LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
พาไปอัพเดต art space ใหม่ๆ ใน Jakarta และ art scene ของอินโดนีเซียในปี 2022 ที่พร้อมจะตื่นขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังโควิดซา
Photo ‘Art Jakarta’ courtesy of Art Jakarta / THE LEONARDI
Photo ‘Museum MACAN’ courtesy of Museum MACAN
art scene ของอินโดนีเซียนั้นจัดว่าคึกคักและรุ่งเรืองกว่าประเทศไหนๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถมยังไม่เป็นรองใครในระดับนานาชาติเลย ศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมแบบประเพณีนั้นอยู่ที่เมืองเก่าแก่ Surakarta หรือ Solo ส่วนเมืองหลวงทางศิลปะร่วมสมัยจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจาก Yogyakarta หรือ Jogja เมืองทางตอนกลางของเกาะชวาที่มีศิลปินจำนวนมากถึงหลักพันอาศัยอยู่และทำงาน รวมทั้งมีชุมชนทางศิลปะที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งในปฐพี
แต่ถึง Jogja และ Solo จะขโมยซีนไปเกือบหมด พี่ใหญ่ Jakarta ก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะอย่าลืมว่าถึงศิลปินส่วนใหญ่จะไปสร้างสตูดิโอทำงานชิลๆ กลางทุ่งนาอยู่ที่ Jogja แต่บรรดาคอลเล็กเตอร์ส่วนมากอาศัยอยู่ที่เมืองหลวงแห่งนี้ แกลเลอรี่หลายแห่งและเทศกาลศิลปะต่างๆ จึงต้องขยับขยายมาเปิดสาขาที่ Jakarta ซึ่งนั่นก็ทำให้ Jakarta ค่อยๆ เติบโตกลายเป็น art destination ที่น่าสนใจ
ณ วันนี้ปลายเดือนสิงหาคม 2022 โควิดเริ่มซา สถานการณ์ต่างๆ เริ่มกลับเข้าสู่ปกติ iameverything.co จะพาไปอัพเดต art scene ของอินโดนีเซียที่มีศูนย์กลางอยู่ที่มหานครอันวุ่นวาย หนาแน่น และรถติดโคตรๆ แห่งนี้
Art Jakarta
งานแฟร์ระดับบิ๊กที่มาพร้อมปัจจุบันและอนาคต
นอกจากจะมี Biennale เป็นของตัวเองแล้ว Jakarta ยังมี Art Jakarta อาร์ตแฟร์ขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยหลังจากต้องหลบไปจัดแบบออนไลน์และในสเกลย่อมๆ อยู่สองปีในช่วงโควิด ปลายเดือนสิงหา 2022 ที่เพิ่งผ่านมา Art Jakarta กลับมาอย่างยิ่งใหญ่พร้อมผลงานศิลปะจากแกลเลอรี่มากกว่า 60 แห่ง และจากศิลปินมากกว่า 500 ชีวิต ทั้งศิลปินชาวอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ที่สำคัญ ตลอด 3 วันของการจัดงานครั้งนี้ มีผู้ชมตบเท้าเข้ามาไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นคนในวงการศิลปะ นักออกแบบ นักเรียนนักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า งานแฟร์ครั้งนี้ “ประสบความสำเร็จล้นหลาม”
ภายในงานแบ่งออกเป็น 8 โซนด้วยกัน โดยนอกจาก Main Section ที่เปิดพื้นที่ให้แกลเลอรี่ 62 แห่ง จากอินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้ามาจัดแสดงผลงานของศิลปินในสังกัดแล้ว มีอีก 2 โซนใน Art Jakarta ครั้งนี้ที่เรามองว่าน่าสนใจเป็นพิเศษ นั่นคือ SPOT ที่จัดแสดงงานติดตั้งจัดวาง 15 ชิ้น ของทั้งศิลปินรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ ที่คัดเลือกมาสำหรับ Art Jakarta 2022 โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นผลงานจาก Handiwirman Saputra, Henri Dono, Jompet Kuswidananto, Mulyana และ Tempa เป็นต้น และอีกโซนคือ NFT ที่มุ่งเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะ NFT สาเหตุที่เรามองว่าโซน SPOT และ NFT น่าสนใจนั้น เพราะทั้งสองโซนนับเป็นพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนเทรนด์ศิลปะใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานอินสตอลเลชันที่ว่ากันว่าถูกจริต young collector อายุ 20 ต้นๆ ของอินโดฯ ที่ต่างจากคอลเล็กเตอร์รุ่นก่อนหน้าตรงที่พวกเขามีแนวโน้มจะสะสม “ไอเดีย” มากกว่างานที่จับต้องได้ เช่นเดียวกับ NFT Art เทรนด์การซื้อขายศิลปะแห่งยุคสมัยที่มาพร้อมกับ cryptocurrency
การที่ Art Jakarta ให้ความสำคัญกับเทรนด์ศิลปะใหม่ๆ และรูปแบบงานที่เข้ากับรสนิยมของคอลเล็กเตอร์รุ่นเล็ก น่าจะเป็นอิทธิพลมาจาก Director ของงาน Tom Tandio คอลเล็กเตอร์ที่ให้การสนับสนุนศิลปินอินโดฯ หน้าใหม่อยู่เสมอ นอกจากนั้น Tandio ที่เป็นผู้ก่อตั้ง IndoArtNow แพลตฟอร์มที่เก็บรวบรวมข้อมูลผลงานศิลปะของศิลปินอินโดฯ ที่จัดแสดงตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ก็ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ young collectors ชาวอินโดฯ อีกหลายคน การได้ Tandio มาเป็นหัวเรือใหญ่ครั้งนี้ จึงดูจะทำให้ Art Jakarta แสดงถึงความพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่อยู่เสมอและจะพาศิลปะของพวกเขาก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน
แต่ก็ใช่ว่า Art Jakarta จะโปรโมตแต่เทรนด์ศิลปะใหม่ๆ อย่างเดียว เพราะเหมือนกับวงการศิลปะของอินโดนีเซียเองนั่นแหละที่ศิลปินรุ่นเก่าและใหม่อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว พึ่งพิงและสนับสนุนกัน ในส่วนของผลงานจากศิลปินที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว มีให้เราได้ชมอย่างเพลิดเพลินอยู่ใน VIP Lounge โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง Art Jakarta และ Tumurun Private Museum แกลเลอรี่จาก Solo ที่ขนเอาผลงานศิลปะในคอลเล็กชันส่วนตัวมาให้ผู้ชมได้ดูเป็นกำไร โดยครั้งนี้ Tumurun เลือกธีม HELLO HELLO Bandung นำเสนอผลงานศิลปะทั้งโมเดิร์นและร่วมสมัยจากศิลปินจากเมือง Bandung 15 ราย อย่างที่เราคุ้นเคยกันดีก็เช่น Mujahidin Nurrahman และ Albert Yonathan Setyawan เป็นต้น
Roh Projects
แกลเลอรี่น้องใหม่ไฟแรงในสเปซสุดเท่
ใน Art Jakarta ปีนี้ Roh Projects เป็นอีกหนึ่งแกลเลอรี่ที่โดดเด่น เพราะมีทั้งบูธ Roh Salon ที่รวมผลงานศิลปินรุ่นใหม่จากหลายประเทศในภูมิภาค ทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย Tubuh บูธตกแต่งแนวมินิมอลที่เรียกความสนใจได้จากความน้อยที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายของงานแฟร์ รวมทั้งยังมีผลงานติดตั้งจัดวาง ‘Breathe: Exhale’ ของ Bagus Pandega จัดแสดงอยู่ในโซน SPOT ที่อุทิศให้กับงานอินสตอลเลชันโดยเฉพาะ
แต่ความน่าสนใจของ Roh Projects ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะเมื่อไม่นานมานี้ Roh Projects เพิ่งจะย้ายไปเปิดบ้านหลังใหม่ที่บ้านเลขที่ 66 Jalan Surabaya ในเขตที่อยู่อาศัยย่าน Menteng สเปซใหม่ที่ปรับปรุงขึ้นจากบ้านเก่าโดยฝีมือของสถาปนิก Barry Beagen นี้ ผสมผสานความเก่าและใหม่ออกมาได้ลงตัว อย่างการเลือกเก็บพื้นหินขัดและบันไดที่ขึ้นไปยังออฟฟิศด้านบนไว้ ส่วนสเปซภายในเปิดโปร่งโล่ง โดยเฉพาะห้องแกลเลอรี่ด้านในสุดที่เพดานสูงและมี skylight ให้แสงธรรมชาติเข้ามาเต็มๆ
Roh Projects ก่อตั้งเมื่อปี 2012 โดยแกลเลอลิสต์รุ่นใหม่วัย 30 กว่า Jun Tirtadiji หลายปีที่ผ่านมา Roh Projects พาเอาศิลปินในสังกัดไปจัดแสดงงานในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Venice Biennale, Dhaka Art Summit และล่าสุดคือที่ Frieze Seoul 2022 ส่วนในวันที่เราไปเยือนแกลเลอรี่ของพวกเขาที่ Jakarta นั้น Roh Projects กำลังจัดแสดงนิทรรศการ ‘PERSONALIA’ ของ Tromarama กลุ่มศิลปินรุ่นกลาง-ใหม่จาก Bandung
จากประวัติสั้นๆ เพียงแค่นี้ บอกได้เลยว่า จับตาแกลเลอรี่น้องใหม่ไฟแรงแห่งนี้ไว้ให้ดี
Thamrin
Up-and-coming new art district
ใน Central Jakarta มีย่านอยู่ย่านหนึ่งบน Jalan M.H. Thamrin ที่เรียกกันว่า ย่าน Thamrin ซึ่งด้วยความบังเอิญอย่างไรก็ไม่รู้ได้ เมื่อช่วงก่อนโควิด ในย่านแห่งนี้เริ่มมีแกลเลอรี่หลายแห่งเข้ามาจับจองพื้นที่ เช่น RUBANAH at Rubanah Underground Hub และ Art Agenda รวมทั้งในบริเวณใกล้กันแค่เดินไม่กี่ก้าว ยังเป็นที่ตั้งของ Artotel Thamrin โรงแรมในเครือ Artotel Group ที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าให้การสนับสนุนศิลปะของอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาผลงานศิลปะของศิลปินอินโดฯ เข้ามาใช้ในงานตกแต่งเกือบทุกส่วนของโรงแรมและการเป็นสปอนเซอร์หลักของเทศกาลศิลปะในอินโดนีเซียมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึง Art Jakarta ครั้งนี้ด้วย ทั้งหมดทำให้บรรดาแกลเลอรี่และผู้ประกอบการมองว่า ย่าน Thamrin มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นอีกหนึ่ง art district ของ Jakarta ได้ไม่ยาก
ในจำนวนแกลเลอรี่ทั้งหมดในย่าน Thamrin เราชอบ Distrik Seni x Sarinah มากที่สุด แกลเลอรี่ใหม่แกะกล่องแห่งนี้ตั้งอยู่บนชั้น 6 ของ Sarinah Mall ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของอินโดนีเซียที่สานฝันของประธานาธิบดี Soekarno ในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศเมื่อปี 1966 Distrik Seni x Sarinah เปิดประตูต้อนรับผู้ชมเป็นครั้งแรกเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมาด้วยนิทรรศการ ‘Berdikari’ ที่แปลว่า independent (อิสระ) โดยเป็นอิสรภาพทั้งในความหมายที่ Soekarno เคยวาดฝันไว้ให้กับประเทศและความหวังของอินโดนีเซียในปัจจุบันที่ต้องการฟื้นตัวหลังเกิดการระบาดของ Covid-19 นิทรรศการครั้งนี้จัดแสดงผลงานของศิลปินทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ 27 ราย เช่น Surnayo, Dolorosa Sinaga, Eko Nugroho, Hendra ‘Blankon’ Priyadhani และ MangMoel เป็นต้น
ความน่าสนใจของ Distrik Seni x Sarinah ยังอยู่ที่ทำเลที่ตั้งในห้างสรรพสินค้า ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงงานศิลปะได้โดยง่าย ซึ่งทีม Creative Director ของ Distrik Seni x Sarinah เคยให้ความเห็นผ่าน kompas.id ไว้ว่า คนรุ่นใหม่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางศิลปะมาก การที่พวกเขาได้ซึมซับศิลปะในวันนี้ อาจสนับสนุนให้เขากลายเป็นคอลเล็กเตอร์หรือผู้สนับสนุนศิลปะทางใดทางหนึ่งในวันข้างหน้าได้... ซึ่งแน่นอนว่านั่นเป็นสิ่งที่ระบบนิเวศน์ของวงการศิลปะต้องการ
Museum MACAN
‘a must’ ที่ไม่ควรพลาด
ถ้าคุณอยากรู้จักศิลปะร่วมสมัยในอินโดนีเซีย แต่มีเวลาใน Jakarta ไม่มากนัก เราแนะนำให้คุณเรียก GOJEK ไปย่าน Kebon Jeruk ใน West Jakarta เพื่อตีตั๋วเข้าชม Museum MACAN (อ่านว่า มะ-จัน เป็นภาษาชวาแปลว่า เสือ โดย Museum MACAN ย่อมาจาก Museum of Modern and Contemporary Art in Nusantara – คำสุดท้ายเป็นภาษาชวาโบราณหมายถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย) เพราะมิวเซียมแห่งนี้มีคอลเล็กชันส่วนตัวของตัวเองมากกว่า 800 ชิ้น และถ้าโชคดี พวกเขาอาจเปิดกรุนำเอาผลงานชิ้นเด็ดๆ มาจัดแสดง รวมทั้งในหลายครั้งก็คิวเรตเอานิทรรศการดีๆ มาให้เราได้ดูกัน
อย่างเมื่อตอนเปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2017 Museum MACAN จัดแสดงผลงานทั้งหมด 90 ชิ้น ในนิทรรศการ ‘Art turns, World turns’ โดยมีงานของศิลปินอินโดฯ 70 ชิ้น ทั้ง ศิลปินรุ่นขึ้นหิ้ง Raden Saleh, Affandi, Hendra Gunawan ศิลปินร่วมสมัย Djoko Pekik, Jumaldi Alfi รวมทั้งศิลปินต่างชาติชื่อดังอีกหลายราย เช่น Andy Warhol, Ai Weiwei, Takashi Muraukami เป็นต้น เมื่อปี 2019 มีนิทรรศการ ‘Matter and Place’ ที่จัดแสดงผลงานขนาดใหญ่ 6 ชิ้น จากศิลปินอินโดฯ และต่างชาติ เช่น Andra Matin, FX Harsono, Shooshie Sulaiman เป็นต้น หรือเมื่อปี 2020 ก็มี solo performance ‘Why Let the Chicken Run?’ ของศิลปินตัวแม่ Melati Suryodarmo ส่วนเมื่อปลายปีสิงหาคมที่ผ่านมาที่เราได้ไปเยือน Museum MACAN เป็นครั้งที่สอง ก็มีนิทรรศการเดี่ยวครั้งใหญ่ ‘The Theater of Me’ ของอีกหนึ่งศิลปินคนสำคัญของอินโดฯ Agus Suwage นิทรรศการครั้งนี้นับว่าสุดยอดมากๆ เพราะนอกจากจะรวบรวมผลงานของ Suwage ในหลากหลายยุคสมัยมาให้ดูกันแล้ว ก็ยังทำให้เราได้ไล่เรียงเรียนรู้ประวัติศาสตร์สังคมการเมืองและการเติบโตของวงการศิลปะอินโดฯ ไปพร้อมๆ กับเส้นทางศิลปินของ Suwage อีกด้วย
Museum MACAN เป็นมิวเซียมภาคเอกชนที่ก่อตั้งโดยคอลเล็กเตอร์ชาวอินโดฯ เหมือนๆ กับแกลเลอรี่เกรดดีอีกหลายแห่งในอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็น Museum Akili ใน Jakarta, OHD Museum ใน Magelang และ Tumurun Private Museum ใน Solo โดยผู้ก่อตั้ง Museum MACAN นั้นคือ Haryanto Adikoesoemo ประธานบริษัทธุรกิจการขนส่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ภาพรวมเหล่านี้พอจะทำให้เราเห็นได้ว่าความรุ่งเรืองของวงการศิลปะอินโดฯ นั้น หลักๆ แล้วมาจากการหนุนหลังของภาคเอกชนเป็นสำคัญ รวมทั้งยังมีการสนับสนุนจากศิลปินรุ่นพี่ที่ประสบสำเร็จแล้วไปยังศิลปินรุ่นน้องที่กำลังเติบโต ก่อเกิดเป็นระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์มาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ใช่ว่าภาครัฐจะไม่มีบทบาทในเรื่องศิลปะร่วมสมัยเลย เพราะสัญญาณต่างๆ เริ่มดูดีขึ้นตั้งแต่การเข้ามาของประธานาธิบดี Joko Widodo อย่าง Indonesian Pavilion ใน Venice Biennale 2019 นั้นก็เป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลของ Jokowi
ร่วมแรงร่วมใจแข็งขันกันขนาดนี้ บอกได้เลยว่าอนาคตของวงการศิลปะอินโดฯ สนุกสนานแน่นอน
Jakarta Art Tour 2022 พาไปอัพเดต art space ใหม่ๆ ใน Jakarta และ art scene ของอินโดนีเซียในปี 2022 ที่พร้อมจะตื่นขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังโควิดซา
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
/
ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
/
เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ
/
เมื่อพูดถึงเกาหลีใต้ หลายคนอาจจะนึกถึง เคป็อป หรือซีรีส์เกาหลี แต่ในความเป็นจริง เกาหลีใต้ไม่ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเพียงแค่นั้น หากแต่ เคอาร์ต หรือวงการศิลปะเกาหลีก็มีอะไรที่โดดเด่นน่าสนใจเหมือนกัน ดังเช่นที่เรามีโอกาสได้ไปชมนิทรรศการศิลปะที่น่าสนใจของศิลปินเกาหลีใต้ ที่บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาจัดแสดงในบ้านเรา
/
ในวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา เรามีโอกาสได้ไปชมศิลปะการแสดงชุดหนึ่งที่น่าสนใจ เลยถือโอกาสเอามาเล่าสู่กันฟัง การแสดงที่ว่านี้มีชื่อว่า The Rite of Spring Concert and Dance ที่กำกับโดย พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินศิลปะการแสดงชั้นนำของไทยและเอเชีย โดยเป็นการร่วมงานกับสองนักดนตรีระดับโลกอย่าง ทามาโยะ อิเคดะ (Tamayo Ikeda) นักเปียโนชาวญี่ปุ่น และ เกวนดัล กิเกอร์เลย์ (Gwendal Giguelay) นักเปียโนชาวฝรั่งเศส ร่วมกับเหล่าบรรดานักเต้นมากฝีมือจาก พิเชษฐ กลั่นชื่น แดนซ์คอมพะนี และกลุ่มนักแสดงนาฏศิลป์ไทยประเพณีหลากที่มาจาก ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดราชาธิวาสวิหาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณะนักเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )