เราต่างอาจจะเคยได้ยินกับคติประจำใจอย่าง “รากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา” กันมาบ้าง เเต่มันเป็นไปได้ยากกับประเทศที่กำลังมีปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบทางการศึกษาอย่างประเทศไทย ซึ่งปัญหามากมายเหล่านั้นได้ถูกตั้งคำถามเเละหยิบยกนำมาบอกเล่าผ่านผลงานศิลปนิพนธ์ของ กาย ศุภกร ทาหนองค้า นักศึกษาภาควิชานิเทศศิลป์ จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยหนังสือ THE BEYOND OF HUMAN SPECIES ที่เป็นเสมือนเเบบทดสอบที่จะชวนผู้อ่านมาร่วมถามตอบถึงข้อสงสัยของระบบการศึกษารวมไปถึงชีวิตเด็กนักเรียนไทยในปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นของการมาเป็น THE BEYOND OF HUMAN SPECIES
เเรกเริ่มเดิมทีจากช่วงที่เริ่มเสนอหัวข้อธีสิส กายสนใจที่อยากจะทำเรื่องของปัญหาชนชั้นเเรงงาน ที่เรากำลังจะเติบโตไปในอนาคตอันใกล้นี้ เเต่ก็ถ้าหากมองถึงโครงสร้างที่เเท้จริงเเล้วจุดเริ่มต้นของปัญหามากมายนั้นเกิดมาจากรากฐานของระบบของการศึกษาไทยที่ไม่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กกรุงเทพหรือเด็กต่างจังหวัดเอง ซึ่งความจริงเเล้วไม่ควรต้องมีเด็กกลุ่มไหนที่ถูกรั้งท้ายด้วยความเหลื่อมล้ำของการศึกษา เเต่เเท้จริงเเล้วเด็กทุกคนควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันทุกคน ซึ่งครั้งนึงกายเองก็เคยอยู่ในระบบนี้เเละมองเห็นถึงปัญหาของมันมาโดยตลอด พอมีโอกาสที่จะได้หยิบยกถึงปัญหาตรงนี้ขึ้นมาตั้งคำถามก็เลยเกิดเป็นผลงานธีสิสชุดนี้ขึ้นมานั่นเอง
โลกที่เป็นดั่ง Dystopia ของการศึกษาไทย
เด็กนักเรียนไทยหลายๆ คน พยายามที่จะผลักดันตัวเองเข้าสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาที่ดีขึ้น สภาพเเวดล้อมที่ดีขึ้น เเต่ปัจจัยมากมายที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ทำให้โอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาที่ดีเเละมีคุณภาพได้ยากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน เด็กที่ถูกรั้งท้ายทิ้งไว้ภายในโลกเบื้องหลังต้องผลักดันตัวเองไปสู่โลกเบื้องหน้า เป็นเสมือนกับการเเข่งขันระหว่างสปีชีย์ของมนุษย์ที่เเตกต่างกันออกไป โดยเปรียบเทียบจากมุมมองของเด็กต่างจังหวัดเเละเด็กในกรุงเทพที่ทั้งหมดเเล้วล้วนอยู่ภายใต้ระบบการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพในประเทศเเห่งนี้
โลกมันกว้าง การศึกษาทำให้เรามองโลกได้กว้างขึ้น
ด้วยความเชื่อที่ว่า “ โลกมันกว้างการศึกษาทำให้เรามองโลกได้กว้างขึ้น ” กายจึงได้หยิบนำเอามาเป็นคีย์เวิร์ดหลักของการทำงานในครั้งนี้ เพราะการเติบโตที่มาพร้อมกับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะทำให้เด็กเหล่านั้นสามารถมีความคิด หรือ วิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลมากยิ่งขึ้น คล้ายกับคำพูดของ Neilson Mandela อดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ที่ว่า “การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด ที่เราจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลก” เเต่ด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจึงทำให้เกิดมุมมองที่ไม่เท่ากันของเด็กไทย โดยสืบเนื่องมาจากปัญหาทางด้านการศึกษา เสมือนกับเป็นโลก Dystopia ของเด็กมากมายในประเทศ ที่ล้วนเเล้วเเต่พยายามผลักดันตัวเองให้ไปอยู่ข้างหน้ากับโครงสร้างของการศึกษาไทย ที่สอนให้พยายามเเบบไม่มีวันจบสิ้น
ACADEMIC ISSUES
ภายในผลงานชุดนี้ กายมีอีกหนึ่งประเด็นที่อยากจะเล่าถึงความเเตกต่างของระบบการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างเด็กต่างจังหวัดเเละเด็กในเมืองกรุง ที่ล้วนเเล้วต้องเเบกรับเเรงกดดันหรือภาระหน้าที่ที่เเตกต่างกัน บนพื้นฐานของความไม่สมบูรณ์ของระบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน อุปกรณ์การเรียน การเดินทาง สภาพเเวดล้อม คุณครู อย่างเช่น เรื่องของคุณครูภายในโรงเรียนที่ในกรุงเทพ มีการสอดเเทรกเนื้อหาวิชาเยอะกว่าปกติ ผิดกับต่างจังหวัดที่ความไม่เพียงพอของคุณครู ในบางโรงเรียนมีจำนวนคุณครูเเค่หยิบมือเเต่ต้องสอนทั้งกลุ่มเเปดสาระการเรียนรู้ เลยทำให้จำนวนครูนั้นไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เป็นต้น ซึ่งภาพที่นำมาใช้ประกอบในส่วนนี้มาจากการสเเนปสิ่งที่ได้พบเจอมาด้วยมือถือคอยเก็บสะสมเรื่อยมานั่นเอง
ความล้าหลังของหลักสูตรการศึกษา
ด้านการเรียนในกรุงเทพมีสภาพเเวดล้อมการเเข่งขันที่สูง มีเเต่เด็กที่เก่งๆ เเน่นอนว่ามีเด็กที่เก่งก็ย่อมมีเด็กที่ไม่เก่งที่ถูกปฏิบัติต่างกันทำให้เกิดเป็นความไม่เท่าเทียมในชั้นเรียนเช่นเดียวกัน การเรียนพิเศษติวเตอร์ดังๆ ก็อยู่ที่กรุงเทพซะเป็นส่วนใหญ่ เเละการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพของไทยทำให้เด็กหลายคนขาดเป้าหมายในชีวิต ถ้าหากมีสื่อคอยเเนะนำที่มากกว่าเดิมสามารถทำให้พวกเขาสัมผัสหรือเข้าถึงความฝันเหล่านั้นได้ รวมไปถึง อุปกรณ์การเรียนส่วนใหญ่ใช้หนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทางหลักสูตรของศึกษาธิการไม่ได้มีการปรับปรุงถึงเนื้อหาข้างใน ทำให้หลักสูตรมีความล้าหลัง ในบางครั้งไม่สามารถไปปรับใช้ให้ทันกับปัจจุบันอีกด้วย
พื้นที่ส่วนตัวที่สูญหายไป
มันน่าเศร้ามากที่เด็กหลายคนไม่มีพื้นที่หรือห้องส่วนตัวที่เข้าจะได้ใช้เวลาเเละสมาธิในการทำงาน อ่านหนังสือ ที่ปราศจากเสียงรบกวนต่างๆ ไม่มีสภาพเเวดล้อมที่เหมาะกับการศึกษาเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
ความน่าเศร้าของนักเรียนไทย
เด็กต่างจังหวัดมีความคิดที่ว่า โลกที่เขาอยู่มันกว้างไม่ได้มองเห็นถึงชีวิตที่มันดีกว่านี้ได้ ขาดเเรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนความฝัน ซึ่งในบางครั้งเราควรให้โรงเรียนเข้าใจถึงเด็กทุกสายที่ไม่ได้มีเเค่วิทย์ คณิต ศิลปะก็สำคัญ การสอดเเทรกความรู้หรือเนื้อหาศิลปะในหลักสูตรการเรียนนั้นเรียกได้ว่าน้อยเป็นอย่างมาก เลยทำให้การเข้าถึงศิลปะผ่านการเรียนจึงดูเป็นเรื่องยาก ถ้าหากรัฐเล็งเห็นหรือสามารถเติมเต็มไปยังต่างจังหวัดได้ มีสิ่งปลูกสร้างมากมายที่พร้อมรองรับความฝันของเด็กเหล่านี้ กระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัด ใน อนาคตการเดินทางเข้ากรุงเทพอาจจะไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของเด็กเหล่านี้ก็ได้เช่นกัน
การบูลลี่ภายในโรงเรียนต้นต่อของเเผลในใจเด็กหลายคน
การเคารพในรูปลักษณ์ ปมด้อย การเติบโตที่เเตกต่างเป็นพื้นฐานของความเท่าเทียมที่ควรถูกปลูกฝัง เเต่ภายในสังคมของโรงเรียนนั้นปัญหาเหล่านี้กลับการเป็นปัญหาใหญ่ของเด็กหลายคน ไม่ว่าเกิดจากเพื่อน เเละบางครั้งเเผลในใจของเด็กนั้นก็เกิดจากคุณครูที่หยิบความเเตกต่างตรงนี้มาหยอกล้อเด็กเช่นกัน
คิดว่าสื่อมีผลกระทบต่อการศึกษาไทยไหม?
มีครับ ในปัจจุบันเรามีสื่อมากมายที่กำลัง Romanticize กับความเป็นต่างจังหวัดว่าเด็กขยันมากมาย ต้องหาเงินเเล้วไปเรียนหนังสือ เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กนั้นตั้งใจเรียน ทั้งที่เเท้จริงเเล้วเด็กเหล่านั้นไม่ได้ต้องการความสงสาร เพราะเขาต้องการเงิน นำเงินมาเรียนหนังสือ นำเงินมาเลี้ยงชีพตัวเองเเละครอบครัว ไม่มีใครอยากนำความลำบากมาเป็นเรื่องราวในการขายของหรือเพิ่มความน่าสงสารให้กับตนเอง ซึ่งถ้ามีระบบการศึกษาที่ดีเเละมีคุณภาพ ก็จะทำให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสมากยิ่งขึ้นในชีวิต
การคมนาคมที่ไม่ตอบโจทย์กับชีวิตนักเรียน
การเดินทางในกรุงเทพมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก ในวันๆ นึงหมดเงินไปหลายบาท การคมนาคมในกรุงเทพที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้เด็กหลายคนต้องกินหมูปิ้งในตอนเช้าเพื่อเป็นทางเลือกที่สะดวกเเละรวดเร็ว เเทนที่เรามีเวลากินอาหารเช้าหรือได้รับสารอาหารในตอนเช้าได้อย่างเต็มที่ เรามาเสียเวลากับเดินทาง การการเข้าเเถว ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าทำไมต้องเข้าเเถวเเปดโมงเช้าทั้งๆ ที่ควรจะเป็นเวลาให้นักเรียนได้รับโปรตีนจากอาหารเช้าที่ครบถ้วนห้าหมู่ด้วยซ้ำ
รูปภาพที่สอดเเทรกภายในเล่มนี้มาจากไหน
ภายในเล่มนั้นจะมีคอลัมน์ NEWS & STORY มีการนำเสนอจากข่าวต่างๆ รวมไปถึงเรื่องราวที่เคยพบเจอในชีวิตประจำวันของกาย ที่ทุกภาพล้วนเเล้วเเต่ผ่านการตีความเเละถ่ายขึ้นมาด้วยกล้อง DSLR จากฝีมือของกายทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การถูกด้อยค่าด้วยบรรทัดฐานจากสังคม อย่างเรื่องราวของเพื่อนคนนึงพาเพื่อนมาทำการบ้านที่บ้านเเต่ด้วยสภาพความเป็นอยู่ของบ้านที่ไม่ได้ดีพร้อมมากนัก ด้วยความที่ยืนยันว่าจะพาเพื่อนมาที่บ้านก่อนที่จะจบก่อนจะไม่ได้เจอกัน หรือ ปัญหาชุดนักเรียนที่ถูกส่งต่อใช้ซ้ำอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า เสื้อนักเรียนยังจำเป็นอยู่ไหม? เเท้จริงเเล้วความสำคัญของชุดนักเรียนเป็นอย่างไร การที่เด็กชื่นชอบศิลปะเเต่ตอนเรียนสายวิทย์ที่เกิดจากการเลือกไปก่อน ทำให้บางครั้งเด็กก็ไม่ทราบถึงความฝันตัวเอง การเดินทางที่ไม่รองรับเเละทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ กระเป๋าที่ใส่หนังสือเยอะ เเบบเด็กต้อง
เเบบทดสอบความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย
เเน่นอนหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นมาเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นระบบการทำงานของการศึกษาไทย เพื่อให้เด็กเข้าใจถึงระบบการศึกษา การมี BINGO ภายในเล่มเป็นเหมือนการได้ทดลองหาคำตอบว่าเเท้จริงเเล้วสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้มีความผิดถูกจากความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงได้รับรู้ถึงสิทธ์ขั้นพื้นฐานในการศึกษา ช่วยกันปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้ได้ทุกๆ ข้อ ไม่ใช่เพียงข้อใดข้อนึง เพื่อตระหนักถึงปัญหาของการศึกษาไทยอย่างเเท้จริง
สามารถติดตามผลงานของ กาย - ศุภกร ทาหนองค้า เพิ่มเติมรวมไปถึงเข้าไปพูดคุยสอบถามได้ทาง INSTAGRAM : GUY_SUPAKORN เเละ GUYSUPAKORN_ เช่นกัน