LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

Story & Photos : Tonkao Panin
เมื่อพูดถึง ปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน เราก็มักจะนึกถึงคำว่า Brutalism ซึ่งได้กลายเป็นคำจำกัดความของความคิดและการทำงานของสถาปนิกคู่สามีภรรยาทั้งสองจนถึงทุกวันนี้ แต่ความชัดเจน รุนแรงของ Brutalism ทำให้มันไม่ได้หมายถึงแนวทางของความคิดเท่านั้น แต่ได้ทำให้มันกลายเป็นรูปแบบ หรือสไตล์ ที่มีอัตลักษณ์และภาพที่ชัดเจน จนแทบไม่เหลือที่ว่างให้เราตีความใดๆ และทุกวันนี้ ปีเตอร์ และอลิสัน เอง ก็ไม่สามารถจะตามมาอธิบายความหมายของความคิดซึ่งถือกำเนิดจากการทำงานของทั้งสองคนได้อีกต่อไปแล้ว สิ่งที่สถาปนิกและนักคิดทั้งสองทิ้งไว้ให้เราคืองานสถาปัตยกรรม ที่ส่วนหนึ่งก็เสื่อมโทรม สูญสลายไปตามกาลเวลา


แต่อาคารหนึ่งในลอนดอน ที่ยังคงสภาพดี และเป็นตัวแทนของความคิดและมุมมองเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของ ปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน ได้ชัดเจน ก็คืออาคารที่มีชื่อว่า The Economist ซึ่งทั้งสองได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1964 โดยมีวัตถุประสงค์เดิมเพื่อเป็นที่ทำการของหนังสือพิมพ์ The Economist โดยปีเตอร์และอลิสัน ได้วางระบบผังและพื้นที่ในอาคาร จากการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการเฉพาะตัวในการทำงานของเหล่านักหนังสือพิมพ์ค่าย The Economist อย่างละเอียดอ่อน และแปลงเป็นระบบความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน ในขณะที่ผังทั้งหมดนั้น ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง โอบล้อมพลาซ่าที่กลายเป็นพื้นที่สาธารณะไปโดยปริยาย และภายนอกอาคารนั้นถูก clad ด้วยหิน Portland ที่คงร่องรอยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด กลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาคาร ที่ทั้งดิบกร้าวและละเอียดอ่อนในเวลาเดียวกัน
งานออกแบบอาคาร The Economist ทั้งกระบวนการศึกษาพฤติกรรม การจัดระบบอาคารที่เปิดพื้นที่โล่งระหว่างอาคารเป็นพื้นที่สาธารณะ การจัดระบบของขนาดช่วงเสาที่สัมพันธ์กับวิธีการก่อสร้างและวัสดุ ขนาดช่องเปิดและองค์ประกอบที่ตอบรับกระบวนการผลิตในยุคนั้น สัจจะของวัสดุและการแสดงตัวตนอันแม้จริงของมัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างความดิบและความละเอียดอ่อน ล้วนเป็นความคิดที่ก่อให้เกิดการตั้งคำถาม และการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ในช่วงหลังอย่างมาก และเป็นความคิดที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนางานสถาปัตยกรรมในยุคต่อมา ทั้งในประเทศอังกฤษเอง รวมไปถึงงานในทวีปยุโรปอีกหลายๆ ประเทศ และในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นความคิดที่ผลิดอกออกผล ก่อให้เกิดแนวทางการทำงานและระบบความเข้าใจพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมใหม่ๆ อีกหลากหลายรูปแบบในยุคหลัง

Brutalism แน่นอนว่า มาจากคำว่า Brutal ซึ่งแปลตรงตัวว่า ความดิบ โหด เถื่อน อย่างสุดขั้ว จนบางทีก็แปลว่า สภาวะที่ไม่น่าอภิรมณ์ Brutal มาจากรากศัพท์ภาษาละติน Brutus หรือ Brutalis มีการใช้กันเป็นครั้งแรกๆ ในช่วงศตวรรษที่สิบห้า ใช้บรรยายสภาวะหรือสถานการณ์ที่มีความรุนแรง ยากลำบาก หนักหนาสาหัส ซึ่งก็ทำให้ภาพของงานสถาปัตยกรรมที่ผุดขึ้นในหัวของเราเมื่อนึกถึง Brutalism นั้น เป็นภาพของอาคารที่มีลักษณะดิบ ออกจะโหดร้าย น่ากลัว ไม่มีความละเอียดอ่อน ละเมียดละไม ทั้งในแง่รูปทรง และวัสดุ ตลอดจนสัมผัสของอาคาร ซึ่งนั่นก็เป็นลักษณะเฉพาะส่วนหนึ่งของงาน Brutalism ในยุคหลังจริงๆ แต่ถ้าเรามองรากศัพท์ในภาษาละตินให้ลึกลงไปกว่านั้น เราจะพบว่า คำว่า Brutalis นั้นยังหมายถึงความตรงไปตรงมา ความแม่นยำ และความซื่อสัตย์เถรตรง ตลอดจนสัจจะของการมีอยู่ และการปรากฏตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเป็นคุณสมบัติเชิงนามธรรม ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว นัยยะเชิงนามธรรมนี้ เป็นความหมายที่ตรงกับความคิดของ ปีเตอร์ และ อลิสัน สมิธสัน มากกว่าเพียงการแสดงออกเชิงรูปแบบ หรือสไตล์ ที่มีความดิบเถื่อนอย่างที่เรามักจะเข้าใจ ซึ่งความตรงไปตรงมานี้ อาจจะถูกแสดงออกในรูปแบบใดก็ย่อมได้ ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอยู่กับรูปทรงและวัสดุ ตลอดจนพื้นผิวที่หยาบกระด้าง ดิบกร้าว เพียงอย่างเดียว และความหมายของ Brutalis ในเชิงนี้ ก็ปรากฏชัดในอาคาร The Economist ที่ดูจะแตกต่างจากอาคารแบบ Brutalism ที่เราคุ้นเคยกันในยุคต่อมา
หากเรามองความหมายของ Brutalism เป็นเพียงรูปแบบ หรือสไตล์ ที่ถูกแสดงออกในทางกายภาพของความดิบหยาบเท่านั้น มันมักจะทำให้เราไม่เข้าใจงานและความคิดของ ปีเตอร์ และ อลิสัน สมิธสัน เพราะงานของสถาปนิกทั้งสอง หลายๆ งาน ก็ไม่ได้มีลักษณะดิบกร้าวเช่นนั้นเลย แต่เมื่อเราพิจารณาความหมายของคำว่า Brutalis ในหลายๆ ด้าน ทั้งในเชิงรูปธรรม และเชิงนามธรรม ย่อมทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความคิดทฤษฎี Brutalism กับงานออกแบบของ ปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน มีความกระจ่างขึ้นมาได้ว่า Brutalism นั้นไม่ใช่รูปแบบ หรือสไตล์ ในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ แต่เป็นความคิดเกี่ยวกับการจัดระบบ ทั้งระบบของพื้นที่ รูปทรง และพื้นผิวของวัสดุ อย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน เด็ดขาด และที่สำคัญที่สุดคือความพอเพียง ใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับความมากมาย ละโมบ เกินพอดี อันเป็นสภาวะทางสังคม ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น เรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน
อาคาร The Economist ทำให้เราเข้าใจ Brutalism ที่หมายถึงความตรงไปตรงมา พอเพียง และประหยัดทรัพยากร ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นแนวความคิดทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ที่สัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยตรง เป็นการเรียกร้องให้สถาปนิกและนักออกแบบ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมรอบตัว มากกว่าเพียงแค่มุ่งจะสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้กับความมั่งคั่ง มั่งมี ของสังคม ปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน สอนเราว่า ความโลภ ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น โดยขาดความรับผิดชอบ และความเข้าใจพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมนั้น เป็นบ่อเกิดของปัญหา ที่ไม่ใช่ปัญหาทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่มันจะกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทางสังคมในไม่ช้า
The Economist จึงเป็นเหมือนวาทกรรมของปีเตอร์ และอลิสัน สมิธสัน ที่นอกจากจะทำให้เราย้อนมามองความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและผู้คนรอบตัว โดยปีเตอร์ สมิธสันเคยกล่าวไว้ว่า สถาปนิกจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้คนในสังคม แม้ในยามที่ทิศทางความเป็นไปของสังคม มุ่งไปที่ความฟุ้งเฟ้อ มากมายเกินจำเป็น หน้าที่ของเราคือการชี้นำ ให้สังคมเห็นถึงสมดุลย์และภาวะความพอดี ที่ไม่ได้ถูกแสดงออกในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ปรากฏขึ้นในแก่นความคิดของการสร้างงานสถาปัตยกรรม อันสัมพันธ์กับวิถีชีวิต และการใช้งาน ที่ในที่สุดแล้ว อาจมีพลังอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสังคม ให้คืนสู่ความสุข ความพอใจ ในสิ่งธรรมดาสามัญ อันยั่งยืน
The Economist Peter and Alison Smithson
/
DUCTSTORE the design guru และ THE OTHERS ภายใต้การนำของนนทวัฒน์ เจริญชาศรี Design Director ได้รับรางวัล German Design Award 2025 อีกหนึ่งเวทีระดับโลก ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการออกแบบ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับรางวัลออกแบบระดับนานาชาติมากมายในช่วงที่ผ่านมา เช่น Red Dot Award: Grand Prix / Best Of the Best / Winner สาขา Brands and Communication Design 2024, iF Design Award 2024, DFA Design for Asia Awards 2023,2024 และ Golden Pin Design Award 2023,2024
/
TOSTEM ฉลองการก้าวเข้าสู่ปีที่ 102 พร้อมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ร่วมส่งต่อความทรงจำสวยงามให้กับลูกค้า ภายใต้เคมเปญ “The Sensory Symphony” ถ่ายทอดความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมสร้างความสุขยั่งยืนให้กับทุกคน เริ่มต้นจากที่ TOSTEM Showroom สาขา Crystal Design Center ที่เนรมิตบรรยากาศใหม่ให้เสมือนบ้านหลังอบอุ่นที่สดชื่นสวยงาม พร้อมเปิดประตูต้อนรับทุกคนให้มีช่วงเวลาดี ๆ ร่วมกัน
By TOSTEM/
จาก 762 ผลงานที่ได้รับรางวัล "Red Dot Award: Brands and Communication Design 2024" มีทั้งหมด 59 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น "Best of the Best" จากนั้นจะมีเพียง 6 ผลงานเท่านั้นที่สามารถคว้ารางวัลทรงเกียรติสูงสุด “𝗥𝗲𝗱 𝗗𝗼𝘁: 𝗚𝗿𝗮𝗻𝗱 𝗣𝗿𝗶𝘅” ที่น่ายกย่องด้วยความเหนือชั้นทั้งความคิดสร้างสรรค์และคุณภาพการออกแบบที่ยอดเยี่ยม โดยปีนี้สร้างความฮือฮา เพราะเป็นปีแรกที่มีผลงานจากประเทศไทย 1 รางวัลที่สามารถผงาดคว้ารางวัลสูงสุด และได้บันทึกเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของ Grand Prix ระดับโลกเรียบร้อยแล้ว นั่นคือผลงาน JORAKAY PAVILION 2024 ออกแบบโดย DUCTSTORE the design guru
/
จาก 762 ผลงานได้รับรางวัล Red Dot Award: Brands and Communication Design 2024 มี 59 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Best of the Best แต่เพียง 6 ผลงานเท่านั้นที่สามารถคว้ารางวัลทรงเกียรติสูงสุด “Red Dot: Grand Prix” ในปีนี้ ทำให้ใคร ๆ ต่างจับจ้องไปยังทั้ง 6 ผลงานที่ได้รับยกย่องและการันตีความเหนือชั้นจาก Red Dot เวทีด้านการออกแบบระดับโลกที่มีชื่อเสียงหลายทศวรรษ
/
ชวนทุกคนมาที่แฟลกชิพโชว์รูมแห่งแรกของ WDC บนถนนรัชดา ซึ่งตั้งบนพื้นที่กว้างขวางถึง 1,500 ตร.ม. จัดเต็มนวัตกรรมและดีไซน์กระเบื้องที่หลากหลาย ให้ตอบโจทย์ทุกพื้นที่ ทุกสไตล์ และทุกความต้องการของลูกค้า
By WDC/
เปิดอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับแฟลกชิพโชว์รูมแห่งแรกของ WDC บนถนนรัชดา ที่ได้จัดงาน Grand Opening แบบ Exclusive Night! ไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Pleasure of Design” ที่พาทุกคนพบกับมุมมองใหม่ ๆ ในโลกงานกระเบื้องของ WDC ในบรรยากาศุดคึกคักที่มีทั้งนักออกแบบ สถาปนิก และพันธมิตรของ WDC มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง เอนจอยกับปาร์ตี้ที่มีมิตรภาพ อาหาร และเครื่องดื่มไม่อั้น พร้อมชมนวัตกรรมกระเบื้องของ WDC ที่มีหลากหลายรูปแบบตอบโจทย์ทุกการออกแบบ ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมกระเบื้องแห่งอนาคตที่มีคุณสมบัติพิเศษ กระเบื้องที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนถึงกระเบื้องหลากสีสันดีไซน์
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )