LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา สถาปัตยกรรมที่ประยุกต์ด้วย กสิกรรม ธรรมชาติ และความพอเพียง
Photograph : Ketsiree Wongwan
คำว่าพอเพียงของแต่ละคนมีมุมมองอย่างไร? ภาพจำของสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่อยู่ร่วมกับศาสตร์พอเพียงของคนส่วนมากมักเป็นอาคารไม้ไผ่ที่มุงจาก สถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับความพอเพียงอาจไม่ได้มีมุมเดียวเท่านั้น
ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา เขาใหญ่ ก่อตั้งโดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน คือโครงการการเรียนรู้กสิกรรมและศาสตร์พอเพียงที่ดำเนินตามรูปแบบศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร เพื่อเป็นศูนย์หลักสำหรับการดำเนินกิจกรรมขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ รองรับศูนย์การเรียนรู้ที่กระจายหลายแห่งทั่วประเทศ ให้เป็นโครงการที่สะดวกสบายทันสมัยรองรับคนหลากหลายกลุ่มและง่ายต่อการเดินทางเข้าถึงมากขึ้น
คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกผู้ออกแบบและผู้ก่อตั้ง Vin Varavarn Architects อธิบายถึงภาพรวมของโครงการถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ซึ่งเริ่มดำเนินการส่วนเรียกก่อนคือศูนย์ฯ พรรณา และส่วนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่อยู่ระหว่างขั้นแผนงานและการออกแบบ โดยผังของโครงการได้ทีมงานของคุณผึ้งและเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเป็นผู้ออกแบบวางผัง เนื่องจากผังการใช้งานต้องเกิดการประยุกต์ตามเกษตรทฤษฎีใหม่ (โคก หนอง นา โมเดล) ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม แบ่งสัดส่วนพื้นที่บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำกินให้สอดคลองกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
อาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนาเกิดจาการรวมกันของกลุ่มฟังก์ชั่นที่สัมพันธ์ต่อการใช้งานวางลงบนผังของพื้นที่ แยกออกเป็นอาคารหลักและอาคารห้องน้ำ
“ขณะเริ่มออกแบบไม่ได้มองฟังก์ชั่นแต่ละอย่างออกมาเป็นรูปแบบอาคารหลังเดียว แต่อาคารหลังเดียวสามารถใช้งานง่าย สามารถเป็นทั้งแลนด์มาร์ค และเป็นศูนย์กลางที่สามารถเห็นทิวทัศน์รอบโครงการ ซึ่งมีอาคารห้องน้ำอยู่ในตำแหน่งใกล้และสามารถเดินถึงได้” ม.ล.วรุตม์กล่าว
อาคารหลักหรืออาคารสัมมนามีทั้งหมดสองชั้นทำหน้าที่คล้ายศาลาประจำศูนย์ฯ มีรูปทรงที่น่าสนใจจากการรวมฟังก์ชันการใช้งานอยู่ภายใต้หลังคาทรงออร์แกนิกคลอบคลุมพื้นที่ทั้งอาคาร จนเป็นที่มาของอาคารใบไม้ตามรูปร่างที่ออกเรียวยาว การออกแบบพื้นที่อาคารเน้นความเรียบง่าย โดยชั้นแรกประกอบด้วย ห้องสัมมนาที่ใช้เป็นทั้งห้องเรียนและบูรณาการทำกิจกรรมขนาดใหญ่มีคนจำนวนมาก มีโรงอาหารซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนสามารถรองรับกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ส่วนประกอบอาหาร ส่วนรับประทานอาหาร และส่วนล้างจาน พื้นที่บริเวณด้านล่างมีลักษณะกึ่งกลางแจ้งที่สามารถใช้ผนังกระจกปิดเป็นห้องเพื่อใช้งาน หรือเปิดโล่งให้อากาศถ่ายเท บริเวณชั้นสองของอาคารมีห้องเวิร์คช็อป ห้องคอนโทรลรูม ห้องรับแขก ห้องน้ำแขกและห้องประชุมหรือวอร์รูมของทีมงานสำหรับระดมความคิดก่อนการจัดกิจกรรม ถัดจากอาคารหลักไม่ไกลกันคืออาคารห้องน้ำ โดย ม.ล.วรุตม์ได้อธิบายโจทย์การออกแบบห้องน้ำของศูนย์ฯ ซึ่งนอกจากมีการใช้ห้องน้ำสุขาเช่นพื้นที่อาคารสาธารณะทั่วไป ห้องน้ำของโครงการต้องอำนวยต่อกิจกรรมทั้งสำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาบน้ำหลังร่วมกิจกรรมที่อาจเลอะดินและโคลนแล้ว ห้องน้ำที่นี่จึงตั้งอีกโจทย์สำหรับการออกแบบให้ไม่ว่ามีความสกปรกหลังการใช้กิจกรรมอย่างไรยังต้องน่าใช้เสมอ โดยหลีกเลี่ยงลักษณะห้องน้ำที่มีผนังตันทึบ เป็นที่มาของห้องน้ำไร้จุดอับจากวงกลมสองวงของห้องน้ำชาย และหญิงคลี่คลายเข้าหากันเป็นรูปแบบผนังของห้องน้ำ
อาคารสัมมนาสร้างด้วยโครงสร้างเหล็ก วัสดุที่นำมาใช้ในโครงการส่วนใหญ่มีที่มาจากรอบพื้นที่และวัสดุธรรมดา ที่นำมาออกแบบได้น่าสนใจ เช่นผนังคอนกรีตที่ฉาบด้วยดินสีแดงของเขาใหญ่จากการขุดดินในโครงการ สื่อถึงดินที่ขุดและสร้างเป็นอาคารอยู่บริเวณนี้ ทั้งสื่อถึงดินคือส่วนหนึ่งจากธรรมชาติ ทั้งนี้หลังคามุงด้วยไม้ไผ่ และปลูกไว้รองรับการซ่อมแซมตามอายุไขและการใช้งานในอนาคต
วัสดุหลักของอาคารห้องน้ำใช้คือผนังซึ่งใช้อิฐมอญก่อเป็นเคิฟสามมิติ โดยมีเพลทเหล็กบางทำหน้าที่แทนเสาเอ็นขั้นแต่ละช่วง และเป็นแกนในการก่ออิฐให้ค่อยๆ โค้งตามแนวโค้ง เสมือนภาพรูปตัดแสดงแนวโค้งที่แตกต่างกัน ทั้งให้ความรู้สึกผนังที่ต่อเนื่อง โดยใช้ความสามารถของฝีมือช่างท้องถิ่นที่ไม่เคยทำงานลักษณะนี้มาก่อน เป็นการฝึกทักษะและศักยภาพ โดยมีการแลกเปลี่ยน เทคนิคระหว่างช่างและผู้ออกแบบ เพื่อให้งานออกมาในรูปแบบเดิมแต่มีวิธีการง่ายขึ้น
พื้นที่ของโครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งขุดลงไปเจอหินเกือบทั้งหมด แต่ทีมงานของคุณผึ้งและอาจารย์ยักษ์ สามารถนำศาสตร์ และการกสิกรรมทำให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวได้เขียวชอุ่มทั่วบริเวณ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือการหมุนเวียนการเดินผ่านของน้ำ ด้วยวิธีขุดคลองไส้ไก่ซึ่งเป็นคลองเล็กๆ รอบตัวอาคารรองรับน้ำจากหลังคาที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำฝน ประกอบกับความคดเคี้ยวของคลองทำให้การระบายน้ำช้าลงเพื่อให้ความชุ่มชื้นจากน้ำสามารถแผ่ลงไปให้พื้นดินได้มากขึ้น รวมทั้งกักเก็บสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นได้ภายหลัง
คำว่าพอเพียงของแต่ละคนมีมุมมองอย่างไร? ม.ล.วรุตม์และทีมผู้ออกแบบ Vin Varavarn Architects นำเสนอให้คนทั่วไปเห็นอีกรูปแบบหนึ่งของคำว่าพอเพียงกับสถาปัตยกรรมออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งมีความร่วมสมัยแต่สื่อถึงความเป็นพื้นถิ่นได้โดยการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติรอบตัว ผ่านตัวอย่างโครงการศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา เขาใหญ่ ด้วยอาคารสมัยใหม่สามารถผสมผสานความพอเพียงออกมาให้ใช้งานได้ง่าย มีความสะดวกสบาย และใช้งานได้ดี ทั้งสามารถอยู่คงทนถาวรไปได้ในระยะยาว
Architecture: Vin Varavarn Architects Interior
Design: Vin VAravarn Architects
Engineers: Site 83 Engineering Contractor: Mr. Sutam Rattanadej and team
Lighting Design: Lamptitude Architect Team
Design Director: M.L.Varudh Varavarn Project
Architect: Jongsarit Jinachan Interior Design: Nutsiree Wichit, Pakamas Nitipong
Photographer: Ketsiree Wongwan
PANNAR ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา สถาปัตยกรรมที่ประยุกต์ด้วยธรรมชาติ โดย VVA
/
ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ
/
ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่
/
ใครที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม หรือกำลังมองหานิทรรศการที่จะไปเดินชมในช่วงวันหยุด เราก็ขอแนะนำนิทรรศการสถาปัตยกรรม “Infinity Ground – Thailand and Taiwan Contemporary Architecture Exhibition” ที่จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนของกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เปิดให้เข้าชมแล้วที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
/
ในภาษามลายูคำว่า “กำปง” มีความหมายถึงหมู่บ้าน “กำปงกู” หรือ “หมู่บ้านกู” เป็นชุมชนค่อนข้างปิดอยู่บนชายขอบของสองชุมชนใหญ่อย่างบือติง และสะบารังในเมืองปัตตานี ชาวบ้านผู้อาศัยในแถบนี้มีรายได้น้อย และมีที่อยู่ลักษณะกึ่งแออัด ซึ่งมักมีปัญหามั่วสุม ส่งผลต่อการเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนควบคู่กันตามไปด้วย ทั้งนี้ยังมีกลุ่มอาสาพัฒนาเมืองได้วางแผนพัฒนา “หมู่บ้านกู” แห่งนี้ด้วยโปรแกรมอาหารและกีฬาเข้ามาเปิดสมดุลในพื้นที่ชุมชน
/
“น้ำ” และ “หุบเขา” องค์ประกอบของทรัพยากรธรรมชาติซึ่งใช้เวลาสั่งสมหลายร้อยปีจนเป็นผืนป่า แม่น้ำ และที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนกลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิต และภูมิปัญญาการพึ่งพิงธรรมชาติอันเรียบง่ายของชาวอีสาน ท่ามกลางบริบทที่รายล้อมอย่างลึกซึ้งมาตั้งแต่อดีตนี้ จนทำให้ผู้ออกแบบไม่สามารถไม่หยิบยกเรื่องราวขึ้นมาสะท้อนความสมบูรณ์ผ่านร้านอาหาร “วารี วัลเล่ย์” จังหวัดขอนแก่น ที่รายล้อมไปด้วย แม่น้ำ ป่าไม้ และหุบเขาของตะวันออกเฉียงเหนือออกมาได้
/
Idendrophile 54 เป็นบ้านพักสไตล์ Glamping ท่ามกลางป่าเขา คลอเคล้ากับลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลขนาบข้าง ในบรรยากาศที่เหล่าคนชื่นชอบการใช้ชีวิต Outdoor หลงใหล ตั้งอยู่ในบ้านปางไฮ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 - 1,600 เมตร ทำให้มีภูมิอากาศที่ชื้นและฝนตกค่อนข้างชุก จึงรู้จักกันว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งปลูกกาแฟในเชียงใหม่ด้วย โดยเริ่มเปิดที่พักโซนแรกในปีที่ 2021 ก่อนในปี 2022 ที่ผ่านมาจะเปิดตัวโซนใหม่ซึ่งได้คุณตุ่ย - ขวัญชัย สุธรรมซาว สถาปนิกฝีมือดีจากบริษัทสถาปนิกแผลงฤทธิ์ มาออกแบบที่พักให้
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )