PANNAR ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา สถาปัตยกรรมที่ประยุกต์ด้วยธรรมชาติ โดย VVA | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา สถาปัตยกรรมที่ประยุกต์ด้วย กสิกรรม ธรรมชาติ และความพอเพียง

Writer : Nada Inthaphunt
Photograph : Ketsiree Wongwan

คำว่าพอเพียงของแต่ละคนมีมุมมองอย่างไร? ภาพจำของสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่อยู่ร่วมกับศาสตร์พอเพียงของคนส่วนมากมักเป็นอาคารไม้ไผ่ที่มุงจาก สถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับความพอเพียงอาจไม่ได้มีมุมเดียวเท่านั้น

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา เขาใหญ่ ก่อตั้งโดยคุณผึ้ง-พรรณราย พหลโยธิน คือโครงการการเรียนรู้กสิกรรมและศาสตร์พอเพียงที่ดำเนินตามรูปแบบศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 จากแนวคิดของอ.ยักษ์-วิวัฒน์ ศัลยกำธร เพื่อเป็นศูนย์หลักสำหรับการดำเนินกิจกรรมขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ รองรับศูนย์การเรียนรู้ที่กระจายหลายแห่งทั่วประเทศ ให้เป็นโครงการที่สะดวกสบายทันสมัยรองรับคนหลากหลายกลุ่มและง่ายต่อการเดินทางเข้าถึงมากขึ้น

ภาพรวมของผังศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา เขาใหญ่

คุณวิน-ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ สถาปนิกผู้ออกแบบและผู้ก่อตั้ง Vin Varavarn Architects อธิบายถึงภาพรวมของโครงการถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ซึ่งเริ่มดำเนินการส่วนเรียกก่อนคือศูนย์ฯ พรรณา และส่วนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่อยู่ระหว่างขั้นแผนงานและการออกแบบ โดยผังของโครงการได้ทีมงานของคุณผึ้งและเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเป็นผู้ออกแบบวางผัง เนื่องจากผังการใช้งานต้องเกิดการประยุกต์ตามเกษตรทฤษฎีใหม่ (โคก หนอง นา โมเดล) ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม แบ่งสัดส่วนพื้นที่บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำกินให้สอดคลองกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่

อาคารหลักหรืออาคารสัมมนาที่มีหลังคาคลุมขนาดใหญ่รูปทรงออร์แกนิกคล้ายใบไม้ ทำหน้าเป็นศาลาศูนย์กลางของโครงการ

อาคารของศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนาเกิดจาการรวมกันของกลุ่มฟังก์ชั่นที่สัมพันธ์ต่อการใช้งานวางลงบนผังของพื้นที่ แยกออกเป็นอาคารหลักและอาคารห้องน้ำ
“ขณะเริ่มออกแบบไม่ได้มองฟังก์ชั่นแต่ละอย่างออกมาเป็นรูปแบบอาคารหลังเดียว แต่อาคารหลังเดียวสามารถใช้งานง่าย สามารถเป็นทั้งแลนด์มาร์ค และเป็นศูนย์กลางที่สามารถเห็นทิวทัศน์รอบโครงการ ซึ่งมีอาคารห้องน้ำอยู่ในตำแหน่งใกล้และสามารถเดินถึงได้” ม.ล.วรุตม์กล่าว

อาคารสัมมนาในส่วนชั้นล่างประกอบด้วยห้องสัมมนา และโรงอาหารที่แบ่งเป็นสามส่วนรองรับกิจกรรม
ชั้นบนของอาคารมีห้องเวิร์คช็อป และห้องประชุมหรือวอร์รูมของทีมงานสำหรับระดมความคิด

อาคารหลักหรืออาคารสัมมนามีทั้งหมดสองชั้นทำหน้าที่คล้ายศาลาประจำศูนย์ฯ มีรูปทรงที่น่าสนใจจากการรวมฟังก์ชันการใช้งานอยู่ภายใต้หลังคาทรงออร์แกนิกคลอบคลุมพื้นที่ทั้งอาคาร จนเป็นที่มาของอาคารใบไม้ตามรูปร่างที่ออกเรียวยาว การออกแบบพื้นที่อาคารเน้นความเรียบง่าย โดยชั้นแรกประกอบด้วย ห้องสัมมนาที่ใช้เป็นทั้งห้องเรียนและบูรณาการทำกิจกรรมขนาดใหญ่มีคนจำนวนมาก มีโรงอาหารซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนสามารถรองรับกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ส่วนประกอบอาหาร ส่วนรับประทานอาหาร และส่วนล้างจาน พื้นที่บริเวณด้านล่างมีลักษณะกึ่งกลางแจ้งที่สามารถใช้ผนังกระจกปิดเป็นห้องเพื่อใช้งาน หรือเปิดโล่งให้อากาศถ่ายเท บริเวณชั้นสองของอาคารมีห้องเวิร์คช็อป ห้องคอนโทรลรูม ห้องรับแขก ห้องน้ำแขกและห้องประชุมหรือวอร์รูมของทีมงานสำหรับระดมความคิดก่อนการจัดกิจกรรม ถัดจากอาคารหลักไม่ไกลกันคืออาคารห้องน้ำ โดย ม.ล.วรุตม์ได้อธิบายโจทย์การออกแบบห้องน้ำของศูนย์ฯ ซึ่งนอกจากมีการใช้ห้องน้ำสุขาเช่นพื้นที่อาคารสาธารณะทั่วไป ห้องน้ำของโครงการต้องอำนวยต่อกิจกรรมทั้งสำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาบน้ำหลังร่วมกิจกรรมที่อาจเลอะดินและโคลนแล้ว ห้องน้ำที่นี่จึงตั้งอีกโจทย์สำหรับการออกแบบให้ไม่ว่ามีความสกปรกหลังการใช้กิจกรรมอย่างไรยังต้องน่าใช้เสมอ โดยหลีกเลี่ยงลักษณะห้องน้ำที่มีผนังตันทึบ เป็นที่มาของห้องน้ำไร้จุดอับจากวงกลมสองวงของห้องน้ำชาย และหญิงคลี่คลายเข้าหากันเป็นรูปแบบผนังของห้องน้ำ

อาคารห้องน้ำผนังอิฐมอญก่ออย่างต่อเนื่องโดยมีเสาเอ็นเป็นเพลทเหล็ก เกิดจากการคลายวงกลมของห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิงออกเป็นเคิฟสามมิติเข้าหากัน

ภายในอาคารห้องน้ำ โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไร้จุดอับซึ่งสามารถเดินได้รอบพื้นที่
Toilet Diagram

อาคารสัมมนาสร้างด้วยโครงสร้างเหล็ก วัสดุที่นำมาใช้ในโครงการส่วนใหญ่มีที่มาจากรอบพื้นที่และวัสดุธรรมดา ที่นำมาออกแบบได้น่าสนใจ เช่นผนังคอนกรีตที่ฉาบด้วยดินสีแดงของเขาใหญ่จากการขุดดินในโครงการ สื่อถึงดินที่ขุดและสร้างเป็นอาคารอยู่บริเวณนี้ ทั้งสื่อถึงดินคือส่วนหนึ่งจากธรรมชาติ ทั้งนี้หลังคามุงด้วยไม้ไผ่ และปลูกไว้รองรับการซ่อมแซมตามอายุไขและการใช้งานในอนาคต

วัสดุหลักของอาคารห้องน้ำใช้คือผนังซึ่งใช้อิฐมอญก่อเป็นเคิฟสามมิติ โดยมีเพลทเหล็กบางทำหน้าที่แทนเสาเอ็นขั้นแต่ละช่วง และเป็นแกนในการก่ออิฐให้ค่อยๆ โค้งตามแนวโค้ง เสมือนภาพรูปตัดแสดงแนวโค้งที่แตกต่างกัน ทั้งให้ความรู้สึกผนังที่ต่อเนื่อง โดยใช้ความสามารถของฝีมือช่างท้องถิ่นที่ไม่เคยทำงานลักษณะนี้มาก่อน เป็นการฝึกทักษะและศักยภาพ โดยมีการแลกเปลี่ยน เทคนิคระหว่างช่างและผู้ออกแบบ เพื่อให้งานออกมาในรูปแบบเดิมแต่มีวิธีการง่ายขึ้น
พื้นที่ของโครงการตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งขุดลงไปเจอหินเกือบทั้งหมด แต่ทีมงานของคุณผึ้งและอาจารย์ยักษ์ สามารถนำศาสตร์ และการกสิกรรมทำให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวได้เขียวชอุ่มทั่วบริเวณ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือการหมุนเวียนการเดินผ่านของน้ำ ด้วยวิธีขุดคลองไส้ไก่ซึ่งเป็นคลองเล็กๆ รอบตัวอาคารรองรับน้ำจากหลังคาที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำฝน ประกอบกับความคดเคี้ยวของคลองทำให้การระบายน้ำช้าลงเพื่อให้ความชุ่มชื้นจากน้ำสามารถแผ่ลงไปให้พื้นดินได้มากขึ้น รวมทั้งกักเก็บสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็นได้ภายหลัง

ผนังคอนกรีตที่ฉาบด้วยดินสีแดงของเขาใหญ่จากการขุดดินในโครงการ สื่อถึงดินที่ขุดและสร้างเป็นอาคารอยู่บริเวณนี้ ทั้งสื่อถึงดินคือส่วนหนึ่งจากธรรมชาติ

หลังคาไม้ไผ่ทำมือถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำฝนไหลลงที่มุมหลังคา ลงคลองไส้ไก่ด้านล่าง

คำว่าพอเพียงของแต่ละคนมีมุมมองอย่างไร? ม.ล.วรุตม์และทีมผู้ออกแบบ Vin Varavarn Architects นำเสนอให้คนทั่วไปเห็นอีกรูปแบบหนึ่งของคำว่าพอเพียงกับสถาปัตยกรรมออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งมีความร่วมสมัยแต่สื่อถึงความเป็นพื้นถิ่นได้โดยการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติรอบตัว ผ่านตัวอย่างโครงการศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา เขาใหญ่ ด้วยอาคารสมัยใหม่สามารถผสมผสานความพอเพียงออกมาให้ใช้งานได้ง่าย มีความสะดวกสบาย และใช้งานได้ดี ทั้งสามารถอยู่คงทนถาวรไปได้ในระยะยาว

อาคารสัมมนาในเวลากลางคืน
อาคารห้องน้ำในเวลากลางคืน
Main Building Floor Plans
Main Building Elevations
Links: Vin Varavarn Architects Ltd. | Facebook

Architecture: Vin Varavarn Architects Interior
Design: Vin VAravarn Architects
Engineers: Site 83 Engineering Contractor: Mr. Sutam Rattanadej and team
Lighting Design: Lamptitude Architect Team
Design Director: M.L.Varudh Varavarn Project
Architect: Jongsarit Jinachan Interior Design: Nutsiree Wichit, Pakamas Nitipong
Photographer: Ketsiree Wongwan
    TAG
  • Vin Varavarn Architects
  • VVA
  • pannar
  • learningcenter
  • design
  • architecture

PANNAR ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พอเพียงพรรณนา สถาปัตยกรรมที่ประยุกต์ด้วยธรรมชาติ โดย VVA

ARCHITECTURE/learningcenter
4 years ago
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM3 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/GARAGE

    “PG” by AAd - Ayutt and Associates design Project Garage อาคารการาจและแกลเลอรี่ ที่เหมือนประติมากรรมชิ้นเอกท่ามกลางขุนเขา

    ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ

    EVERYTHING TEAMFebruary 2024
  • DESIGN/RESORT

    “Riva Vista Riverfront Resort” By IDIN Architects รีสอร์ทริมน้ำกก ที่กกกอดธรรมชาติและความเป็นพื้นถิ่น ภายใต้สถาปัตยกรรมร่วมสมัยมุมมองใหม่

    ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่

    EVERYTHING TEAMa year ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )