อาคารสีขาวบนเนินเขาจาก Sejima-san รอยต่อจากธรรมชาติสู่สถาปัตยกรรม | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Arts and Science faculty building at Osaka University of Arts, from landscape to architecture by lightness

สำหรับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนอย่างมาก จนเมื่อวางเทียบกันกับงานออกแบบจากมุมโลกอื่น ๆ ก็สามารถมองได้ง่ายว่าเป็นสไตล์ญี่ปุ่น เป็นเพราะการมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ดี พร้อมไปกับการต่อยอดจากของเก่า แล้วพัฒนาให้มีความร่วมสมัย เราสามารถเห็นพัฒนาการของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่ผสมกับตะวันตกตั้งแต่ยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912) สาเหตุที่ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วล้ำกว่าทุกชาติในเอเชีย เพราะหลังจากปิดประเทศเป็นเวลากว่าสองศตวรรษในช่วงเอโดะ จนญี่ปุ่นได้เจอตะวันตกที่มีเทคโนโลยีสูงกว่าจนแพ้ ทำให้ยุคเมจิมีปฏิรูปในหลายด้าน จนสามารถรบชนะตะวันตกได้

การเรียนสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ในญี่ปุ่นก็เริ่มต้นช่วงนี้เอง
หลังจากที่มีการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกในยุคเมจิ เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นญี่ปุ่นปนฝรั่ง จนเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 กระแสสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้ปลูกฝังลงในแผ่นดินญี่ปุ่น และเข้มข้นอย่างมากเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง พร้อมกับการกำเนิดของกลุ่ม Metabolist หากมองถึงช่วงรอยต่อนี้ เราจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่ทำให้สถาปนิกญี่ปุ่นได้พัฒนาความฉกาจออกไปนอกญี่ปุ่นได้ แล้วยังพัฒนาสู่งานออกแบบร่วมสมัยแบบที่เราพบได้ตามสื่อต่าง ๆ เช่นทุกวันนี้

หากพิจารณาถึงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นโบราณแล้ว จะพบการออกแบบที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติผ่านภูมิทัศน์รอบตัว จนหลายงานนั้น สวน ธรรมชาติ ต้นไม้ พื้นที่ภายนอก มีความโดดเด่นมากกว่าสถาปัตยกรรม ความเชื่อมโยงเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดมายังสถาปัตยกรรมร่วมสมัยด้วยเช่นกัน ดังเช่น Arts and Science faculty building ที่ตั้งอยู่ใน Osaka University of Arts ออกแบบโดย Kazuyo Sejima & Associates โปรแกรมถูกออกแบบไว้รองรับกิจกรรมอเนกประสงค์ด้วยโถงภายในขนาดใหญ่ ห้องสำนักงาน ห้องวิจัย ห้องเรียน สำหรับภาควิชาศิลปะ และวิทยาศาสตร์

แรกเมื่อเข้ามายังอาคารนี้จะต้องเดินขึ้นเนินชัน ด้วยสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยตั้งอยู่เชิงเขา ทำให้ไม่สามารถเห็นตัวอาคารได้อย่างชัดเจนในแวบแรกเมื่อมาถึงประตูมหาวิทยาลัย จวบจนพาตัวเองพ้นเนินชันจึงได้พบกับงานใหม่ของ Sejima-san ในที่สุด การรับรู้แรกสำหรับงานนี้คือพื้นผิวที่ดูบิดงอ ไหลลื่นจากพื้นชั้นล่างสู่ระเบียงรายรอบโถงกระจกภายใน เมื่อได้ลองเดินขึ้นไปใช้ พื้นผิวนี้จะพาเดินไปยังระเบียงชั้น 2 ด้านทิศเหนือ บนหลังคาเหนือห้องเรียนชั้น 1 ระเบียงขนาดใหญ่นี้สามารถรองรับกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ราว 100 คน เมื่อเดินผ่านส่วนนี้ไปด้วยการวนรอบโถงกระจกโค้งจะมีส่วนชายคาที่เดินเฝ้าสังเกตไปยังพื้นที่โถงชั้น 1 ได้ตลอดเวลา จนเมื่อสุดทางเดินจะวนกลับมาที่ยังทางเข้าหลักด้านทิศใต้อีกครั้ง

การเข้าสู่ยังพื้นที่ภายในสามารถเข้าได้จากทางเข้าด้านหน้า และจากทางเข้าด้านตะวันออก ทุกส่วนใช้สอยถูกออกแบบให้รายล้อมโถงกลาง พื้นที่ภายในโถงกลางมีลักษณะสลัว ใช้วิธีดึงแสงธรรมชาติเข้ามาจากรอยต่อระหว่างพื้นผิวที่บิดโค้งของระนาบพื้น หลังคาคอนกรีตบาง การค่อยๆเปลี่ยนจากพื้นที่สว่าง สู่พื้นที่สลัว การให้พื้นผิวค่อยแยกตัวออกจากกันจนเป็นช่องแสง สลายให้เสาเหล็กบางสีขาวแลดูเบาขึ้นอีก เมื่อมองจากภายในออกมายังภายนอกจะเห็นพื้นผิวโค้งตวัดจากพื้นสู่ระเบียงภายนอก จนรู้สึกได้ถึงความพยายามที่จะเชื่อมพื้นที่ภายในเข้ากับธรรมชาติภายนอกที่เป็นวิวภูเขาของโอซะกะ

สำหรับงานนี้ ดูมีความต่อเนื่องจากงาน Rolex Learning Centre ที่ Sejima-san ออกแบบในนาม SANAA ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ ประเด็นที่เห็นชัดเจนคือการใช้พื้นผิวโค้งแบ่งส่วนการใช้สอย สร้างความเชื่อมโยงไปยังแต่ละส่วนใช้สอย แต่ความต่างที่เห็นได้ชัดคือการเชื่อมโยงกับภูมิทัศน์โดยรอบแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น มีการออกแบบเพื่อใช้สอยพื้นที่ภายนอกในวันที่สภาพอากาศดี ทำให้งานนี้มีความน่าสนใจในประเด็นการเชื่อมโยงด้วยความโปร่งใส ความเบาจากการเลือกใช้วัสดุทั้งเสาเหล็กกลมที่บางมาก เมื่อเทียบกับพื้นคอนกรีต ซึ่งในประเด็นการใช้วัสดุแนวนี้ Sejima-san เคยพูดถึงว่า
งานออกแบบที่ทำเป็นสีขาวแบบเหมือนสีขาวทั่วไป ต้องการสร้างทางสัญจรที่อิสระ หลีกเลี่ยงลำดับขั้นในสเปซ โดยให้แสงคือตัวกระจายความสว่าง เพื่อให้สีขาวชัดเจนขึ้น และยังคิดถึงการอยู่ร่วมกันของคนที่เข้ามาใช้สถาปัตยกรรม ให้สามารถแชร์สเปซ ให้พื้นที่ๆ ทุกคน ทุกช่วงวัย สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ จนเกิดปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้
ความบางเบา สีขาว จึงมาบรรจบที่สถาปัตยกรรม
    TAG
  • architecture
  • osaka
  • university

อาคารสีขาวบนเนินเขาจาก Sejima-san รอยต่อจากธรรมชาติสู่สถาปัตยกรรม

ARCHITECTURE/Architecture
January 2020
CONTRIBUTORS
Xaroj Phrawong
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM2 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM2 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM3 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM3 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAMa year ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAM2 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )