LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
อาคารสีขาวที่เป็นมิตรต่อผู้มาใช้งาน ผลงานการออกแบบ
โรงพยาบาลแห่งแรกของรีเสิร์ช สตูดิโอ ปาณินท์
หลังจากที่เคยออกแบบบ้านให้กับผู้เป็นเจ้าของโครงการจนเป็นที่พึงพอใจ ทีมสถาปนิกจากรีเสิร์ช สตูดิโอ ปาณินท์ (Research Studio Panin) ได้รับการทาบทามให้มาออกแบบโรงพยาบาลกาฬสินธุ์-ธนบุรี โดยมีโจทย์ที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา นั่นคือการสร้างโรงพยาบาลที่ดีมีคุณภาพซึ่งผู้คนในท้องที่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ในราคาที่ไม่แพง
แม้จะไม่เคยรับผิดชอบการออกแบบโครงการขนาดใหญ่ แต่ด้วยโจทย์และความตั้งใจของโครงการที่ตรงกับความเชื่อและหลักการของทีมสถาปนิก พวกเขาจึงตัดสินใจรับความท้าทายในการออกแบบโครงการนี้ “เป้าหมายที่คุณขจรและคุณแม่บันจง (เจ้าของโครงการ) บอกกับเราคือ อยากให้ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโรงพยาบาลเอกชนดีๆ ที่มีค่ารักษาพยาบาลไม่แพงและจับต้องได้” ทีมสถาปนิกเล่า “โจทย์ที่ได้รับคือทำอย่างไรให้ราคาค่าก่อสร้างโรงพยาบาลประหยัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่ได้คุณภาพของโรงพยาบาลที่ดี เพราะการลดต้นทุนค่าก่อสร้างนั้นมีผลในเชิงธุรกิจที่ส่งผลกับการกำหนดค่ารักษาพยาบาล ซึ่งตรงกับความเชื่อและเป็นโจทย์การทำงานสถาปัตยกรรมหลายๆ งานของเรา ในฐานะสถาปนิกเราสามารถช่วยเหลือสังคมในจุดนี้ได้ เราเลยตอบรับออกแบบโครงการนี้ เป็นโจทย์ที่ท้าทายมากสำหรับเรา”
เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเจ้าของโครงการ ทีมสถาปนิกจึงออกแบบโรงพยาบาลขนาด 100 เตียงแห่งนี้โดยเริ่มต้นจากแนวคิดที่เรียบง่าย ทั้งการใช้โครงสร้างที่ประหยัด และรูปทรงอาคารสูง 7 ชั้นที่กระชับตรงไปตรงมา ด้วยแนวคิดนี้เอง ทำให้โรงพยาบาลซึ่งเป็นอาคารที่มีการใช้งานหลากหลายและซับซ้อน ดูอบอุ่นและเป็นมิตรกับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ
แนวแกนที่ชัดเจนของอาคารสะท้อนออกมาเป็นทางสัญจรภายในที่เข้าใจง่าย ผู้ที่เข้ามาใช้งานอาคารสามารถรู้ทิศทาง เข้าใจลำดับการใช้งานได้ด้วยตนเอง และเดินไปตามจุดต่างๆ ได้โดยที่ไม่หลง “การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรคืออาคารที่ผู้ใช้สอยสามารถเข้าใจวิธีการใช้งานได้ง่าย มีความโปร่งโล่งไม่อึดอัด สามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมภายนอก มีต้นไม้ มีแสงธรรมชาติ” ทีมสถาปนิกอธิบาย
การออกแบบอาคารให้มีช่องหน้าต่างที่กว้างทำให้พื้นที่ภายในได้รับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ผู้ที่เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลยังสามารถทอดสายตาออกไปชมทิวทัศน์ที่ร่มรื่นของแมกไม้โดยรอบ อย่างไรก็ตามเพื่อกันความร้อนจากแดด จึงมีการใช้แผงกันแดดกั้นอยู่ที่ผนังด้านนอกเพื่อช่วยกรองความร้อนอีกชั้นหนึ่ง “รูปทรงของอาคารและภาษาของ Façade (รูปด้านของอาคาร) มันก่อรูปขึ้นมาจากธรรมชาติของโจทย์ที่เราได้รับ โดยไม่ต้องพยายามที่จะฝืนให้มันเป็นอย่างอื่น” ทีมสถาปนิกอธิบาย “เป็นสถาปัตยกรรมที่ไร้ซึ่งวาทกรรม ซึ่งเป็นกรอบความคิดหลักในวิธีการทำงานของเรา”
แผงกันแดดที่ใช้ในการกรองแสงแบ่งออกเป็นสองส่วนตามประเภทของวัสดุที่ใช้ นั่นคืออิฐบล็อกช่องลม และตะแกรงอลูมิเนียมฉีก วัสดุทั้งสองชนิดเป็นวัสดุที่มีราคาประหยัดและมีความทนทาน ทำให้ลดภาระด้านการดูแลและซ่อมบำรุงได้ในระยะยาว วัสดุทั้งสองชนิดนี้ได้รับการออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งของอาคารที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมทั้งด้านการใช้งานและความสวยงาม
แผงกันแดดที่เป็นตะแกรงอลูมิเนียมฉีกอบสีขาวได้รับการจัดวางให้ห่อหุ้มอาคารในส่วน Podium (อาคารด้านล่าง) เพื่อเปิดรับให้แสงเข้าในอาคารได้ในปริมาณมากแต่กรองความร้อนจากแดดให้ลดน้อยลง นอกจากนั้นยังช่วยทำให้รูปทรงอาคารที่มีขนาดใหญ่ดูโปร่งโล่งและดูเบาสบายตามากขึ้น
แผงกันแดดที่เป็นอิฐบล็อกช่องลมอยู่ในตำแหน่งของ Tower (อาคารสูง) ซึ่งเป็นส่วนห้องพักผู้ป่วย พื้นที่ส่วนนี้ได้รับการออกแบบให้มีระเบียง การใช้อิฐบล็อกช่องลมที่มีความหนาของวัสดุช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกันแดดได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ลักษณะของอิฐที่มีช่องลมขนาดใหญ่ทำให้คนที่อยู่ภายในสามารถมองลอดออกมาได้มากกว่าการมองผ่านตะแกรงอลูมิเนียมฉีกที่มีคุณสมบัติเหมือนม่านสีขาว
ผนังบล็อกช่องลมถูกแบ่งขั้นด้วยตะแกรงอลูมิเนียมฉีกที่ออกแบบไว้สำหรับเป็นบานเปิดหนีไฟฉุกเฉิน เกิดเป็นจังหวะของรูปด้านบนตัวอาคารที่น่าสนใจ โดยแผงกันแดดที่ห่อหุ้มอาคารทั้งหมดได้รับการออกแบบให้เป็นสีขาว ทำให้อาคารโรงพยาบาลดูสะอาดสะอ้านสบายตา “สีขาวและสีวัสดุธรรมชาติเป็นสีที่พูดน้อยและดูธรรมดาที่สุด ทุกคนเข้าถึงได้และไม่เกิดคำถามถึงที่มา” ทีมสถาปนิกอธิบาย
เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมที่ดีซึ่งตอบโจทย์ทั้งการใช้สอยและความงาม ในขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่บนความเหมาะสมด้านงบประมาณ การออกแบบความงามในโรงพยาบาลแห่งนี้จึงไม่ใช้การประดับตกแต่งด้วยสิ่งฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น เกิดเป็นอาคารที่เป็นมิตรต่อผู้มาใช้บริการ ทั้งด้านการใช้งานและราคาค่ารักษาพยาบาลที่จับต้องได้ “เราเชื่อว่าสถาปัตยกรรมที่งามไม่ควรจะต้องพยายามพูดอะไรเยอะ” ทีมสถาปนิกอธิบาย “ซึ่งในโจทย์ของอาคารนี้ ความเรียบง่ายและสมบูรณ์ของรูปทรง ระบบเรขาคณิต ระยะที่ลงตัวของการจบวัสดุ เป็นความพยายามนึงที่เป็นการแสดงออกถึงความงามที่ผูกอยู่กับการใช้สอยและกระบวนการก่อสร้าง”
Project Name : Kalasin Thonburi Hospital
Project Year : 2017 - 2019
Owner : Roi-ed Thonburi Co.,Ltd.
Location: Muaeng, Kalasin
Site Area : 19,205 sq.m. (12 Rai’)
Floor Area : 13,000 sq.m.
Architects : Research Studio Panin in collaboration with G4 Architects
Tonkao Panin, Tanakarn Mokkhasmita, Metawaj Chaijirapaisarn,
Jiroj Karnchanaporn, Totzapol Payakgul
Structural Engineer : Pongsatorn Chaowakhuntot, Apichart Raksa, Pornchai Bunluesriskul
M&E Engineer : MEE Consultant Co.,Ltd.
Construction : T Engineering Corporation PCL
Photograph : Spaceshift Studio
TAG
โรงพยาบาลกาฬสิน-ธนบุรี I อาคารสีขาวที่เป็นมิตรต่อผู้มาใช้บริการ ผลงานการออกแบบของ Research Studio Panin
/
CONTRIBUTORS
RECOMMEND
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )