LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

พิชิต วีรังคบุตร จบการศึกษาปริญญาตรีจากภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้าน Fine Art จาก Goldsmiths, University of London เขาสั่งสมประสบการณ์ และมุมมองในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานเป็นผู้กำกับศิลป์ ที่เบเกอรี่ มิวสิก ตามด้วยตำแหน่งครีเอทีฟฝ่ายออกแบบนิทรรศการ และงานกิจกรรม ที่บริษัท บียูจี สตูดิโอ จากนั้นจึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC: Thailand Creative And Design Center) มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการ และกิจกรรม ก่อนที่ปัจจุบันจะดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักบริหาร และพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ควบตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ขอนเเก่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA: Creative Economy Agency) ส่วนในวงการวิชาชีพ พิชิต วีรังคบุตร เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมสนับสนุนผลักดันวงการให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยดำรงตำเเหน่งนายกสมาคมเรขศิลป์ไทย (THAIGA) โดยผ่านการเลือกตั้งจากนักออกแบบในวาระที่ผ่านมา

Photographer:
Tanit Phramthed
Writer:
Nattanart Suprapatanant
Website:
www.cea.or.th
Facebook:
Creative Economy Agency

“ปีที่ผ่านมาเราพยายามลากเส้นที่จะบอกว่างานออกแบบ หรือความคิดสร้างสรรค์มันสามารถต่อยอดในแทบจะทุกมิติในการใช้ชีวิตของคนได้เลย”
หากพูดถึง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA (Creative Economy Agency) คนทั่วไปคงงง เเละไม่รู้จักเเต่ถ้าบอกว่าเป็นหน่วยงานที่เมื่อก่อนคือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC (Thailand Creative and Design Center) เชื่อว่าแทบทุกคนในวงการออกแบบคงจะรู้จัก เเละร้องอ๋อ ในเเง่ของนโยบาย เเละบทบาทหน้าที่ที่กว้าง เเละครอบคลุมมากขึ้น หน้าที่ของ CEA จึงไม่ได้หยุดอยู่เเค่เป็นองค์กรที่จำกัดอยู่ในเเวดวงของคนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพียงเท่านั้น เเต่เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทอย่างสูงในการพัฒนาเมือง เเละขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในภาพที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
เป้าหมายหลักคืองานสร้างสรรค์ที่พัฒนาไปพร้อมกับเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน
ทำอย่างไรให้ชีวิตของคนดีขึ้น ให้เมืองดีขึ้น ให้งานออกแบบมีความหมายใหม่และวิธีการในการขับเคลื่อนเมืองจริงๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นี่คือหัวใจการทำงานของการเป็น CEA ทุกวันนี้
คำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” น่าจะเป็นคำนิยามของเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี คุณจี๊ดเล่าให้เราฟังว่า เมื่อที่นี่ถูกปรับบทบาท ดังนั้นการสอดแทรกเชิงนโยบายจริงเป็นเรื่องที่ตามมา เหมือนกระทรวงเล็กๆ แห่งหนึ่งก็ไม่ผิด
“พอมันย้ายมาอยู่ที่ตรงนี้ มันก็มาพร้อมกับภารกิจใหม่ คือพอมันเปลี่ยนเป็นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์เนี่ยมันก็มีเป้าหมายหลักอยู่สามอันคือ Creative People, Creative Business และ Creative Place”
ดังนั้นการย้ายจากห้างเอ็มโพเรียมมายังตึกไปรษณีย์กลางที่บางรัก จึงเป็นเหมือนเป้าหมายที่จะนำองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่มาเชื่อมต่อกับชุมชน เพื่อสามารถเอาไปต่อ ยอดทำธุรกิจของตัวเองได้
ในขณะเดียวกัน การเป็นผู้มาอยู่ใหม่ในชุมชนแห่งนี้ แน่นอนว่าการแนะนำตัวกับเจ้าบ้านถือเป็นเรื่องที่จำเป็นไม่น้อย การทำรีเสิร์ชภายในชุมชนใหม่ ที่คุณจี๊ดบอกกับเราว่าการรับรู้ถึงความต้องการของคนในชุมชน ว่าพวกเขาต้องการอะไรบ้างจากองค์กรเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เหมือนทำอย่างไรให้คำว่า Body มีความเชื่อมโยงกับ Soul

Creative District ไม่ใช่แค่คำนิยามหรือบทสนทนาเท่ๆ
นี่คือส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ที่คุณจี๊ดเล่าให้ฟังว่า นโยบายนี้จะสามารถทำให้ย่านเจริญกรุงฟื้นกลับมาเป็นแหล่งธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่อีกครั้ง
“บริเวณพื้นที่ตรงนี้มันเคยเป็นใจกลางของธุรกิจของกรุงเทพฯ มา 70 ปีมาแล้ว มันเคยเป็นพื้นที่รุ่งเรือง เป็นจุดกำเนิดของธนาคารครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีโรงแรมแห่งแรก เป็นศูนย์กลางการสื่อสาร ใครที่จะติดต่ออะไรกับใครช่วงปี 1960-1970 นี่ต้องมาตรงนี้”
“ผมเชื่อว่าเราสามารถเรียนรู้จากยุทธศาสตร์นี้ เพื่อทดลองในการขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศน์ของชุมชนในทางสร้างสรรค์ ซึ่งมันอาจจะถูกกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศก็ได้”
มันจะดีแค่ไหนถ้าทั่วประเทศมีพื้นที่หรือศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรเพื่อสนับสนุนผลงานและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนนั้นๆ
การพยายามสร้างการรับรู้ และสร้างอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย CEA มาก ซึ่งเขาเองพยายามสนับสนุนและผลักดันมาโดยตลอด ซึ่งทาง CEAเองก็จะเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยกับภาครัฐ เหมือนเป็นคนกลางระหว่างชาวบ้าน ทีมงาน และทางหน่วยงานต่างๆ
ไม่ใช่แค่เฉพาะในกรุงเทพฯ โครงการที่ CEA กำลังทำอยู่เหมือนการปลุกให้พื้นที่กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งด้วยงานศิลปะ เหมือน Bangkok Design Week 9 วัน ที่ประกอบไปด้วยงานไฟ การแสดงดนตรี ร้านค้า และการรวมตัวของบรรดานักออกแบบทั่วประเทศ สร้างความคึกคักต่อภาพรวมในย่านเจริญกรุง สามารถเป็น Tourist Attraction หรือสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในชุมชนได้ ถือเป็นการตอบโจทย์ 5 มิติของความตั้งใจที่ CEA อยากให้มันเป็น

โครงการในตอนนี้ที่ CEA ถืออยู่ในมือมีอยู่ราวๆ 10 โปรเจกท์ ซึ่ง What’s Next ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปนี้คือบางอย่างที่ต่อยอดจาก 3 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ Creative People, Creative Business และ Creative Place มันจะเป็นภาพรวมที่กว้างขึ้น ซึ่งต้องเชื่อมต่อกับองค์กรอื่นๆ ให้ได้ 12 แห่ง
“CEA มองตัวเองเป็นองค์กรภาครัฐที่ไม่สามารถคิดอะไรแบบเป็นภาครัฐได้เต็มที่ ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จจริงๆ คือเราต้องรู้รูปแบบการทำงานของเราก่อน ไม่ใช่แค่โครงการที่อยู่ในแผ่นกระดาษแต่มันต้องเกิดขึ้นจริงด้วย ล้มเหลวไม่เป็นไร เราเข้าใจในโมเดลนี้ว่าแนวโน้มการล้มเหลวมันพอๆ กับประสบความสำเร็จเลย แต่ทำยังไงให้เราทดลอง เรียนรู้ และเมื่อพลาดก็อย่าทำซ้ำ”
เช่นเดียวกับ “เจริญกรุง District” ที่เขาบอกว่ามันเหมือนพื้นที่ทดลองสำหรับ CEA ซึ่งในอนาคตเขาตั้งใจว่าจะทำโครงการแบบนี้อีก 30 ย่านภายใน 5 ปี เป็นเชิงคุณภาพ ไม่ใช่เพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นครั้งคราว ซึ่งความคาดหวังคือการร่วมมือกันของทุกกลุ่มคน ตั้งแต่ภาครัฐไปจนถึงคนในชุมชน

“เราเริ่มมีการพูดคุยกับคนที่อยู่ในกลุ่มทองเอก คือคนที่อยู่ในย่านทองหล่อและเอกมัย ถึงความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อน รวมถึงย่านประดิพัทธ์หรืออารีย์เอง ผมว่ามันมีความน่าจะเป็นในการพัฒนา และสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้คนในพื้นที่ได้รับรู้ศักยภาพของคนในชุมชนที่ทำงานในย่านนั้นๆ”
หรือการที่คุณจี๊ดพูดถึงการศึกษา สิ่งที่ CEA พยายามผลักดันมาตลอดคือการเป็นสื่อกลางระหว่างคนในอุตสาหกรรม และนักศึกษาให้สามารถเกิดการจ้างงาน หรือปั้นนักออกแบบที่มีคุณภาพและมีทรัพยากรที่ตรงตามความต้องการได้
ในคำถามที่ว่า นิยามของคำว่า “เมืองสร้างสรรค์” คืออะไร เราว่าคุณจี๊ดได้อธิบายจนเราแทบไม่มีข้อสงสัยอะไรใดๆ แล้ว แต่ความตั้งใจส่วนตัวของเขาล่ะ? สิ่งที่เขากำลังคิดว่ามันจะเกิดขึ้น หรือสนใจเป็นพิเศษ มีอะไรแตกต่างจากตำแหน่งหน้าที่ที่เขาทำอยู่ทุกวันนี้หรือไม่ในฐานะผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ ของ CEA
“ไม่ง่ายเลยนะครับคำถามนี้” เขาตอบอย่างจริงจังปนหัวเราะ
“ผมว่าสิ่งที่มันจะเป็น What’s Next สำหรับผม ส่วนตัวนะ มันจะเป็นสิ่งที่เกิดโดยวัตถุประสงค์บางอย่าง ไม่ได้มาจากแรงบันดาลใจ แต่มันคือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อเป้าหมายบางอย่าง ไม่ได้หมายความว่ามันจะมาในรูปแบบของนวัตกรรมประดิษฐ์ (AI) นะ”

สิ่งที่เขาอธิบายอาจจะเป็นภาพรวมกว้างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรม, ระดับความรู้และความถนัด หรือเครื่องไม้เครื่องมือ
“ทุกอย่างหลังจากนี้จะขับเคลื่อนด้วย Mindset ทำอย่างไรให้ความเชื่อของเราแข็งแกร่ง ใช้ตรงนี้เป็นตัวตั้ง ส่วนเรื่องของ Passion หรือแรงบันดาลใจ มันจะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นเวลาเรารู้สึกเฟล ดังนั้นเรื่องที่ผมมองและคาดหวังน่าจะเป็นอะไรที่เป็นนามธรรมหน่อย”

คงเป็นการจบที่แบบนามธรรมที่สุด แต่ก็ครอบคลุมที่สุดเช่นกัน คุณจี๊ดส่งต่อแนวความคิดบางอย่างให้เราเก็บไปคิดต่อผ่านโปรเจกท์ต่างๆ ของเขา แม้กระทั่งภาพรวมของ CEA เอง สิ่งที่หลายๆ คนที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์นี้ของเขา น่าจะเอาไปประยุกต์ใช้กับแต่ละบุคคลไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราเชื่อ และศรัทธาในแรงขับเคลื่อนที่เขาอยากสื่อสาร และอยากส่งต่อความตั้งใจนี้กับทุกคน
TAG
พิชิต วีรังคบุตร แห่ง CEA ผู้ไม่หยุดอยู่ที่การเป็นคนบุกเบิกพื้นที่สร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ
/
CONTRIBUTORS
RECOMMEND
/
ทันทีที่ Key Visual สถาปนิก’ 68 เผยแพร่ออกมา บทสนทนาปลุกสัญชาตญาณนักสืบในตัวทุกคนพร้อมใจกันทำงานแบบ Autopilot และระหว่างที่ตามหาเฉลยกันจริงจัง ทุกคนเริ่มหันมาตั้งคำถามต่อว่า Art Toys เกี่ยวข้องกับธีมงานอย่างไร รู้ตัวอีกทีวงสนทนาก็กระเพื่อมขยายกว้างขึ้น ส่งสัญญาณชัดว่า Key Visual ปีนี้เปิดฉากมาแบบสนุกเอาเรื่อง โดนเส้นกันสุดๆ
/
วัลลภ รุ่งกำจัด หรือ อุ้ม นักแสดงที่เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์กับโลกของภาพยนตร์ ผ่านการสร้างชีวิตให้ตัวละครต่าง ๆ ได้ออกมาโลดแล่นแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ให้กับผู้ชม แม้เขาจะไม่ได้เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงกว้างเทียบเท่ากับนักแสดงกระแสหลัก แต่ในเวทีระดับโลก “อุ้ม” ได้พิสูจน์ตัวเองกับการเป็นนักแสดงที่มีความสามารถที่ยอมทุ่มเทหลาย ๆ สิ่ง ให้กับงานศิลปะด้านการแสดงในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสุดตัว
/
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับเธอคนนี้ในชื่อของ พัด หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า พัด ZWEED N’ ROLL เจ้าของเสียงทุ้มมีเสน่ห์ นักร้องและนักแต่งเพลงที่ฝากผลงานเพลงเศร้าเอาไว้ในวงการมากมาย อาทิ ช่วงเวลา, Diary, อาจเป็นฉัน และอีกมากมาย ไม่มีอะไรแน่นอนแม้กระทั่งตัวเราเอง ช่วงเวลาจึงได้พัดพาให้เรามาทำความรู้จักกับ “MAMIO” ในฐานะศิลปินใหม่จากค่าย Warner Music Thailand ซึ่งเป็นอีกตัวตนหนึ่งของคุณพัดที่ไม่เคยถูกปลดปล่อยออกมาเลยตลอดชีวิตการทำงานในวงการสิบกว่าปีที่ผ่านมา หรือถ้าจะให้ซื่อสัตย์กับตัวเองจริง ๆ ก็อาจจะเป็นทั้งชีวิตที่เกิดมาเลยเสียด้วยซ้ำ
/
Whispers เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่สะท้อนการเติบโตของวงการ Hardcore ในประเทศไทยอย่างแท้จริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงกลุ่มเพื่อนที่หลงใหลในดนตรี เพราะนอกจากจะเป็นผู้เล่น พวกเขายังเป็นกำลังสำคัญที่คอยผลักดันซีนฮาร์ดคอร์ในบ้านเรามาโดยตลอด ประสบการณ์ที่สั่งสมทำให้เกิดเป็นสไตล์เฉพาะของ Whispers สร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้พวกเขาก้าวไปสู่เวทีระดับสากล ถึงแม้พวกเขาจะอยู่ใต้ดินของไทย แต่เสียงคำรามของพวกเขาก็ดังไปไกลถึงทวีปยุโรป มาพบกับเส้นทางดนตรีที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง กับวงฮาร์ดคอร์ระดับบท็อปของ Southeast Asia
/
ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบงานสักของเขา ที่เรารู้สึกแปลกประหลาดกว่างานสักอื่น ๆ (แปลกประหลาดในที่นี้คือความหมายในแง่ดีนะ) ก็เลยตัดสินใจส่งข้อความทักไปหา “พี่นัทครับ ผมขอสัมภาษณ์พี่ได้ไหม” “ได้ครับ” สั้น ๆ แต่จบ เรื่องราวทั้งหมดก็เลยเริ่มต้นขึ้นที่ร้าน CAVETOWN.TATTOO แถว ๆ ปิ่นเกล้า ซึ่งพี่นัทเป็นเจ้าของร้านแห่งนี้ บทสนทนาของเราเริ่มกันในช่วงเวลาบ่าย ๆ ของวันพฤหัส พอไปถึงร้านพี่นัทกำลังติดงานสักให้กับลูกค้าอยู่หนึ่งคน พอได้เห็นลายที่เขาสักต้องบอกว่าเท่มาก ๆ มันมีความเป็น Psychedelic บวกกับ Ornamental ผสมผสานกับเทคนิค Dotwork จนกลายเป็นงานศิลปะบนผิวหนังหลังฝ่ามือ เราถึงกับต้องถามคำถามโง่ ๆ กับลูกค้าที่ถูกสักว่า “เจ็บไหม” แน่นอนคำตอบที่ได้คือ “โคตรเจ็บ” เพราะจุดที่สักคือหลังฝ่ามือ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายคนร่ำลือกันว่าโคตรเจ็บ ระหว่างที่รอพี่นัทไปพลาง ๆ น้องแมคช่างภาพที่มีรอยสัก Full Sleeve เต็มแขนขวา ก็เริ่มกดชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปเก็บภาพระหว่างที่เขาสักไปด้วย พอสักเสร็จเรียบร้อยก็ปล่อยให้พี่เขาพักผ่อนกินน้ำ ปัสสาวะ (อ่านแยกคำนะอย่าอ่านติดกัน) ก่อนจะพูดคุย แต่เดี๋ยว ! ก่อนจะเริ่มบทสนทนา เราขอเกริ่นให้ฟังซักนิดนึงเกี่ยวกับชายคนนี้ก่อน
/
ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีวงดนตรีสัญชาติไทยที่ชื่อ KIKI ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ก็เพราะด้วยเสียงเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )