Kaeng Krachan Library by JUNSEKINO ARCHITECT & DESIGN | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Kaeng Krachan Library
by JUNSEKINO
อ่านหนังสือใน “กล่องหนังสือ” กับบริบทกลางธรรมชาติของชุมชนแก่งกระจาน
  เมื่อเจ้าของพื้นที่อยากคืนสิ่งดีๆ สู่สังคมด้วยการสร้างพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก รวมถึงคนในชุมชนระแวกใกล้เคียง ทั้งยังใจดีเผื่อแผ่แก่ผู้คนทั่วไปที่ผ่านเส้นทางนี้ ห้องสมุดหน้าตาละม้ายศาลา จึงมีที่ตั้งใจกลางป่าแห่งแก่งกระจาน มีความเรียบง่ายของสถาปัตยกรรมเป็นหลังคากันแดดกันฝน และมีธรรมชาติเป็นเพื่อนในสภาพแวดล้อมอันพิเศษ
  บริบทของธรรมชาติบนพื้นที่ผืนนี้เป็นสีเขียวที่มองออกไปได้ไกลสุดสายตา ร่มเงาของต้นไม้ และความชื้นที่กักเก็บความเย็นไว้ในผืนดินกับแอ่งน้ำ Junsekino Architect and Design ผู้ออกแบบโครงการให้ความเคารพกับพื้นที่แห่งนี้ โดยการใช้รูปลักษณ์ที่ถ่อมตน แบบแปลนที่ไม่ซับซ้อน สื่อการใช้งานแบบตรงไปตรงมา ความสัมพันธ์ของพื้นที่ที่เท่าเทียมกัน และไม่มีลำดับขั้นเนื่องจากสามารถเข้าถึงการใช้งานได้จากทุกมุม ผลลัพธ์ของงานจึงมีความผ่อนคลายจนรับเอาบรรยากาศดีๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานได้ทุกช่องเปิด
  "สิ่งที่เป็นพระเอกที่สุดของงานนี้คือหนังสือกับคนอ่าน ตัวสถาปัตยกรรมก็ค่อยๆ หายไป" บทบาทของสถาปัตยกรรมถูกสะท้อนออกมาทางคำอธิบายของคุณจูน เซคิโน่ Design Director Junsekino Architect and Design ที่เคยให้สัมภาษณ์เมื่อครั้งที่แล้ว แม้อาคารจะมีรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม ได้หลังคาและผนังที่โปร่งแสงช่วยทำให้แสงเข้ามาได้อย่างทั่วถึง และทอนความหนักแน่นของอาคารให้เบาลง ทั้งยังช่วยให้ผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับบริบทอีกด้วย

  แนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบคือการทำพื้นที่ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นพื้นที่ Common ได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่มีการกั้นพื้นที่ ไดอะแกรมของแผนผังอาคารเกิดจากการจับกลุ่มก้อนสี่เหลี่ยมเก้าก้อน ส่วนมุมทั้งสี่มุมเป็นที่ตั้งของชั้นหนังสือ ซึ่งสลับกับกล่องด้านข้างสี่ด้านเป็นพื้นที่เปิดโล่งสำหรับนั่งอ่านหนังสืออย่างเอกเขนก หรือเปลี่ยนอิริยาบทนั่งห้อยขาอ่านหนังสืออย่างจับเจ่า ทั้งสามารถทำกิจกรรมตามความอเนกประสงค์ของผู้ใช้ ในขณะที่กล่องตรงกลางเป็นเคาท์เตอร์ทำงานสำหรับบรรณารักษ์ให้สามารถสอดส่องดูแลความเรียบร้อยได้อย่างทั่วถึง
  “ความซื่อตรง” เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ Junsekino Architect and Design ออกแบบโครงการเพื่อชุมชนออกมาได้อย่างลงตัวทุกครั้ง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากข้อคิดตอนที่ได้ร่วมโครงการออกแบบ “โรงเรียนพอดีพอดี” คือการเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน และบทบาทที่เหมาะสมของตัวสถาปัตยกรรม
  สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นกับ “กล่องหนังสือ” เพื่อชุมชนแห่งแก่งกระจานนั้น แม้จะมีรูปลักษณ์ที่ไม่แตกต่างจากศาลาเคารพท้องถิ่น ที่ไม่กลายเป็นสถานที่แปลกแยกในชุมชน แต่ตั้งอยู่เพื่อทำประโยชน์โดยนำบริบทมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร พื้นที่แห่งนี้จึงกลายเป็นกล่องของขวัญของชุมชนตามจุดประสงค์ของพื้นที่แห่งนี้อย่างแท้จริง
Assembly
Section
ภาพ Perspective แสดงช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
Project : Kaeng Krachan Library
Owner : Subharada Chalacheebh
Architect : Junsekino Architect and Design
Area : 200 sq.m.
Project Location : Kaeng Krachan, Petchburi
Project Year : 2019
Photographer : Spaceshift Studio
    TAG
  • Pavilion
  • design
  • architecture

Kaeng Krachan Library by JUNSEKINO ARCHITECT & DESIGN

ARCHITECTURE/Architecture
March 2019
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เจาะลึกแนวคิด 2 ผลงานออกแบบจากภาคเหนือ ที่ชนะรางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024

    ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM4 months ago
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM5 months ago
  • DESIGN/Architecture

    SANS STUDIO BANGKOK by PHTAA LIVING DESIGN สตูดิโอที่สร้างเอกลักษณ์ภายนอก จากการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ฟังก์ชั่นภายใน

    กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้

    EVERYTHING TEAMa year ago
  • DESIGN/Architecture

    “สถาปนา/สถาปัตยกัม” นิทรรศการแห่งการเฉลิมฉลอง 90 ปี ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป

    EVERYTHING TEAM2 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )