SALA STEEL by Volume Matrix Studio | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

SALA STEEL
by Volume Matrix Studio
สถาปัตยกรรมที่รับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ของผู้ใช้งานในนิยามของคำว่า “Surreal Experience” ให้คนสนุกไปกับการตีความและคิดต่อ
เรารับรู้พื้นที่จากสิ่งใด? อะไรเป็นตัวจำแนกประเภทของมัน? คนแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าเมื่อเวลาผ่านไปทำไมเราจึงกลับไปที่เดิมๆ หรืออ่านหนังสือเล่มเดิมๆ แล้วรู้สึกไม่เหมือนเดิม เรามีอายุมากขึ้น สถาปัตยกรรมก็เช่นกัน

ภายใต้ร่มเงาของต้นมะม่วงใหญ่ที่เติบโตควบคู่มากับผืนดินในรั้วบ้าน และโครงสร้างอาคารของบริษัท Volume Matrix Studio ทำให้เราได้หลุดออกมาอีกโลกหนึ่งในพื้นที่สีเขียวเหมือนไม่ได้อยู่ในเมือง เวลามองออกไปจะเห็นส่วนโค้งของทางด่วนที่ตัดมาจากเส้นพระรามสามมุ่งสู่แจ้งวัฒนะ แนวคิดหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่นี้คือการล้อมธรรมชาติเอาไว้ และอยู่ไปด้วยกันอย่างกลมกลืน ก่อนหน้านี้ระหว่างอาคารที่เป็นบ้านและบริษัทถูกขั้นไว้ด้วยคูน้ำ บ่อน้ำ และพงไม้ ที่มีทางเดินเชื่อมถึงกันเท่านั้น ซึ่งตอนนี้มีศาลา Abstract หลังหนึ่งเชื่อมทุกอย่างไว้อีกที

“คนมามักจะเกิดคำถามขึ้นกับโครงสร้างตรงนี้ว่า ทำทำไม? ทำไปเพื่ออะไร? คืออะไร? โดยเจตนาคือสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดคำถามว่าทำไมต้องไปตัดสินว่ามันคืออะไร ทั้งที่มันขึ้นอยู่กับการตีความตามประสบการณ์ของคน ซึ่งไม่มีอะไรถูกอะไรผิด” เจตนาแรกที่พี่กึ๋น กศินร์ ศรศรี เจ้าของพื้นที่และบริษัท Volume Matrix Studio อยากให้คนที่มาเยือนตั้งคำถามกับการใช้งานของพื้นที่ต่างๆ รวมถึงศาลาอันเกิดจากการทดลองสนุกๆ นี้ ที่นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนมุมมอง และเพิ่มการใช้งานของพื้นที่โดยการวางกรอบไว้หลวมๆ ให้เติบโตไปเองตามกาลเวลา “พี่มองว่าปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมมันบังคับคนมากเกินไป แต่เรามองว่าความสนุกเกิดขึ้นเมื่อเวลาปล่อยคนให้เกิดการตีความและทำอะไรก็ได้ เช่นเดียวกับความ Surreal ของคนไทย” พี่กึ๋นขยายสิ่งที่เป็นมุมมองทำปฏิกิริยากันของวัตถุและความคิดสร้างสรรค์ของพื้นฐานของคนไทย

ถ้าจะระบุลักษณะสิ่งก่อสร้างประเภท “ศาลา” จริงๆ นั้นเป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่ง มีความอเนกประสงค์ ก่อสร้างขึ้นมาอย่างอิสระ และเกิดขึ้นไม่ไกลนักจากที่พักอาศัย แต่ Sala Steel ของที่นี่มีความยืดหยุ่นมากกว่าความหมายของมันมากนัก ภายใต้รูปร่างและโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนของศาลา สร้างด้วยโครงเหล็กสองชั้น ซึ่งชั้นบนสามารถเดินขึ้นไปได้โดยมีหลังคาคือร่มใบมะม่วง มีการปิดผนังซึ่งมองจากรูป ด้านคือด้านเดียวกันแต่เป็นคนละระนาบ มีทั้งช่องแสงยื่นออกไป และระแนงเหล็กเพื่อรับแสงเพิ่ม Volume ให้กับพื้นที่ วัสดุที่ใช้สร้างหลักคือ โครงเหล็กเคลือบกันสนิม แผ่นเหล็กไม่เคลือบกันสนิม พ่นสีดำ(ที่ตอนนี้มองไม่เห็นสีดำแล้ว) และพื้นตามวัสดุไม้หลากชนิดรวมถึงไม้ตะเคียนด้วย สิริรวมเวลาก่อสร้างราวหนึ่งสัปดาห์
จากการขยายทางเชื่อมระหว่างอาคารสองหลัง เราจึงสามารถมองเห็นผนังจากพื้นที่ไร้ขอบเขตขึ้นมา ซึ่งอำนวยต่อการเกิดกิจกรรมได้อีกหลายอย่างแล้วแต่จะรังสรรค์ ณ ตอนนี้พื้นที่บนศาลาจะพบเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าๆ ที่มีเรื่องราวที่มาที่ไปอีกจำนวนหนึ่ง ถูกจัดวางเรียงเหมือนเป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะย่อมๆ จากรสนิยมของเจ้าของ หากมานั่งชื่นชมต่างเวลาความรู้สึกก็จะต่างไป ตรงขั้นบันไดเชื่อมกับชั้นสองก็สามารถมานั่งสังสรรค์ กางโปรเจคเตอร์เพื่อฉายหนังดูร่วมกันได้ และบนศาลานี่เองก็เคยจัดพิธีรดน้ำสังฆ์มาแล้ว เป็นต้น
อันที่จริงงานปลูกสร้างระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์นี้กำลังสะท้อนดีเอ็นเอทางความคิดของหลักการออกแบบของ Volume Matrix Studio ได้อย่างดีทีเดียว งานสถาปัตย์ที่อยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติของบริบท และการสร้างความรู้สึก “สถาปัตยกรรมที่ดีไม่ได้อยู่ Last Long มันควรจะอยู่อย่างไรให้เป็นขยะน้อยที่สุดเมื่อมันหมดอายุ ให้มันสร้างประโยชน์สูงสุดโดยเติมเต็มการใช้งานคือการที่มันอยู่อย่างมีคุณค่าแล้ว สิ่งที่ Last Long คือการสืบต่อแนวความคิดมากกว่า” หลักการส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดจากพี่กึ๋น
คำตอบของ Volume Matrix Studio กับคำถามตอนเริ่มต้น คงไม่พ้นการใช้พื้นที่อย่างไรก็แล้วแต่คนจะตีความ ซึ่งทางผู้ออกแบบนำมาเล่าตีความจากนามธรรม ให้อยู่ในรูปแบบผ่านสถาปัตยกรรมที่ไม่ซับซ้อนเพื่อจับต้องได้ง่ายขึ้น ขอบเขตที่เรามองเห็นเราจึงนับเป็นพื้นที่ ดินฟ้าอากาศนอกจากทำปฏิกิริยากับวัสดุแล้วยังบอกเวลาคำนวณอายุ และเป็นที่มาของอารมณ์อันหลากหลายเป็นที่มาของความงามแบบธรรมชาติ ใครว่ามีอายุแล้วไม่สวยสนิมจับเหล็กยังสวยเลย
Project : SALA STEEL
Owner : คุณกศินร์ ศรศรี
Architect : VOLUME MATRIX STUDIO Co., Ltd.
Area : 50 ตารางเมตร
Budget : 100,000 บาท
Main Material : โครงสร้างเหล็กเคลือบสนิม, แผ่นเหล็กไม่เคลือบสนิม, พื้นไม้เก่าผสมชนิดกัน
    TAG
  • design
  • architecture
  • culture

SALA STEEL by Volume Matrix Studio

ARCHITECTURE/Pavillion
October 2018
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/Pavillion

    คน-ช้าง เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร? Biennale Architettura 2021/ Venice Biennale “บ้านคน บ้านช้าง” Boonserm Premthada

    รูปธรรมของผลงานวิจัยซึ่งประยุกต์ลักษณะของโครงสร้างตามความเป็นจริง เทคนิคและวิธีการสร้างที่ถอดแบบมาจากบ้านของคนและบ้านของช้างตามสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในชุมชนชาวกูย เพื่อตอบประเด็นคำถาม “How will we live together?” เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร? เกิดเป็นบทสนทนาผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม “บ้านคนบ้านช้าง” ใน Thai Pavilion ของงานนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติครั้งที่ 17 หรือ Biennale Architettura 2021 ที่เมืองเวนิส

    EVERYTHING TEAMMay 2021
  • DESIGN/Pavillion

    Public Space of SOS Pavilion at Chiang Mai

    SOS Pavilion ความหมายใหม่ของ “พื้นที่สาธารณะ” บนลานท่าแพที่สะท้อนให้คิดถึง ชีวิตของผู้คน ความหลากหลาย ความมีชีวิตชีวาของผู้คนในเมือง

    Sant SuwatcharapinunFebruary 2019
  • DESIGN/Pavillion

    THE MINI LIVING URBAN CABIN TOUR 2017-2018

    จากโลกยานยนต์สู่แวดวงการออกแบบที่อยู่อาศัย MINI รถยนต์สัญชาติอังกฤษ ซึ่งเติบโตมากับแนวคิด Creative Use of Space ได้พกพาแนวคิดเรื่องการใช้พื้นที่ เล็กๆ ให้เกิดประโยชน์

    Dorsakun Srichoo6 years ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMa day ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM13 days ago
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )