SAIMA PARK AVENUE | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

“สำนักงานสถาปนิก Office AT กับการออกแบบ Community Mall ให้เป็นทางผ่าน เป็นที่พักผ่อน เป็นศูนย์รวมของผู้คนและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง”

เส้นสายฉวัดเฉวียนบนอาคารรูปทรงโฉบเฉี่ยวดึงดูดสายตาเมื่อแรกเห็น แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่จะดึงดูดความสนใจให้ผู้คนแวะเวียนเข้ามาและต้อนรับสถานที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขาก็คือพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตในแต่ละวัน สุรชัย เอกภพโยธิน และ จุฑาทิพย์ เตชะจำเริญ นำทีมสถาปนิกจาก Office AT ออกแบบ SAIMA Park Avenue โครงการ Community Mall ภายใต้แนวคิดการสร้าง Mall ให้เป็นส่วนหนึ่งของ Community อย่างกลมกลืน
   ด้วยที่ตั้งซึ่งอยู่ระหว่างถนนใหญ่และถนนในชุมชนที่แวดล้อมด้วยบ้านพักอาศัยมากมาย ทีมสถาปนิกออกแบบให้โครงการนี้เป็นสะพานเชื่อมต่อการเข้าถึงให้ผู้คนในท้องที่สามารถสัญจรเข้าออกบ้านของตนเองได้สะดวกยิ่งขึ้นด้วยเส้นทางลัดที่ตัดผ่านเข้าไปในเนื้อที่ของ Community Mall “เราออกแบบให้โครงการนี้เป็นทางผ่าน” สุรชัย กล่าว “เราทำทางเชื่อมต่อจากถนนด้านหน้าทะลุไปยังถนนด้านหลัง เพื่อให้คนในหมู่บ้านบริเวณนี้ใช้เป็นทางลัด ไม่ต้องขับรถไปติดไฟแดง สามารถขับผ่านทะลุโครงการไปยังหมู่บ้านด้านหลังได้เลย”

   เส้นทางลัดในโครงการได้รับการออกแบบโดยนำลักษณะของที่ตั้งซึ่งมีระดับพื้นต่ำกว่าถนนมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ เกิดเป็นเส้นทางสัญจรและพื้นที่สวนที่ค่อยๆ ไล่ระดับจากถนนใหญ่ด้านหน้าจนเชื่อมออกไปสู่ถนนด้านหลังซึ่งอยู่ต่ำลงไปถึงสองเมตรได้อย่างลื่นไหลและเกิดเป็นภูมิทัศน์ที่น่าสนใจ “ตอนที่เรามาสำรวจพื้นที่ ระดับพื้นที่เดิมบริเวณนี้จะต่ำกว่าถนนใหญ่ประมาณสองเมตร เราก็เลยคิดว่าเราน่าจะใช้พื้นที่สภาพเดิมให้เป็นประโยชน์กับโครงการ มากที่สุดโดยไม่ได้ถมที่เพิ่ม” สุรชัยเล่า
“เราใช้วิธีการไล่ระดับจากถนนภายนอกปรับระดับภายในให้มีความลื่นไหลไปยังถนนด้านหลังซึ่งก็มีระดับต่ำกว่าถนนใหญ่ แล้วสามารถใช้บริเวณนี้เป็นสวน เป็นเนินเล็กๆ ค่อยๆ ปรับระดับเหมือนเป็นกำแพงกันดินกั้นระหว่างถนนสองส่วนด้วย”

   สวนคือองค์ประกอบสำคัญในการเชื่อมต่อให้ชุมชนกับโครงการนี้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น พื้นที่สวนสามส่วนกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งภายนอกและภายในอาคาร แต่ละสวนเชื่อมถึงกันได้อย่างต่อเนื่อง จากสวนภายนอกด้านหน้าสู่สวนต่างระดับภายในโถงของอาคาร และทอดตัวผ่านสะพานต่อเนื่องไปยังพื้นที่สวนกลางแจ้งด้านหลัง สวนแต่ละจุดได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายของผู้คน “เราออกแบบพื้นที่สวนให้เป็นที่สำหรับทำกิจกรรมของคนในชุมชนรอบๆ ทั้งออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์หรือใช้งานตลาดนัด” จุฑาทิพย์อธิบาย “เราอยากให้ Community Mall นี้มีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนจริงๆ “
   ความเชื่อมต่อพื้นที่สวนจากด้านหน้าสู่ด้านหลังทำให้สถานะการเป็นทางผ่านยิ่งชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ถนนในโครงการเป็นเส้นทางลัดสำหรับรถ สวนในอาคารทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงการสัญจรทางเท้าให้คนในชุมชนสามารถเดินเข้าออกบ้านของตนเองผ่านบรรยากาศสวนที่ร่มรื่นสวยงาม

   ความต่อเนื่องของระดับพื้นได้รับการถ่ายทอดจากภายนอกสู่ภายในอาคาร พื้นที่แต่ละชั้นของ Community Mall แห่งนี้ค่อยๆ ไล่ระดับขยับความสูงขึ้นไปอย่างลื่นไหล กลายเป็นพื้นที่โถงภายในที่เปิดโล่งเชื่อมต่อถึงกันทั้งด้านการเดินและการมองเห็น “มันเป็น Concept โดยรวมของโครงการนี้คือเราอยากให้โครงการนี้มี Dynamic พอเข้ามาในโครงการ จะมองเห็นความลื่นไหล ความต่อเนื่องของพื้นแต่ละชั้น สามารถมองทะลุถึงกันได้หมด” สุรชัย อธิบาย “แล้วก็มีความต่อเนื่องไหลลื่นระหว่างพื้นขึ้นไปตั้งแต่ชั้นใต้ดินไปจนถึงชั้นสี่ด้านบนสุด รวมทั้งยังต่อเนื่องไปยังLandscape ด้วย”
   อาคารที่เปิดโล่งเชื่อมต่อถึงกันในทุกชั้นไม่เพียงสร้างความน่าสนใจให้กับบรรยากาศของสวนภายในที่ร่มรื่น หากยังคำนึงถึงประโยชน์ในการแบ่งพื้นที่ทางด้านการค้า ทำให้ทุกตารางนิ้วในอาคารสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีจุดอับ ”Planning ของเรามีการวาง Flow ของคนเดิน จากชั้นหนึ่งมีบันไดเข้ามาในโครงการได้เป็น Loop เชื่อมต่อไปยังชั้นสองจากด้านหน้าได้เลย” จุฑาทิพย์กล่าว “Flow ของคนจะต่อเนื่องไหลลื่นไปทั้งตึกเราวาง Planning ของร้านค้า ให้ไม่มี Dead-End Corridor เลย เพื่อไม่ให้มีร้านค้าไหน ได้เปรียบเสียเปรียบกัน”

   แนวคิดความลื่นไหลภายในพื้นที่ได้รับการสะท้อนออกมา ผ่านการออกแบบเส้นสายในองค์ประกอบต่างๆ ทั่วทั้งโครงการ ตั้งแต่ผนังภายนอกของอาคาร ภูมิทัศน์ สะพาน ไปจนถึงบันได “ตัวบันไดต่างๆ มีเส้นสายที่บิดนำสายตา เส้นสายใน Facade ของอาคารก็ล้วนแต่เป็นเส้นสายที่สร้าง Dynamic ให้กับโครงการ ไม่ใช่เส้นตรงแต่เป็นเส้นเอียง ทั้งหมดนี้ประสานกันใน Space เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหว” สุรชัยกล่าว

   รูปทรงอาคารที่โฉบเฉี่ยวเกิดจากการใช้โครงสร้างที่ท้าทายและมีการผสมผสานเทคนิคทางวิศวกรรมหลากหลายรูปแบบ พื้นซึ่งมีลักษณะยื่นยาวโดยไม่มีคานรองรับเป็นการใช้พื้นระบบ Post-Tension ตำแหน่งเสาได้รับการวางในลักษณะ Off-Grid ซึ่งเสาแต่ละต้นไม่ได้เรียงแถวอยู่ในแนวเดียวกัน แต่มีตำแหน่งที่สลับสับไปมา เกิดความ Dynamic คล้ายกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ หลังคาและบันไดบางส่วนใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อให้มีระยะพาดที่ยาวเป็นโครงสร้างลอยตัว “โครงสร้างสำหรับโครงการนี้เป็นเรื่องท้าทายมาก มีการผสมผสานของโครงสร้างหลายๆ แบบเพื่อให้เกิดเป็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด” สุรชัยกล่าว “ตอนออกแบบเราก็ทำงานร่วมกับทีมวิศวกร โดยเราเองก็ทำโมเดลโครงสร้าง เพื่อ Study กัน เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างสนุกสนานในการดีไซน์” จุฑาทิพย์เสริม

   จากแนวคิดทางการออกแบบสู่ความท้าทายในการก่อสร้าง จินตนาการเริ่มปะติดปะต่อเป็นรูปเป็นร่างอย่างช้าๆ ที่ SAIMA Park Avenue การสร้างเส้นทางสัญจรใหม่ให้ชุมชน ไม่เพียงทำให้โครงการนี้กลายเป็นทางผ่านที่เชื่อมถนนใหญ่ด้านหน้าสู่ถนนในชุมชนด้านหลังเท่านั้น หากยังเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับโครงการแห่งนี้ให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ทุกเช้า ที่นี่จะเป็นที่ซึ่งผู้คนสามารถแวะจิบกาแฟ ซื้ออาหารที่จำเป็นก่อนที่จะไปทำงาน และในตอนเย็นคนในท้องที่สามารถแวะมาออกกำลังกาย พักผ่อน ซื้อข้าวของที่นี่ก่อนกลับเข้าบ้าน ทำให้ Community Mall แห่งนี้กลายเป็น Mall สำหรับ Community อย่างแท้จริง

    TAG
  • Office AT
  • SAIMA Park Avenue
  • Community Mall
  • design
  • architecture

SAIMA PARK AVENUE

ARCHITECTURE/COMMUNITY MALL
November 2020
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM2 days ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM15 days ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMNovember 2024
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAMNovember 2024
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/RESORT

    “Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่

    ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่

    EVERYTHING TEAMOctober 2023
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )