ศิลปะแห่งความตาย
“Requiem for the dead”
“ความตาย คือความงามที่ถูกบดบังด้วยความกลัว”
(The DEATH is a BEAUTY which is hidden by FEAR)
“ความตาย” ปลายทางสิ้นสุดของชีวิตมนุษย์ที่คนต่างหวาดกลัว ทั้งที่รู้ว่าคือสัจธรรมที่ไม่อาจหลีกหนี “ถ้างั้นเราควรจะมีการเตรียมตัวเพื่อจะไปเจอกับความตายรึเปล่า?” เป็นประโยคคำถามหนึ่งจากผู้สร้างสรรค์ศิลปะเกี่ยวกับความตาย เพื่อสะท้อน “ความตาย” ในด้านความงามที่เคยถูกบดบังด้วยความกลัว ก่อนนำมาสู่การจัดแสดงนิทรรศการ “Requiem for the dead” บอกเล่าสัจธรรมของชีวิตในรูปแบบงานศิลปะ ผ่านมุมมองของศิลปิน 4 คน ได้แก่ ศิลปินวาดภาพประกอบอย่าง Nutdub และ B-high ร่วมด้วย Sivabest ศิลปินออกแบบตัวอักษร (Calligraffiti) และ Kans ศิลปินออกแบบสื่อผสมร่วมสมัย
“ความตายเป็นสัจธรรมที่ต้องเกิดขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ทุกคนต้องผ่านความตาย ดังนั้นเมื่อพูดถึงความตาย ทำไมต้องมองเป็นเรื่องน่ากลัว หรือเป็นเรื่องเศร้า บางทีเราอาจพบความงามบางอย่างที่เรามองข้ามไปก็ได้” Nutdub หรือ ณัฐ - ณัฐพงศ์ ประดิษฐ์ศิลป์ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของนิทรรศการครั้งนี้ ที่เขาเป็นตัวตั้งตัวตีในการชักชวนเพื่อนศิลปินมาร่วมจัดแสดงงานศิลปะแบบกลุ่มขึ้น เพื่อสื่อสารให้ผู้คนพึงระลึกถึงความตาย ใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท พร้อมทั้งยังอุทิศนิทรรศการนี้ให้กับคุณย่าผู้ล่วงลับของเขาด้วย
Art of War
IG :
nutdub
FB:
Nut Praditsilp
เหตุที่ภาพโปสเตอร์ของงานนิทรรศการนี้เป็นรูปของรถม้านั้น ณัฐอธิบายว่า “รถม้า เปรียบเหมือนร่างกายคนเรา ที่เป็นเพียงแค่ยานพาหนะ การมีชีวิตก็เหมือนเรากำลังนั่งรถม้าไปถึงจุดหนึ่ง ที่ในที่สุดเราก็ต้องลงจากรถม้า รถม้าสำหรับผมจึงเป็นสัญลักษณ์หมายถึงการเดินทางไปสู่ความตาย” ความชื่นชอบในศิลปะเกี่ยวกับความตายของณัฐ เชื่อมโยงกับ Memento Mori ศิลปะที่ได้รับความนิยมในฝั่งยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 แต่มีความหมายเชื่อมโยงกับปรัชญาตะวันออกอย่างพุทธศาสนาที่ว่า “พึงระลึกไว้ว่าทุกคนต้องตาย” โดยเปลี่ยนจากการบอกเล่าสัจธรรมชีวิตผ่านวาทศิลป์ เป็นวิจิตรศิลป์นั่นเอง
นิทรรศการครั้งนี้ ณัฐได้สร้างสรรค์ผลงานภาพประกอบชื่อ Art of War ที่ถ่ายทอดสงครามการต่อสู้ระหว่างคนและความตาย ที่มนุษย์ไม่มีทางชนะ “ผมเริ่มต้นวาดงานเหล่านี้ในช่วงอยู่ออสเตรเลีย 2 ปี โดยใช้อุปกรณ์ติดตัวที่มีอยู่คือ ปากกา Pigma 2 แท่ง ดินสอ 1 แท่ง ยางลบ 1 ก้อน และสี Copic 4 แท่ง จนเกิดเป็นภาพประกอบทั้งหมด 6 ชิ้นเหล่านี้” หลังจากณัฐกลับไทยก็ได้ทำงานที่สตูดิโอไกลจักรวาล ซึ่งเป็นร้านสักอยู่ 1 ปี ก่อนเกิดความคิดที่จะชวนเพื่อนๆ ที่สนใจในแนวทางเดียวกัน มาร่วมจัดแสดงงานนิทรรศการเล็กๆ ครั้งแรกของพวกเขา
สำหรับความตายในมุมมองของศิลปินวาดภาพประกอบอีกคนอย่าง B-high หรือ ไฮนซ์ ภานุวัสส์ นิ่มละออร์ ที่เป็นช่างสักแห่งสตูดิโอ Lonewolf ด้วยนั้น ถูกถ่ายทอดผ่านภาพวาดด้วยปากกาลูกลื่น ที่วาดแยกส่วนกันก่อนนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นผลงานชื่อว่า “บาปทั้ง 5” หรืออุปสรรคในชีวิตของคนเรา 5 อย่าง
ส่วนแรก คือ การมีชีวิตที่ถูกกักขังจากอิสรภาพ โดยมงกุฏที่มีอีกาคอยขัดขวางไม่ให้นกพิราบบินออกไปนั้น หมายถึงการใช้ชีวิตที่ขาดอิสระ ซึ่งมงกุฏ ก็คืออำนาจ เงินทอง ภาระหน้าที่ ที่คอยกักขังอิสรภาพไม่ให้เราทำในสิ่งที่ต้องการ ส่วนที่ 2 เป็นภาพอสรพิษพันอยู่รอบดาบที่ทิ่มแทงตัวเรา เปรียบเสมือนภยันตราย และอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตที่เข้ามาโดยไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น ส่วนที่ 3 ภาพดอกกุหลาบสวยงามที่เต็มไปด้วยหนามคอยทิ่มแทงหัวใจเรานั้น ก็ไม่ต่างกับความรัก ส่วนที่ 4 ชิปพนัน เปรียบเสมือนความโลภของตัวเราเองที่ทำให้จิตใจเราตกต่ำลง และสุดท้ายอุปสรรคที่ 5 ก็คือคำพูดดูถูกเหยียดหยามจากผู้อื่นที่ทำให้ชีวิตเราท้อถอยลง “ผลงานชิ้นนี้ต้องการสะท้อนว่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตเหล่านี้เหมือนสัจธรรม เพียงแต่เราต้องกล้าหาญ และผ่านพ้นไปให้ได้” ไฮนซ์เสริม
บาปทั้ง 5
IG :
b.high_tattoo
FB :
Panuwat Nimla-or
สำหรับศิลปินที่ชื่นชอบการออกแบบตัวอักษร อย่าง Sivabest หรือ เบสท์ ศิวกร สร้อยจำปา นำเสนอผลงานศิลปะภายใต้แนวคิด “คติธรรมแห่งชีวิต” โดยใช้วิธีการเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันในรูปแบบ Calligraphy สีน้ำมันลงบนแคนวาส และหยิบยกคำภาษาสันสกฤตมาจากหนังสือ อมฤตพจนา ของพระเทพเทวี (ประยุทธ์ ปุยตฺโต) มาถ่ายทอดความตายในด้านคติธรรมแห่งชีวิต ที่ทุกคนล้วนหนีความตายไม่พ้น
คติธรรมแห่งชีวิต
IG :
s.sivakorn
FB :
Sivakorn Soichampar
สุดท้ายเป็นผลงานจากศิลปินออกแบบสื่อผสมร่วมสมัยอย่าง Kans หรือ แคน วรสิทธิ์ พุทธรักษ์ ที่ทำให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการครั้งนี้มากกว่าแค่ชมศิลปะ โดยการสร้างภาพ วิชวล “พิธีศพจำลอง” ของตัวเขาเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่อิงกับรูปแบบพิธีกรรมของทางศาสนาใดๆ แต่มาจากสิ่งที่ตัวเขาชอบไม่ว่าจะเป็นดนตรี และศิลปะ เกิดเป็นงานสร้างสรรค์ที่มีเสียง
และภาพวิชวลของโครงกระดูกในโลงศพ ด้านหน้ามีกีต้าร์ตัวหนึ่งวางตั้งอยู่ เพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้เล่นดนตรี ซึ่งหากเล่นตรงกับตัวโน้ตที่เข้ารหัสเขียนโปรแกรมไว้ ก็จะเกิดวิชวลพิเศษขึ้น “ในพิธีศพจำลองครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากบทสวดในงานศพให้เป็นโน้ตดนตรีแทน ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้ชมกับผลงาน และสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลในช่วงเวลานั้นครับ” แคนทิ้งท้าย
Funeral Song
IG :
kanszerland
FB :
Worasit Puttarak
ขอเชิญทุกคนมาพึงระลึกถึงความตาย พร้อมกับค้นพบความสวยงามของศิลปะแห่งความตาย จากนิทรรศการ “Requiem for the dead” ได้ตั้งแต่วันนี้ - 1 กันยายน 2018 ที่ Maison Close BKK
Special Thanks : Maison Close BKK, Darklabbkk
TAG
art artist exhibition design illustrator ศิลปะแห่งความตาย “Requiem for the dead”
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
DESIGN / ART
ชมศิลปะเบ่งบานที่เทศกาล Art Jakarta 2024 งานที่ขับเคลื่อนวงการศิลปะแห่ง Southeast Asia
เป็นอีกปีที่เราได้ไปเยือนจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากจะได้เที่ยวชม Art scene สัมผัสวัฒนธรรมของเมืองแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดแสดง Art Jakarta 2024 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยที่มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนวงการศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีสีสันและเป็นที่จับตาของคนรักศิลปะทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2009 เทศกาลนี้มีอะไรน่าสนใจ แล้วทำไมถึงควรค่ากับการกลับไปซ้ำอีกในปีหน้า
EVERYTHING TEAM 4 months ago
DESIGN / ART
A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE ศิลปะแห่งการสำรวจรากเหง้าแห่งความขัดแย้งและความรุนแรงในตะวันออกกลาง
ท่ามกลางไฟสงครามจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล - ปาเลสไตน์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน รวมถึงผู้บาดเจ็บหลายหมื่นคน และผู้พลัดฐิ่นฐานบ้านเกิดนับแสนคน และสงครามยังคงมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งความขัดแย้งที่ว่านี้ไม่เพียงเกิดจากสาเหตุทางเชื้อชาติและความแตกต่างทางศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังเกิดจากการแทรกแซงของชาติมหาอำนาจจากโลกตะวันตกอีกด้วย
Panu Boonpipattanapong January 2024
DESIGN / ART
ROOM063 เปิดประตูสู่ห้วงจิตใต้สำนึก แสวงหาตัวตนเพื่อคงอยู่กับ ก้าม ธรรมธัช สายทอง
หลังจากคลายล็อคดาวน์ให้ผู้คนสามารถออกไปใช้ชีวิตได้มากขึ้นนิดหน่อย เราสามารถออกไปทานข้าว นั่งคาเฟ่ เดินห้างสรรพสินค้า หรือกระทั่งออกไปชื่นชมงานศิลปะ สิ่งเหล่านี้ที่เราต่างเคยทำมันในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องปกติ กระทั่งเราได้รับรู้ว่าการขาดสิ่งเหล่านี้ไปเป็นระยะเวลานานในช่วงเวลาเช่นนี้ คงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกหดหู่หัวใจไม่มากก็น้อย เพราะการใช้ชีวิตทุกวันอยู่ให้ห้องสี่เหลี่ยม ขาดความหลากหลาย ขาดสีสัน ไร้ซึ่งการพบปะผู้คนมันช่างหมองหมน จึงขอพาทุกคนออกมาจากห้องสี่เหลี่ยมของตนไปรับชมศิลปะพร้อมกับเปิดรับความรู้สึกใหม่ภายในตัวเรากับการแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของ ก้าม ธรรมธัช สายทอง ที่มีชื่อว่า
ROOM063
EVERYTHING TEAM 4 years ago
DESIGN / ART
มองลึกถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ของอาจารย์อนันต์ ปาณินท์ ในนิทรรศการ Rhythm of Heartbeat
ในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ นอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่ของปีที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ รอบตัวเราอย่างมากมายแล้ว ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะในเมืองไทย จะยังมีได้โอกาสชมผลงาน ของอาจารย์ อนันต์ ปาณินท์ ในนิทรรศการที่ชื่อว่า Rhythm of Heartbeat ซึ่งจะจัดที่ MOCA Bangkok ในระหว่างวันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
EVERYTHING TEAM January 2021
DESIGN / ART
Year of the Rat นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในไทยของ อ้าย เว่ยเว่ย
นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ อ้าย เวยเวย (ai weiwei) ศิลปินชาวจีนและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองวัย 63 ผู้มีผลงานด้านศิลปะหลากหลายรูปแบบ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์สังคมและวัฒนธรรมจีน ได้เปิดนิทรรศการผลงานศิลปะของตัวเองที่ชื่อ "Year of the Rat" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน Bangkok Art Biennale 2020 โดยนิทรรศการได้เปิดให้ชมแล้วที่ Tang Contemporary Art ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ถนนสี่พระยา
EVERYTHING TEAM 4 years ago
DESIGN / ART
Die Schöne Heimat นิทรรศการผลงานศิลปะของ อ.สมบูรณ์ หอมเทียนทอง ในวันที่คนไม่สามารถเดินเข้าหาศิลปะได้ในเวลานี้ ศิลปินควรทำอย่างไร?
หากเป็นช่วงเวลาปกติ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อาจารย์ สมบูรณ์ หอมเทียนทอง จะจัดแสดงนิทรรศการชุด “Die Schöne Heimat” (ดี-เชินเน-ไฮมัท) ซึ่งเปิดให้ชมทาง JWD Art Space (ซอยจุฬาลงกรณ์ 16) ไปจนถึงราวกลางเดือนมิถุนายน
EVERYTHING TEAM 5 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
SUBMIT
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION