ตุ่ย - ขวัญชัย แห่งแผลงฤทธิ์ กับความอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

DESIGN:----STUDIO VISIT

Photographer:
Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke

Writer:
Rujira Jaisak

Special Thanks:
Kwanchai Suthamsao Plankrich
ตุ่ย - ขวัญชัย แห่งแผลงฤทธิ์ กับความอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด
  นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่คุณตุ่ย - ขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกแผลงฤทธิ์ ที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นผู้ขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในเชียงใหม่เมื่อหลายปีก่อน ออกมาปรากฏตัวกับสื่ออีกครั้ง หลังจากเกือบ 8 ปีที่เขาหมกมุ่นจดจ่ออยู่กับการลงมือทำงานเบื้องหลังมากกว่าออกสื่อเบื้องหน้า กับวิธีคิดเกี่ยวกับการทดลองเพื่อค้นหามุมมองใหม่ๆ ที่ลงลึกไปมากความงามภายนอกของงานสถาปัตยกรรม แต่เจาะลึกไปถึงโครงสร้าง งานระบบก่อสร้าง ไปจนถึงรากสำคัญของการปรับเปลี่ยนเพื่อยืนหยัดอยู่รอดในอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด ทำให้การพูดคุยกับคุณตุ่ยในวันนี้มีเรื่องราวเข้มข้นน่าสนใจ และหลากหลายมิติ ตั้งแต่ การทดลองในเชิงสถาปัตยกรรมที่ทำให้เกิดนิยามคำว่า “Custom Modern Architecture” การพัฒนาบ้านประกอบ แนวคิดการทำออฟฟิศแบบ “Ready to Move Out” จนถึงบทบาทที่เป็นมากกว่านักออกแบบ แต่รวมถึงการเป็น Developer, Investor จนถึง Business Owner ด้วย
ช่วงที่หายหน้าหายตาไปจากสื่อ
  “วันนี้อยากคุยเรื่องไหน เรื่องออกแบบ งานก่อสร้าง งานวัสดุ หรือถ้าสนใจคุยเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ ผมก็คุยได้นะ เพราะตอนนี้เรามีหลายมิติซ้อนกันอยู่ แล้วแต่ว่าใครจะโฟกัสมุมไหนของเรา” เป็นการเกริ่นที่บอกให้รู้ถึงบทบาทของสถาปนิกที่ต้องสวมหมวกหลายใบในวันนี้ของเขา หลังจากห่างหายจากสื่อไปนาน กับการทำหลายสิ่งหลายอย่าง ตั้งแต่การทำงานออกแบบให้ลูกค้า การซุ่มพัฒนาบ้านประกอบ การทำงานด้านสังคมเชิงวิชาชีพสถาปนิก (ในฐานะประธานกรรมมาธิการสถาปนิกล้านนาที่เพิ่งพ้นวาระไป) จนถึงการค้นพบอีกหนึ่งโมเดลทางธุรกิจที่เป็นที่มาของการสร้างบ้านของตัวเองเป็นหลังที่ 3 และการย้ายออฟฟิศแผลงฤทธ์เป็นครั้งที่ 3 ด้วยเช่นกัน
  “เป็นความบังเอิญหลังจากขายบ้านที่ตัวเองออกแบบ และอยู่อาศัยมา 2 หลังแล้ว ล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีลูกค้าสนใจสตูดิโอออฟฟิศของเราตรงย่านเจ็ดยอด ที่เราย้ายมาจากออฟฟิศแรกตรงย่านนิมมานเหมินท์ เราก็โอเคตกลงขาย ทำให้ต้องย้ายและสร้างออฟฟิศใหม่แห่งที่ 3 บนที่ดินแถวย่านฟ้าฮ่ามอีกแปลงที่ซื้อไว้ จากนั้นจึงเกิดการคุยกันกับพาร์ทเนอร์ว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการทำธุรกิจ เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางให้กับบริษัทแผลงฤทธิ์ นอกเหนือจากฝั่งงานออกแบบ”
การปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดของอาชีพและบริษัทสถาปนิกขนาดกลางในต่างจังหวัด
  โมเดล “Architect x Investor” ผุดขึ้นหลังจากทำงานออกแบบให้กับลูกค้าที่เป็นนักลงทุนมานับไม่ถ้วน จนเริ่มมองเห็นโอกาสของการเป็นทั้งนักออกแบบ นักธุรกิจ และนักลงทุนไปพร้อมกัน “ผมเริ่มมองเห็นโมเดลนี้ครั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน ตอนขายบ้านของตัวเองหลังแรกไป คือเราดีลกับลูกค้าที่เป็นนักธุรกิจมาตลอด เคยแต่ได้รับคำสั่งจากนักลงทุนและทำตามการตลาดของเขา ต่อมาก็เริ่มฉุกคิดว่าทำไมเราไม่ทำเองบ้างล่ะ เราสามารถสร้างการตลาดจากงานสถาปัตยกรรมของเราเองได้ เพียงแค่อยู่ในสเกลขนาดเล็ก ไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นบ้านที่เราออกแบบและอยู่อาศัยเอง หรือออฟฟิศทำงานของเรา ถ้ามีคนสนใจ เราพร้อมขาย”
  “เหตุที่ต้องพยายามหาเงินหลายกระเป๋า ก็เพื่อความอยู่รอดของการดำรงชีพเป็นสถาปนิกในต่างจังหวัด ที่ค่าตอบแทนจากค่าแบบไม่มากเหมือนที่กรุงเทพฯ”
กับการย้ายที่ตั้งสำนักงานแผลงฤทธิ์เป็นครั้งที่ 3
  แผลงฤทธิ์ ก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทสถาปนิกตั้งแต่ปี 2548 แต่ในช่วงที่แผลงฤทธิ์กำลังก้าวสู่ปีที่ 10 นั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ การย้ายฐานมั่นออฟฟิศจากย่านนิมมานเหมินท์ที่ใช้ชีวิตทำงานมาเกือบ 10 ปี มาสู่ออฟฟิศใหม่แถวเจ็ดยอด “เราเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับก้าวต่อไปของบริษัท และเริ่มฉุกคิดว่าทำไมไม่ทำออฟฟิศบนที่ดินของเราเอง ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงของย่านนิมมานเหมินท์ที่ไม่เงียบสงบเหมือนเดิมแล้ว แต่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พลุกพล่านวุ่นวายซึ่งเหมาะกับการทำประโยชน์ในเชิงธุรกิจอื่นมากกว่า เราเลยปล่อยสตูดิโอตรงนั้นให้คนอื่นเช่าต่อ แล้วย้ายออฟฟิศใหม่”
  แต่ผ่านไปได้ประมาณ 3 ปี ก็ถึงคราวต้องย้ายจากฐานมั่นของแผลงฤทธิ์แห่งที่ 2 อีกครั้ง “บังเอิญเมื่อ 4 เดือนก่อน มีลูกค้าที่ต้องการจ้างเราออกแบบ แต่พอมาเห็นสตูดิโอของเราหลังที่ 2 ซึ่งรีโนเวทมาจากบ้านเก่าสไตล์ยุค 70s ให้ดูร่วมสมัยใหม่ขึ้นแต่ไม่ถึงขั้นโมเดิร์นจ๋า แล้วลูกค้าเกิดชอบและสนใจอยากซื้อ ทางเราก็เลยโอเคยินดีขาย”
  ออฟฟิศปัจจุบันของแผลงฤทธิ์ จึงเป็นแห่งที่ 3 ที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ และยังเสร็จไม่สมบูรณ์ดี โดยพื้นที่ชั้นหนึ่งออกแบบเป็นพื้นที่สำนักงานในบรรยากาศขรึมๆ ดิบๆ จากงานเหล็ก ไม้ และอิฐ และมีดีเทลของงานแฮนด์เมดอยู่ในบางส่วนที่คัสตอมเข้าไปในโครงสร้างสำเร็จรูป เช่นงานผนังอิฐ และซุ้มประตูแบบ Arch โค้งที่ต้องใช้ความละเอียดพิถีพิถันอย่างงานคราฟท์ในการก่อสร้าง เป็นต้น ส่วนชั้นบนยังอยู่ในระหว่างก่อสร้างซึ่งวางแผนให้เป็นโรงแรมขนาด 12 ห้อง “ในอนาคตเราก็อาจขายทั้งอาคาร ทั้งส่วนของออฟฟิศและโรงแรม ที่ผู้ซื้อสามารถดัดแปลงพื้นที่ชั้นหนึ่งเป็นคาเฟ่ หรือล็อบบี้ก็ได้ ถึงตอนนั้นเราก็ต้อง Ready to Move Out ได้อีกครั้ง”
ข้อดีของการขายออฟฟิศนอกเหนือจากแรงจูงใจด้านผลกำไร
  “มันทำให้เรากระชุ่มกระชวยขึ้น กับการได้ทำงานในสเปซใหม่ๆ และไม่ต้องจำเจกับการใช้ชีวิตทำงานในย่านเดิมๆ ครั้งหน้า ถ้าเราได้ขายอาคารหลังนี้ไป ออฟฟิศใหม่หลังต่อไปของเราก็อาจดีไซน์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันก็ทำให้เราสนุกกับการได้ทดลองด้วย มาในวันนี้เราก็ได้เรียนรู้อย่างหนึ่งว่า ต่อไปออฟฟิศจะไม่ใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Buit-in เพื่อให้ Ready to Move Out คือพร้อมที่จะย้ายออกได้ทุกเมื่อ”   ในช่วง 7-8 ปีมานี้ จำนวนทีมสถาปนิกของแผลงฤทธิ์อยู่ที่ไม่เกิน 10 คน เพราะทุกคนถูกขับเคี่ยวฝีมือให้มีศักยภาพพร้อมดูแลโปรเจกท์ตั้งแต่ต้นจนจบได้ ทำให้แผลงฤทธิ์เป็นสำนักงานออฟฟิศที่คล่องตัวในการบริหารจัดการ “เพราะเราต้องทำหลายอย่าง ทั้งด้านการออกแบบ การลงทุน การทดลองทั้งด้านงานดีไซน์และงานระบบ ดังนั้นออฟฟิศสเกลเท่านี้ทำให้เราดูแลได้ทั่วถึงมากกว่า การสร้างรายได้จากหลายกระเป๋าให้บริษัท ก็เพื่อลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงให้กับเรา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นตัวตนของเราเองไว้ด้วย”
การทดลองในเชิงสถาปัตยกรรม กับนิยามใหม่คำว่า “Custom Modern Architecture”
  ในช่วงหลังนี้เขามีความสนใจในเรื่องเทคนิคงานระบบและโครงสร้างมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งกลับกลายว่าเป็นข้อดีที่ทำให้ออกแบบงานได้แยบยล รัดกุม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในขณะเดียวกันไม่ท้ิงการทดลองไอเดียใหม่ๆ ในเชิงสถาปัตยกรรมควบคู่ไป “คำว่า ทดลองในที่นี้ หมายถึง การทดลองในด้านวัสดุ โครงสร้าง และดีไซน์ที่เป็นไปตามกระบวนการวิธีคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้งานออกแบบของเราไม่ย่ำอยู่กับที่ ความเป็นแฮนด์เมดหรือความประดิษฐ์ประดอยที่ถูกสอดแทรกอยู่ในความสำเร็จรูป ก็เป็นอีกอย่างที่เราให้ความสนใจ อย่างการใช้เหล็ก คอนกรีต กระจก หรือไม้ มาสร้างงานที่ไม่สำเร็จรูป ทำให้เกิด Custom Modern Architecture งานสถาปัตยกรรมที่มีความเฉพาะตัวขึ้นได้”
เริ่มต้น Smart Architecture จากบ้านของตัวเอง และออฟฟิศของแผลงฤทธิ์
  ในขณะที่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ล้วนมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสื่อสาร การเดินทาง การช้อปปิ้ง แต่น่าแปลกใจที่วงการสถาปัตยกรรมบ้านเรายังนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อยู่น้อยมาก เขาจึงเป็นสถาปนิกคนหนึ่งที่สนใจเรื่องของ Smart Home และ Smart Office อย่างจริงจัง จนเริ่มนำมาใช้กับทั้งออฟฟิศ และบ้านของตัวเองแล้ว “ตอนนี้ก็มีลูกค้าเข้ามาถามว่าสมาร์ทโฮมทำยากมั้ย แพงมั้ย เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่าย แต่เป็นสิ่งที่เราเองก็ต้องทำ เพื่อให้มีคำตอบ”
การพัฒนาบ้านประกอบสำเร็จรูป
  อีกหนึ่งความหมกมุ่นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาของคุณตุ่ย คือการทดลองพัฒนาบ้านประกอบสำเร็จรูปซึ่งเป็บระบบ Panel ที่ใช้วิธีการต่อประกอบทีละแผง โดยข้อดีคือ ก่อสร้างบ้านได้อย่างรวดเร็ว ใช้แรงงานคนน้อย ไม่ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ และอาศัยแนวคิดของระบบ D.I.Y. มาจัดการงานก่อสร้างได้เลย “ตอนนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาได้ 70-80 เปอร์เซ็นต์แล้ว มันไม่ได้เป็นระบบใหม่ในโลกนี้ แต่เป็นระบบหนึ่งที่เราสนใจ และในบ้านเรายังไม่ค่อยมี อย่างการสร้างบ้านพื้นที่ 100 ตารางเมตร เราสามารถสร้างเสร็จใน 45 วัน โดยใช้คนงาน 5 คน ช่างไฟ 2 คน ช่างประปา 2 คนจบ เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่ได้เผยแพร่ออกสื่อ หรือผลิตขายในเชิงธุรกิจ เพราะอยากคิดหาวิธีให้มันเป็น Know-How ที่คนอื่นสามารถเอาไปทำได้”
  “ถ้ามาคุยกันครั้งหน้า ผมก็อาจมีวิธีคิดใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปตามประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ เพราะเราเองก็ยังต้องเรียนรู้กันต่อไปทั้งในด้านงานออกแบบและธุรกิจ แต่จุดหมายสำคัญของเรายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ การสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ดี กับเทคนิค และรูปแบบที่เป็นแผลงฤทธิ์ เพื่อพัฒนางานสถาปััตยกรรมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไปครับ”
ข้อดีของการขายออฟฟิศนอกเหนือจากแรงจูงใจด้านผลกำไร
  “มันทำให้เรากระชุ่มกระชวยขึ้น กับการได้ทำงานในสเปซใหม่ๆ และไม่ต้องจำเจกับการใช้ชีวิตทำงานในย่านเดิมๆ ครั้งหน้า ถ้าเราได้ขายอาคารหลังนี้ไป ออฟฟิศใหม่หลังต่อไปของเราก็อาจดีไซน์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันก็ทำให้เราสนุกกับการได้ทดลองด้วย มาในวันนี้เราก็ได้เรียนรู้อย่างหนึ่งว่า ต่อไปออฟฟิศจะไม่ใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Buit-in เพื่อให้ Ready to Move Out คือพร้อมที่จะย้ายออกได้ทุกเมื่อ”
  ในช่วง 7-8 ปีมานี้ จำนวนทีมสถาปนิกของแผลงฤทธิ์อยู่ที่ไม่เกิน 10 คน เพราะทุกคนถูกขับเคี่ยวฝีมือให้มีศักยภาพพร้อมดูแลโปรเจกท์ตั้งแต่ต้นจนจบได้ ทำให้แผลงฤทธิ์เป็นสำนักงานออฟฟิศที่คล่องตัวในการบริหารจัดการ “เพราะเราต้องทำหลายอย่าง ทั้งด้านการออกแบบ การลงทุน การทดลองทั้งด้านงานดีไซน์และงานระบบ ดังนั้นออฟฟิศสเกลเท่านี้ทำให้เราดูแลได้ทั่วถึงมากกว่า การสร้างรายได้จากหลายกระเป๋าให้บริษัท ก็เพื่อลดความเสี่ยง และเพิ่มความมั่นคงให้กับเรา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นตัวตนของเราเองไว้ด้วย”
    TAG
  • architecture
  • interview
  • interior
  • culture
  • lifestyle
  • design
  • vdo

ตุ่ย - ขวัญชัย แห่งแผลงฤทธิ์ กับความอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด

DESIGN/STUDIO VISIT
6 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • PEOPLE/STUDIO VISIT

    ‘Snappy Studio’ จากคลับเฮ้าส์ร้างอายุกว่า 30 ปี สู่พื้นที่สร้างสรรค์ของคนมันๆ ใจกลางหมู่บ้าน

    ห้องแล็บลับใต้ดิน ศูนย์บัญชาการอวกาศในหนัง Space Age ลานโรลเลอร์สเก็ตยุค 80s... นี่คือสิ่งที่กำลังตีกันยุ่งเหยิงในหัวเราเมื่อเห็นอาคารหน้าตาแปลกประหลาดลักษณะเป็นโดมกระจกครอบไว้ด้านนอกผุดขึ้นมากลางลานสโมสรของหมู่บ้าน แต่เมื่อเดินลงบันไดที่ซ่อนอยู่ตรงนั้น ทอดยาวไปสู่ชั้นใต้ดินด้านล่าง เรากลับพบความรู้สึกประหลาดยิ่งกว่า! 

    Nat LelaputraJanuary 2024
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    เช็คอินสตูดิโอดีไซน์ระดับตำนานสัญชาติดัตช์ droog

    ในครั้งแรกที่เรามีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากความตั้งใจในการชมงานศิลปะชั้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่นี่แล้ว ความหวังอีกอย่างคือการได้เยี่ยมเยือนสตูดิโอดีไซน์ในดวงใจของเรามาเนิ่นนาน สตูดิโอแห่งนี้มีชื่อว่า droog นั่นเอง

    Panu Boonpipattanapong2 years ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    ‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอที่ออกแบบ ‘บ้าน’ บนความหลากหลาย และเป็นอะไรก็ได้ตามใจผู้อยู่ 

    ‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอ การรวมตัวกันของคนเจนฯ ใหม่ที่ทำงานบนความหลากหลาย ลื่นไหล และพร้อมปรับตัวไปกับทุกภารกิจที่ถาโถมเข้ามา เพื่อจัดการความชอบของผู้คนให้เข้าที่เข้าทาง 

    Nat LelaputraFebruary 2023
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    เยือนแหล่งกำเนิด “King of Watch” ของญี่ปุ่น ก้าวสู่นาฬิกาเรือนหรูระดับโลกในนาม “Grand Seiko”

    ก่อนที่ทุกคนจะได้สัมผัสนาฬิกาชั้นสูงเรือนจริงที่บูทีคของ Grand Seiko แห่งแรกในประเทศไทย ที่เกษรวิลเลจ เราจะพาเจาะลึกไปยังเบื้องหลังแหล่งกำเนิดที่จะตอบคำถามได้ว่าทำไมนาฬิกา Grand Seiko จึงได้รับการยกย่องให้เป็นหัตถศิลป์แห่งเครื่องบอกเวลาระดับโลกที่คู่ควรแก่การสะสมและครอบครอง

    EVERYTHING TEAM6 years ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    STUDIO VISIT JUNSEKINO A+D

    ภายใต้บรรยากาศบ้านๆ สถาปนิกและนักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานที่มีมากกว่าบ้าน ภายใต้ชื่อสำนักงานจูน เซคิโน อาร์คิเทคต์ แอนด์ ดีไซน์ บ้านเก่าที่ยังคงเอกลักษณ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรม Post Modern ซึ่งมักจะเห็นในบ้านจัดสรรยุค 60-70

    EVERYTHING TEAM6 years ago
  • DESIGN/STUDIO VISIT

    เมื่อออฟฟิศ คาเฟ่ โชว์รูม รวมอยู่ใน Creative Flow Space แห่งใหม่ของ Trimode

    เยือนสตูดิโอใหม่ของ Trimode ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ พร้อมแนวคิดการทำงานของพวกเขากับก้าวสู่ปีที่ 13 ในวงการออกแบบ

    EVERYTHING TEAM6 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )