


Project Name: MoMA
Project Location: Nonthaburi, Thailand
Design Firm: HAS design and research
Design Team: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee, Jiaqi Han, Qin Ye Chen
Landscape Design: TROP : terrains + open space
Lighting Design: Light Is
Photo Credit: W Workspace
Façade Construction Consultant: AB&W Innovation Co., Ltd.
Aluminum Technology Development: Goldstar Metal Co., Ltd.
Lighting Product: Neowave Technology
Constructor: SL Window Co., Ltd.
โชว์รูมอะลูมิเนียมร่วมสมัยจากความเรียบง่ายที่ขยายขอบเขตสถาปัตยกรรมและวัสดุ สู่พิพิธภัณฑ์อะลูมิเนียมแห่งศตวรรษใหม่
อะลูมิเนียมเป็นวัสดุอุตสาหกรรมโลหะที่มีความทนต่อความร้อน การหัก กร่อน สะท้อนแสงได้ดี มีน้ำหนักเบาถูกนำมาใช้ภาคครัวเรือนในลักษณะผลิตภัณฑ์ตกแต่ง วัสดุก่อสร้างเพื่อทดแทนไม้และเหล็ก พบเห็นใกล้ตัวในรูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอะลูมิเนียมที่ถูกขึ้นรูป (Aluminum Extrusion) หลากร้อยพันแบบแปรรูปเพื่อใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น
HAS design and research ผู้เคยขยายภาพความเป็นไปได้ของการใช้ท่อเหล็กจากโครงการ Phetkasem Artist Studio เมื่อรับหน้าที่ออกแบบโดยเริ่มจากฟาซาด (Facade) และนำเสนอให้อาคารแสดงสินค้าของบริษัทผู้นำนวัตกรรมออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายอะลูมิเนียมของไทยให้เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงสินค้า เพื่อแสดงศักยภาพวัสดุอุตสาหกรรมในยุคการเปลี่ยนแปลงและต่อยอด (Disruption) ที่หลอมรวมเข้ากับเมืองให้น่าสนใจขึ้นมาอีกหนึ่งโครงการ

อะลูมิเนียมเป็นวัสดุอุตสาหกรรมโลหะที่มีความทนต่อความร้อน การหัก กร่อน สะท้อนแสงได้ดี มีน้ำหนักเบาถูกนำมาใช้ภาคครัวเรือนในลักษณะผลิตภัณฑ์ตกแต่ง วัสดุก่อสร้างเพื่อทดแทนไม้และเหล็ก พบเห็นใกล้ตัวในรูปแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอะลูมิเนียมที่ถูกขึ้นรูป (Aluminum Extrusion) หลากร้อยพันแบบแปรรูปเพื่อใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น
HAS design and research ผู้เคยขยายภาพความเป็นไปได้ของการใช้ท่อเหล็กจากโครงการ Phetkasem Artist Studio เมื่อรับหน้าที่ออกแบบโดยเริ่มจากฟาซาด (Facade) และนำเสนอให้อาคารแสดงสินค้าของบริษัทผู้นำนวัตกรรมออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายอะลูมิเนียมของไทยให้เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงสินค้า เพื่อแสดงศักยภาพวัสดุอุตสาหกรรมในยุคการเปลี่ยนแปลงและต่อยอด (Disruption) ที่หลอมรวมเข้ากับเมืองให้น่าสนใจขึ้นมาอีกหนึ่งโครงการ

พื้นที่แสดงสินค้าของโครงการได้ดัดแปลงจากที่พักอาศัยเดิมเป็นอาคารพาณิชย์สามชั้นเลียบถนนราชพฤกษ์มุ่งหน้าสู่จังหวัดนนทบุรี เป็นถนนทางหลวงชนบทเส้นหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ รถยนต์วิ่งค่อนข้างเร็ว มีโครงสร้างและป้ายโฆษณาขนาดใหญ่เรียงรายเรียกร้องความสนใจอย่างไม่บดบังกันตลอดเส้น มีประเภทสถาปัตยกรรมขนาดหลากหลาย อาคารริมถนนมีขนาดและความเป็นพื้นที่สาธารณะมากกว่าอาคารประเภทบ้านพักอาศัยซึ่งตั้งอยู่ลึกกว่า เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของถนนเชื่อมต่อระหว่างเมืองจากงานวิจัย “Bangkok Chameleon” ที่มีคุณเจอร์รี่ หง และคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี สองผู้ก่อตั้งบริษัท HAS design and research ศึกษาการพัฒนาของเมืองหลากหลายพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อพื้นที่โครงการมีความเข้มข้นเชิงสเกลความเป็นเมือง HAS design and research ผู้ออกแบบสร้างสมดุล ความกลมกลืนให้สิ่งเดิมและใหม่ในพื้นที่ จึงจำลองพฤติกรรมธรรมชาติจากบริเวณใกล้เคียงอย่างเกาะเกร็ด ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ตั้งออกไป 2 กิโลเมตร มีแสงหิ่งห้อยดึงดูดความสนใจ เช่น ป้ายโฆษณาเตะตาผู้ขับรถผ่านไปมา ด้วยแสง “ธรรมชาติประดิษฐ์”

(ขวา) Isonometric Diagram




บริเวณด้านหน้าอาคารประกอบด้วยฟาซาดออกแบบแสงไฟโดย Light is และสวนออกแบบพันธุ์ไม้และ Hardscape ทางลาดพื้นอลูมิเนียมปรับระดับโดย TROP: terrains + open space
อุโมงค์ทางเข้าด้านซ้ายมือแสดงศักยภาพอลูมิเนียมเป็นพื้นที่ปรับอารมณ์เชื่อมต่อบริบทภายนอก และโปรแกรมหลักภายในอาคาร
ฟาซาดด้านข้างอาคารเสริมมิติภาพรวมของอาคารให้พุ่งไปในทิศทางดียวกัน ด้วยการออกแบบแสงไฟที่กระทบความยาว และความตื้นลึกลึกของฟาซาดอลูมิเนียม ในรูปแบบที่แตกต่างจากด้านหน้า ได้ผลลัพธ์ซึ่งเสริมภาพรวมให้อาคารเป็นหนึ่งเดียวกัน


ภาพมุมสูงเห็นภาพรวมบริบท การออกแบบ และองค์รวมสถาปัตยกรรมเสริมภาพรวมให้อาคารเป็นหนึ่งเดียวกัน

อุโมงค์ทางเข้า หรือแกลเลอรี่ปฐมบท ทำหน้าที่ปรับอารมณ์ก่อนนำทางสู่เนื้อหาหลัก สร้างประสบการณ์เชื่อมต่อบริบทและศักยภาพของอลูมิเนียม
ผู้ออกแบบคัดเลือกอลูมิเนียมแปรรูปจากการทดลองผลิตภัณฑ์หลายร้อยชนิด โดยนำลักษณะของเส้นอลูมิเนียมที่พลิ้วไหวมาเล่นกับแสงไฟ ผ่านการทดลองเรียงรูปแบบการกระจายตัว ความหนาแน่น และความยาวในการยื่นของฟาซาดให้อยู่ในขอบเขตระยะร่นอาคาร โดยมี Light Is ร่วมออกแบบแสงไฟสร้างความรู้สึกเสมือนหิ่งห้อยที่กำลังบินอยู่ในธรรมชาติจากอลูมิเนียมแปรรูปที่เรียบง่ายเพียงชนิดเดียว ให้เป็นทั้งฟาซาด และอุโมงค์ทางเข้า VIP หรือแกลเลอรี่ปรับอารมณ์ก่อนเข้าพื้นที่หลักซึ่งเป็นส่วนเพิ่มเติมเชื่อมต่อบริบทกับโปรแกรมภายใน เพื่อแสดงศักยภาพของอลูมิเนียมแปรรูปธรรมดาให้พิเศษขึ้นมาแตกต่างจากอลูมิเนียมในยุคเดิม
อลูมิเนียมแปรรูปชนิดเดียวกันนี้ถูกใช้เป็นวัสดุเฟอร์นิเจอร์บนดาดฟ้าที่ได้ TROP: terrains + open space เป็นผู้ออกแบบสวนทั้งหน้าทางเข้าหลักและสวนกลางแจ้งชั้นบนสุด โดยใช้อลูมิเนียมเป็นวัสดุสำหรับ Hardscape และเลือกพันธุ์พืชสำหรับ Softscape ที่คงรูปทรงไดนามิคเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับภาพรวมการใช้อลูมิเนียมลักษณะพุ่งในสถาปัตยกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
HAS design and research คงเอกลักษณ์การออกแบบสมดุลความเป็นเมืองและธรรมชาติ เชื่อมบริบทและเนื้อหาด้วยพื้นที่ปรับอารมณ์จากวัสดุและการต่อยอดในผลงานได้อย่างแยบยล เพิ่มคุณค่าให้อาคารแสดงสินค้าหลังหนึ่งสามารถเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ส่งผลต่อมุมมองธุรกิจ อุตสาหกรรม เมือง และแรงบันดาลใจ
ผนังแปรอักษรจากอลูมิเนียมแปรรูปชนิดเดียวกับฟาซาดอาคารเป็นชื่อบริษัทติดตั้งเป็นพื้นหลังลึกของอุโมงค์ เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์งานออกแบบของ HAS design and research ด้วยการออกแบบงานช่างประณีตจากวัสดุอุตสาหกรรม

มุมมองจากพื้นที่จัดแสดงสินค้าออกไปภายนอกอาคาร
ฟาซาดอาคารไม่ได้เปลี่ยนภาพอาคารอลูมิเนียมจากภายนอกเท่านั้น เมื่อมองผ่านกรอบหน้าต่างออกไปภายนอกสามารถสัมผัสจังหวะของทิวทัศน์ที่เปลี่ยนไปเพราะไดนามิคของเส้นอลูมิเนียมด้วยเช่นกัน

(ขวา) เส้นอลูมิเนียมฟาซาดส่วนที่ห้อยลงมาด้วยโครงสร้างเหนืออุโมงค์ทางเข้า นำสายตาสู่เส้นอลูมิเนียมอุโมงค์ภายใน
(ซ้าย) เมื่ออลูมิเนียมพ่นขาวต่างเฉดและพื้นผิวโดนแสงเกิดเงาในเวลากลางวันสร้างสัมผัสที่แตกต่างกันไปแก่สายตา


สวนดาดฟ้ากลางแจ้งเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเอกประสงค์ของอาคาร โดยทาง TROP: terrains + open space ออกแบบให้พื้นที่สวนและเฟอร์นิเจอร์ออกมาเป็นหนึ่งเดียวกับภาพรวมอาคารจากอลูมิเนียมแปรรูปชนิดเดียวกัน และใช้พื้นอลูมิเนียมเสมือนเป็นเกาะที่อยู่ท่ามกลางแมกไม้

รูปด้านดาดฟ้าซึ่งเห็นการแสดงโลโก้บริษัทด้วยช่องไฟ LED และการเปลี่ยนสีอลูมิเนียม การเลือกใช้สีอาคารและโครงสร้างฟาซาดโทนเดียวกัน ทำให้อลูมิเนียมเสมือนลอยรอบตัวอาคารอยู่ทุกช่วงเวลา

แสงและเงา องค์ประกอบซึ่งช่วยก่อรูปทรงให้สถาปัตยกรรมโดยสร้างประสบการณ์ต่างออกไปตามช่วงเวลา

ป้ายอาคารที่ได้รับการออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ให้โดดเด่นและเป็นส่วนหนึ่งกับงาน

“อุโมงค์” ทางเข้าไร้ที่สิ้นสุด เป็นพื้นที่ปรับอารมณ์โดยกรองเสียงและความรู้สึกก่อนเข้าสู่โลกอลูมิเนียม ทางเข้าสู่ห้องถัดไปแฝงไปกับผนังอลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงคุณสมบัติของสินค้า
ความต่อเนื่องไร้ขอบบอกบริเวณแสดงถึงองค์ประกอบจากฟาซาดภายนอกสู่อุโมงค์ภายในล้อมรอบจากฝ้าผนังและอาคารเพื่อแสดงความเป็นไปได้ในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิมของอุตสาหกรรมจากอลูมิเนียม “ชุดบานเลื่อนตลาด”

Project Name: MoMA
Project Location: Nonthaburi, Thailand
Design Firm: HAS design and research
Design Team: Jenchieh Hung, Kulthida Songkittipakdee, Jiaqi Han, Qin Ye Chen
Landscape Design: TROP : terrains + open space
Lighting Design: Light Is
Photo Credit: W Workspace
"Façade Construction Consultant: AB&W Innovation Co., Ltd.
Aluminum Technology Development: Goldstar Metal Co., Ltd.
Lighting Product: Neowave Technology
Constructor: SL Window Co., Ltd.