LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
สถาปัตยกรรมมีเสียง “SOUND BRICK” งานวิจัยจำแนกภาษา “เสียง” 5 ประเภท ที่เติมเต็มอารมณ์ร่วมจากสถาปัตยกรรมอิฐ
Design: Architecture:——
Research
Translated & Rewritten:
Nada Inthaphunt
Source:
‘‘SOUND BRICK” Boonserm Premthada, Arcasia Design Research Lecture Series 2015
สถาปัตยกรรมมีความสำคัญต่อบทบาทการสร้างเมือง ในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมเสมอมา ซึ่งช่องทางการสื่อสารของสถาปนิกคือการออกแบบรูปร่างที่ร้อยเรียงจากภาษา ในขณะความลึกล้ำของมิติการเกิดภาษาสามารถสร้างขอบเขตได้กว้างไกลเกินกว่าความสวยงามที่ใช้งานได้ องค์ประกอบของ “บรรยากาศ” และ “ความรู้สึก” จึงไม่ใช่การออกแบบให้คนรับรู้จากสิ่งที่จับต้องได้เท่านั้น แต่อีกหนึ่งโสตประสาทสำคัญที่มักถูกมองข้ามคือ “เสียง” ซึ่งจะถูกให้ความสำคัญเมื่อเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ใช้งานเกี่ยวกับมันเท่านั้น สิ่งนี้อาจกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสร้างประสบการณ์ที่มีอยู่ในทุกที่ แต่ไม่เคยถูกจับมาพูดให้คนตั้งใจเข้ามาสัมผัสสิ่งที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรม และบริเวณโดยรอบ ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนสังคมได้จากการมาเยือนสถานที่
ความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมไทยที่ใช้อิฐก่อสร้างนั้นมีความผูกพันมาอย่างยาวนานตามประวัติศาสตร์ อาจารย์บุญเสริมเริ่มต้นงานวิจัย “SOUND BRICK” จากทุนวิจัยของ ARCASIA DESIGN RESEARCH อันเป็นความเกี่ยวข้องกับการแยก “เสียง” โดยอาศัยเครื่องมือหลักคือ “หู” ของเขาที่ได้ยินเพียงข้างเดียว และไม่สามารถจับเสียงสูงได้ เป็นตัวพิสูจน์การตกกระทบของเสียง ตามประสบการณ์ตรงตลอดช่วงระยะเวลา 6 เดือน โดยทำควบคู่กับการทำวิจัยชิ้นอื่น มีการแบ่งตามลักษณะของอารมณ์ร่วม 5 ประเภท ของ 5 สถานที่ ได้แก่ ตัวโครงการสถาบันกันตนา (KANTANA FILM AND ANIMATION INSTITUTE ในจังหวัดนครปฐม) ที่อาจารย์เป็นผู้ออกแบบเอง เตาเผาอิฐโบราณที่ป่าโมกจังหวัดอ่างทอง วัดศรีชุมจังหวัดสุโขทัย วัดมเหยงคณ์ และประตูช่องกุฏิ์ ที่วัดรัตนไชยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสำรวจสถานที่ต่างๆ ได้ทำควบคู่ไปกับการบันทึกเอกสาร การทดลอง การออกแบบพื้นที่ วาดรูป และจำลองโมเดล เพื่อทำความเข้าใจการจัดวางสำหรับตำแหน่งการเกิดเสียง ทั้งเปิดโอกาสพัฒนาเครื่องมือการออกแบบในสถาปัตยกรรมอิฐไทย จนสามารถนำไปเผยแพร่ได้
ในสุนทรียะสถาปัตยกรรมอิฐตามการจำแนกของผู้วิจัย
1. SOUND OF SILENCE จาก โครงการสถาบันกันตนา
เสียงแห่งความเงียบไม่ได้ถูกออกแบบตั้งแต่ต้น แต่ค้นพบภายหลังเมื่อ Mr. Solano Benitez สถาปนิกชาวปารากวัย ได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมโครงการ และเอ่ยถึงความพิเศษที่แตกต่างกันของเสียงในแต่ละพื้นที่ของสถาบันกันตนา
เมื่อเริ่มก้าวย่างเข้าไปในช่องทางเดิน กำแพงของโครงการช่วยลดเสียงความอึกทึกภายนอกอาคาร โสตประสาทเปิดโหมดโฟกัสไปโดยอัตโนมัติ จนได้ยินเสียงย่างเท้าบนพื้นคอนกรีต และหินกรวดที่ชัดขึ้น ได้ยินเสียงนกร้อง รวมถึงลมพัด หรือแม้แต่เสียงของฝนตกในแต่ละวัน ปัจจัยของเสียงเกิดจากตัวกำแพงที่เปิดโล่งสูง 8 เมตร แล้วก่อด้วยอิฐเป็นชั้นๆ ขึ้นไปเป็นเส้นสายนูนสูงต่ำตลอดทาง ซึ่งเพิ่มพื้นที่การตกกระทบของเสียงทำให้เกิดการดูดซับที่ดีกว่ากำแพงอิฐโล่งๆ นอกจากนี้ช่องเปิดของทางเข้าด้านข้าง ทางเชื่อม ทางตัด แผ่นคอนกรีตและหินกรวดโรยเป็นทางเดิน รวมถึงต้นไม้ระหว่างทางเดิน ล้วนเป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างของเสียงในพื้นที่ และกลายเป็นปัจจัยของการทดลองหากงานออกแบบทางเดินเดิมได้รับการต่อยอด เพื่อสร้างเสียงแห่งความเงียบในรูปแบบที่ต่างออกไป 4 รูปแบบ
1.1 Skin
1.2 Volume of Space
1.3 Sound of Height
1.4 Roof and Ground
2. SOUND – TILATION จาก เตาเผาอิฐโบราณ ป่าโมก
เสียงและการถ่ายเทอากาศคือการพบในเตาเผาอิฐโบราณ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เมตร มีลักษณะเป็นอิฐสี่เหลี่ยมคางหมูค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเป็นโดมมีช่องระบายความร้อนจากการเผาอิฐที่ปล่องด้านบน ช่องระบายด้านข้าง และที่ก้นเตา
ลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ได้ถูกกระจายให้กว้างขึ้นด้วยหน้าผิวตกกระทบที่เป็นโค้งอาร์ค (Arch) แม้จะพูดให้เบาแค่ไหนก็ตาม โดยเสียงนั้นได้ถูกลดความก้องกังวานลงเพราะการถ่ายเทของอากาศเดินทางผ่านช่องเปิด ช่วงขณะที่ภายในเกิดความเงียบจึงจะได้ยินเสียงภายนอก กลับกันหากอยู่ในพื้นที่แบบเดียวกันในพื้นที่ปิด ยิ่งเสียงก้องสะท้อนดังมากขึ้นระดับความไม่สบายของมนุษย์ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น
2.1 Sound of Kilns
2.2 Molding
2.3 Freedom and Movement
2.4 Rings
3. MYSTERIOUS SOUND จาก วัดศรีชุม
เสียงลึกลับ จากสถานที่ศึกษาข้อมูลในมณฑปไม่มีหลังคาของวัดศรีชุม โบราณสถานภายนอกเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่นี่มีเรื่องเล่าของพระอจนะ พระพุทธรูปกลางแจ้งสมัยสุโขทัย ตั้งเป็นองค์ประธานขนาดใหญ่อยู่ภายในว่าสามารถพูดได้ ซึ่งความจริงมีที่มาจากเสียงมนุษย์ผู้แอบซ่อนตัวในกลไกทางเดินลับในกำแพง โดยสามารถเดินลอดออกมาด้านข้างของตัวพระพุทธรูป
เสียงที่เกิดขึ้นภายในมณฑปจะมีความกังวานเนื่องจากผิวผนังที่ค่อนข้างเรียบ และมีเพียงมุมที่เป็นปุ่มขรุขระ หน้าผิวจึงดูดซับเสียงน้อย เสียงไม่ได้ดังกระหึ่มอย่างที่คาดการณ์ไว้ แต่พื้นที่ลักษณะมณฑปยังมีคุณสมบัติที่แยกเสียงภายในและภายนอกออกจากกันได้
ในสถานที่รวมถึงช่วงเวลาเดียวกัน จะถูกประมวลไปตามความเข้าใจ และประสบการณ์การรับรู้ของแต่ละบุคคล สำหรับ Mysterious Sound ในประสบการณ์ของอาจารย์บุญเสริมคือเสียงที่ทำให้รู้สึกหยุดนิ่ง
3.1 Hidden Sound
3.2 Sound of Corner
3.3 Rooms
3.4 Sound of Scale
3.5 Converged Sound
4. SOUNDSCAPE จาก วัดมเหยงคณ์
กำแพงอิฐทางเดินสูงเกือบ 2 เมตร กว้าง 2.5 เมตร และยาว 48 เมตร สู่วัดมเหยงคณ์ เป็นทางเดินสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยอยุธยา ซึ่งกันมุมมองในระดับสายตาแต่ยังเปิดสู่ภายนอก ขณะเดียวกันเสียงที่เกิดในพื้นที่ก็มีคุณภาพพอที่จะแยกแยะแหล่งที่มาได้ ไม่ว่าจากภายนอกหรือภายใน Soundscape จึงเป็นการทดลองสถาปัตยกรรมกลางแจ้งที่ช่วยแยกแยะความต่างที่มาของเสียงจากทั้งภายนอก และภายใน
4.1 Sound of Curve
4.2 Inside – Out
4.3 Sound of Level
5. SOUND OF PASSAGE จาก ประตูช่องกุฏิ์ วัดรัตนไชย
อุโมงค์อิฐทางเดินของประตูช่องกุฏิ์ ในสมัยก่อนของอยุธยาประตูเหล่านี้จะมีกระจายตัวอยู่หลายจุดเพื่อเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองและตะเข็บรอบนอก ด้วยลักษณะกำแพงหนา มีความสูง 2.5 เมตร และกว้าง 2 เมตร ปลายอุโมงค์เปิดทั้งสองฝั่ง ลักษณะของประตูช่องกุฏิ์เปรียบได้กับช่องเปิดสี่เหลี่ยมของกำแพงโครงการสถาบันกันตนา ที่ผู้ทำวิจัยค้นพบว่า ไม่ว่าขนาดของช่องเปิดจะเล็กมากแค่ไหน กำแพงที่หนาก็ยังคงสามารถกักเก็บเสียงไม่ให้เดินทางไปสู่อีกฝั่งได้
5.1 Exposed Sound
5.2 Positive and Negative
ข้อสรุปของงานวิจัยที่เกิดขึ้นในงานสถาปัตยกรรมอิฐที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันทั้ง 5 แห่ง เป็นการเดินทางของ “เสียง” มาหาคน สร้างผัสสะที่แปรไปตามเวลา สภาพอากาศ พื้นหลังในแต่ละคน เครื่องมือการเกิด “เสียง” ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิวและรูปร่างของวัสดุตกกระทบ ระดับความสูง การจัดวาง บริบท การเปิด-ปิดในแต่ละที่ โดย “เสียง” จากบริบทนั้นยังนับเป็นอีกส่วนเติมเต็มถึงการมีอยู่ของงาน เชื่อมโยงหรือตัดขาดสถาปัตยกรรมภายในและภายนอก เพื่อขยายสุนทรียศาสตร์ให้ตกกระทบลงในจิตใจมนุษย์จนเกิดเป็นความทรงจำ เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสเมื่อนั้นมนุษย์จะยังคงเป็นมนุษย์อยู่
"เมื่อเสียงแสดงอัตลักษณ์ผ่านอิฐไทย" งานวิจัย "Sound Brick" ของผศ.บุญเสริม เปรมธาดา
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ
/
ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )