ครั้งแรกของ สมพงษ์ พานิช สถาปนิกและศิลปินรุ่นอาวุโสวัย 73 ปี ที่ถ่ายทอด “PRINCIPLE in LOVE” ผ่านนิทรรศการศิลปะ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

ครั้งแรกของ สมพงษ์ พานิช สถาปนิกและศิลปินรุ่นอาวุโสวัย 73 ปี ที่ถ่ายทอด “PRINCIPLE in LOVE” ผ่านนิทรรศการศิลปะ

   รถยนต์คันหนึ่งแล่นมาจอดหน้าอัตตาแกลเลอรี่ พร้อมเสียงเพลงโอเปร่าที่ดังลอดออกมา มองเข้าไปในรถนั้นเต็มไปด้วยชิ้นงานมากมายทั้งเล็กใหญ่ ตั้งแต่งานดินปั้น ประติมากรรมเหล็ก จนถึงโคมไฟ อาจารย์ “สมพงษ์ พานิช” ศิลปินวัย 73 ปีเปิดประตูรถออกมาด้วยความทะมัดทะแมง ก่อนที่ชิ้นงานแต่ละชิ้นค่อย ๆ ถูกยกออกมาจากรถเข้าสู่ “Principle of Love” นิทรรศการครั้งแรกของเขา ภายใน ATTA GALLERY ที่จัดแสดงในช่วง Bangkok Design Week 2022 ระหว่างวันที่ 5 - 13 กุมภาพันธ์ 2565

“การเป็นศิลปินที่มีความสุขกับการทำงาน ได้สร้างสรรค์ นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้อายุยืน ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต” กล่าวได้ว่าด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชีวิตของอาจารย์สมพงษ์ ไม่มีคำว่าเกษียณ นับตั้งแต่สำเร็จการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2512 จวบจนถึงวันนี้จึงยังคงเป็นสถาปนิกที่ไม่วางมือจากการออกแบบโดยสิ้นเชิง อีกทั้งช่วงหลังยังมีความหลงใหลแรงกล้ากับการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างไม่มีวันหยุดด้วย

   ล่าสุดอาจารย์สมพงษ์จึงขนงานศิลปะที่ทำสะสมไว้ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกภายในพื้นที่ส่วนหนึ่งของ ATTA GALLERY “การจัดสเปซศิลปะ ก็เหมือนกับการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม หรืออินทีเรีย ของบางอย่างเวลาที่เราเริ่มจากพื้นที่ว่าง เมื่อมีเรื่องราวจากของต่าง ๆ ที่ถูกจัดแม็ตช์เข้ามา (โดยที่ไม่ดูรก) ก็ทำให้เกิดพลังได้” อาจารย์พูดคุยกับเราพลางเดินไปเคลื่อนย้ายชิ้นงานนั้น ชิ้นงานนี้มาจัดวางอย่างไม่รู้เหนื่อย พร้อมแววตาเป็นประกายเมื่อชิ้นงานเหล่านั้นถูกจัดเข้าที่เข้าทางอย่างใจ เราเข้าใจได้โดยทันทีว่าอะไรเป็นยาอายุวัฒนะสำหรับอาจารย์
   “การเป็นศิลปินทำให้ผมมีความสุข ถ้าคุณไม่รักในศิลปะเลย ตื่นมาคุณจะเบื่อหน่ายมากที่คุณไม่รู้ว่าจะทำอะไร จะมีความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีความกระตือรือร้น” นี่จึงเป็นการอธิบายที่มาของนิทรรศการ และความหมายของชื่อ “PRINCIPLE in LOVE” ได้อย่างดี

โคมไฟที่สร้างสรรค์ขึ้นจากชิ้นส่วนเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนของหัวแปรงขัด เป็นชุดงานที่ศิลปินหวงที่สุด และไม่ขาย

“PRINCIPLE in LOVE” 
   นิทรรศการ “PRINCIPLE in LOVE” จัดแสดงชิ้นงานประติมากรรม เฟอร์นิเจอร์ และ Decorative Art ถ่ายทอดความรักในทุกสิ่งทุกอย่างที่มีศิลปะ (ผ่านมุมมองของศิลปิน) ไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติ หรือจากสิ่งของที่ดูไร้ค่า ที่ศิลปินหยิบจับมาสร้างสรรค์ให้เพิ่มมูลค่าและมีคุณค่าขึ้น โดยแต่ละชิ้นงานถูกแสดงออกอย่างอิสระ และผ่านการคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยไม่มีเจตนาไว้ก่อน และมักตั้งต้นจากคลังตัววัสดุ (รีไซเคิล) ที่เก็บไว้ ทำให้แต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์ และแตกต่างกันด้วยขนาด รูปทรง และสี เกิดความไม่สมมาตร และไม่ยึดติดกับรูปร่าง อาทิ งานประติมากรรม Abstract ที่สร้างฟอร์มจากการนำเหล็กมาดัดโค้ง โคมไฟที่ตัวโคมทำมาจากกระทะ ซึ่งเป็นผลงานที่อาจารย์ทำไว้ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว และเคยนำไปจัดแสดงในนิทรรศการศิลปะที่ปักกิ่งมาแล้ว

  “ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ช่างที่ทำให้ผมเกิดรู้สึกสนใจ หรือกระตือรือร้นกับมัน ผมก็จะเอามาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน โดยเฉพาะสิ่งของที่ไม่มีค่า ที่คนมองข้าม ผมจะทำให้มีคุณค่าขึ้น มันสนุกตรงความท้าทายในการทำของไม่สวยให้สวยได้อย่างไร งานแต่ละชิ้นมักไม่ได้วางแพลนไว้ก่อน โดยเวลาเห็นของที่ชอบก็จะเก็บไว้ก่อน บางวัสดุเก็บไว้เป็นปีๆ ถึงจะมีไอเดียขึ้นมา”

   “แต่ละชิ้นจึงเป็นผลงานที่ Rare เพราะต้องผ่านความยากในการคิดให้ลงตัวขึ้นมาได้ เวลาคิดเราอาจมีของอยู่ในหัวมากมายที่จับต้องไม่ได้ จึงยากที่จะทำให้ออกมาสวยลงตัวได้ถ้าไม่เจอวัสดุที่ใช่ ที่น่าสนใจคือของบางอย่างเมื่อทำออกมาแล้ว Full finish มากไป มองดูแล้วก็เหมือนพลาสติก ดังนั้นของบางชิ้นผมจะปล่อยให้เป็นธรรมชาติ หมายถึงว่าเราเห็นค่าตามเนื้อแท้ของวัตถุ ยกตัวอย่างส่วนของกรอบบานไม้กระจกเงานั้นที่ตั้งใจไม่ขัดผิวให้เรียบ หรือบางทีเราทำงานชิ้นหนึ่งไว้นานแล้ว และโดยบังเอิญที่ต่อมามันกลับสามารถจัดวางเข้ากันเป็นธีมเดียวกับงานอีกชิ้นได้อย่างสวยงามด้วยเอฟเฟ็กของ finishing ก็มี”

จากสถาปนิกสู่บทบาทของศิลปิน
   ย้อนไปราวครึ่งทศวรรษก่อน คงมีเพียงสถาปนิกไทยเพียงไม่กี่คนที่สามารถสร้างชื่อเสียงในระดับสากลได้ หนึ่งในนั้นคือ “สมพงษ์ พานิช” ผู้ที่ได้รับรางวัล First Alternative Prize จาก NAIE VAN ALLEN PRIZE (New york) ปี 1974 และได้ลงหนังสือ Architectural Record “ตอนเป็นสถาปนิก เรามีหน้าที่ที่จะแก้ปัญหาให้คนที่มีจุดประสงค์จะปลูกบ้าน ปลูกอาคาร แต่การเป็นศิลปิน การมีชีวิตหรือจิตใจที่ชอบสร้างสรรค์ มันเป็นเรื่องของอารมณ์ ดังนั้นเราสามารถทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น เพื่อที่จะฝันและมีความสุข”
   “ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบ Simplicity ทำอะไรแล้วเรียบง่าย แต่ด้วยผมเป็นสถาปนิก ทำให้เกิดความรู้สึกอยากเห็นความคอสทราสต์ระหว่างอะไรที่เรียบๆ อีกทั้งของบางชิ้นยังเป็น Decorative Art ที่ใช้ตกแต่งบ้าน หรือเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีฟังก์ชั่นด้วย” ดังนั้นใครที่มานิทรรศการนี้จะได้เห็นผลงานบางชิ้นที่ต่อประกอบเป็นโคมไฟ เก้าอี้ ชั้นวาง บานกระจก ฯลฯ ที่สามารถใช้งานได้จริงด้วย

   หากสังเกตงานศิลปะของอาจารย์สมพงษ์นั้นมีหลากวัสดุผสมผสานกัน รวมถึงต้องใช้ทักษะงานช่าง อย่างกระบวนการงานเชื่อมเหล็ก งานต่อประกอบไม้ และงานปั้นดินเหนียวมาร่วมสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานด้วย ซึ่งอาจารย์ให้เหตุผลว่า “เพราะ Soul (จิตวิญญาณ) ของผมเป็นสถาปนิก ซึ่งก็คือช่างนั่นเอง”
   “การทำงานศิลปะ บางครั้งถ้าเราทำด้วยความตั้งใจมากเกินไป มันจะไม่ได้อย่างใจ แต่ถ้าเราทำด้วยอารมณ์เต็มที่ เป็นไงเป็นกัน กลับออกมาสวย แต่สำหรับผม ของที่สวยเนี้ยบมากกลับทำให้รู้สึกเฉย ๆ เพราะความสวยนั้นดูแล้วจะรู้สึกอิ่ม ดังนั้นความน่าสนใจคืออะไรที่จะทำให้เราขนลุกได้ หรือดูแล้วมีเสน่ห์”

   “อย่างชั้นไม้ เกิดจากการที่ผมเก็บไม้ราคาถูกมาทดลองทำ โดยปล่อยรอยแตกฉีกของเนื้อไม้ไว้ตามธรรมชาติ เพราะรู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ เหมือนกับการที่เราเห็นคนสวมกางเกงขาด ๆ มันเริ่มต้นจากคนที่เชื่อมั่นในตัวเองว่าการใส่กางเกงยีนส์ปกติมันน่าเบื่อ เลยทดลองฉีก กลายเป็นกางเกงยีนส์ที่ขาดมี Value ขึ้นมาได้นั่นเอง หรือเฟรมที่ต่อประกอบขึ้นจากเศษไม้ธรรมดา เมื่อถูกพ่นสีสเปรย์เข้าไปด้านข้างก็ทำให้มันเกิดเอฟเฟ็กต์สีสันที่สนุกขึ้น ทำให้เรานึกถึงเวลาเราวาดสีน้ำ ที่ระหว่างวาด ต้องเดินถอยหลังออกมาไกล ๆ เพื่อดู และรู้”
   ความสนุกของนิทรรศการ “PRINCIPLE in LOVE” คือเมื่อคุณกลับมาชมอีกครั้ง คุณจะพบว่าชิ้นงานบางชิ้นไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดิม ทั้งเพิ่มเติมงานชิ้นใหม่เข้ามาจัดแสดงอยู่ทุกวัน ทำให้นิทรรศการนี้มีความเคลื่อนไหว มีชีวิต และมีเซอร์ไพรส์อยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญคืออาจได้รับพลังจากศิลปินอาวุโสที่ยังคงมีแพชชั่นสดใหม่ไม่ต่างกับคนหนุ่มสาว ทำให้เรื่องราวของนิทรรศการนี้มากกว่าแค่มิติทางศิลปะ แต่จุดประกายให้ทุกคนรู้ว่าไม่มีวันช้านานเกินไปกับการได้มุ่งมั่นและหมกมุ่นกับการสร้างสรรค์

งานปั้นดินเดียวที่อาจารย์สมพงษ์สร้าง Symbolic ของไวรัสโคโรน่า ที่อยู่ในหลากหลายอาร์ตเวิร์ค ไม่ว่าจะเป็นงานปั้นที่โชว์สีของดินเหนียวแบบดิบ ๆ หรือแต่งเติมสีเข้าไป พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวของความตาย ผ่านสัญลักษณ์ของไม้กางเขน “ผมเป็นคนชอบดินเหนียว และโดยบังเอิญก็คือเป็นคนที่ชอบงานปั้น และของอะไรง่าย ๆ ของเบสิค ที่ไม่ต้องพยายามไปสรรหา”

“ผมทำงานศิลปะจากชีวิตประจำวัน และสิ่งอะไรรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ช่างที่ทำให้ผมเกิดความรู้สึกสนใจ หรือกระตือรือร้นกับมัน ผมก็จะเอามาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน ยกตัวอย่าง มีเหตุการณ์ไฟป่าไหม้ ที่เป็นประเด็นปะทะใจผมตอนนั้น ก็ทำให้รู้สึกว่าอยากวาดรูปไฟขึ้นมา”

    TAG
  • สมพงษ์
  • พานิช
  • art
  • exhibition
  • ATTA GALLERY
  • Bangkok Design Week 2022
  • PRINCIPLE in LOVE
  • Sompong Panich

ครั้งแรกของ สมพงษ์ พานิช สถาปนิกและศิลปินรุ่นอาวุโสวัย 73 ปี ที่ถ่ายทอด “PRINCIPLE in LOVE” ผ่านนิทรรศการศิลปะ

PEOPLE/INTERVIEW
3 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • PEOPLE/INTERVIEW

    อุ้ม-วัลลภ รุ่งกำจัด นักแสดงภาพยนตร์อิสระ สู่เส้นทางของ Cannes Film

    วัลลภ รุ่งกำจัด หรือ อุ้ม นักแสดงที่เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์กับโลกของภาพยนตร์ ผ่านการสร้างชีวิตให้ตัวละครต่าง ๆ ได้ออกมาโลดแล่นแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ให้กับผู้ชม แม้เขาจะไม่ได้เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงกว้างเทียบเท่ากับนักแสดงกระแสหลัก แต่ในเวทีระดับโลก “อุ้ม” ได้พิสูจน์ตัวเองกับการเป็นนักแสดงที่มีความสามารถที่ยอมทุ่มเทหลาย ๆ สิ่ง ให้กับงานศิลปะด้านการแสดงในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสุดตัว

    EVERYTHING TEAM2 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    พูดคุยกับ “MAMIO” บนหน้ากระจกสะท้อนตัวตนที่ถูกซ่อนมาทั้งชีวิต “อาจใช้เวลานานถึง 30 ปี แต่ก็ดีกว่าไม่มีโอกาสได้รู้เลย”

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับเธอคนนี้ในชื่อของ พัด หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า พัด ZWEED N’ ROLL เจ้าของเสียงทุ้มมีเสน่ห์ นักร้องและนักแต่งเพลงที่ฝากผลงานเพลงเศร้าเอาไว้ในวงการมากมาย อาทิ ช่วงเวลา, Diary, อาจเป็นฉัน และอีกมากมาย ไม่มีอะไรแน่นอนแม้กระทั่งตัวเราเอง ช่วงเวลาจึงได้พัดพาให้เรามาทำความรู้จักกับ “MAMIO” ในฐานะศิลปินใหม่จากค่าย Warner Music Thailand ซึ่งเป็นอีกตัวตนหนึ่งของคุณพัดที่ไม่เคยถูกปลดปล่อยออกมาเลยตลอดชีวิตการทำงานในวงการสิบกว่าปีที่ผ่านมา หรือถ้าจะให้ซื่อสัตย์กับตัวเองจริง ๆ ก็อาจจะเป็นทั้งชีวิตที่เกิดมาเลยเสียด้วยซ้ำ

    EVERYTHING TEAM2 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    THE ROARING SOUND OF BANGKOK EVILCORE

    Whispers เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่สะท้อนการเติบโตของวงการ Hardcore ในประเทศไทยอย่างแท้จริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงกลุ่มเพื่อนที่หลงใหลในดนตรี เพราะนอกจากจะเป็นผู้เล่น พวกเขายังเป็นกำลังสำคัญที่คอยผลักดันซีนฮาร์ดคอร์ในบ้านเรามาโดยตลอด ประสบการณ์ที่สั่งสมทำให้เกิดเป็นสไตล์เฉพาะของ Whispers สร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้พวกเขาก้าวไปสู่เวทีระดับสากล ถึงแม้พวกเขาจะอยู่ใต้ดินของไทย แต่เสียงคำรามของพวกเขาก็ดังไปไกลถึงทวีปยุโรป มาพบกับเส้นทางดนตรีที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง กับวงฮาร์ดคอร์ระดับบท็อปของ Southeast Asia

    EVERYTHING TEAM3 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    Nat Inksmith (ชณัฏฐ์ หวังบุญเกิด) มากกว่าความสวยงามคือการนำเสนอผลงานที่เป็นตัวตนผ่านศิลปะลายสัก

    ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบงานสักของเขา ที่เรารู้สึกแปลกประหลาดกว่างานสักอื่น ๆ (แปลกประหลาดในที่นี้คือความหมายในแง่ดีนะ) ก็เลยตัดสินใจส่งข้อความทักไปหา “พี่นัทครับ ผมขอสัมภาษณ์พี่ได้ไหม” “ได้ครับ” สั้น ๆ แต่จบ เรื่องราวทั้งหมดก็เลยเริ่มต้นขึ้นที่ร้าน CAVETOWN.TATTOO แถว ๆ ปิ่นเกล้า ซึ่งพี่นัทเป็นเจ้าของร้านแห่งนี้ บทสนทนาของเราเริ่มกันในช่วงเวลาบ่าย ๆ ของวันพฤหัส พอไปถึงร้านพี่นัทกำลังติดงานสักให้กับลูกค้าอยู่หนึ่งคน พอได้เห็นลายที่เขาสักต้องบอกว่าเท่มาก ๆ มันมีความเป็น Psychedelic บวกกับ Ornamental ผสมผสานกับเทคนิค Dotwork จนกลายเป็นงานศิลปะบนผิวหนังหลังฝ่ามือ เราถึงกับต้องถามคำถามโง่ ๆ กับลูกค้าที่ถูกสักว่า “เจ็บไหม” แน่นอนคำตอบที่ได้คือ “โคตรเจ็บ” เพราะจุดที่สักคือหลังฝ่ามือ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายคนร่ำลือกันว่าโคตรเจ็บ ระหว่างที่รอพี่นัทไปพลาง ๆ น้องแมคช่างภาพที่มีรอยสัก Full Sleeve เต็มแขนขวา ก็เริ่มกดชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปเก็บภาพระหว่างที่เขาสักไปด้วย พอสักเสร็จเรียบร้อยก็ปล่อยให้พี่เขาพักผ่อนกินน้ำ ปัสสาวะ (อ่านแยกคำนะอย่าอ่านติดกัน) ก่อนจะพูดคุย แต่เดี๋ยว ! ก่อนจะเริ่มบทสนทนา เราขอเกริ่นให้ฟังซักนิดนึงเกี่ยวกับชายคนนี้ก่อน

    EVERYTHING TEAM3 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    KIKI กับการเดินทางก้าวต่อไปของความคิดสร้างสรรค์บนเส้นทางดนตรี

    ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีวงดนตรีสัญชาติไทยที่ชื่อ KIKI ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ก็เพราะด้วยเสียงเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน

    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • PEOPLE/INTERVIEW

    “แมรี่ ปานสง่า” ผู้เปรียบงานภัณฑารักษ์เป็นเสมือนงานศิลปะ ที่นำพาผู้ชมเข้าร่วมตัดสินใจถึงความงามของมัน

    คำตอบที่ถูกต้องแน่แท้ของคำถามที่ว่า “ศิลปะแบบไหนที่เรียกว่าสวย” นั้น คงยากพอ ๆ กับความพยายามในการค้นหาทฤษฎีวิทยาศาสตร์มาอธิบายว่าพระอาทิตย์สามารถขึ้นทางทิศตะวันตกได้ เพราะศิลปะที่เป็นเหมือนโลกอีกใบที่อยู่คู่ขนานไปกับโลกจริง อันประกอบสร้างจากความเชื่อ วัฒนธรรม และภูมิหลังของศิลปิน มักถูกตัดสินจากรสนิยมส่วนตัวของผู้ชมแต่ละคน บางคนสนใจแค่ความเจริญตา แต่กลับบางคนอาจมองลึกลงไปยังเบื้องลึกของมัน แล้วตัดสินจากประสบการณ์และความรู้สึก ซึ่งไม่อาจใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานตายตัวที่บ่งบอกถึงรสนิยมโดยรวมของสังคมได้ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นผลงานศิลปะชิ้นเดิม แต่คุณค่าและนิยามความสวยงามของมัน ก็อาจสามารถแปรผันไปได้ตามช่วงวัยของเราที่เปลี่ยนแปลงไป

    EVERYTHING TEAM5 months ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )