ปริศนาเล็กๆ ในผลงานของแวน โก๊ะห์ ณ Van Gogh Museum | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

  ในพิพิธภัณฑ์ชั้นนําระดับโลกอย่างพิพิธภัณฑ์แวน โก๊ะห์ (Van Gogh Museum) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากจะมีผลงานชิ้นเยี่ยมของ วินเซนต์ แวน โกะห์ (Vincent van Gogh) จิตรกรชาวดัตช์แห่งยุคโพสต์-อิมเพรสชั่นนิสม์ ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของวงการศิลปะสมัยใหม่ในโลกตะวันตก ในช่วงนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีนิทรรศการพิเศษ Van Gogh in Auvers. His Final Months ที่จัดแสดงผลงานในช่วงที่ แวน โก๊ะห์ ทําขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิตในเมืองโอแวร์ซูว์รวซ (Auvers-sur- Oise) ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์แวน โก๊ะห์ จัดขึ้นร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ออร์แซ (Musée d’Orsay) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เราจึงมีโอกาสได้เห็นผลงานหลายชิ้นของ แวน โก๊ะห์ ที่หยิบยืมมาจัดแสดงจากพิพิธภัณฑ์ออร์แซ และพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งทั่วยุโรป

The Church at Auvers (1890)
Portrait of Dr. Gachet (1890)

  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานชิ้นเด่นอย่าง The Church at Auvers (1890) และ Portrait of Dr. Gachet (1890) ร่วมกับผลงานชิ้นเด่นที่อยู่ในความสะสมของพิพิธภัณฑ์แวน โก๊ะห์ อย่างเช่นผลงานที่เชื่อกันว่า เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายในชีวิตของแวน โก๊ะห์ อย่าง Wheatfield with Crows (1890) หรือผลงานอีกชิ้นที่เชื่อกันว่าเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่แท้จริง อย่าง Tree Roots (1890) และผลงานชิ้นเด่นชิ้นอื่น ๆ ของแวน โก๊ะห์ ที่ยกขบวนมาจัดแสดงให้ชมกันอย่างจุใจ

  นอกจากผลงานชิ้นเยี่ยมของ แวน โก๊ะห์ และศิลปินในยุคร่วมสมัยกับเขา ที่จัดแสดงให้มิตรรักแฟน ศิลปะได้ชมกันอย่างตื่นตาตื่นใจแล้ว ภายในพื้นที่แสดงงานในพิพิธภัณฑ์แวน โก๊ะห์ ยังแอบซ่อนลูกเล่น เป็นปริศนาน่ารัก ๆ เอาไว้ ในรูปของสติ๊กเกอร์รูปกระต่ายตัวเล็ก ๆ ที่ติดบนผนังตรงมุมล่างใต้ภาพวาดที่ ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพวาดชิ้นสําคัญ ๆ ของ แวน โก๊ะห์ หลายภาพ
  ด้วยความสงสัย เราจึงเดินไปถามเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จนได้ความว่า เหตุผลที่ติดสติ๊กเกอร์รูปกระต่ายเล็ก ๆ เหล่านี้บนผนังใต้ภาพวาด ก็เพราะพวกเขาอยากให้การชมงานในพิพิธภัณฑ์เป็นอะไรที่ไม่น่าเบื่อสําหรับเด็ก ๆ พวกเขาจึงสร้างเกมล่าสมบัติเล็ก ๆ สําหรับเด็ก ๆ ด้วยการแอบใส่ปริศนาลับเป็นรูปกระต่ายตัวน้อย ให้เด็ก ๆ คอยสังเกตและเดินค้นหาสมบัติที่ว่านี้กันอย่างสนุกสนาน กลายเป็นว่าปริศนาเล็ก ๆ อันนี้ก็โดนใจผู้ใหญ่อย่างเราไปด้วยเหมือนกัน

  นอกจากปริศนาสติ๊กเกอร์กระต่ายแล้ว เรายังค้นพบปริศนาเล็ก ๆ ที่แอบซ่อนอยู่บนผลงานอีกชิ้นของ แวน โก๊ะห์ ในพิพิภัณฑ์แห่งนี้ นั่นก็คือผลงาน L’homme à la pipe (Man with a pipe) (1890) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะกัดกรด (Etching) ชิ้นแรกและชิ้นเดียวที่ แวน โก๊ะห์ เคยทําขึ้นในชีวิตของเขา ณ สตูดิโอในสวนหลังบ้านของ ดร.ปอล กาเชต์ (Dr. Paul Gachet) นายแพทย์ผู้เป็นเพื่อนสนิทที่ดูแลแวน โก๊ะห์ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของชีวิต โดยเป็นภาพวาดของ ดร. กาเชต์ กําลังสูบไปป์ด้วยสีหน้าหม่นหมอง ท่ามกลางบรรยากาศอึมครึมรอบข้าง แวน โก๊ะห์ ทําแม่พิมพ์ของผลงานภาพพิมพ์ชิ้นนี้ทิ้งเอาไว้ก่อนที่จะพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ โดยเพียงแค่ทําการพิมพ์ทดสอบแม่พิมพ์เท่านั้น เหตุเพราะเขาเสียชีวิตในอีกราวหนึ่งเดือนให้หลัง หลังจากที่แวน โก๊ะห์เสียชีวิต ดร.กาเชต์ ก็เอาแม่พิมพ์นี้มาพิมพ์จนเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ดังที่เห็น

Man with a pipe (1890) with Cat Stamp

  ในขณะที่ชมผลงาน เราเหลือบไปเห็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ขนาดเล็กจิ๋ว อยู่บนมุมด้านล่างของภาพ (ซึ่งปรากฏเฉพาะภาพพิม์ฉบับสมบูรณ์เท่านั้น ไม่มีสัญลักษณ์นี้บนผลงานพิมพ์ทดสอบแต่อย่างใด) ด้วย ความสงสัยว่าจะเป็นลูกเล่นอีกอย่างของพิพิธภัณฑ์หรือเปล่า? เราจึงสอบถามเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ว่า สัญลักษณ์นี้คืออะไร? เป็นสัญลักษณ์รูปกระต่ายแบบเดียวกับที่ติดอยู่บนผนังไหม? ปรากฏว่าไม่มีใครรู้ ว่าเจ้าสัญลักษณ์ที่ว่านี้คืออะไร รู้แค่ว่าไม่ใช่รูปกระต่าย และไม่ใช่ลูกเล่นหรือฝีมือของทางพิพิธภัณฑ์แน่ ๆ
  ด้วยความสงสัยใคร่รู้ โอตาคุศิลปะอย่างเราจึงกลับมาค้นคว้าข้อมูลอยู่นาน จนในที่สุด ปริศนาทั้งหมดก็ไขกระจ่างแล้ว! ว่าเจ้าสัตว์ปริศนาบนภาพพิมพ์ชิ้นนี้คืออะไรกันแน่!
  เฉลยให้ก็ได้ว่ามันคือภาพของ “แมว” นั่นเอง เพราะทุกครั้งที่ ดร. กาเชต์ หรือลูกชายของเขา ปอล กาเชต์ จูเนียร์ (Paul Gachet Jr.) ทําการพิมพ์ผลงานภาพพิมพ์ของพวกเขาสําเร็จเสร็จสิ้น พวกเขาจะทําการประทับตรารูปศีรษะของแมว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจําตัวของพวกเขาเอาไว้ตรงมุมด้านล่างของผลงานทุกครั้ง ซึ่งสัญลักษณ์รูปแมวที่ว่านี้สะท้อนถึงความเป็นทาสแมวของครอบครัวกาเชต์นั่นเอง โดยครอบครัวกาเชต์เลี้ยงแมวเอาไว้ในบ้านเกือบสิบตัวเลยทีเดียว นอกจากแมวแล้ว ครอบครัวกาเชต์ยังเลี้ยงสัตว์เอาไว้จํานวนมาก ทั้งสุนัข, กระต่าย, แม่ไก่, เป็ด, นกพิราบ และอื่น ๆ อีกมากมาย ครั้งแรกที่ แวน โก๊ะห์ และ ธีโอ น้องชายกับภรรยาและลูกได้เข้าไปเยี่ยมเยือนบ้านของ ดร. กาเชต์ และได้พบเห็นบรรดาสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ พวกเขารู้สึกราวกับกําลังเดินเข้าไปในสวนสัตว์เลยทีเดียว
  ในภายหลังลูกชายของ ดร. กาเชต์ ผู้ช่วยพิมพ์ผลงานภาพพิมพ์ชุดนี้ บริจาคผลงานภาพพิมพ์เหล่านี้ให้พิพิธภัณฑ์หลายแห่ง รวมถึงพิพิธภัณฑ์ออร์แซ ที่ให้หยิบยืมผลงานชินนี้มาจัดแสดงในครั้งนี้ จนกลายเป็นปริศนาให้เราได้ค้นหาคําตอบกันนั่นเอง

Sunflowers (1888)
Vase with Irises Against a Yellow Background (1889)
Van Gogh Museum
นิทรรศการ Van Gogh in Auvers. His Final Months จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์แวน โก๊ะห์ (Van Gogh Museum) อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 3 กันยายน 2023 ใครมีโอกาสไปเที่ยวอัมสเตอร์ดัมในช่วงเวลานี้ก็แวะไปชมกันได้ตามอัธยาศัย
ขอขอบคุณกองทุนศิลปะชวลิต เสริมปรุงสุข สนับสนุนการเดินทาง #84chavalitfestival
ข้อมูล
https://www.theartnewspaper.com/2020/02/24/british-museum-shows-its-only-van-gogh- portrait-for-the-first-time
https://www.clevelandart.org/sites/default/files/documents/exhibition-catalogue/ 5_DrGachetEtching.pdf
    TAG
  • design
  • exhibition
  • art
  • Van Gogh Museum
  • Van Gogh
  • MUSEUM
  • Vincent van Gogh

ปริศนาเล็กๆ ในผลงานของแวน โก๊ะห์ ณ Van Gogh Museum

ART AND EXHIBITION/EXHIBITION
2 years ago
CONTRIBUTORS
Panu Boonpipattanapong
RECOMMEND
  • DESIGN/EXHIBITION

    The Grandmaster : After Tang Chang บทสนทนากับ จ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินระดับปรมาจารย์แห่งศิลปะสมัยใหม่ไทย โดย วิชิต นงนวล

    เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้

    Panu BoonpipattanapongJanuary 2025
  • DESIGN/EXHIBITION

    Monte Cy-Press ศิลปะจากกองดินที่สะท้อนน้ําหนักของภัยพิบัติ โดย อุบัติสัตย์

    “ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...

    Panu Boonpipattanapong2 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Kader Attia กับศิลปะแห่งการเยียวยาซ่อมแซมที่ทิ้งร่องรอยบาดแผลแห่งการมีชีวิต ในนิทรรศการ Urgency of Existence

    หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา

    Panu Boonpipattanapong2 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Roma Talismano ชำแหละมายาคติแห่งชาติมหาอำนาจด้วยผลงานศิลปะสุดแซบตลาดแตก ของ Guerreiro do Divino Amor

    ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ

    EVERYTHING TEAM3 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Apichatpong Weerasethakul : Lights and Shadows นิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ใน Centre Pompidou ของศิลปินผู้สร้างแสงสว่างในความมืด อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

    เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ

    Panu Boonpipattanapong4 months ago
  • DESIGN/EXHIBITION

    Out of Frame การล่องแพในแม่น้ำเพื่อสำรวจหาเส้นทางใหม่ๆ แห่งการทำงานจิตรกรรมของ Lee Joon-hyung

    เมื่อพูดถึงเกาหลีใต้ หลายคนอาจจะนึกถึง เคป็อป หรือซีรีส์เกาหลี แต่ในความเป็นจริง เกาหลีใต้ไม่ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเพียงแค่นั้น หากแต่ เคอาร์ต หรือวงการศิลปะเกาหลีก็มีอะไรที่โดดเด่นน่าสนใจเหมือนกัน ดังเช่นที่เรามีโอกาสได้ไปชมนิทรรศการศิลปะที่น่าสนใจของศิลปินเกาหลีใต้ ที่บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาจัดแสดงในบ้านเรา

    Panu Boonpipattanapong6 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )