‘ลม/หายใจ’ เปี่ยมล้น ในความเลือนลางระหว่างบ้านเดี่ยวและ
ทาวน์โฮมด้วย Solution ที่พอเหมาะเพื่อการอยู่อาศัย
ตัดแต่งแบ่งพาร์ทให้บ้านทาวน์โฮมย่างก้าวสู่มิติใหม่ที่ไม่ธรรมดาที่จะเพิ่ม
‘ลมหายใจ’ ให้กับการอยู่อาศัยในแบบที่ไม่มีใครเหมือน ถ้าพูดกันถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘บ้านทาวน์โฮม’ แล้ว คุณจะนึกถึงสิ่งใด? อาคารทรงเหลี่ยมทึบตันในแบบที่ไม่แตกต่างกัน? การจัดสรรพื้นที่ให้เป็นรั้วรอบขอบชิดติดกันโดยปราศจากซึ่งความแตกต่าง? หรือการปราศจากซึ่งที่ว่างและพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว? ในความเข้าใจดั้งเดิมนั้น อาจจะใช่และเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่กับกับโครงการทาวน์โฮมจากทีม Studionomad ที่เข้าหาโจทย์เก่าด้วยไวยากรณ์ทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ที่จะเติม ‘ลม/หายใจ’ ให้กับพื้นที่อันน่าอึดอัดคับข้องให้เปิดโปร่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
Façade ที่สร้างจากอลูมิเนียมวางระยะตาถี่ได้ระดับกับพื้นผิวไม้เทียมให้ความรู้สึกที่อบอุ่น และเป็นส่วนตัว ด้วยโจทย์ที่ตั้งของโปรเจ็กท์สุดหินในย่านเกษตร-นวมินทร์ ที่ลึกเข้าไปในซอยลาดพร้าว 71 ประกอบกับฝั่งตรงข้ามของโครงการไม่ได้มีจุดเด่นใดเป็นพิเศษ การจะรังสรรค์ผลงานทาวน์โฮมในพื้นที่ดังกล่าว สามารถมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นโครงสร้างอย่างสามัญทั่วไป ท่ามกลางบรรดาทาวน์โฮมทั้งหลายที่อยู่ในละแวกเดียวกัน กระนั้นแล้ว ด้วยการกำหนดความต้องการพื้นฐานของผู้ออกแบบที่จะสร้าง Flow ของลมและแสงให้กับทาวน์โฮมในแบบปกติให้มากขึ้น นำไปสู่การคิดใหม่ทำใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจอยู่ไม่น้อย และนำไปสู่คำว่า ‘ลม/หายใจ’ ที่เป็นแกนหลักใหญ่ของโครงการ
ในลักษณะของอาคาร ถูกแบ่งออกเป็นเลเยอร์ต่างๆ กันถึงสี่ระดับชั้น ชั้นแรก เป็นระแนงสกรีนทำจากอลูมิเนียม ไม่เป็นสนิม และออกแบบในสไตล์ที่ดูดึงดูดเพื่อสร้างพื้นที่ว่างและกั้นระยะด้วยตาถี่ที่ดีพอที่จะทำให้เกิดช่วงระหว่างความเป็นส่วนตัวของภายใน และพื้นที่ที่อาจไม่เป็นส่วนตัวมากนักของภายนอก รวมถึงการใช้วัสดุพื้นผิวอาคารเช่นไม้เทียมเพื่อความทนทาน และเสริมบรรยากาศความเป็นธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น
เลเยอร์ที่สอง เป็นส่วนของบริเวณห้องนั่งเล่นและห้องนอน โดยมีเลเยอร์สามที่เกิดจากการคว้านพื้นที่ส่วนกลางให้กลายเป็นคอร์ทกลางบ้านเป็นตัวกลางเชื่อมไปถึงเลเยอร์ที่สี่คือส่วนของห้องครัวและห้องนอนเล็ก พื้นที่เลเยอร์สามที่ถูกคว้านออก ถูกชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่สูงระดับสามชั้น และไม้ประดับต่างๆ เพื่อให้พื้นที่ทุกส่วนของบ้านได้อาศัยร่มเงาจากไม้นั้นๆ จากการ Circulate ของแสงจากด้านหน้าทิศตะวันออกที่วนอ้อมตัวบ้านในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งยังลดความทึบตันอันเกิดจากลักษณะของบ้านทาวน์โฮมโดยปกติทั่วไป รวมถึงลดการปรับอากาศในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างมีนัยสำคัญ และสร้างความเชื่อมโยงของบ้านแต่ละหลังให้ประหนึ่งมีพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน
โปรแกรมอาคารใช้ประโยชน์จากสถานที่ตั้งโครงการ ที่แสง
จากด้านหน้าอาคารจะไล้ไปตามระยะเวลา เจาะลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละปีก ปีกแรกเลเยอร์สอง กำหนดส่วนรับประทานอาหารให้อยู่บริเวณด้านหน้าตามรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไทย จากนั้นไล่ขึ้นมาถึงห้องนั่งเล่นหลัก และทำการ Split Level สู่ห้องนอนแรกประมาณห้าถึงหกขั้น พร้อม explode ceiling height ให้สูงถึง 3.8 เมตรเพื่อความเปิดโปร่งและโล่งของ Space เพิ่มเติมความเป็นส่วนตัว แต่ยังเปิดกว้างมากพอที่จะให้ Flow ของอากาศและแสงเข้าไปเล่นไล่กับพื้นที่ดังกล่าว และเพิ่ม Visibility ระดับการมองเห็น ให้คนที่อยู่ด้านล่างและบนสามารถเห็น Movement ต่างๆ ภายในได้โดยอิสระ ก่อนไล่ขึ้นมาถึงชั้นสามที่เป็นส่วนห้องนอนที่ขับเน้นความเป็นส่วนตัวอย่างเต็มที่ โดยไม่เสียจังหวะของแสง ลม และการมองเห็นใดๆ มีความเป็น Penthouse ไปในตัว
ปีกสองเลเยอร์สี่เองก็ยังคงรักษา Flow อันเป็นเอกลักษณ์ของโครงการได้โดยไม่ต่างกัน โดยเฉพาะกับบริเวณ Master Bedroom ชั้นสาม ที่เพิ่มเติมความเป็นส่วนตัวด้วยผ้าม่าน และระยะห่างที่มากพอเพื่อเป็นการสกรีนเสียงไปในตัว ทั้งหมดนี้ จัดวางในโครงอาคารที่ได้รับการออกแบบให้บ้านแต่ละหลังมีลักษณะของบ้านมุม เพิ่มความเปิดโปร่งอย่างถึงที่สุด และทดแทนส่วน Void ด้วยมูลค่าที่แตกต่างจากทาวน์โฮมโดยทั่วไป
Void ที่เกิดจากการวางอาคารนี้ เป็นการออกแบบอย่างตั้งใจเพื่อให้บ้านแต่ละหลังมีลักษณะของบ้านมุม
เพื่อลดความอึดอัดในแต่ละหลัง การตั้งคำถามกับโจทย์ทางสถาปัตยกรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด และ Studionomad กับโครงการ ‘ลม/หายใจ’ ชิ้นนี้ ก็ดำเนินไปตาม DNA ของสำนัก อันเป็นการหา Solution เพื่อการอยู่อาศัย ไม่ได้มองแยกขาดว่าจะเป็นบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮม หากแต่พึงกระทำขึ้นเพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของการใช้งานจริง ที่สามารถขยับขยาย ต่อยอด และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พร้อมจะมอบ ‘ลม/หายใจ’ ให้กับอาคาร โดยเฉพาะเคหะสถานเพื่อการอยู่อาศัย ที่ความเปิดโปร่งและการพักใจ คือสิ่งที่ไม่อาจขาดได้ ไม่ว่าจะด้วยนิยามของตัวโปรแกรมอาคารแบบใดก็ตาม
Project : Lom-Haijai
Company name : Studionomad Co.,Ltd.
Design team members :
ชชย์ อัศวสุธีรกุล : สถาปนิก
ธโนกร หวังพีระวงศ์ : สถาปนิก
Website : www.studionomads.wordpress.com
Facebook page : www.facebook.com/studionomadd
Contact number : 089-493-7010 (Choat)
Email :
[email protected]
Owner : Sook Estate Co.,Ltd
Constrution System : Column and Beam
TAG
design architecture house lifestyle Lom-Haijai townhome ‘ลม/หายใจ’ เปี่ยมล้น ในความเลือนลางระหว่างบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม ด้วย Solution ที่พอเหมาะเพื่อการอยู่อาศัย
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
DESIGN / HOUSE
“Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy
“Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน
EVERYTHING TEAM 3 years ago
DESIGN / HOUSE
ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1
“One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว
Nada Inthaphunt 3 years ago
DESIGN / HOUSE
HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ
HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน
By TOSTEM
EVERYTHING TEAM 3 years ago DESIGN / HOUSE
BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา
บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน
Nada Inthaphunt 4 years ago
DESIGN / HOUSE
House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า
เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น
Nada Inthaphunt 4 years ago
DESIGN / HOUSE
BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง
เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น
Nada Inthaphunt March 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
SUBMIT
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION