UNDERNEATH THE URBAN FACADE | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

UNDERNEATH THE URBAN FAÇADE
ชวนมานอนให้เคลิ้มกับอีกมุมหนึ่งของความเป็นเมือง ที่ KLOEM Hostel ซึ่งผ่านการออกแบบโดยบริษัท Integrated Field (IF) โฮสเทลหน้าตาเป็นมิตร พร้อมเปิดบริการรับแขกให้แฝงตัวลึกจนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
KLOEM Hostel โฮสเทลสีดำที่ทำตัวกลมกลืนไปกับชุมชน ตั้งอยู่ในส่วนลึกของซอยกิ่งเพชร
ณ บ้านไม้ 2 หลัง ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นโฮสเทลอยู่ใจกลางเมือง ซึ่งเข้าไปในย่านพักอาศัยของซอยกิ่งเพชร หรือ เพชรบุรีซอย 5 บริเวณเขตพญาไท คงจะลึกพอที่จะทำความรู้จักความเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเมืองชุมชนจะถูกโอบล้อมด้วยความเป็นเมืองและความเจริญเติบโตเชิงพาณิชย์
“บริบทของชุมชนที่พักอาศัยใจกลางเมืองกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปของย่านพญาไท เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างเมืองทำให้บริเวณนี้มีความน่าสนใจมากๆ …” จุดเด่นแรกที่ทางทีมสถาปนิกยกขึ้นมาเพื่อเล่าถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่โครงการ
ภาพชีวิตประจำวันของการต่อบทสนทนาพูดคุยเชิงตะโกนของพ่อค้าแม่ค้ากับลูกค้าเจ้าประจำ บนพื้นที่ที่มีความจอแจในตรอกซอยเนื่องจาก รถยนต์ มอเตอร์ไซต์ และคนเดินเท้าต้องใช้ทางสัญจรเดียวกัน โดยมีอาคารบ้านเรือน ร้านค้า หอพัก ล้อมบรรยากาศไว้โดยรอบ ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ถูกซ่อนตัวอยู่ภายใต้หน้ากากเมืองที่ความเจริญกำลังขยับเข้ามาเรื่อย ๆ ที่นี่ความสนิทสนมถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันแบบพื้นเดิมของความเป็นกรุงเทพฯ เมื่อเกือบสามสิบปีก่อนยังคงเหลือร่องรอย และกำลังรอคนนอกเข้ามาสัมผัสถึงตัวตนเหล่านี้อย่างประนีประนอม
เพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิตของชุมชนแบบคนกรุงเทพฯ แท้ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัส ดังนั้นทีมสถาปนิกจาก Integrated Field จึงดึงจุดเด่นของพื้นที่ภายในบ้าน และบริบทความเป็นกันเองของชุมชนโดยรอบออกมา ให้เกิดขึ้นใน “KLOEM Hostel” ผ่านการบูรณะอาคารบ้านไม้ 2 หลัง ที่เน้นการออกแบบ เลือกใช้วัสดุ รวมทั้งตกแต่งให้คงกลิ่นอายจากสิ่งที่มีอยู่ ปรับผังการใช้งานใหม่ให้เข้ากับโปรแกรมของอาคารที่เปลี่ยนไป โดยฝังส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นของใหม่เชื่อมบ้านทั้งคู่เข้าด้วยกัน ให้เสมือนได้พักผ่อนอยู่ในอดีตที่มีการใช้งานจริงในปัจจุบัน
ส่วนของโครงสร้างเหล็กใหม่ที่แทรกตัวระหว่างบ้านไม้เก่า 2 หลัง เป็นโถงรับแขก และรองรับการเอกเขนกของผู้มาเยือน
เมื่อแบ่งอาคารที่ประกอบไปด้วยของเดิมและของใหม่ โครงสร้างเหล็กที่ถูกสร้างเติมขึ้นจึงถูกออกแบบให้เป็น Double Spaces โปร่งโล่งของโถงกระจกเหมาะที่ใช้รับแขก และส่วนกลางของโฮสเทล ซึ่งมองออกไปเห็นชานบ้านกับความเขียวของคอร์ทหญ้า และต้นไม้ภายในที่ตัดสีดำของโครงการ สร้างบรรยากาศความสงบ ผ่อนคลายสำหรับการเอกเขนกที่สามารถทำได้หลายรูปแบบ
ในส่วนบ้านไม้เดิมจึงวางไว้เป็นห้องน้ำรวมในชั้น 1 และชั้น 2 วางส่วนห้องพักไว้อำนวยตามประเภทผู้เข้าพักสะดวกใจ ซึ่งในห้องพักแบบรวมนั้นทาง IF ได้ใส่ใจถึงการออกแบบเตียงที่วางการใช้สอยให้กระชับเข้ากับพื้นที่ และให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เข้าพักได้อย่างลงตัว
บ้านไม้เก่า 2 หลัง ที่ปรับเป็นห้องน้ำกลางในชั้น 1 และเป็นห้องพักบนชั้น 2
แม้ว่าในอนาคตชุมชนแห่งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทางบริษัท Integrated Field สะท้อนแนวคิดไว้ใน KLOEM Hostel นี้ คือการเป็นผู้มาใหม่ที่ให้เกียรติสิ่งผู้มาก่อนโดยใช้การผสมผสานทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน โดยที่ไม่ทำให้เพื่อนบ้านปิดประตูใส่หน้า วิถีชีวิตของชุมชนอาจทำให้ผู้มาเยือนไม่ถึงกับเรียกได้ว่าดำเนินชีวิตช้าลง แต่ก็สามารถทำให้เคลิบเคลิ้มหรือดื่มด่ำในสิ่งที่หาได้ยากภายใต้หน้ากากใจกลางเมืองนี้เอง
Project : KLOEM Hostel (เคลิ้ม โฮสเทล)
Owner : Vannakarn Kijkunasatien
Architect : IF (Integrated Field Co., Ltd.)
Interior Architect : IF (Integrated Field Co., Ltd.)
Landscape Architect : Pailin Chumplang
Area : 355 ตารางเมตร
Landscape : 138 ตารางเมตร
    TAG
  • design
  • architecture
  • hostel

UNDERNEATH THE URBAN FACADE

ARCHITECTURE/HOSTEL
7 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/HOSTEL

    Sleeep Tight จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นจากเรื่องบนเตียง ทุกองค์ประกอบใน Sleeep ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการนอนระดับคุณภาพที่ไม่เหมือนใคร

    ผนังผ้าใบสีดำด้านหน้าอาคารสั่นไหวราวกับกำลังเต้นรำไปกับจังหวะชีวิตที่ไม่เคยหยุดนิ่งของเมืองกรุง แต่เมื่อก้าวผ่านประตูเข้ามาภายใน บรรยากาศค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปสู่ความสงบอย่างเป็นธรรมชาติ ที่นี่คืออาคารที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการ “นอน” อย่างมี “คุณภาพ” โดยเฉพาะ ผลงานของสองสถาปนิก เอกภาพ ดวงแก้ว จาก EKAR Architects และ พัชระ วงศ์บุญสิน จาก POAR (Patchara+Ornnicha Architecture) ที่ร่วมกันออกแบบ Sleeep Silom Bangkok โฮสเทลที่มีจุดเริ่มต้นมาจาก “เรื่องบนเตียง”

    EVERYTHING TEAMFebruary 2020
  • DESIGN/HOSTEL

    AMA HOSTEL โฮสเทลพร้อมคาเฟ่สไตล์จีน ชิลล์ สงบ เชื่อมต่อชุมชนดั้งเดิม

    ท่ามกลางละแวกเก่าแก่ติดกับตลาดสำเพ็ง ตึกรามบ้านช่องที่เบียดเสียดกันเป็นชุมชนริมแม่น้ำ ยังมีโฮสเทลแห่งใหม่ก่อตัวขึ้นกลางชุมชน เชื่อมต่อเสน่ห์ของจีนโบราณและจีนสมัยใหม่อย่างลงตัว เพื่อรองรับเหล่าแบ็กแพ็คเกอร์และนักท่องเที่ยวกรุ๊ปเล็กๆ ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวระหว่างทริป

    EVERYTHING TEAMFebruary 2019
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM5 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )