LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
การสร้างเรื่องเล่าจากการเปลี่ยนแปลงของ RIBA Royal Gold Medal ประจำปี 2021
เป็นประจำของทุกปีที่ Royal Institute of British Architects (RIBA) จะประกาศชื่อสถาปนิกรับเหรียญเชิดชูซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยตรง ซึ่งเป็นกิจกรรมเริ่มต้นมาก่อนรัชสมัยของพระองค์ตั้งแต่ปี 1848 ให้แก่สถาปนิกที่มีทั้งอิทธิพลและมีชื่อเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้รับรับเหรียญทองประจำปี 2021 นี้คืออัศวินด้านสถาปัตยกรรมผู้เพิ่งได้รับการแต่งตั้งยศในปี 2017 ได้แก่ Sir David Adjaye OBE
Sir Adjaye ก่อตั้งบริษัท Adjaye Assosiates มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2000 ปัจจุบันสำนักงานถูกขยายให้มีตั้งอยู่ทั้งใน London New york และ Accra มีงานที่สร้างเสร็จแล้วตั้งอยู่หลายที่ทั่วทุกมุมโลกหลากหลายสเกล แต่งานที่ทำให้เป็นที่พูดถึงมากขึ้นในระดับสากลคือ Smithsonian Institution's National Museum of African American History and Culture ตั้งอยู่ที่ National Mall ในเมือง Washington D.C.
สถาปัตยกรรมและเส้นทางสู่สายงานของ Sir David Adjaye OBE สถาปนิกชาวอังกฤษ-กาน่า มีการเปลี่ยนแปลงไปกับขนบอยู่ตลอดช่วงเวลา จากบทสัมภาษณ์ที่เคยให้ไว้กับ The Hour Glass บันทึกบทการสัมภาษณ์การสร้างเรื่องเล่าที่เปลี่ยนแปลงผ่านผลงานของเขาได้อย่างชัดเจน
ด้วยพื้นฐานทางครอบครัวที่ไม่ได้อยู่ในสายงานสร้างสรรค์ ทำให้เขารู้จักการทำงานอย่างสถาปนิกแบบมืออาชีพเป็นครั้งแรกเมื่อได้ย้ายมาอยู่ที่อังกฤษ แต่สิ่งที่ตัวเขาสัมผัสถึงความงามทางสถาปัตยกรรมกลับไม่ใช่สิ่งที่แสดงออกมาภายนอก สิ่งที่ทำให้เขามีความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างสถาปัตยกรรมกับประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ร่วมถึงทุกสถานที่การเดินทางก่อนมาอยู่อังกฤษ คือความงามที่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมันส่งผลกับคนอย่างไร ไม่ใช่แค่ในแง่รูปลักษณ์ แต่ต้องสะท้อนถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคน
เนื่องจากอาชีพนักการทูตชาวกาน่าของพ่อและแม่ ทำให้ช่วงๆ ชีวิตวัยเด็กของ Sir Adjaye ซึ่งเกิดที่ Tanzania ต้องระหกระเหินเดินทางอยู่เสมอ จากประเทศตะวันออกของแอฟริกา กลับไปตะวันตกไปจนเหนือของแอฟริกา ถึงตะวันออกกลาง และย้ายไปอังกฤษในที่สุด เขาจึงมีประสบการณ์พหุทางภาษาและวัฒนธรรม รวมถึงแรงขับเคลื่อนที่แตกต่างกันไปในแต่ละที่บนโลกตั้งแต่เล็ก
ในมุมมองของเขา ศิลปะและสถาปัตยกรรมถือเป็นสิ่งเดียวกัน ทั้งสองสิ่งต่างมีมุมมองอันทรงพลังที่สามารถสะท้อนเกี่ยววิถีชีวิตของคนได้
"สำหรับผมแล้ว ศิลปินที่ดีที่สุดคือศิลปินที่บอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการมีอยู่ของผม"
แม้จะถ่ายทอดออกมาได้อย่างล้ำลึกหรืออย่างมีเล่ห์กลก็ตาม เขาไม่อาจใช้แค่วิจารณญาณส่วนตัววิจารณ์ถึงแค่ประโยชน์ของมันได้ แต่เขานิยมชื่นชมคุณค่าในส่วนที่ศิลปินใช้มุมมองถ่ายทอดออกมาด้วยวิธีการใดให้ลึกซึ้งเกินกว่าการใช้คำเพื่อบรรยาย เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงมันได้มากขึ้นในเรื่องที่ซับซ้อนหรือเรียบง่ายก็ตาม สำหรับเขาแล้วการได้เห็นสิ่งที่ศิลปินได้ทำผ่านศิลปะในช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่อดีต สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ล้วนเป็นการบรรยายเรื่องราวที่ตรึงเขาได้ ณ จุดนั้น
อย่างไรก็ตามโครงการที่เปลี่ยนชีวิตของ Sir Adjaye ทั้งในแง่การทำงานและมุมมองชีวิตมากที่สุด คือ National Museum of African American History and Culture แม้จะมีอายุยังน้อยในวงการเมื่อเทียบกับตัวงาน และบทบาทที่ได้รับของช่วงเวลาสำหรับการทำโครงการนี้ ทั้งตัวเขาและทีมต่างทุ่มเทเป็นอย่างมาก จนแทบไม่สามารถรับทำโครงการอื่นๆได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง เพราะต่างต้องเสพย์เนื้อหาและย่อยข้อมูลจำนวนมาก แต่ก็ทำให้เขาได้เรียนรู้อย่างมากเช่นกัน เมื่อถึงวันที่ Barak Obama เดินทางมาจากธรรมเนียบขาวมาเปิดพิพิธภัณฑ์ ช่วงเวลานั้นเขาถึงรู้สึกถึงเป้าหมายได้บางอย่างในชีวิตบรรลุผล และเป็นช่วงหนึ่งในชีวิตที่ตัวเขามีความอิ่มอกอิ่มใจมากๆ ในขณะที่อาคารกำลังก่อเกิดเรื่องราวของมันหลังเปิดใช้งาน ตัวเขาเองก็ได้กลืนไปกับผู้ร่วมชมงาน เข้าชมสาระคดีของแต่ละห้องภาพยนตร์ในพิพิธภัณฑ์ มีอารมณ์ร่วมและร้องไห้ไปกับมัน กลายเป็นช่วงเวลาที่เขาประทับใจและเก็บเกี่ยวหอบกลับมาในช่วงเวลาทำงานเช่นกัน หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มเห็นว่า ผู้คนก็ต่างสังเกตุเห็นสัญญะของอาคารหลังนี้นอกเหนือจากสุนทรียศาสตร์และการใช้งานของมัน
Signature ของอาคารคือสิ่งที่ผู้ออกแบบถอดรูปทรง อันมีความหมายนัยยะเชื่อมโยงถึง "มงกุฎ" (Corona) มาจากเศษเสี้ยวหนึ่งทางประวัติศาสตร์ของเมือง Benin ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไนจีเรีย Benin เคยเป็นอาณาจักรหนึ่งอันรุ่งเรืองของแอฟริกาตะวันตกก่อนการเข้ามาล่าอาณานิคมของยุโรป
ในวัดหลังนั้นประดับไปด้วย Caryatids หรือเสาที่สลักเป็นรูปเทพยดา ซึ่งส่วนหัวสลักด้วยมงกุฎทรง Ziggurat รูปแบบตามอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มงกุฎอันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการสอดแทรกเรื่องราวของคน กลุ่มคน และอาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองอย่างสง่างามในอดีต ซึ่งเศษเสี่ยวความพิเศษเหล่านี้ต่างถูกละเลย และหลงลืมไปจากผู้คน เพราะปัจจุบันอาณาจักร Benin ได้ถูกจักรวรรดิอังกฤษทำลายไปแล้ว เพื่อให้เรื่องเล่าทั้งหลายได้สอดคล้องเกี่ยวกับอารยธรรมที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
Sir Adjaye ยังกล่าวว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นคือมนุษย์มีความฝันและเรื่องเล่าให้บอกต่อ สถาปัตยกรรมเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์สำหรับสถาปนิกเพื่อใช้สื่อสารถึงเรื่องราวความหวัง และแรงบันดาลใจ ดังนั้นกระบวนการออกแบบในรูปแบบสิ่งของและอาคารของ Sir Adjaye ประกอบไปด้วยขั้นตอนที่เขาต้องค้นหาส่วนประกอบตามประวัติศาสตร์ ซึ่งก่อให้เป็นปัจจุบัน และส่งผลต่อไปในอนาคต แล้วนำเรื่องเล่าทั้งสามช่วงเวลามาร้อยเรียงให้เกิดขึ้นในเนื้องานแล้ว ผู้เล่าเรื่องมีหน้าที่สำคัญในการออกแบบนำเสนอสารต่างๆ ให้ดูสมเหตุสมผล หรือหลีกเลี่ยง หรือลดทอนลง หรือทำให้บางอย่างเด่นชัดขึ้น
สำหรับ Sir Adjaye แล้วกระบวนการทำงานในรูปแบบของสถาปนิกเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์พิเศษระหว่างตัวงานและผู้ออกแบบ ประกอบไปด้วยการใช้จินตนาการค้นหา เรียบเรียงเป็นการวิจัย อาศัยความรู้สึกที่เกี่ยวกับรูปทรง และขนาดเป็นองค์ประกอบ
การเปลี่ยนแปลงแต่ละขั้นตอนมีช่วงเวลามหัศจรรย์ที่ผู้ออกแบบเท่านั้นสามารถสัมผัสได้ในแต่ละช่วงเวลา จากกระบวนการการคิดงานซึ่งมีขนาดอยู่ในมือ เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจากงานที่คิดจะถูกขยายออกมาในแต่ละช่วง จนกระบวนการสุดท้ายที่ผู้ออกแบบกลายเป็นสัดส่วนที่เล็กจนเข้าไปอยู่ในงานได้ สำหรับ Sir Adjaye แล้วการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เป็นความรู้สึกเสพย์ติดอย่างลึกล้ำ และทำให้เขาตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้พบและทำงานสถาปัตยกรรม
"ผมคิดว่า ความสงสัยมันมีวิวัฒนาการตลอด ความสงสัยสำหรับคนที่ทำงานอยู่ในสายสร้างสรรค์เป็นเสมือนเชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนชีวิต ผมคิดถ้าผมหมดความสงสัยเมื่อไหร่ บางทีอาจหมายความว่าผมอาจตายไปแล้ว"
ความสงสัยในมุมมองของ Sir Adjaye เป็นส่วนที่ทำให้เขาตั้งคำถามเกี่ยวกับสรรพสิ่ง พร้อมตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เขาจะทำ ทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนในการดำรงชีวิตจึงเป็นไปเพื่อจะหาคำตอบ เขาเคยเป็นคนที่มีปัญหากับการตั้งข้อสงสัยอันก่อเกิดความไม่แน่นอน แต่ปัจจุบันเมื่อเจริญก้าวหน้าขึ้น เขากลับกลายเป็นคนที่พร้อมกระโดดเข้าหาความไม่แน่นอน และชอบเข้าหาทุกโอกาสที่นำไปสู่การตั้งคำถาม รวมถึงการค้นพบที่น่าอัศจรรย์
Translated & Rewritten: Nada Inthaphunt
Source: [The Hour Glass]. (2020, April 29). ‘‘Sir David Adjaye –Building Transformative Narratives”[Video File]. Retrieved from https://www.thehourglass.com/th/video/david-adjaye/
SIR DAVID ADJAYE OBE การสร้างเรื่องเล่าจากการเปลี่ยนแปลงของ RIBA Royal Gold Medal ประจำปี 2021
/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
/
นี่ไม่ใช่บ้านที่ออกแบบตามค่านิยมทั่วไป เพราะจะมีบ้านหลังไหนที่ต้องเดินลัดเลาะผ่านเส้นทางคดเคี้ยวและบันไดสูงเหมือนเดินขึ้นภูเขาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน อีกทั้งในเวลาฝนตกอาจต้องยอมเดินเปียกปอน ผ่านแลนด์สเคปซับซ้อน ที่ทำให้เรามีเวลามากขึ้นกับการซึมซับบรรยากาศรอบตัวผ่านทุกประสาทสัมผัส บ้านในเมืองหลังไหนที่จะรองรับการขยายพื้นที่สีเขียวได้มากเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญไม่ได้มุ่งเน้นแค่การสร้าง สุนทรียภาพเฉพาะสำหรับผู้อยู่อาศัย แต่ยังคำนึงถึงผู้คนบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย เรากำลังพูดถึงบ้าน Mirin House ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates Design ที่ให้ความเป็นส่วนตัว กับการสอดแทรกธรรมชาติสู่การอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องยึดติดรูปแบบบ้านล้อมคอร์ต และกล้าออกนอกกรอบแนวคิดการออกแบบบ้านทั่วไป ซึ่งนี่อาจเป็นตัวอย่างที่จะทำให้เจ้าของบ้านหรือสถาปนิกในวงการได้เปิดมุมมองการออกแบบใหม่ ๆ ต่อขยายเรื่องของประสบการณ์ ประสาทสัมผัส ธรรมชาติ และความงามของการอยู่อาศัยที่หลับตาแล้วยังสัมผัสได้ถึงมันอยู่
/
จากโมเมนต์ประทับใจในสวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์ก นำมาสู่ “GOOSE Living” บูติกโฮเทลและคาเฟ่สไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใจกลางย่านสุขุมวิท ผลลัพธ์จากการตีความการพักผ่อนรูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Living a goose life...wild, fresh and free” ที่ชวนทุกคนมาใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ที่เรียบง่าย ยืดหยุ่น แต่แฝงด้วยมุมมองที่กล้าจะทดลองประสบการณ์ใหม่
/
สถาปัตยกรรมแบบทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบที่มาจากเสา คาน ห่อด้วยผนังที่มีเปลือกตามสมัยนิยม นิยามของผนังคือระนาบกั้นระหว่างภายนอกและภายใน หรือภายในด้วยกันเอง ทำหน้าที่แบ่งพื้นที่และปกป้องสเปซภายใน ระนาบผนังวางตัวในแนวตั้งอยู่ระหว่างพื้น เพดาน ในขณะที่ผนังภายนอกถูกแยกออกด้วยระนาบพื้นและหลังคา ในบางส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบ Postmodern architecture มีความพยายามจะสลายระนาบต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )