LAST LETTER ความรักในจดหมาย คนรักในนวนิยาย การจองจำกักขังในรูปแบบตัวอักษร และการกลับมาของ ชุนจิ อิวาอิ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

CULTURE & LIFESTYLE:— MOVIE

ความรักในจดหมาย คนรักในนวนิยาย
การจองจำกักขังในรูปแบบตัวอักษร และการกลับมาของ ชุนจิ อิวาอิ

ความรักในจดหมาย คนรักในนวนิยาย
การจองจำกักขังในรูปแบบตัวอักษร และการกลับมาของ ชุนจิ อิวาอิ

สำหรับนักดูหนังที่ชื่นชอบหนังญี่ปุ่น ชื่อของ ชุนจิ อิวาอิ ถือเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นที่นักดูหนังร่วมสมัยชาวไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี เคียงคู่ไปกับผู้กำกับร่วมรุ่นเดียวกันอย่าง ฮิโรคาสึ โคเรเอดะ หรือ ชิโนบุ ยากูชิ ผลงานของ อิวาอิ นั้น เคยได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักดูหนัง เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ไล่มาตั้งแต่ “Love Letter” ในปี 1995 ซึ่งทำให้เรารู้จักชื่อของ ชุนจิ อิวาอิ ก่อนจะตามมาด้วยหนังอย่าง “April Story” (1998), “All About Lily Chou-Chou” (2001) หรือ “Hana & Alice” (2004) ทั้งหมดล้วนได้รับการยกย่องในแง่ของการเป็นหนังที่จับเอาความรู้สึกแบบ “เจ็บปวดแต่งดงาม” ของช่วงชีวิตวัยรุ่น ถ่ายทอดความทรงจำหวานอมขมกลืนไปจนถึงบาดแผลในชีวิตหนหลังครั้งเยาว์วัยได้อย่างละเอียดลออลึกซึ้ง และเป็นต้นแบบให้ผู้กำกับเอเชียรุ่นหลังหลายคน ที่เห็นได้ชัดหน่อยก็อาทิงานของ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับชาวไทยที่ค่อนข้างได้รับอิทธิพลของ อิวาอิ มาพอสมควร แต่หลังจาก “Hana & Alice” แล้วดูเหมือนว่าผลงานของ อิวาอิ จะซบเซาลงไปบ้าง (ในบ้านเรา) แม้ที่จริงเขาเองก็ยังทำงานอยู่ ไม่ได้ว่างเว้นจากการทำหนัง เพียงแค่หนังหลังปี 2004 เป็นต้นมาไม่ถูกพูดถึงมากนักเท่านั้นเอง

Shunji Iwai
Japanese film director

จนกระทั่งภาพยนตร์เรื่องล่าสุดอย่าง “Last Letter” ที่ อิวาอิ กลับมาในแบบที่ -อาจจะเรียกได้ว่า- ท็อปฟอร์มอีกครั้ง ซึ่งที่จริงแล้วจะเรียกโปรเจกต์นี้ว่าเป็นการแก้มืออีกครั้งก็คงได้ เพราะก่อนหน้านี้ ในปี 2018 อิวาอิ เคยทำ “Last Letter” ในเวอร์ชั่นจีนมาแล้ว โดยโปรเจกต์ดังกล่าวมี ปีเตอร์ ชาน (ผู้กำกับ “เถียนมีมี่”) เป็นโปรดิวเซอร์ แต่ผลตอบรับถือว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก สองปีต่อมา (ปีนี้) อิวาอิ จึงรีเม้คงานตัวเองอีกครั้ง คราวนี้กลับมาเซ็ตเรื่องกันที่เมือง เซนไต จังหวัด มิยางิ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเอง ผลที่ได้ก็คืองานที่น่าจดจำอีกครั้ง นับตั้งแต่เรารู้จักเขาเมื่อ 25 ปีก่อนจาก “Love Letter”

“Last Letter” เล่าเรื่องสองช่วงเวลาของคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกยึดโยงด้วยการเขียนจดหมาย เมื่อ คิชิเบโนะ ยูริ (มัตสึ ทาคาโกะ)ไปร่วมงานศพของพี่สาว โทโนะ มิซากิ (ฮิโรเสะ ซึสึ) ที่นั่นเอง ยูริได้พบกับ อายูมิ (ฮิโรเสะ ซึสึ) หลานสาวซึ่งยังไม่อาจทำใจให้ยอมรับความตายของแม่ได้ เธอจึงยังไม่พร้อมที่จะอ่าน “จดหมายฉบับสุดท้าย” ที่แม่ทิ้งไว้ต่างหน้าได้ ในช่วงเวลานั้นเองมีจดหมายเชิญ มิซากิ ให้ไปงานเลี้ยงรุ่นเพื่อนมัธยม ด้วยความจำเป็น ยูริ จึงต้องไปงานเลี้ยงรุ่นแทนพี่สาว เพื่อจะไปแจ้งข่าวการตายของ มิซากิ ให้ทุกคนทราบ แต่ทุกคนในงานกลับเข้าใจไปว่า ยูริ เป็น มิซากิ ในงานนั้นเอง ยูริ ได้พบกับ โอโตซากะ เคียวชิโร (ฟุคุยามะ มาซาฮารุ) นักเขียนนิยายและเป็นชายผู้เป็นรักแรกของเธอ เขาเองก็เข้าใจผิดว่าเธอคือ มิซากิเช่นกัน ทั้งสองแลกข้อมูลการติดต่อกันไว้ กระทั่งวันหนึ่ง ยูริ ได้รับข้อความจากเคียวชิโรที่บอกว่า “ถ้าบอกว่าตอนนี้ผมก็ยังรักคุณอยู่ จะเชื่อหรือเปล่า” และหลังจากนั้นทั้งคู่ก็เขียนจดหมายหากัน ยูริ สวมรอยเป็น มิซากิ พี่สาวเขียนจดหมายเพื่อคุยกับชายผู้เป็นรักแรกของเธอโดย ขณะที่ เคียวชิโร เองก็ค่อย ๆ ตามหาที่มาของจดหมายอันไร้ที่อยู่ต้นทาง และเรื่องราวเริ่มต้นแบบนั้น เริ่มที่ความอลเวง ก่อนนำผู้ชมเดินกลับไปรื้อค้นความทรงจำอันแสนเจ็บปวดแต่งดงามของตัวละครในแบบฉบับของ อิวาอิ

“Last Letter” เป็นเหมือนการค่อย ๆ ให้อภัยตัวเองของใครก็ตามที่ยังกักขังตัวเองไว้กับอดีต เพื่อหาหนทางที่จะเดินหน้าต่อไป จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ “จดหมายฉบับสุดท้าย” ที่ถูกเปิดออกอ่านตามเส้นเรื่องจะมีข้อความที่เหมือนจะบอกว่าให้ไปต่อ และอดีตหรือสถานที่ในความทรงจำมีไว้เพื่อบอกว่า ครั้งหนึ่งเราเคยส่องประกาย

ใน “Last Letter” จดหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการโยงใยตัวละครเข้าหากัน ซึ่งนัยของจดหมาย -ทั้งในแง่ผลลัพธ์และกระบวนการของมันนั้น- ก็คือการบันทึกความทรงจำของผู้เขียน เป็นการสลักเรื่องราวและประวัติศาสตร์ย่อย ๆ เฉพาะตัวของแต่ละคนลงบนกระดาษ ตราบใดที่จดหมายนั้นยังคงสภาพ ไม่เปื่อยสลาย หรือสูญหายไปตามกาลเวลา เรื่องราวของเขาเหล่านั้นก็ดูเหมือนยังมีชีวิตของตัวเอง โลดแล่นอยู่ในช่วงเวลาเฉพาะตัว หาใช่ชีวิตเดียวกันกับชีวิตจริง ๆ ของผู้เขียนเมื่อเติบโตหรือแก่ตัวตามกาลเวลาไม่ ในแง่นี้ จดหมายจึงเป็นได้ทั้งบันทึกประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำและเป็นได้ทั้งบ่อเก็บเรื่องราวอันไม่น่าจดจำของผู้คนเอาไว้

เช่นเดียวกับจดหมาย แต่ในสเกลที่ใหญ่กว่า, นวนิยายก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวนิยายที่ผู้เขียนได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงหรือบุคคลจริง ๆ นั้น มันเป็นยิ่งกว่าบ่อเก็บเรื่องราวแบบจดหมาย เพราะนวนิยายนั้นขูดเค้นเขียนขึ้นมาจากเรื่องจริง มันกักขังทั้งเรื่องราว จองจำผู้คนที่เกี่ยวข้อง ที่หนักหนากว่านั้นคือพันธนาการแม้แต่ตัวผู้เขียนเอง ดังคำกล่าวที่ใครไม่รู้กล่าวว่า “หากอยากคงอยู่ชั่วนิรันดร์ จงทำให้นักเขียนหัวใจสลาย” เหมือนกับ มิซากิ ที่กลายเป็นอมตะเมื่อไปปรากฏอยู่ในนวนิยายขายดีของ เคียวชิโร แต่ในทางกลับกัน เคียวชิโร เองต่างหากที่ถูกจองจำไว้ด้วยตัวอักษรที่เขาเขียนขึ้นเอง (ในตอนแรก ก่อนจะพิมพ์เป็นเล่มในตอนหลัง) ดังนั้นการเดินทางของ เคียวชิโร ในครึ่งหลังของเรื่องจึงเป็นได้ทั้งการเดินทางเพื่อหาต้นตอของจดหมายและการเดินทางที่ท้ายที่สุดแล้ว มันปลดแอกเขาจากคุกที่มีชื่อว่าความหลังและล็อคไว้ด้วยโซ่ตรวนที่มีชื่อเรียกว่าความรัก

ในความคิดของผู้เขียนเอง “Last Letter” เป็นเหมือนการค่อย ๆ ให้อภัยตัวเองของใครก็ตามที่ยังกักขังตัวเองไว้กับอดีต เพื่อหาหนทางที่จะเดินหน้าต่อไป จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ “จดหมายฉบับสุดท้าย” ที่ถูกเปิดออกอ่านตามเส้นเรื่องจะมีข้อความที่เหมือนจะบอกว่าให้ไปต่อ และอดีตหรือสถานที่ในความทรงจำมีไว้เพื่อบอกว่า ครั้งหนึ่งเราเคยส่องประกาย

สิ่งที่น่าสนใจของ “Last Letter” นอกเหนือไปจากนี้ก็คือ การที่มันทำให้ผู้ชมเชื่อในกลไกและบรรยากาศรวม ๆ ของการเขียนจดหมายได้อย่างน่าทึ่ง อิวาอิ พาผู้ชมไปสำรวจวัฒนธรรมการเขียนจดหมาย ซึ่งนับวันจะกลายเป็นโบราณวัตถุในโลกที่เราใช้ โซเชียล มีเดีย ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผ่านการเซ็ตเรื่องที่สมเหตุสมผล (พอสมควร) ด้วยการทำให้เห็นว่า “ข้อความ” ที่อยู่ในอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์เมื่อหายแล้วก็อาจหายวับราวกับไม่เคยเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร

และเมื่อกล่าวกันให้ลึกลงไปในระดับแฟนตัวจริงของ อิวาอิ “Last Letter” ก็เป็นเหมือนการเปิดหนังสือรุ่นเพื่อหวนระลึกถึงความทรงจำดี ๆ ที่เรามีร่วมกับผู้กำกับคนนี้ ผ่านสิ่งละอันพันละน้อยที่เป็นอีสเตอร์เอ้กในหนังเรื่องนี้ เช่นการเซ็ตเรื่องด้วยการเขียนจดหมายเหมือน “Love Letter” เมื่อ 25 ปีก่อน (ซึ่งต้องนับรวมการปรากฏตัวเป็น cameo เล็ก ๆ แต่มีความสำคัญระดับกระตุ้นสำนึกของตัวละครหลักของสองนักแสดงอย่าง มิโฮะ นากายามะ และ เอ็ตสึชิ โทโยคาวะ) การนำ มัตสึ ทาคาโกะ มารับบทนำและยืนถือร่มซ้ำอีกครั้งหลังจากถือให้แฟน ๆ น้ำตารื้นมาแล้วใน “April Story” การใช้สองนักแสดงหญิงวัยรุ่น (ซึสึ ฮิโรเสะ และ นานะ โมริ) มาดำเนินเรื่องเหมือน “Hana & Alice” หรือ การดับเบิ้ลแคสต์ (หนึ่งนักแสดง สองตัวละครหรือสองไทม์ไลน์) ของ ซึสึ ฮิโรเสะ และ นานะ โมริ ก็เป็นสิ่งที่ อิวาอิ ทำกับ มิโฮะ นากายามะ ใน “Love Letter” เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นการกระซิบกระซาบคุยกันในระดับ “รู้กัน” ของ อิวาอิ กับ แฟนพันธ์แท้ที่คิดถึงเขาโดยแท้

สรุปรวมความแล้ว ก็ดังที่กล่าวไปแล้วว่า “Last Letter” เป็นการคืนฟอร์มอง ชุนจิ อิวาอิ ที่ในระยะหลังอาจจะถูกความสำเร็จของ โคเรเอดะ ก้าวนำหน้าด้วยดีกรีปาล์มทองคำไปแล้วก็ตาม แต่นั่นไม่ได้แปลว่า “Last Letter” เวอร์ชันล่าสุดของเขาเรื่องนี้จะลดหย่อนผ่อนปรนในแง่คุณภาพ ความละเอียดลอออลึกซึ้ง ตรงกันข้าม “Last Letter” ให้ผู้ชมในระดับที่น่าพอใจ และเราก็หวังว่า อิวาอิ จะกลับสู่เส้นทางที่ถูกต้องอีกครั้งจากภาพยนตร์เรื่องนี้

    TAG
  • LAST LETTER
  • shunji iwai
  • อิวาอิ
  • April Story
  • All About Lily Chou-Chou
  • ชุนจิ อิวาอิ
  • Hana & Alice
  • นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์
  • Mongkol Major

LAST LETTER ความรักในจดหมาย คนรักในนวนิยาย การจองจำกักขังในรูปแบบตัวอักษร และการกลับมาของ ชุนจิ อิวาอิ

CULTURE/MOVIE
March 2020
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    Love Lies เรื่องรักจากคำหลอกของหญิงหม่ายและมิชฉาชีพ ผลงานการกำกับครั้งแรกของ Ho Miu Ki

    ท่ามกลางลิสต์ภาพยนตร์ต่อสู้ระทึกขวัญ หรือภาพยนตร์ดราม่าเรียกอารมณ์ผู้ชม ใน Hong Kong Film Gala Presentation & Dynamic Cityscapes of Hong Kong Films “งานภาพยนตร์ฮ่องกงพลังหนังขับเคลื่อนเมือง กับนิทรรศการหนังฮ่องกง” ที่เดินทางกลับมาฉายในไทยอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ยังมีภาพยนตร์กลิ่นอายโรแมนติกอีกหนึ่งเรื่อง ที่น่าจับตามองไม่แพ้กันอย่าง Love Lies ที่นำเสนอความสัมพันธ์ของแพทย์หญิงหม่าย ที่รับบทโดย Sandra Ng Kwan-Yue (อู๋จินหยู) ผู้ร่ำรวย และมีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งบังเอิญตกหลุมรักกับวิศวกรชาวฝรั่งเศสวัยกลางคน ที่คอยหยอดคำหวานและคำห่วงใยผ่านแชทมาให้ตลอด จนกระทั่งเธอค้นพบความจริงว่าเบื้องหลังแชทเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยคำลวงจากฝีมือเด็กหนุ่มมิชฉาชีพ ที่รับบทโดย MC Cheung (เอ็มซีเจิ้ง) ดังนั้นเรื่องราวต่อจากนี้ในภาพยนตร์จึงเป็นการค้นหาคำตอบของเธอในสมการความสัมพันธ์ครั้งนี้ว่าจะจบลงอย่างไร

    EVERYTHING TEAMAugust 2024
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    Nick Cheuk ผู้กำกับและนักเขียนบท Time Still Turn The Page ภาพยนตร์ทรงพลังที่ท่วมท้นด้วยคำชื่นชมจากทั้งในและนอกฮ่องกง

    ความสำเร็จด้านรายได้กว่า 100 ล้านเหรียญฮ่องกงของ A Guilty Conscience จากการกำกับของ แจ็ค อึ่ง (Jack Ng) สร้างปรากฏการณ์ใหญ่ที่นับได้ว่าเป็นความหวังใหม่ของอุตสาหกรรรมภาพยนตร์ของฮ่องกง และทำให้บรรยากาศของแวดวงนี้ดูจะกลับมาคึกคักอีกครั้งในสายตาของแฟนหนังทั่วโลก พอ Hong Kong Film Gala Presentation หรือที่ในปีนี้ใช้ชื่อเต็มว่า Hong Kong Film Gala Presentation & Dynamic Cityscapes of Hong Kong Films “งานภาพยนตร์ฮ่องกงพลังหนังขับเคลื่อนเมือง กับนิทรรศการหนังฮ่องกง” ได้กลับมาจัดอีกครั้งในประเทศไทย ก็ทำให้ลิสต์ในปีนี้เต็มไปด้วยภาพยนตร์คุณภาพที่น่าจับตามองจากฝีมือการกำกับของผู้กำกับรุ่นใหม่ และจากพลังของนักแสดง

    EVERYTHING TEAMAugust 2024
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    บทสนทนาเชิงลึกกับสองผู้กำกับหนังสารคดี Breaking The Cycle

    ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้สามารถเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกเล่าแก่คนรุ่นหลังได้ว่าพวกเราซึ่งเป็นประชาชนภายในประเทศนี้ผ่านอะไรกันมา กำกับโดย “เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์” (เอก) ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระจากสงขลา เอกเริ่มกำกับสารคดีสั้นเกี่ยวกับความตายของ กฤษณ์ สราญเศรษฐ์ ลุงของเขาในชื่อเรื่อง “คลื่นทรงจำ” (2561) ซึ่งได้รับรางวัลสารคดีสั้นยอดเยี่ยมในงานเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ DMZ ที่ประเทศเกาหลีใต้ และได้เข้าฉายในเทศกาลต่างประเทศอีกหลายแห่ง และผู้กำกับอีกคน คือ “ธนกฤต ดวงมณีพร” (สนุ้ก) ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้กำกับภาพ ที่ได้เข้าชิงรางวัลช้างเผือกจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 21 จากเรื่อง “ทุกคนที่บ้านสบายดี” (2560) และได้รับเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไห่ หนาน

    EVERYTHING TEAMJune 2024
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    งานศิลปะที่รายล้อมตัวละครในหนังทริลเลอร์จิตวิทยา Inside (2023)

    Inside (2023) หนังทริลเลอร์จิตวิทยาของผู้กำกับสัญชาติกรีซ วาซิลลิส แคตซูพิส (Vasilis Katsoupis) ที่เล่าเรื่องราวของของนีโม (วิลเลียม เดโฟ) หัวขโมยที่ลักลอบเข้าไปในเพนท์เฮ้าส์สุดหรูของสถาปนิกชื่อดัง เพื่อขโมยงานศิลปะราคาแพงที่สะสมอยู่ในนั้น แต่ดันบังเอิญโชคร้ายถูกระบบนิรภัยขังอยู่ภายในคนเดียว ท่ามกลางงานศิลปะที่อยู่รายรอบ จนเขาต้องหาทางเอาชีวิตรอดอยู่ข้างใน โดยอาศัยข้าวของรอบตัว หรือแม้แต่งานศิลปะที่อยู่ในนั้นมาใช้เป็นเครื่องมือก็ตาม เรียกได้ว่าเป็น Cast Away เวอร์ชันอาชญากรก็ได้

    Panu Boonpipattanaponga year ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    Exclusive Talk กับผู้กำกับและนักแสดงนำหญิงจาก “A Guilty Conscience” ภาพยนตร์ฮ่องกงเรื่องแรกที่ทำรายได้ทะลุร้อยล้านเหรียญฮ่องกง

    ฮ่องกง เมื่อราวสิบยี่สิบปีก่อน นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองมาก ๆ ในฐานะประเทศที่ส่งออกภาพยนตร์ออกสู่สายตาของประชาคมโลก ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ต่อสู้กำลังภายใน ภาพยนตร์มาเฟีย หรือแม้แต่ภาพยนตร์ชีวิตที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งของหว่องกาไว จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมฮ่องกง แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้ความคึกคักของภาพยนตร์ฮ่องกงเริ่มเงียบเหงามากขึ้นเรื่อย ๆ จนแฟนหนังฮ่องกงหลายคน ออกปากบ่นคิดถึงความรุ่งเรืองในอดีต ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ความนิยมระดับ 100 ล้านเหรียญฮ่องกง ของภาพยนตร์อาชญากรรมอย่าง A Guilty Conscience ขึ้นมาแล้ว แสงที่เคยริบหรี่ก็อาจจะกลับมาสว่างไสวขึ้นมาอีกครั้ง

    EVERYTHING TEAMOctober 2023
  • CULTURE&LIFESTYLE/MOVIE

    แรงบันดาลใจแห่งศิลปะเบื้องหลังหนัง “Resemblance ปรากฏการณ์” ของนักธุรกิจผู้หลงใหลภาพยนตร์ ต้น จุมภฏ รวยเจริญทรัพย์

    นักธุรกิจชั้นนำหลายคนใช้เวลาว่างจากการทำงานไปกับความหลงใหลที่แตกต่างกัน บางคนใช้เวลาไปกับความหลงใหลในการท่องเที่ยวทั่วโลก บางคนใช้เวลาไปกับความหลงใหลในการล่องเรือตกปลา ขับรถซูเปอร์คาร์ หรือปาร์ตี้สุดเหวี่ยง แต่มีนักธุรกิจผู้หนึ่งที่มีความลุ่มหลงที่แปลกแตกต่างออกไป เขาผู้นี้คือนักธุรกิจหนุ่มไฟแรง ผู้บริหารรุ่นที่สองของ โก๋แก่ แบรนด์ถั่วอบกรอบระดับแนวหน้าของเมืองไทยอย่าง ต้น จุมภฏ รวยเจริญทรัพย์ ผู้หลงใหลในการทำหนังอย่างเข้าเส้น ลงลึกถึงกระดูกดำจนลุกขึ้นมาตั้งค่ายหนังอิสระของตัวเองในนาม โก๋ฟิล์ม ฝากผลงานหนังมันส์ๆ ดิบๆ ห่ามๆ ไม่แคร์ตลาด ไม่แยแสรางวัล ประดับวงการมาแล้วหลากหลายเรื่อง

    Panu BoonpipattanapongFebruary 2023
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )