ผ้าป่าน สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ อดีตผู้จัดการแกลเลอรี่ ดูแลพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะ และบรรณาธิการนิตยสาร The Jam Factory Magazine จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มต้นการทำงาน ในวงการบันเทิงจากการเป็นพิธีกรรายการสตรอเบอรี่ชีสเค้ก นอกจากงานเบื้องหน้า ผ้าป่านยังเป็นที่รู้จักในฐานะช่างภาพเเนวสตรีทที่มีผลงานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Street Photo Thailand โดยมีนิทรรศการภาพถ่ายเดี่ยวครั้งแรกของตัวเอง ในชื่อว่า NO[W]HERE MAN ภาพถ่ายสตรีทขาวดำของเมืองนิวยอร์ก และ Danse Macabre นิทรรศการระบำตันตรา ภาพถ่ายเมืองกาฐมาณฑุ จากประเทศเนปาล รวมถึงผลงานนิทรรศการภาพถ่ายอื่นๆ ที่ทำให้ผ้าป่านกลายเป็นช่างภาพสตรีทหญิงที่น่าจับตามองอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ในปัจจุบัน ผ้าป่านเป็น Curator อิสระ ทำงานกับเเกลเลอรี่หลายเเห่งทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะสนับสนุนศิลปินหลากหลายแขนงให้ได้เชื่อมต่อกับผู้คน และสังคมในวงกว้าง ผ้าป่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน คัดเลือกศิลปินหน้าใหม่จากเวทีอาร์ตแฟร์ระดับเอเชียอย่าง UNKNOWN ASIA ART EXCHANGE ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และเวทีตัดสินภาพถ่าย Wonder Foto Festival ที่ประเทศไต้หวัน นอกจากนี้ผ้าป่านยังเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อร่วมเป็นหนึ่งแรงในการขับเคลื่อนศิลปะภาพถ่ายของประเทศไทยในเวทีสากล
Photographer: Tanapol Kaewpring Writer: Pithakchai Srisuk
Website: www.pahparnsirima.com Facebook: ppsirima Instagram: pahparnsirima
THE CONNECTOR ผ้าป่าน-สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ คิวเรเตอร์สาวจิ๋วแต่แจ๋ว ผู้มุ่งหมายเชื่อมต่อพื้นที่ให้ช่างภาพทุกเจเนอเรชั่น
“ยิ่งสนิทกันมากเท่าไหร่ ยิ่งอธิบายว่าป่านทำงานอะไรให้คนอื่นฟังยากเท่านั้น” เป็นสิ่งที่ “ผ้าป่าน” สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ กล่าวติดตลกกับเราในช่วงเริ่มต้นของบทสนทนา ด้วยความที่ทำงานมาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ผ่านบทบาทมากมายทั้งพิธีกร ช่างภาพ แกลเลอรี่ไดเร็กเตอร์ นอกจากนี้ยังเป็นเหมือนกับ“พี่คนกลาง”ของวงการศิลปะที่ได้รับจากคนในวงการ และเป็นสะพานเชื่อมต่อศิลปินทั้งหน้าเก่า และใหม่ให้ได้เกิดการพูดคุยกันมากขึ้น ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจของวัยรุ่นเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่ต้องการสับเท้าเข้ามาอยู่ในโลกของศิลปะไม่น้อย อาจเพราะแบบนี้เธอจึงได้รับบทบาทใหม่เป็นกรรมการสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ EVERYTHING ได้คุยกับเธอถึงเรื่องโอกาสที่จะเกิดขึ้นเมื่อเธอได้รับหน้าที่ อิทธิพลทางความคิด ความตั้งใจที่จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อวงการภาพถ่าย ไปจนถึงอนาคตที่ศิลปะจะไม่ได้รับใช้ศิลปินอย่างเดียวอีกต่อไป
“ป่านเริ่มทำงานในวงการบันเทิงมาตั้งแต่อายุ 15 ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยจนมาถึงช่วงเรียนจบมหาวิทยาลัย เราก็ยังคงทำงานด้านพิธีกร และงานแสดง จากนั้นเหมือนเด็กอายุ 22-23 ทั่วไป คือเราเริ่มตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้วเราสนใจอะไร พอได้คำตอบว่าเราไม่ได้อยากทำในสิ่งที่ทำอยู่ไปตลอดชีวิต เริ่มหาเส้นทางใหม่ วันนึงมีคนให้กล้องฟิล์มเรามาเป็นกล้อง Diana F+ แล้วพอถ่ายๆ ไปเราชอบ เราก็เริ่มถ่ายลง อินสตาแกรมในช่วงแรกๆ ที่มันยังไม่ได้เป็นไลฟ์สไตล์มากนัก จนวันนึงมีคนมาเห็นงานเราแล้วชวนไปจัดแสดง งานของเราได้สื่อสารกับคนอื่นๆ เป็นครั้งแรก จากนั้นก็หันมาสนใจทางด้านนี้เต็มตัว ถัดมาไม่นานได้มีโอกาสเป็นแกลเลอรี่ไดเร็กเตอร์ให้กับ The Jam Factory เป็นโอกาสที่เราได้เข้าสู่วงการศิลปะเต็มตัว ได้รู้จักคนในวงการมากขึ้น ได้สร้างสรรค์งานร่วมกับคนอื่นมากขึ้น เรียกได้ว่าการมาทำแกลเลอรี่พาให้เราไปในจุดใหม่ๆ ของชีวิต”
Unsettling Emotions of Anxiety
“ป่านเริ่มทำงานในวงการบันเทิงมาตั้งแต่อายุ 15 ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยจนมาถึงช่วงเรียนจบมหาวิทยาลัย เราก็ยังคงทำงานด้านพิธีกร และงานแสดง จากนั้นเหมือนเด็กอายุ 22-23 ทั่วไป คือเราเริ่มตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้วเราสนใจอะไร พอได้คำตอบว่าเราไม่ได้อยากทำในสิ่งที่ทำอยู่ไปตลอดชีวิต เริ่มหาเส้นทางใหม่ วันนึงมีคนให้กล้องฟิล์มเรามาเป็นกล้อง Diana F+ แล้วพอถ่ายๆ ไปเราชอบ เราก็เริ่มถ่ายลง อินสตาแกรมในช่วงแรกๆ ที่มันยังไม่ได้เป็นไลฟ์สไตล์มากนัก จนวันนึงมีคนมาเห็นงานเราแล้วชวนไปจัดแสดง งานของเราได้สื่อสารกับคนอื่นๆ เป็นครั้งแรก จากนั้นก็หันมาสนใจทางด้านนี้เต็มตัว ถัดมาไม่นานได้มีโอกาสเป็นแกลเลอรี่ไดเร็กเตอร์ให้กับ The Jam Factory เป็นโอกาสที่เราได้เข้าสู่วงการศิลปะเต็มตัว ได้รู้จักคนในวงการมากขึ้น ได้สร้างสรรค์งานร่วมกับคนอื่นมากขึ้น เรียกได้ว่าการมาทำแกลเลอรี่พาให้เราไปในจุดใหม่ๆ ของชีวิต”
ความภูมิใจในการสร้าง“พื้นที่”ของศิลปะ “เรารู้สึกว่าทุกๆ งานที่ผ่านมาของเรามันพอจะมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้ทุกๆ งาน แต่งานที่เราภูมิใจที่สุดคือการมีโอกาสทำ Art Ground เรารู้สึกได้ว่างานมันมีความเป็นตัวเรามากๆ ตั้งแต่ในช่วง Pre-Production การได้มีปฏิสัมพันธ์กับคน การได้รวบรวมกลุ่มคนที่มีความสามารถแล้วเราได้สร้างพื้นที่ที่ส่งเสริมทุกคนเกิดคอนเนกชั่นกัน ป่านรู้สึกว่าสิ่งนี้แหละคือตัวเราที่สุด นอกจากนี้งานยังได้รับฟีดแบ็กที่ดี และตรงกับจุดประสงค์ที่เราต้องการหลายๆ อย่าง ทั้งการเปิดโอกาสให้ศิลปินใหม่ๆ หรือศิลปินที่ไม่ได้มีโอกาสแสดงผลงานในอาร์ตแกลเลอรี่ได้มีโอกาสได้เจอกับกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นผู้ซื้อของเขา แล้วมันเกิดขึ้นจริงๆ เราได้เห็นว่าในตลาด Art Market ร้อนๆ ที่เราจัดมีคนพกเงินสดหลักหมื่นมาเพื่อซื้องานของศิลปิน แล้วศิลปินคนนั้นบินมาจากเชียงใหม่ เขาไม่เคยขายงานได้เลย เขาบอกกับป่านว่าสิ่งที่เขาได้จากการมางานนี้สิ่งหนึ่งคือเขาคิดว่างานของเขาเป็นการพูดคุยกับตัวเองมาโดยตลอด ที่นี่เขาได้รู้ว่างานของเขาสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ด้วย อันนี้เป็นอะไรที่ป่านประทับใจมาก และเรารู้สึกว่ามันประสบความสำเร็จ” “อีกอย่างคือการเกิดคอมมูนิตี้ระหว่างตัวศิลปินด้วยกันซึ่งเราเชื่อในสิ่งนี้มากๆ ป่านคิดว่าคนเราไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยตัวคนเดียว คือไปมันก็ไปได้แหละ แต่การผสมผสานความคิด และพลังงานที่หลายๆ คนช่วยกันมันสนุก และไปได้ไกลกว่ามาก ศิลปินวาดภาพประกอบคนหนึ่งอาจจะได้เจอแอนิเมเตอร์ งานต่อมาของศิลปินคนนั้นอาจดีเวลลอปไปเป็นแอนิเมชั่น ทำไมจะไม่ละ ความรู้ในวงการมันก็ต่อยอดไปได้เรื่อยๆ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ป่านรู้สึกภูมิใจที่สุดที่ได้สร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาให้ทุกคนเช่นกัน”
เติมความคิดผ่านภาพยนตร์ รับพลังงานจากคนรอบตัว “คำว่างานศิลปะมันกว้างมาก โชคดีที่ป่านเป็นคนที่เปิดรับเรื่องราวใหม่ๆ ตลอดเวลา แรงบันดาลใจของเราเลยได้จากหลายๆ อย่างรอบตัว เพราะร่มของศิลปะมันกว้าง แต่สิ่งที่เป็นแรงผลักดันสำคัญของเราเลยคือพลังงานจากศิลปินหลายๆ คนที่เราได้ร่วมงานด้วย การที่เราได้รู้จักคนในวงการจนคุยได้สนิทเป็นเพื่อนกันมันมีพลังงานจากตรงนี้ให้เราเยอะเหมือนกันในการไปต่อ แน่นอนว่ารวมถึงการได้รับฟีดแบ็กหลังจากจบงานด้วย มันเติมเต็มให้เรามีแรงคิดงานต่อได้ ส่วนสิ่งที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อตัวป่านมากเกิดขึ้นในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยค่ะ การดูภาพยนตร์ของป่านทำให้ป่านรู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ชีวิตมากมายผ่านการพัฒนาตัวละครในภาพยนตร์ดีๆ สองชั่วโมง คือเราสามารถเห็นคนหลายๆ แบบกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายๆ แบบโดยที่เราไม่ต้องเอาตัวเองไปผ่านสถานการณ์นั้นจริงๆ รวมถึงอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนให้เรารู้จักตั้งคำถามกับตัวเอง รู้จักทบทวนถึงสิ่งที่ตัวเองอยากทำ อะไรคือเมสเสจที่เราอยากสื่อสารออกไป ซึ่งป่านรู้สึกว่าสิ่งนี้มันทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น ทำให้ป่านโตขึ้นมากๆ และสุดท้ายคือคุณพ่อที่เป็นเหมือน Guidance ของชีวิต”
มุ่งสู่การเป็นแพลตฟอร์มของวงการภาพถ่ายไทยอย่างเต็มตัว “ทุกช่วงเวลาของชีวิตที่ผ่านมาป่านรู้สึกโชคดีที่ได้ทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่การเป็นสตรอเบอรี่ชีสเค้กที่ทำให้ป่านมีทักษะในการสื่อสารกับคนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งกลายมาเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ป่านสามารถเรียนรู้กระบวนการทำงานของงานอื่นๆ ที่ป่านได้มีโอกาสทำทั้งการเป็นแกลเลอรี่ไดเร็กเตอร์ที่ได้จัด Art Market ซึ่งป่านวิ่งงานเองในหลายๆ ส่วน ลุยงานเองมาตลอด และประสบการณ์ต่างๆ ที่เราเอาตัวเข้าไปพบเจอเองทำให้เมื่อเราได้มาทำงานคิวเรท ที่ได้กลายเป็นพื้นฐานของการทำงานในปัจจุบันของเรา การเลือกอะไรหลายๆ อย่างของป่านอาจทำให้คนเริ่มเห็นสไตล์บางอย่างที่เรียกได้ว่าเป็นตัวตนของเรา”
“รวมถึงก่อนหน้านี้ที่ป่านได้เป็นกรรมการตัดสินรางวัลในเวทีต่างประเทศอย่างโอซาก้า และไทเป ต่อเนื่องมายาวนานกว่า 5 ปี ทำให้ป่านได้รู้จักศิลปิน และนักสร้างสรรค์ในภูมิภาคที่กว้างขึ้น มองเห็นโอกาสในการสร้างความร่วมมือ เราเริ่มให้ความสำคัญกับการทำงานด้านภาพถ่ายโดยเฉพาะ ทั้งในส่วนของการคิวเรทงาน ผลิตชิ้นงานเอง รวมถึงการทำกิจกรรมเวิร์กช็อปด้วย จนได้รับโอกาสครั้งสำคัญในการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ป่านจึงอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนตรงนี้ สร้างแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อคนในวงการภาพถ่ายประเทศไทย ทั้งการสนับสนุนช่างภาพรุ่นใหม่ เป็นพื้นที่ที่ช่างภาพทุกคนสามารถคุยกัน รวมถึงนักสะสมและผู้ที่สนใจในวงการภาพถ่าย รวมถึงส่งเสริมวงการให้เกิดการเชื่อมต่อกับกลุ่มช่างภาพในเอเชียมากขึ้น ซึ่งในช่วงแรกจะเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนช่างภาพจากต่างประเทศมาแสดงงานในประเทศไทยและผลักดันช่างภาพไทยให้เข้าสู่ตลาดภาพถ่ายทั้งในงานอาร์ตแฟร์ และการจัดแสดงงานตามแกลเลอรี่ต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือกันตรงนี้”
ในวันศิลปะไม่ใช่แค่สิ่งที่ศิลปินสร้างมาเพื่อบอกว่า “ฉันเป็นใคร” “เมื่อมองไปยังอนาคตสิ่งที่ป่านสนใจจริงๆ ในตอนนี้คือ ปัญหาของโลก Climate Change การเปลี่ยนแปลงของอากาศที่กระทบกับสิ่งมีชีวิตทั่วโลก ซึ่งน่าจะเป็นหัวข้อที่ทุกคนต้องเริ่มกังวลกันให้มากขึ้นกว่านี้ เมื่อกลางปีมีโอกาสได้ไปดูงานศิลปะที่ Venice Biennale ก็ได้เห็นงานของศิลปินระดับโลกหลายคนที่เขายก Issue ระดับโลกขึ้นมาพูดถึงผ่านตัวงานศิลปะ เขายกปัญหาขึ้นมาเพื่อต้องการให้เกิดการสื่อสารและการพูดคุยถึงปัญหาว่าเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงหรือมีแนวทางที่จะเดินไปข้างหน้ายังไง ป่านคิดว่าเราอาจจะไม่ได้อยู่ในยุคที่งานศิลปะมีไว้เพื่อการ Express ตัวของศิลปินว่าฉันเป็นใครอย่างเดียวแล้ว แต่วงการศิลปะสามารถเป็นพลังสำคัญในการกระจายข้อความเหล่านี้ให้กับผู้คนได้ ไม่ใช่ว่าเราต้องหยุดทำงาน คือชีวิตล้วนต้องเดินไปข้างหน้า แต่เราสามารถไปโดยมีความตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ไปด้วยได้ ทั้งในการใช้ชีวิตเองหรือผ่านในส่วนของการทำงานของเรา ป่านคิดว่าสิ่งนี้แหละคือ Next สำหรับป่านและ Next สำหรับโลกใบนี้ค่ะ”
TAG
design art artist WHAT'S NEXT PAHPARN SIRIMA ผ้าป่าน-สิริมา คิวเรเตอร์สาวจิ๋วแต่แจ๋ว ผู้มุ่งหมายเชื่อมต่อพื้นที่ให้ช่างภาพทุกเจเนอเรชั่น
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
DESIGN / ART
A HOPE AND PEACE TO END ALL HOPE AND PEACE ศิลปะแห่งการสำรวจรากเหง้าแห่งความขัดแย้งและความรุนแรงในตะวันออกกลาง
ท่ามกลางไฟสงครามจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล - ปาเลสไตน์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน รวมถึงผู้บาดเจ็บหลายหมื่นคน และผู้พลัดฐิ่นฐานบ้านเกิดนับแสนคน และสงครามยังคงมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งความขัดแย้งที่ว่านี้ไม่เพียงเกิดจากสาเหตุทางเชื้อชาติและความแตกต่างทางศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังเกิดจากการแทรกแซงของชาติมหาอำนาจจากโลกตะวันตกอีกด้วย
Panu Boonpipattanapong January 2024
DESIGN / ART
ROOM063 เปิดประตูสู่ห้วงจิตใต้สำนึก แสวงหาตัวตนเพื่อคงอยู่กับ ก้าม ธรรมธัช สายทอง
หลังจากคลายล็อคดาวน์ให้ผู้คนสามารถออกไปใช้ชีวิตได้มากขึ้นนิดหน่อย เราสามารถออกไปทานข้าว นั่งคาเฟ่ เดินห้างสรรพสินค้า หรือกระทั่งออกไปชื่นชมงานศิลปะ สิ่งเหล่านี้ที่เราต่างเคยทำมันในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องปกติ กระทั่งเราได้รับรู้ว่าการขาดสิ่งเหล่านี้ไปเป็นระยะเวลานานในช่วงเวลาเช่นนี้ คงยิ่งทำให้ใครหลายๆ คนรู้สึกหดหู่หัวใจไม่มากก็น้อย เพราะการใช้ชีวิตทุกวันอยู่ให้ห้องสี่เหลี่ยม ขาดความหลากหลาย ขาดสีสัน ไร้ซึ่งการพบปะผู้คนมันช่างหมองหมน จึงขอพาทุกคนออกมาจากห้องสี่เหลี่ยมของตนไปรับชมศิลปะพร้อมกับเปิดรับความรู้สึกใหม่ภายในตัวเรากับการแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของ ก้าม ธรรมธัช สายทอง ที่มีชื่อว่า
ROOM063
EVERYTHING TEAM September 2021
DESIGN / ART
มองลึกถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ของอาจารย์อนันต์ ปาณินท์ ในนิทรรศการ Rhythm of Heartbeat
ในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ นอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่ของปีที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ รอบตัวเราอย่างมากมายแล้ว ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะในเมืองไทย จะยังมีได้โอกาสชมผลงาน ของอาจารย์ อนันต์ ปาณินท์ ในนิทรรศการที่ชื่อว่า Rhythm of Heartbeat ซึ่งจะจัดที่ MOCA Bangkok ในระหว่างวันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
EVERYTHING TEAM January 2021
DESIGN / ART
Year of the Rat นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในไทยของ อ้าย เว่ยเว่ย
นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ อ้าย เวยเวย (ai weiwei) ศิลปินชาวจีนและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองวัย 63 ผู้มีผลงานด้านศิลปะหลากหลายรูปแบบ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์สังคมและวัฒนธรรมจีน ได้เปิดนิทรรศการผลงานศิลปะของตัวเองที่ชื่อ "Year of the Rat" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน Bangkok Art Biennale 2020 โดยนิทรรศการได้เปิดให้ชมแล้วที่ Tang Contemporary Art ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก ถนนสี่พระยา
EVERYTHING TEAM 4 years ago
DESIGN / ART
Die Schöne Heimat นิทรรศการผลงานศิลปะของ อ.สมบูรณ์ หอมเทียนทอง ในวันที่คนไม่สามารถเดินเข้าหาศิลปะได้ในเวลานี้ ศิลปินควรทำอย่างไร?
หากเป็นช่วงเวลาปกติ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อาจารย์ สมบูรณ์ หอมเทียนทอง จะจัดแสดงนิทรรศการชุด “Die Schöne Heimat” (ดี-เชินเน-ไฮมัท) ซึ่งเปิดให้ชมทาง JWD Art Space (ซอยจุฬาลงกรณ์ 16) ไปจนถึงราวกลางเดือนมิถุนายน
EVERYTHING TEAM April 2020
DESIGN / ART
“Pet Portrait Project by Crunchy M.” โครงการภาพวาดประกอบน่ารัก ให้พักเบรกจากสถานการณ์โรค
“ในช่วงสถานการณ์แบบนี้ เราจะทำอะไรเพื่อช่วยส่วนรวมได้บ้าง” โบ - ณัฐชลัยย์ สุขะมงคล Copy Writer สาวที่ชอบวาดรูปเล่นเป็นงานอดิเรก นึกคิดขึ้นมาได้ในเย็นวันศุกร์วันหนึ่ง ระหว่างที่เธออยู่ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน และออฟฟิศมีนโยบายให้พนักงาน Work from home
EVERYTHING TEAM April 2020
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
SUBMIT
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION