LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
คุณป้อ สรัณ ไชยสุต และคุณปอน ปรัชญา วนากุล แห่ง Sunday* Architects บริษัทสถาปนิกผู้รับผิดชอบการออกแบบครั้งนี้ ได้รับโจทย์จากผู้อยู่อาศัยหลักๆสองอย่างได้แก่ ต้องการบ้านที่สร้างความรู้สึกคล้ายกับบ้านที่โตมาในวัยเด็ก และเห็นบ้านที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านที่ชอบเข้าสังคม และชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ด้วยเหตุนี้คำตอบของผู้ออกแบบตัดสินใจใช้แนวคิด นำด้านนอกเข้าด้านใน ( Outside-in) และเลือกใช้สไตล์การออกแบบ Mid-Cenrury Modern กลิ่นอายแบบ Palm Springs California ที่ได้รับความนิยมมากในช่วงปี 50-60 ซึ่งเป็นขวบปีที่คาบเกี่ยวกับวัยเยาว์ของเจ้าของบ้าน ซ้ำยังเป็นสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่มีธรรมชาติสวยงาม เหมาะกับบริบทและโจทย์ที่ได้รับมา โดยมีคำกล่าวของ Frank Lloyd Wright ที่ยกมาข้างต้นเป็นหลักยึดในการออกแบบ
มีความน่าสนใจคือการใช้ผนังอิฐบล็อคที่มีลวดลายดังกล่าวมาเป็นช่องแสงที่ก่อให้เกิดกราฟิกของเงาที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาและมีประโยชน์ในการรับแสงปะทะจากทางทิศใต้ที่ต้องรับแดดช่วงกลางวันเป็นส่วนมาก
The Rock House ปาล์มสปริงแห่งสามร้อยยอด by Sunday*Architects
/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
/
นี่ไม่ใช่บ้านที่ออกแบบตามค่านิยมทั่วไป เพราะจะมีบ้านหลังไหนที่ต้องเดินลัดเลาะผ่านเส้นทางคดเคี้ยวและบันไดสูงเหมือนเดินขึ้นภูเขาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน อีกทั้งในเวลาฝนตกอาจต้องยอมเดินเปียกปอน ผ่านแลนด์สเคปซับซ้อน ที่ทำให้เรามีเวลามากขึ้นกับการซึมซับบรรยากาศรอบตัวผ่านทุกประสาทสัมผัส บ้านในเมืองหลังไหนที่จะรองรับการขยายพื้นที่สีเขียวได้มากเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญไม่ได้มุ่งเน้นแค่การสร้าง สุนทรียภาพเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัย แต่ยังคำนึงถึงผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย เรากำลังพูดถึงบ้าน Mirin House ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates Design ที่ให้ความเป็นส่วนตัว กับการสอดแทรกธรรมชาติสู่การอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องยึดติดรูปแบบบ้านล้อมคอร์ต และกล้าออกนอกกรอบแนวคิดการออกแบบบ้านทั่วไป ซึ่งนี่อาจเป็นตัวอย่างที่จะทำให้เจ้าของบ้านหรือสถาปนิกในวงการได้เปิดมุมมองการออกแบบใหม่ ๆ ต่อขยายเรื่องของประสบการณ์ ประสาทสัมผัส ธรรมชาติ และความงามของการอยู่อาศัยที่หลับตาแล้วยังสัมผัสได้ถึงมันอยู่
/
เป็นประจำของทุกปีที่ Royal Institute of British Architects (RIBA) จะประกาศชื่อสถาปนิกรับเหรียญเชิดชูซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยตรง ซึ่งเป็นกิจกรรมเริ่มต้นมาก่อนรัชสมัยของพระองค์ตั้งแต่ปี 1848 ให้แก่สถาปนิกที่มีทั้งอิทธิพลและมีชื่อเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้รับรับเหรียญทองประจำปี 2021 นี้คืออัศวินด้านสถาปัตยกรรมผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งยศในปี 2017 ได้แก่ Sir David Adjaye OBE
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )