LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
และ The Shining ในวันวาน

นอกจากความยอดเยี่ยม ความเป็นอัจฉริยะ และความเป็นเพอร์เฟกต์ชันนิสต์ที่เหมือนๆ กัน ของทั้ง แสตนลีย์ คูบริค ผู้กำกับภาพยนตร์ชั้นครู และ สตีเฟน คิง นักเขียนระดับตำนานจะช่วยกันทำให้ “The Shining” กลายเป็นหนัง Horror-epic ที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลแล้ว ยังมีอีกคนหนึ่งที่ “อัจฉริยะ และเพอร์เฟกต์ชันนิสต์” สมควรได้รับการยกย่องไม่แพ้กัน เขาคนนั้นคือ จอห์น อัลคอทท์ ผู้กำกับภาพชาวอังกฤษ
อัลคอทท์ ถือว่าเป็น DP (Director of Photography) คู่บุญของ คูบริค ทั้งคู่ร่วมงานกันในหนังมาสเตอร์พีซหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น “2001: A Space Odyssey” (1968), “A Clockwork Orange” (1971), “Barry Lyndon” (1975) ซึ่งอัลคอทท์ได้รับ อะคาเดมี อะวอร์ดส์ (รางวัลออสการ์) สาขากำกับภาพยอดเยี่ยมจากเรื่องนี้ รวมทั้ง “The Shining” ในปี 1980 เรื่องที่เรากำลังพูดถึงนี้ด้วย

อัลคอทท์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า คูบริค ยื่นนวนิยายของ สตีเฟ่น คิง ให้ตนเองอ่าน สิบเดือนก่อนกำหนดเปิดกล้อง ช่วงเวลาสิบเดือนนั้น อัลคอทท์ เอาแต่คิดวาเขาจะถ่ายหนังเรื่องนี้อย่างไร และผลก็ออกมาอย่างที่เราได้เห็นกัน ... ทุกช็อตในหนังเรื่องนี้ คือความคลาสสิคและกลายเป็นภาพอันน่าจดจำของทั้งวงการภาพยนตร์และในพ็อพ คัลเจอร์มาตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมา

(Photo Credit evanerichards.com)

เขาสลับตำแหน่งการยืน และใช้แสงธรรมชาติ
(Photo Credit warnerbros.com)
เพราะความสำเร็จอันกลายเป็นตำนานของ “The Shining” นั่นเอง ที่ทำให้แม้แต่ สตีเฟ่น คิง ก็ยังต้องเขียนตอนต่อของมันในอีก 36 ปีต่อมาและกลายมาเป็น “Doctor Sleep” ซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นหนังอีกที โดยคราวนี่ได้ ไมค์ ฟลานาแกน ที่เพิ่งกำกับซีรี่ส์สยองขวัญ “The Haunting of Hill House” ที่ได้รับคำชมอย่างมากเมื่อปีที่แล้วมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์
และคนที่มาเป็น DP ให้ ฟลานาแกน ก็คือ ไมเคิล ไฟมอกนารี ผู้กำกับภาพวัย 45 ที่เชี่ยวชาญการกำกับภาพในหนังสยองขวัญ ที่ผ่านมา ไฟมอกนารี ถ่ายหนังสยองขวัญ ระทึกใจ หลายต่อหลายเรื่องอาทิ “Before I Wake” (2016), “Ouija: Origin of Evil” (2016), “Before I Fall” (2017), “Gerald’s Game” (2017) และ “The Haunting of Hill House” (2018) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังที่ ไมค์ ฟลานาแกน กำกับ แถม “Gerald’s Game” ก็ยังสร้างมาจากนวนิยายของ สตีเฟ่น คิง เองอีกด้วย

(Photo Credit warnerbros.com)
ความเหมือนกันโดยบังเอิญระหว่าง รุ่นใหญ่อย่าง อัลคอทท์ และรุ่นใหม่อย่าง ไฟมอกนารี ก็คือ ทั้งคู่ให้ความสำคัญกับการถ่ายด้วยแสงธรรมชาติในเซ็ตก่อนเสมอ แต่ความยากของ ไฟมอกนารี ในการถ่าย “Doctor Sleep” ก็คือการต้องถ่ายใหม่ไปบนมุมมองเก่าของ อัลคอทท์ จะเพื่อบูชาครูหรือเพื่อเล่าเรื่องเดิมที่สานต่อมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การต่อภาพจิ๊กซอว์ให้สมบูรณ์ครั้งนี้ไม่ง่ายเลย


Everything นำภาพจากหนังทั้งสองเรื่องของทั้ง อัลคอทท์ และ ไฟมอกนารี ที่ห่างกันสี่ทศวรรษ มาให้ดูกัน ใครที่อยากดู “Doctor Sleep” ตอนนี้มีโปรแกรมเข้าฉายแล้ว

(Photo Credit evanerichards.com)

(Photo Credit warnerbros.com)
ย้อนดูช็อตสวยๆ จาก DP. Doctor Sleep ในวันนี้ และ The Shining ในวันวาน
/
ถ้าเอ่ยชื่อของ เปโดร อัลโมโดวาร์ (Pedro Almodóvar) หลายคนอาจรู้จักเขาในฐานะผู้กํากับเจ้าของ ฉายา “เจ้าป้าแห่งวงการหนังสเปน” ที่นอกจากหนังของเขาจะเต็มไปด้วยลีลาอันจัดจ้าน เปี่ยมสีสัน เต็มไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันแปลกประหลาดพิลึกพิลั่นพิสดารเหนือความคาดหมาย และถึง พร้อมไปด้วยศิลปะภาพยนตร์อย่างเต็มเปี่ยมแล้ว ด้วยความที่อัลโมโดวาร์หลงใหลในศิลปะอย่างลึก ซึ้ง ทําให้มักจะมีงานศิลปะปรากฏให้เห็นในหนังของเขาอยู่บ่อยครั้ง และนอกจากเขาจะหยิบงาน ศิลปะเหล่านั้นมาใช้ในหนังเพราะความหลงใหลและรสนิยมส่วนตัวอันวิไลของตัวเองแล้ว ในหลายๆ ครั้ง ผลงานศิลปะเหล่านั้นยังทําหน้าที่ในการช่วยขับเคลื่อนเรื่องราว ขับเน้นบุคลิกภาพของตัวละคร และเป็นสัญลักษณ์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาในหนังอย่างแนบเนียน
/
ท่ามกลางลิสต์ภาพยนตร์ต่อสู้ระทึกขวัญ หรือภาพยนตร์ดราม่าเรียกอารมณ์ผู้ชม ใน Hong Kong Film Gala Presentation & Dynamic Cityscapes of Hong Kong Films “งานภาพยนตร์ฮ่องกงพลังหนังขับเคลื่อนเมือง กับนิทรรศการหนังฮ่องกง” ที่เดินทางกลับมาฉายในไทยอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ยังมีภาพยนตร์กลิ่นอายโรแมนติกอีกหนึ่งเรื่อง ที่น่าจับตามองไม่แพ้กันอย่าง Love Lies ที่นำเสนอความสัมพันธ์ของแพทย์หญิงหม่าย ที่รับบทโดย Sandra Ng Kwan-Yue (อู๋จินหยู) ผู้ร่ำรวย และมีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งบังเอิญตกหลุมรักกับวิศวกรชาวฝรั่งเศสวัยกลางคน ที่คอยหยอดคำหวานและคำห่วงใยผ่านแชทมาให้ตลอด จนกระทั่งเธอค้นพบความจริงว่าเบื้องหลังแชทเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยคำลวงจากฝีมือเด็กหนุ่มมิชฉาชีพ ที่รับบทโดย MC Cheung (เอ็มซีเจิ้ง) ดังนั้นเรื่องราวต่อจากนี้ในภาพยนตร์จึงเป็นการค้นหาคำตอบของเธอในสมการความสัมพันธ์ครั้งนี้ว่าจะจบลงอย่างไร
/
ความสำเร็จด้านรายได้กว่า 100 ล้านเหรียญฮ่องกงของ A Guilty Conscience จากการกำกับของ แจ็ค อึ่ง (Jack Ng) สร้างปรากฏการณ์ใหญ่ที่นับได้ว่าเป็นความหวังใหม่ของอุตสาหกรรรมภาพยนตร์ของฮ่องกง และทำให้บรรยากาศของแวดวงนี้ดูจะกลับมาคึกคักอีกครั้งในสายตาของแฟนหนังทั่วโลก พอ Hong Kong Film Gala Presentation หรือที่ในปีนี้ใช้ชื่อเต็มว่า Hong Kong Film Gala Presentation & Dynamic Cityscapes of Hong Kong Films “งานภาพยนตร์ฮ่องกงพลังหนังขับเคลื่อนเมือง กับนิทรรศการหนังฮ่องกง” ได้กลับมาจัดอีกครั้งในประเทศไทย ก็ทำให้ลิสต์ในปีนี้เต็มไปด้วยภาพยนตร์คุณภาพที่น่าจับตามองจากฝีมือการกำกับของผู้กำกับรุ่นใหม่ และจากพลังของนักแสดง
/
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้สามารถเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกเล่าแก่คนรุ่นหลังได้ว่าพวกเราซึ่งเป็นประชาชนภายในประเทศนี้ผ่านอะไรกันมา กำกับโดย “เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์” (เอก) ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระจากสงขลา เอกเริ่มกำกับสารคดีสั้นเกี่ยวกับความตายของ กฤษณ์ สราญเศรษฐ์ ลุงของเขาในชื่อเรื่อง “คลื่นทรงจำ” (2561) ซึ่งได้รับรางวัลสารคดีสั้นยอดเยี่ยมในงานเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ DMZ ที่ประเทศเกาหลีใต้ และได้เข้าฉายในเทศกาลต่างประเทศอีกหลายแห่ง และผู้กำกับอีกคน คือ “ธนกฤต ดวงมณีพร” (สนุ้ก) ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้กำกับภาพ ที่ได้เข้าชิงรางวัลช้างเผือกจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 21 จากเรื่อง “ทุกคนที่บ้านสบายดี” (2560) และได้รับเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไห่ หนาน
/
Inside (2023) หนังทริลเลอร์จิตวิทยาของผู้กำกับสัญชาติกรีซ วาซิลลิส แคตซูพิส (Vasilis Katsoupis) ที่เล่าเรื่องราวของของนีโม (วิลเลียม เดโฟ) หัวขโมยที่ลักลอบเข้าไปในเพนท์เฮ้าส์สุดหรูของสถาปนิกชื่อดัง เพื่อขโมยงานศิลปะราคาแพงที่สะสมอยู่ในนั้น แต่ดันบังเอิญโชคร้ายถูกระบบนิรภัยขังอยู่ภายในคนเดียว ท่ามกลางงานศิลปะที่อยู่รายรอบ จนเขาต้องหาทางเอาชีวิตรอดอยู่ข้างใน โดยอาศัยข้าวของรอบตัว หรือแม้แต่งานศิลปะที่อยู่ในนั้นมาใช้เป็นเครื่องมือก็ตาม เรียกได้ว่าเป็น Cast Away เวอร์ชันอาชญากรก็ได้
/
ฮ่องกง เมื่อราวสิบยี่สิบปีก่อน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองมาก ๆ ในฐานะประเทศที่ส่งออกภาพยนตร์ออกสู่สายตาของประชาคมโลก ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ต่อสู้กำลังภายใน ภาพยนตร์มาเฟีย หรือแม้แต่ภาพยนตร์ชีวิตที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งของหว่องกาไว จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมฮ่องกง แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้ความคึกคักของภาพยนตร์ฮ่องกงเริ่มเงียบเหงามากขึ้นเรื่อย ๆ จนแฟนหนังฮ่องกงหลายคน ออกปากบ่นคิดถึงความรุ่งเรืองในอดีต ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ความนิยมระดับ 100 ล้านเหรียญฮ่องกง ของภาพยนตร์อาชญากรรมอย่าง A Guilty Conscience ขึ้นมาแล้ว แสงที่เคยริบหรี่ก็อาจจะกลับมาสว่างไสวขึ้นมาอีกครั้ง
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )