KLONG TOEY LOW-COST MICRO HOUSES สถาปัตย์ที่แบ่งปันคืนสู่สังคม โดย VVA (VIN VARAVARN ARCHITECTS) | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

KLONG TOEY LOW-COST MICRO HOUSES
สถาปัตย์ที่แบ่งปันคืนสู่สังคม
โดย VVA (VIN VARAVARN ARCHITECTS)
การแก้สมการเพื่อชุมชนผ่านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

งานสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนเป็นแขนงหนึ่งที่ต้องประยุกต์มาตรฐานในตำราสถาปัตย์ทั่วไป และอาศัยการเรียนรู้ศึกษาความเข้าใจในบริบท รวมถึงวิถีชุมชนที่ขาดแคลนจากโครงสร้างพื้นฐาน งานในโครงการเหล่านี้มักอยู่บนข้อจำกัดมากมาย บนจุดประสงค์เพื่อมอบความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับสังคม
โครงการเฟสที่ 3 บ้าน 9 หลัง โซนบ่อนํ้าจากมุมสอง

บ้านเพิงหมาแหงนสูงประมาณชั้นครึ่ง สีนํ้าตาลอ่อนจำนวน 9 หลัง มีทางเข้าของแต่ละหลังที่มีสีสันสดใส วางตัวอย่างค่อนข้างโดดเด่นเมื่อมองจากมุมสูง กระจายตัวอยู่บริเวณเดียวกันของชุมชนแออัดคลองเตย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ด้อยโอกาสในกรุงเทพฯ และอีก 25 จังหวัดภาคกลาง ดำเนินงานโดยกองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับภาคเอกชน และก่อสร้างด้วยทีมทหารช่าง เพื่อสนับสนุนโครงการจิตอาสา ตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 10

โครงการมีวิธีการคัดเลือกพื้นที่จากความสมัครใจของประชาชนในชุมชนลงชื่อเข้าร่วม ซึ่งมีบ้านทรุดโทรมต้องการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านบนพื้นที่เดิม โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ (CPF) มีส่วนรับดูแลสนับสนุนในพื้นที่คลองเตย ได้ทาบทาม คุณวิน ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ และทีมสถาปนิก Vin Varavarn Architects ซึ่งพิจารณาจากผลงานที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการพัฒนาโรงเรียนตามถิ่นธุรกันดารและอีกหลายๆ ที่ โดยทีมเริ่มเข้ามาศึกษา ออกแบบบ้านตั้งแต่เฟสที่ 2 ช่วงต้นปี 2563

บ้านเพิงหมาแหงนที่มีสัดส่วนยืดหยุ่นต่อการก่อสร้างหน้างาน พร้อมสีสันประจำสีของแต่ละหลัง

บ้าน 9 หลัง โซนบ่อน้ำที่ทำการส่งมอบในต้นเดือนเมษายน ปี 2564 นี้ เป็นส่วนหนึ่งในเฟสที่ 3 ของโครงการ จากบ้านทั้งหมด 47 หลัง โดยทีมงานได้แบ่งพื้นที่การทำงานเป็นโซนต่างๆ โดยจะเริ่มจากโซนบ่อน้ำจำนวน 9 หลัง และโซนริมทางรถไฟจำนวน 15 หลัง แล้วจึงจะเข้าทำงานในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการเข้าร่วมออกแบบและพัฒนาครั้งที่ 2 ของทีม VVA โดยใช้การเรียนรู้จากการเข้าร่วมในครั้งแรกมาประยุกต์และคำนึงในการออกแบบมากขึ้น

สภาพความเป็นอยู่แต่ละหลังก่อนการเข้ามาปรับปรุงพื้นที่

ส่วนที่ยากและเป็นตัวแปรของงาน คือบ้านแต่ละหลังมีพื้นที่ที่ดินที่แตกต่างกัน จำนวนสมาชิกของแต่ละหลังซึ่งมีจำนวนผู้อยู่อาศัยที่หลากหลาย นอกจากเรื่องออกแบบแล้วต้องคำนึงถึงเรื่องวิธีการทำงานร่วมกับทีมทหารช่าง และวิธีการเขียนแบบที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ จึงพัฒนามาเป็นแบบ Typical Detail ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกหลัง

การวัดพื้นที่จริงไม่สามารถทำได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากเป็นพื้นที่แออัด ทุกอย่างเป็นการกะการคาดคะเน เวลาสร้างจริงทุกอย่างมีความคาดเคลื่อนไปหมด ต้องคำนึงถึงพื้นฐานฝีมือของช่างด้วยวิธีการเรียบง่ายและสามารถให้ผู้ลงมือหน้างานตัดสินใจได้ในทันที อีกอุปสรรคสำคัญคือการเข้าถึงที่ก่อสร้าง ทุกอย่างที่ใช้สร้างต้องขนย้ายด้วยการเดินเท้าเข้าทางเดินชุมชนแออัดที่คับแคบ เครื่องมือที่หีบหิ้วเข้าไปได้ด้วยกำลังคน ทั้งหมดเกิดขึ้นภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด

รูปแบบของบ้านจึงถูกออกแบบให้เรียบง่ายที่สุด คำนึงถึงรูปแบบที่สามารถปรับยืดหดเวลามีปัญหาหน้างานได้ ให้ส่วน Façade ของบ้านแต่ละหลังห่อหุ้มโครงสร้างเพื่อให้ช่างทำงานได้ง่ายขึ้น ลดภาระของงานละเอียดอ่อน โดยที่สัดส่วนของบ้านยิ่งมีการปรับเปลี่ยนยิ่งน่าสนใจ และโครงสร้างของบ้านยังคงใช้มาตรฐานตามเฟสที่ 2 จากความร่วมมือของทีมวิศวกรจิตอาสา

ทีมช่างทหารที่ดำเนินการก่อสร้างด้วยแรงงานคน จากวัสดุที่ผู้ออกแบบเลือก โดยความคำนึงถึงความทนทาน กันร้อน กันลามไฟ

การเลือกใช้วัสดุในโครงการผู้ออกแบบให้ความคำนึงถึงความทนทาน กันร้อน กันลามไฟ อันเป็นพื้นฐานไม่ต่างจากบ้านทั่วไป และควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะความเป็นอยู่ที่หนาแน่นนั่นเอง โครงสร้างของบ้านใช้เหล็ก ลงฐานรากด้วยแรงกำลังของทหาร ฐานรากเช่นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังและพื้นกรุด้วยซีเมนต์บอร์ด ปูพื้นทับด้วยเสื่อน้ำมันหนาพิเศษ และหลังคาใช้เมทัลชีทแบบแซนด์วิช มีไส้กลางเป็นฉนวนโฟมแบบกันลามไฟหนา 5 ซม. เพื่อช่วยกันความร้อนให้ได้มากที่สุด

สีสันของชุมชนที่ค้นพบระหว่างพัฒนาในเฟสที่ 3 และแบบแปลนที่คำนึงถึงการกั้นห้องสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละหลัง

ในส่วนความต้องการของชุมชนที่ได้เรียนรู้เพิ่มคือการแบ่งพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้เลือกสีที่ชื่นชอบ เพื่อให้ผู้อยู่เป็นส่วนร่วมหนึ่งในกระบวนการสร้างบ้านของตนเอง จึงเป็นที่มาของสีสันสดใสบริเวณทางเข้าของบ้านแต่ละหลัง ทั้งสามารถควบคุมให้มองอยู่ในภาพรวมของโครงการเดียวกันได้ เรื่องการกั้นห้องในบ้านที่มีขนาดเล็กซึ่งจากมุมมองผู้ออกแบบอาจจัดสรรพื้นที่การใช้งานไม่เพียงพอ แต่เจ้าของบ้านต่างอยากมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นของตนเอง การกั้นห้องจึงเป็นสิ่งที่คนในชุมชนต้องการแม้จะมีขนาดพื้นที่ไม่มากก็ตาม และพื้นที่ที่เว้นว่างเอาไว้เมื่อบ้านเจริญเติบโตขึ้นตามธรรมชาติของชุมชน ส่วนบริเวณหลังคาหมาแหงนทรงสูงที่ช่วยให้บ้านมีขนาดเล็ก ดูโปร่งมากขึ้น และทำให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการต่อเติมในอนาคต

ภาพหลังการปรับปรุงพื้นที่เสร็จ

องค์ประกอบต่างๆ เหมือนการได้สมการมาแล้วใช้มุมมองของสถาปนิกแก้ซึ่งไม่มีถูกมีผิด ภายใต้ตัวแปรของงบประมาณและเวลามีอย่างจำกัด การก่อสร้างที่ยากลำบาก และความต้องการของชุมชน สิ่งสำคัญคือความเข้าใจบนพื้นฐานมาตรวัตรที่แตกต่าง บทบาทจึงตกอยู่กับสถาปนิกผู้แก้โจทย์ นำเสนอมุมมองอย่างไรให้ครอบคลุม เป็นกลางโดยไม่ยัดเยียด “มาตรฐานชีวิต” คนละแบบกับผู้ใช้งาน เพราะแม้จุดประสงค์หลักของโครงการถูกสร้างเพื่อมอบความเป็นอยู่ที่ “ดีขึ้น” แต่อาจไม่สำคัญเท่าให้ทุกฝ่ายเข้าใจผู้อยู่อาศัยเพื่อตระหนักถึงพวกเขามากขึ้น หากความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสร้างสังคมที่ดีขึ้น เท่านั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีอยู่ของโครงการเพื่อชุมชนเหล่านี้

Links: Vin Varavarn Architects Ltd. | Facebook

THE 9 LOW-COST MICRO HOUSES FOR KLONG TOEY COMMUNITY PHASE 3
IN COLLABORATION WITH 1ST ARMY AND CHAREONPOKPHAND FOUNDATION
Architecture : Vin Varavarn Architects Engineer Consultants : Next Steps Design & Consultants
Landscape Architecture: Nong Nuch Garden, Shma Soen
Material Support : Shera, Suntech Steel Works, Beger
Location : BKK

    TAG
  • KLONG TOEY
  • LOW-COST MICRO HOUSES
  • VVA
  • Vin Varavarn Architects

KLONG TOEY LOW-COST MICRO HOUSES สถาปัตย์ที่แบ่งปันคืนสู่สังคม โดย VVA (VIN VARAVARN ARCHITECTS)

ARCHITECTURE/COMMUNITY
April 2021
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • CULTURE&LIFESTYLE/COMMUNITY

    KIDative พื้นที่ให้คิดส์ ได้คิด อย่างสร้างสรรค์

    ศูนย์การเรียนรู้สร้างสรรค์สำหรับเด็ก หรือ KIDative กำเนิดขึ้นโดยสองผู้ก่อตั้ง คือ ตอง-นพปฏล เทือกสุบรรณ ที่มีอาชีพเป็นสถาปนิก มัณฑนากร อาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และค้นหาตัวตน และ กอล์ฟ-วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ ผู้ทำงานวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และที่ปรึกษาการตลาดดิจิตัลในแวดวงโฆษณา โดยริเริ่มโครงการเล็กๆ นี้ในงานสถาปนิกหรือ ASA เมื่อปี 2558 เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และมุ่งมั่นดึงศักยภาพของเด็กแต่ละคนผ่านทักษะ และแนวคิดจากประสบการณ์จริงมาตลอดระยะเวลา 5 ปี อีกทั้งยังมีหลายโปรเจกท์สร้างสรรค์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

    EVERYTHING TEAMNovember 2019
  • CULTURE&LIFESTYLE/COMMUNITY

    MELAYU LIVING กลุ่มคนที่เปลี่ยนพลังลบให้เป็นพลังบวกในชายแดนใต้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

    กลุ่ม MELAYU LIVING ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มสถาปนิกในพื้นที่เพื่อจะขยายการทำงานในภูมิภาคมากขึ้น ก่อนจะเริ่มมีคนจากหลากหลายอาชีพเข้ามาทำงานอาสา สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบด้วยสถาปนิกจากปัตตานี ยะลา นราธิวาส ช่างภาพ กราฟิกดีไซเนอร์ คอลัมนิสต์ ซึ่งเป็นคนที่เติบโตมาในพื้นที่ หรือเรียนจบจากกรุงเทพฯ และต่างประเทศ โดยปัจจุบัน ราชิต ระเด่นอะหมัด ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม และมีสมาชิกจำนวน 18 คน จัดกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ความเข้าใจเรื่องงานออกแบบที่เป็นพื้นฐานในชีวิตปัจจุบันของทุกคน จนสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดการพัฒนาตามความถนัดของแต่ละคนได้ นอกจากนี้พวกเขายังให้ความสำคัญทั้งความคิดสร้างสรรค์ และเรื่องของสันติภาพการอยู่ร่วมกันซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งคนจีน คนไทย คนมุสลิมโดยไม่แบ่งแยกเเละทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในพื้นที่ชายเเดนใต้

    EVERYTHING TEAMNovember 2019
  • CULTURE&LIFESTYLE/COMMUNITY

    E8TY lov.an.a.log Powered by Marshall รวมพลคนรัก Analog ที่ Digital ให้ไม่ได้

    สำหรับคนรักมอเตอร์ไซค์คงได้ยินชื่อของ 8080 Cafe กันอยู่บ้างแล้ว ซึ่งนับเป็นอีก Community ที่รวมเอาคนที่มี Passion คล้ายๆ กันมาอยู่รวมกัน และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางร้านได้จัดงาน 8080 ANALOG DAY โดยคุณเจี๊ยบ ชัยวัฒน์ สิงหะและคุณหนาน ชเนศร์ ธนพัชรศิริ ผู้ร่วมก่อตั้งเล่าว่า

    EVERYTHING TEAMJuly 2019
  • CULTURE&LIFESTYLE/COMMUNITY

    Rides in Thailand "The Distinguished Gentleman's Ride 2018

    อีกครั้งกับการที่เหล่าไบเกอร์ร่วมใส่สูท ผูกไทด์ ขี่มอเตอร์ไซค์รอบเมือง เพื่อระดุมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ในงาน The Distinguished Gentleman's Ride 2018

    EVERYTHING TEAMOctober 2018
  • CULTURE&LIFESTYLE/COMMUNITY

    NIGHT RIDE IN THE CITY WITH MOTO GUZZI

    "Moto Guzzi Night Clan : Ride in the City" งานที่รวมแฟมิลี่และคนรัก Moto Guzzi มาทำกิจกรรมร่วมกัน

    EVERYTHING TEAMSeptember 2018
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM8 days ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )