LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ชีวิต...ไม่ควรถูกตีกรอบด้วยบริบทรอบข้าง เมื่อแบรนด์ที่ไม่มีแบรนด์อย่าง MUJI ออกแบบบ้าน พวกเขาสร้างสรรค์บ้านที่สามารถเปลี่ยนทำเลที่ตั้งให้มารองรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยได้อย่างลงตัว ด้วยการใช้แนวคิดบ้านที่ไม่มีผนังแบ่งกั้นพื้นที่ภายใน MUJI House เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่ได้อย่างอิสระตามความต้องการ กว่าหนึ่งทศวรรษผ่านไป เอกลักษณ์นี้ยังคงได้รับการถ่ายทอดสู่ Plain House บ้านแบบที่สี่ น้องใหม่จากตระกูล MUJI House พร้อมด้วยจุดเด่นที่ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่เหมาะสำหรับผู้อยู่อาศัยทุกเพศทุกวัย
Plain House คือบ้านที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับรูปแบบการใช้ชีวิตหลากหลายที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทั้งอัตราการเกิดที่ลดลง สังคมผู้สูงอายุที่ขยายตัวขึ้น และลักษณะการทำงานทางไกลจากที่บ้าน
จากศตวรรษที่ 20 ซึ่งสังคมตื่นเต้นกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ผู้คนใฝ่ฝันที่จะเข้ามาใช้ชีวิตท่ามกลางสีสันในเมือง ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นเจ้าของคอนโดขนาดเล็ก และแข่งขันเพื่อให้ได้ทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ ความสนใจของผู้คนในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิตช้าๆ กลับมาได้รับความสนใจในคนหมู่มาก ผู้คนเริ่มหันเข้าหาธรรมชาติและละทิ้งเมืองใหญ่ออกไปใช้ชีวิตสงบเรียบง่าย ยิ่งเทคโนโลยีเปิดโอกาสให้คนสามารถทำงานทางไกล คนรุ่นใหม่จึงย้ายถิ่นฐานไปอยู่ตามเมืองเล็กๆ มากขึ้น Plain House ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นภาพสะท้อนของวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันอย่างแท้จริง “เราออกแบบ Plain House เพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการตัวเลือกที่อยู่อาศัยที่หลากหลายให้กับผู้คนยุคปัจจุบัน” Kenya Hara, Art Director จาก MUJI กล่าว “ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยไหน กำลังสนใจในสิ่งใด อาศัยอยู่กับใคร คุณก็สามารถปรับแต่งบ้านนี้ให้เหมาะกับคุณได้ มันคือบ้านที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นครอบครัวที่เริ่มมีเจ้าตัวน้อย ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นบ้านที่ลงตัวกับชีวิตในบั้นปลายด้วยเช่นกัน”
หลังจากที่บ้าน 3 แบบแรก (Tree House, Window House และVertical House) ให้ความสำคัญกับพื้นที่จำกัดในสังคมเมืองของญี่ปุ่นPlain House คือบ้านสำเร็จรูปหลังแรกจาก MUJI ที่ออกแบบมาเพื่อสภาพแวดล้อมชานเมือง โดยมี “Forest Living” ในเมืองอิสุมิ จังหวัดชิบะ เป็นที่ตั้งในการเปิดตัว
ด้วยแนวคิด “เชื่อมต่อสวน...โยงใยครอบครัว” Plain House ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียว (Hiraya) ที่มีลักษณะเปิดโล่งและลบเส้นเขตแดนระหว่างพื้นที่ภายนอกกับภายในให้คงเหลือเพียงแค่เลือนลาง มีชานไม้ขนาดใหญ่ไว้สำหรับรองรับกิจกรรมต่างๆ ผู้อยู่อาศัยสามารถยกกิจกรรมในบ้านย้ายออกมาสัมผัสกับบรรยากาศนอกบ้านได้อย่างเสรี ทั้งการกินอาหารเช้าใต้ต้นไม้ หรือการนั่งทำงานในสนามหน้าบ้าน
เมื่อราคาที่ดินในเมืองเล็กทำลายข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่ การสร้างบ้านชั้นเดียวนั้นมาพร้อมกับข้อดีมากมาย ทั้งเรื่องความต่อเนื่องของพื้นที่ ทำความสะอาดง่าย สะดวกต่อการดูแลรักษา สามารถเข้าถึงได้ง่ายตั้งแต่วัยเด็กจนวัยชรา
ด้วยพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางฟุตกับชานบ้านขนาดใหญ่ Plain House เหมาะสำหรับผู้ที่พร้อมจะลงหลักปักฐานอยู่กับบ้านในระยะยาว โดยกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มผู้สูงวัย และผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายไม่มีข้าวของสัมภาระมากมาย องค์ประกอบหลักที่มีเพียงรูปทรงเรียบง่ายสะอาดตา ไม้สีอ่อน และแสงธรรมชาติ ประกอบกับผลิตภัณฑ์สารพันสิ่งจาก MUJI ที่ให้เลือกสรรได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือดำน้ำ Plain House จึงเป็นบ้านที่มีความยืดหยุ่นในการปรับประยุกต์การใช้งานได้ตามแต่จินตนาการไม่รู้จบของผู้อยู่อาศัย
ถึงแม้ว่า MUJI จะมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกและได้รับความนิยมในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม Plain House และบ้านสำเร็จรูปแบบอื่นๆ ในตระกูล MUJI House นั้นมีจำหน่ายเพียงในประเทศญี่ปุ่นที่เดียวเท่านั้น
STAY CONNECTED บ้านที่เรียบง่ายและปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติจาก MUJI House
/
“Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน
/
“One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว
/
HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน
By TOSTEM/
บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน
/
เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น
/
เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )