LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING


Photographer: Pachara Wongboonsin,
Window Photo Studio
Photographer: Pachara Wongboonsin,
Window Photo Studio
NA TANAO BY POAR
ก้อนหมู่เรือนไทยที่ลอยตัวอยู่ระหว่างพื้นที่ไร้ค่าและมูลค่ามหาศาล
“ณ ตะนาว” ด้วยชื่อแล้ว สามารถบอกถึงตำแหน่งของโครงการซึ่งอยู่ริมถนนตะนาว ซึ่งตั้งทำมุมตรงกับซุ้มประตูแพร่งสรรพศาสตร์พอดิบพอดี ย่านการค้าที่เคยเฟื่องฟูแห่งหนึ่งของรัตนโกสินทร์ชั้นในได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาผังเมือง ทำให้การลงทุนและประกอบธุรกิจบริเวณนี้อาจมีนัยยะที่ลึกซึ้งมากกว่าการสร้างอาคารบนข้อจำกัดเพื่อพิสูจน์ความสำเร็จเชิงรูปธรรมอย่างแน่นอน
“นี่เป็นงานยากที่สุดเท่าที่ POAR เคยทำมาตลอด 10 ปีนี้” คุณโจ้ - พัชระ วงศ์บุญสิน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง POAR ( Patchara+Ornnicha Architects ) สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ “ณ ตะนาว” เกริ่นก่อนเริ่มเล่าเรื่องอาคาร Guest House จำนวน 5 ห้อง ขนาด 3.5 เมตร ยาว 21 เมตร สูง 16 เมตร ขนาบด้วยอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัยซึ่งมีความสูงแตกต่างกันตลอดผืนที่ดิน “ไม่มีองค์ประกอบส่วนไหนของโครงการที่ไม่มีปัญหาเลยครับ ข้อดีอย่างเดียวคือเจ้าของรัก ผูกพัน และอยากทำอะไรดี ๆ ให้กับพื้นที่ผืนนี้มาก”
ก่อนจะกลายเป็นย่านการค้าในยุคหนึ่ง ที่ดินผืนนี้เคยเป็นทางเข้า-ออกวังสรรพสาตรศุภกิจ แปลงสุดท้ายซึ่งสืบทอดมาอย่างถูกกฎหมาย ขนาดกว้าง 5 เมตร ลึก 25 เมตร โดยมีความพยายามพัฒนาให้เกิดประโยชน์มาเป็นมาเวลานาน แต่ด้วยข้อจำกัดจึงทำให้ต้องหยุดไป จนถูกมองว่าเป็นที่ดินที่ไม่มีมูลค่าและไม่มีศักยภาพ และกลายเป็นภาพของช่องว่างแห่งความเข้าใจผิดมาตลอด โดยที่ดินถูกใช้เสมือนเป็นทางสัญจรเข้า-ออกของอาคารเก่า 100 ปี ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินตาบอดด้านใน รวมถึงสภาพการใช้งานลานรกร้างที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นที่เก็บของของพ่อค้าในชุมชน และสภาพการต่อเติมเป็นช่องระบายอากาศของอาคารเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องตามกฏหมายเนื่องจากหลายอาคารเกิดขึ้นก่อนมีข้อกำหนดควบคุมอาคารในปัจจุบัน
ช่องว่างที่เติมเต็มด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย
“การสร้างอาคารชิดกับอาคารได้ เกิดจากเพื่อนบ้านทุกคนเซ็นยินยอมให้สร้างชิดกับเขาได้ครับ เราเลยสามารถสร้างอาคารหน้ากว้างขนาดนี้บนพื้นที่แคบได้ ในขณะเดียวกันเราก็ออกแบบให้อาคารตั้งอยู่อย่างมีทางออกให้ทุกคน ทุกคนซึ่งหมายถึงเพื่อนบ้านที่เขาอยู่มาก่อนจะเกิดอาคารขึ้น”
เพราะการเกิดสิ่งใหม่มีผลต่อพื้นที่โดยรอบทั้งลักษณะของเมือง ชุมชน และทัศนคติของคน ผู้ออกแบบจึงเริ่มต้นการทำงานด้วยแนวคิดที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกันกับเพื่อนบ้านได้
การออกแบบอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบ วิธีการทำรูปตัดของอาคารทุกระยะ 2 เมตร ทั้งในแกนตั้งและแกนนอน ทำให้สามารถเช็คมุมมอง ทิศทางลม และช่องเปิดเพื่อนบ้านโดยไม่บดบัง ไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวของกันและกัน
“เราอยากสร้างบรรยากาศที่เป็นบรรยากาศภายในของแต่ละห้อง แต่ละโซนแต่ละชั้น ให้มองเห็นความพิเศษของการอยู่ร่วมกันกับบริบทเก่าครับ การใช้วิธีนี้ทำให้เห็นมุม เห็นรายละเอียดต่าง ๆ แทบจะทุกจุดที่เราต้องการให้เห็นครับ” คุณพัชระอธิบายเสริม


ช่องว่างของ “อากาศ” ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ร่วมกัน
การสร้าง “อากาศ” ไหลเวียนในพื้นที่แคบเป็นการแก้โจทย์ยาก ซึ่ง POAR พิสูจน์ว่าสามารถเกิดขึ้นได้ และเนื่องจากก่อนมีการพัฒนาที่ดิน เพื่อนบ้านได้ใช้บริเวณพื้นที่โล่งนี้เป็น “ลาน” ระบายอากาศ “การที่เราสร้างอาคารเข้าไปอยู่ในพื้นที่ตรงนั้น มันเหมือนเราไปแชร์กับเขาเพิ่ม เพราะฉะนั้นเราไม่อยากให้อาคารไปเปลี่ยนลักษณะของอากาศตรงนั้น เราจึงมองว่าแทนที่จะทำอาคารเป็นตึก เราแปลงอาคารออกมาให้มันเป็นก้อนที่เล็กที่สุดครับ”
การลดขนาดพื้นที่การใช้งานภายใน และซอยโปรแกรมแยกเป็นก้อน พื้นที่ส่วนกลาง หรือ “ชาน” กลายเป็นพื้นที่ภายนอกแทรกซึมแต่ละยูนิต ระหว่างตึก เป็นทั้งทางสัญจร และช่องอากาศไหลเวียน แบบระบบเรือนไทยหมู่ภาคกลางที่เรียงตัวกันบนแนวตั้ง


อาคาร ณ ตะนาว ใช้โครงสร้างเหล็กสร้างถอด แยกชิ้นส่วนนำมาประกอบในที่ (Prefabrication)ห่อหุ้มด้วยไม้และกระเบื้องเป็นวัสดุหลัก 2 ชนิด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในอดีตตามความเหมาะสมของพื้นถิ่น สภาพอากาศ และการบำรุงรักษา ได้ถูกเลือกกลับมาใช้เป็นตัวเอกอีกครั้งในปัจจุบัน ผู้ออกแบบใช้ไม้ตะเคียนไม่เคลือบสีเพื่อเผยอายุตามธรรมชาติ และกระเบื้องดินเผาจากลำปาง เพื่อใช้สัดส่วนและสีของวัสดุเชื่อมโยงเส้นสายของบริบทเพื่อนบ้านทางอ้อม
เมื่อการเกิดสิ่งใหม่มีผลต่อพื้นที่โดยรอบทั้งลักษณะของเมือง ชุมชน และทัศนคติของคน ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการต่างมีมุมมองหวงแหนสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยไม่ได้ปิดกั้นธรรมชาติของบริบทเดิมที่แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัด การทำงานจึงเริ่มต้นด้วยแนวคิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ร่วมกับเพื่อนบ้านเพื่อไม่ให้สถาปัตยกรรมมีคุณค่าเพียงการเป็นอนุสรณ์สถานทางจิตใจของการกลับมาใช้ที่ดินมรดกไร้ศักยภาพอีกครั้ง แต่เพื่อรักษามูลค่ามหาศาลที่จับต้องไม่ได้จากทุกการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง ให้ส่ง
ผลกระทบที่ดีสู่องค์ประกอบของเมืองในอีกหลายหน่วยด้วยเช่นกัน
POAR (Patchara + Ornnicha Architects)
Facebook : @poar.company
www.poar.co
[email protected]



Architect, Interior Architect: POAR
Structural Engineer: Basic Design co.,ltd.
Lighting Design: Light Is co.,ltd.
Lead Architect: Ornnicha Duriyaprapan
Design Team: Patchara Wongboonsin, Phuvadej Intaragumhaeng, Pattra Khoirangub, Chanthep Saelee
Contractor: Taya Construction co., ltd.
Prefab Steel Structure: SYS
Project Location: Bangkok, Thailand
Project Complete Year: 2022
Photographer: Pachara Wongboonsin, Window Photo Studio
NA TANAO BY POAR ก้อนหมู่เรือนไทยที่ลอยตัวอยู่ระหว่างพื้นที่ไร้ค่าและมูลค่ามหาศาล
/
Uthai Heritage บูติกโฮเทลที่เกิดขึ้นมาจากการรีโนเวทอาคารเก่าของโรงเรียนอุทัยธานี สู่แลนด์มาร์กใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์สำคัญของจังหวัดอุทัยธานี
/
กูรูในวงการท่องเที่ยวเคยคาดการณ์ไว้ว่า สมุยจะเป็นที่สุดท้ายในเมืองไทยที่สามารถฟื้นตัวจากพิษโควิด สาเหตุหลักๆ เพราะสมุยนั้นเปรียบไปก็เหมือนของเล่นของฝรั่ง ค่าครองชีพโดยรวมจัดว่าสูงไม่แพ้ภูเก็ต แถมยังมี supply เหลือเฟือ ห้องเช่าโรงแรมเล็กโรงแรมน้อยไปจนถึงห้าดาวมีให้เห็นกันแทบจะทุกตารางนิ้ว ที่สำคัญ คนไทยไม่เที่ยวหรอกเพราะค่าตั๋วเครื่องบินที่ผูกขาดไว้โดยสายการบินเดียวนั้นแพงระยับ แต่ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา โลกโซเชี่ยลกลับพบว่าเหล่า instagramer มากมายไปปรากฏกายอยู่ที่สมุย จนเกิดคำพูดที่น่าหมั่นไส้เบาๆ ว่า “ใครๆ ก็อยู่สมุย”
/
จากย่านการค้าที่เคยคึกคักในอดีต เมื่อเวลาผ่านไป สะพานควายกลายเป็นเพียงทางผ่านซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องสภาพการจราจรที่หนาแน่น เมื่อได้รับโจทย์ให้ออกแบบอาคารใหม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี้ ทีมสถาปนิก PHTAA Living Design ตั้งใจที่จะใช้งานออกแบบเป็นพลังผลักดันในการเปลี่ยนภาพจำของสะพานควายให้กลับมามีความน่าสนใจอีกครั้ง "สะพานควายกลายเป็นย่านการค้าขนาดรอง จะเห็นว่าที่นี่มีแต่ร้านซ่อมรองเท้า ซ่อมนาฬิกา และร้านขายของเบ็ดเตล็ด เป็นที่ซึ่งคนไม่ได้ตั้งใจมาเหมือนแต่ก่อน เป็นแค่ย่านทางผ่าน" พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง PHTAA กล่าว "เราเลยอยากทำให้แถวนี้เป็นย่านทางผ่านที่มีประสิทธิภาพ แค่เราสร้างความน่าสนใจให้กับทางผ่านได้มากขึ้น มันก็ถือว่าเปลี่ยนแล้ว"
/
ซึมซับเสน่ห์เมืองเก่าผ่านสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ที่กระจายตัวอยู่ในเมืองภูเก็ตโดยรอบ จรดล้มหัวลงนอนบนเตียงในห้องพักดีไซน์คลาสสิกสุดไพรเวทของ 97 Yaowarat โรงแรมแห่งใหม่ ที่ความ “เก่า” กับความ “ใหม่” อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว
/
เสียงยอดมะพร้าวเสียดสีกันตามแรงลมผสมกับเสียงคลื่นดังแว่วมา กลายเป็นท่วงทำนองที่ลงตัวใน "วารีวาน่า รีสอร์ต" (Varivana Resort) โรงแรมที่ซ่อนตัวอยู่บนเนินเขาท่ามกลางสวนมะพร้าวในเกาะพะงัน ที่นี่ อาคารคอนกรีตเปลือยสามชั้นหันหน้าเปิดรับมุมมองเส้นขอบท้องฟ้าอันไกลโพ้น โรงแรมแห่งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อธรรมชาติของแมกไม้ในภูเขาเข้ากับผืนน้ำในท้องทะเลกว้างใหญ่ให้เกิดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่สำหรับผู้มาเยือนโดยเฉพาะ
/
จากปรัชญาเต๋าที่ว่า ‘ภายนอกเราปั้นดินให้เป็นไห...แต่ที่ว่างข้างในต่างหากที่ใช้ใส่ของที่ต้องการ’ (我们将陶土捏成罐子,但是罐子中间的空间,让它成为有用的器皿。) สู่แนวคิดของสถาปนิกชั้นครู Frank Lloyd Wright ที่อธิบายมุมมองของเขาซึ่งมีต่อสถาปัตยกรรมว่า ‘สาระสำคัญของอาคารเกิดจากที่ว่างซึ่งอยู่ภายใน’ (The Space within become the reality of the building.) กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ ‘สถาปนิกไอดิน’ ออกแบบรีสอร์ตแห่งหนึ่งโดยคำนึงถึงการสร้างสรรค์ที่ว่าง/ระหว่างทาง/และสุนทรียภาพที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัส ก่อนที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปทรงของอาคารริมแม่น้ำแคว
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )