,ltd., Wbalance co., ltd.
Lighting Design: Light Is co.,ltd.
Landscape Architect: POAR
Contractor: บริษัท กีรติฐาปนา จำกัด
Project Loacation: Nakhon Pathom, Thailand
Project Complete Year: 2022
Photograph: POAR, Light Is, Window Photo Studio
    TAG
  • VILLA LAMPHAYA
  • POAR
  • design
  • architecture
  • Residence

VILLA LAMPHAYA BY POAR บ้านพักตากอากาศเนื้อเดียวกับโครงสร้างและอากาศแวดล้อม

ARCHITECTURE/RESIDENCE
2 years ago
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • DESIGN/RESIDENCE

    HIGH BRICK HOUSE BY STUDIOMITI บ้านอิฐทรงสูงเชื่อมพื้นที่ของคู่รักนักบิน

    ณ ด้านหน้าบ้านก่ออิฐสูงสี่ชั้นของย่านพักอาศัย วังหิน เขตลาดพร้าว ได้กลายเป็นสถานที่แปลกตายอดนิยมของผู้คน อาจด้วยความสูงที่โดดเด่นกว่าบ้านในบริเวณเดียวกัน หรือรูปทรงและวัสดุย้อนแย้งกับความรู้สึกปกติที่คนภายนอกอาจมองว่าสวยสะดุดตา แต่มีความพิเศษเฉพาะตัวกับเจ้าของบ้าน

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/RESIDENCE

    ANN HOUSE BY SUBPER ความเรียบง่ายที่ปิดภายนอกเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ออกมาจากภายใน

    Ann House ออกแบบโดยบริษัทออกแบบ Subper จากแนวคิดสะท้อนลักษณะบุคลิกที่เรียบง่ายแต่มีความสนุกของเจ้าของบ้านออกมาผสมกับพื้นที่การใช้งานของบ้านธรรมดาหลังหนึ่งให้ใช้สอยได้อย่างคุ้มค่า

    Nada InthaphuntJanuary 2022
  • DESIGN/RESIDENCE

    ARTISAN HOUSE BY MOCO แคนวาสผนังอิฐของบ้านผู้หลงใหลในงานศิลปะ

    แม้จะเป็นโครงการต่อเติม แต่เจ้าของบ้านได้ให้อิสระกับผู้ออกแบบโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดเรื่องภาษา และรูปลักษณ์ของบ้านเดิมซึ่งมีคอร์ทกลางบ้าน ผู้ออกแบบจึงวิเคราะห์ความชื่นชอบของเจ้าของบ้านออกมาทั้งเรื่องวัสดุอิฐ เรื่องความชื่นชอบสะสมผลงานออกแบบ และศิลปะหลายประเภทรวมถึงเฟอร์นิเจอร์ หลายคอลเลคชั่นออกมาเป็นแนวคิดในการออกแบบบ้าน

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/RESIDENCE

    บ้านรีโนเวทของ “ช่อง” เรขาคณิตเชื่อมความสัมพันธ์และพื้นที่ของคน 3 รุ่น

    “บ้าน-ช่อง มีที่มาจาก Concept การใช้ช่องแทนทุกอย่างในบ้านซึ่งแยกออกด้วยการมองเห็น ช่องเปิด ช่องแสง ช่องลม และใช้องค์ประกอบหลักเหล่านี้แยกอยู่ตามพื้นที่ของบ้าน” STUDIONOMAD ผู้ออกแบบได้กล่าวอธิบายถึงความที่มาของชื่อบ้าน

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM2 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM2 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )