Kyoto Institute of Technology '60th Anniversary Hall' Blending steel sheet by monocoque architecture | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Kyoto Institute of Technology
‘60th Anniversary Hall’ Blending steel sheet
by monocoque architecture
เรื่อง / ภาพ : สาโรช พระวงค์

  สถาปัตยกรรมแบบทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบที่มาจากเสา คาน ห่อด้วยผนังที่มีเปลือกตามสมัยนิยม นิยามของผนังคือระนาบกั้นระหว่างภายนอกและภายใน หรือภายในด้วยกันเอง ทำหน้าที่แบ่งพื้นที่และปกป้องสเปซภายใน ระนาบผนังวางตัวในแนวตั้งอยู่ระหว่างพื้น เพดาน ในขณะที่ผนังภายนอกถูกแยกออกด้วยระนาบพื้นและหลังคา ในบางส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบ Postmodern architecture มีความพยายามจะสลายระนาบต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

  หลายงานที่มีแนวคิดนี้ไม่เกิดในช่วงศตวรรษที่ 20 ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี จนเมื่อศตวรรษที่ 21 มาถึง ความก้าวหน้าของการก่อสร้างได้มาถึงจุดที่สามารถทำงานแนวนี้ให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ทำให้งานแนวนี้ไม่เป็นเพียงแค่โปรเจคในแผ่นกระดาษอีกต่อไป ดั่งที่เราจะเห็นได้จากการประยุกต์ใช้ software ทำให้มันบรรลุขีดจำกัดเดิมออกมา แต่หากลองมองออกไปนอกวงการสถาปัตยกรรม การหลอมรวมระนาบต่าง ๆ สามารถทำได้มานานแล้ว อย่างเช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ การต่อเรือ มันชวนให้นึกถึงสิ่งที่ Le Corbusier เปรียบเทียบรถยนต์ในศตวรรษที่ 19 ที่วางเทียบกับหน้าวิหารกรีกในหนังสือ Towards an Architecture ในขณะที่รถยนต์ใช้เวลาเกิดไม่นาน กลับมีความพัฒนามากกว่าสถาปัตยกรรม ที่ยังติดกับดักของอดีต ไม่สามารถพ้นจากคลาสสิคได้
  แต่หากเราสามารถรู้จักดัดแปลง เข้าใจถึงทักษะพื้นฐานช่างท้องถิ่น มันทำให้สามารถรังสรรค์งานได้น่าสนใจ

สำหรับสถาปัตยกรรมของ Ks Architects HIROAKI KIMURA & ASSOCIATES สำนักงานสถาปนิกจากโอซะกะ นำโดย Hiroaki KIMURA นำเสนอถึงงานออกแบบที่ใช้ฝีมือช่างในญี่ปุ่น เป็นสถาปัตยกรรมสีขาวที่มีการอวดรูปทรงชัดเจน ดูเป็น monolith ใช้การสร้างสถาปัตยกรรมจากเทคนิคก่อสร้างที่ช่างเหล็กทั่วไปสามารถทำได้ แล้วยังคิดถึงการก่อสร้างให้สามารถทำจากโรงงาน แล้วส่งมาประกอบติดตั้งเป็นชิ้นส่วนที่หน้างานได้ไม่ยากเย็น สถาปัตยกรรมแบบที่มี steel sheet เป็นพื้นผิวหลักนี้ สถาปนิกเรียกมันว่า monocoque

  ในนิยามของคำว่า monocoque มันคือศัพท์ที่ใช้กับยานยนต์ หมายถึงตัวถังที่ไร้โครง ตัวถังที่มีพื้นผิวลื่นไหลไปตามหลักการออกแบบลู่ตามแรงลม ที่นำมาใช้ตั้งแต่ยุคสมัยใหม่แล้ว เช่น เรือ รถไฟ รถยนต์ และเครื่องบินโดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบรวมเป็นหนึ่งเดียว พื้นผิวนี้ลื่นไหลเชื่อมโยงตั้งแต่ด้านหน้าไหลผ่านหลังคาลู่ไปยังท้ายรถอย่างสวยงามแบบความจักรกล เป็นความงามจากหลักวิศวกรรม หลักการคิดตัวถังรถยนต์ ได้ถูกดัดแปลงสู่ monocoque architecture ในที่สุด

  ใน context ของ Kyoto Institute of Technology สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็ก ที่เปิดสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการออกแบบ เป็นพื้นที่ราบล้อมด้วยอาคารที่มีอิฐหุ้มเปลือก อาคารที่เก่าแก่สุดคืออาคาร 3 ที่สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ.1930 ออกแบบโดยสถาปนิก Seigo MOTONO รูปทรงอาคารนี้เป็นกล่องเรียบ มีกระจกตามจังหวะของห้องต่าง ๆ แต่ในผนังด้านทิศเหนือเป็นผนังกระจกเปิดสูง แล้วยังเปิดมุมอีก การที่มีลักษณะผสมกันของทั้งอิฐ และผืนกระจกแบบเปิดมุม ทำให้ชวนนึกถึงงานของสถาปนิกจากเบาเฮาส์ 2 งาน คือ Fagus Factory และ Bauhaus building โดย Walter Gropius ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อว่า MOTONO จากการที่เขาเคยไปใช้ชีวิตที่ยุโรป โดยจะอยู่ที่เยอรมันเป็นหลัก

  จวบจนเมื่อทาง Kyoto Institute of Technology มีอายุครบ 60 ปี จึงได้มีโครงการก่อสร้าง 60th Anniversary Hall บนฝั่งแคมปัสตะวันออก หน้าบริเวณ Rainbow Tower ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัย โปรแกรมของงานนี้คือพื้นที่ประชุมในวาระต่าง ๆ ทั้งห้องประชุมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ และห้องจัดเลี้ยงที่ใช้รองรับหลากหลายกิจกรรมของสถาบัน ทั้งงานเลี้ยงต้อนรับ รับปริญญา โดยทางสถาบันได้มอบหมายให้ Hiroaki KIMURA ผู้เป็น Professor ภาควิชาสถาปัตยกรรมขณะนั้น มาออกแบบอาคารนี้

  สิ่งที่สถาปนิกเริ่มต้นออกแบบในปี ค.ศ. 2009 คือการวางแนวคิด KIMURA เสนอถึงการจับห้วงเวลาสู่สถาปัตยกรรมผ่านช่องแสงเหนือบันได ช่องแสงนี้รับแสงจากทิศเหนือเป็นหลัก แสงที่พาดผ่านเข้ามามีลักษณะแบบ indirect ผ่านนาฬิกาที่แขวนอยู่ด้านบนสุดสู่พื้นที่ภายในทั้งชั้น 1 และ2 สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนจากอาคารอื่น ๆ คือการตีความเรื่อง context อาคารอื่นเลือกจะถ่อมตนโดยใช้เปลือกภายนอกเป็นอิฐเปลือย แต่กับอาคารนี้ KIMURA เลือกที่สร้างให้เป็นอนุสรณ์ที่มีความร่วมสมัยในเวลาของมันเองมากกว่าจะเลียนแบบอดีต การใช้เหล็กจึงเป็นเป็นตัวเลือกในการออกแบบงานนี้ทั้งโครงสร้าง เปลือกที่หุ้มรายล้อม ทำให้ดูแตกต่างจากงานที่ MOTONO ออกแบบไว้ เมื่อมองจากภายนอกมันจึงดูเป็นกล่องเหล็กโค้งมนสีขาว กึ่งประติมากรรม กึ่งสถาปัตยกรรม เนื่องจากอาคารมีด้านที่สร้าง approach ได้คือฝั่งถนนหลักคือทิศตะวันตก จึงออกแบบด้านนี้เป็นผนังเหล็กทึบ พร้อมระแนงเหล็กแนวตั้งเพื่อกรองแสงแดดจัดยามบ่ายของทิศตะวันตก ในฝั่งทิศเหนือจึงออกแบบให้เส้นโค้งลาดวนลงมาปิดผนังกระจกบางส่วน เพื่อให้รับแสงเหนือ พร้อมกับให้อาคารสร้างบทสนทนากับลานหน้า Rainbow Tower ด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ในตัวมันเอง

งานนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีค.ศ. 2010 แล้วได้ทำหน้าที่ของมันอยู่จนทุกวันนี้
  ครั้งหนึ่ง ผมเคยถามสถาปนิกที่ออกแบบงานนี้ว่า ทำไมงานที่เขาออกแบบถึงมีลักษณะเป็นพื้นผิวลื่นไหล เชื่อมหลายระนาบด้วยกัน เขาตอบผมด้วยการมอง และชี้นิ้วไปบนฟ้า พร้อมบอกว่า

“คล้ายกับจรวดนะ มันคืออนาคต”
    TAG
  • design
  • architecture
  • Kyoto
  • Postmodern

Kyoto Institute of Technology '60th Anniversary Hall' Blending steel sheet by monocoque architecture

ARCHITECTURE/Architecture
4 years ago
CONTRIBUTORS
Xaroj Phrawong
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM13 days ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMa month ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMa month ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM2 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAMa year ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAMa year ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )