LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่
ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่
Riva Vista Riverfront Resort เป็นโรงแรมขนาดกลางจำนวน 61 ห้องที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ใจกลางเมืองเชียงราย ใกล้กับ “ชีวิตธรรมดา” คาเฟ่ที่โด่งดังสุดของเมือง เป็นที่พักที่ตอบโจทย์คนเมืองกรุงเทพฯ ผู้มองหาแหล่งพักผ่อนในเมืองที่สงบเงียบใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งด้วยลักษณะของที่ดินที่ถูกถนนตัดกลาง ทำให้โรงแรมถูกแบ่งเป็น 2 อาคาร ในลักษณะรูปตัว L ที่อาคารฝั่งติดริมแม่น้ำ ออกแบบให้เป็นห้องพัก และห้องอาหาร All-day dining ที่เปิดการมองให้เห็นวิวแม่น้ำได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ล็อบบี้ของโรงแรมถูกแยกไปไว้อีกอาคารหนึ่ง แตกต่างจากโรงแรมทั่วไปที่มักจะมุ่งเน้นออกแบบล้อบบี้ให้สวยงามโดดเด่นที่สุดเพื่อสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้เข้าพัก แต่ด้วยสถาปนิกตั้งใจออกแบบให้ที่นี่มีความเป็น City Hotel มากกว่าเป็นรีสอร์ทที่อยู่ท่ามกลางป่าเขา จึงออกแบบให้อีกอาคารที่ไม่อยู่ติดแม่น้ำ คืออาคารที่รวบรวม Facilities ไว้รองรับคนที่มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นล็อบบี้ สระว่ายน้ำ ห้องประชุม สปา และเป็น Meeting area
ส่วนช่องว่างระหว่างอาคารออกแบบเป็นช่องทางเดินเชื่อมไปสู่พื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำ และเปิดการมองเห็นให้นำสายตาพอดีไปยังต้นจามจุรียักษณ์เก่าแก่ที่ยืนต้นเด่นตระหง่านอยู่เบื้องหน้า เป็นอีกหนึ่งความลงตัวที่เกิดจากความตั้งใจในการออกแบบของทางสถาปนิก
Juxtaposition หรือการจับของที่ดูเหมือนไม่เข้ากับมาจัดวางให้สามารถอยู่ด้วยกันได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทาง IDIN Architects นำมาใช้ในการออกแบบโรงแรมแห่งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอาคารให้มีส่วนทึบ-ส่วนโปร่ง เส้นสายเฉียบคมแบบโมเดิร์นตัดกับความเป็นพื้นถิ่นธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันระหว่างเก่า-ใหม่ “มันมีความตรงข้าม (contrast) กันค่อนข้างสูงมากทั้งภายนอกและภายใน เกิดจากการหยิบของที่ไม่น่าอยู่ด้วยกันได้มาไว้ด้วยกัน นั่นคือนำองค์ประกอบงานพื้นถิ่นภาคเหนือของไทย มาเข้ากับความเป็นโมเดิร์น เหมือนกับ Master chief ที่ชอบ Deconstruct เมนูต่าง ๆ ออกมาจากส่วนผสมเดิมแต่นำเสนอในรูปแบบอื่น ๆ ที่แปลกใหม่เราเลยคิดว่าเราอยากลองถอดกลิ่นบางอย่างจากวัตถุดิบของท้องถิ่นมาผสมผสานสู่รูปแบบใหม่ด้วย เป้ จีรเวช หงสกุล แห่ง IDIN Architects ขยายความถึงที่มาของอาคารภายนอกที่ดูโมเดิร์น แต่เมื่อเข้ามาภายในจะพบกับกลิ่นอายความเป็นพื้นถิ่นทางเหนือที่คอนทราสกัน
สำหรับอาคารหลักริมน้ำถูกออกแบบเป็นโถงทางเดินเดียวหรือ Single Corridor เพื่อให้ทุกห้องพักสามารถมองเห็นวิวแม่น้ำ และสามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมให้เกิดภาษาใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ อย่างผนังอาคารส่วนบันไดหลักกับบันไดหนีไฟออกแบบให้เป็นผนังทึบ เพื่อให้คนสามารถรับรู้ถึงความแตกต่างเมื่อได้พบกับอาคารส่วนโปร่งบริเวณโถงทางเดิน ที่ออกแบบฟาซาดให้เป็นบานประตูไม้เทียมพับที่จัดมุมวางตัดสลับเหมือนประตูบานเฟี้ยมที่ถูกเปิดออก โดยแนวคิดเรื่องการนำประตูบานพับมาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของอาคาร ทางสถาปนิกยังมองว่าเป็นจุดเชื่อมระหว่างภายนอก-ภายในด้วย “ประตูมันคือการเปิดนอกออกใน เปิดในออกนอก เราก็เลยเอาภาษาประตูมาใช้กับการนำแสงเข้ามาภายในอาคารด้วย” ซึ่งทำให้เกิดภาษาของอาคารที่มีเส้นสายเท่ ๆ ผสานกับจังหวะของกระถางคอนกรีตสำหรับสอดแทรกพื้นที่สีเขียวให้เข้ามาสู่ตัวอาคารของโรงแรมแห่งนี้
ครั้งนี้ IDIN Architects ทดลองนำภาษางานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบล้านนาให้มาอยู่ร่วมกับความโมเดิร์น ซึ่งเราสามารถสัมผัสได้ผ่านสีสัน วัสดุ การทำฝ้าด้วยเสื่อสาน เทคนิคการเข้าไม้ที่จะโชว์เดือยไม้และแกนไม้แบบงานไม้พื้นถิ่น จนถึงรูปแบบการนั่ง เช่น ลักษณะของ “เติ๋น” หรือการยกพื้นที่สูงขึ้นจากระดับพื้น ที่คล้ายกับเป็นตั่งสำหรับนั่ง ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับที่นั่งมุมต่าง ๆ ที่จะถูกยกสเต็ปให้สูงขึ้นทั้งภายในห้องพัก และโซนห้องอาหาร ร่วมกับการจัดวางหมอนสามเหลี่ยมให้อารมณ์แบบการนั่งแบบไทย ๆ
นอกจากนี้ยังมีการนำ “ควั่น ส่วนประกอบของเรือนไทยพื้นถิ่น ที่บริเวณใต้หลังคาจะเป็นลักษณะของการตีไม้เป็นตัดกันช่อง ๆ ไว้ห้อยหรือแขวนของ ซึ่งนำมาปรับใช้กับอาคารสมัยใหม่ของที่นี่ในส่วนของดีไซน์งาน Lighting ในห้องอาหาร ซึ่งยังนำวัสดุเสื่อสานมาร่วมตกแต่งผ้าให้สร้างบรรยากาศกลิ่นอายแบบไทย ๆ ด้วย ในขณะที่ดีเทลการออกแบบพื้นที่ภายในส่วนอื่นก็มีสอดแทรกการเล่นกับเดือยไม้หรือการเข้าไม้แบบเก่ามาใช้ด้วย จนถึงการตกแต่งผนังเป็นลักษณะของแป้นเกล็ดไม้ที่ตีซ้อนเกล็ดให้เลเยอร์มิติของแสงขึ้น
การออกแบบโดยรวมเน้นความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดที่หวนทำให้เราคิดถึงความเป็นพื้นถิ่นงานไทยต่าง ๆ ที่บางอย่างเราอาจจจะไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่าคืออะไร แต่สามารถสัมผัสกลิ่นอายได้ เมื่อนำมาผ่านกระบวนการคิดที่ชอบทวิสต์ในแบบฉบับของ IDIN Architects จึงเกิดเป็นสุนทรียศาสตร์และประสบการณ์ใหม่ที่ Riva Vista Riverfront Resort
Location: Chiang Rai, Thailand 286/1 Moo 2, Rimkok, Mueang, Chiang Rai, 57100
Complete : 2023
AREA (SQM) :5,530 sq.m.
OWNER : Lanna Resort Partnership Limited
Architect: IDIN Architects
INTEIOR DESIGNER : IDIN Architects
LANDSCAPE ARCHITECT : Vista Pagoda Co., Ltd.
CONTRACTOR :Phanpongthai Company Limited
PHOTOGRAPHER : DOF SkyGround
“Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ
/
ใครที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือกำลังมองหานิทรรศการที่จะไปเดินชมในช่วงวันหยุด เราก็ขอแนะนำนิทรรศการสถาปัตยกรรม “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เปิดให้เข้าชมแล้วที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )