LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า
เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น
บ้านหัวมุมมักเป็นบ้านที่มีลักษณะตำแหน่งเชื่อมอยู่ระหว่างถนนหลักและถนนรองในหมู่บ้านจัดสรร มีการแชร์รั้วกับบ้านหลังอื่นเพียงสองด้าน มีมุมทอดสายตาออกไปได้ทำให้เหมือนมีทั้งขนาดรวมทั้งพื้นที่ทางสายตามากกว่าบ้านหลังอื่น และตามการวางผังออกแบบหมู่บ้านในโครงการ ที่ดินของบ้านหัวมุมส่วนมากจึงเป็นแปลงที่มีรูปทรงแตกต่างไปจากการจัดสรรยูนิตทั่วไป
TOUCH Architect ซึ่งนำโดยคุณเอฟ เศรษฐการ ยางเดิม คุณจือ คุณภาพิศ ลีลานิรมล และทีมสถาปนิก เป็นผู้ออกแบบบ้าน COVE(R) ที่เจ้าของบ้านต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านบนแปลงที่ดินซึ่งสามารถต่อขยายออกมาได้อีกประมาณ1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด
โดยบ้านเดิมมีลักษณะสูงสองชั้นมีหลังคาทรงปั้นหยา หันหน้าไปทางทิศใต้ และฝั่งบ้านส่วนที่ต่อเติมอยู่ฝั่งทิศตะวันออกทั้งด้าน มีผนังที่แชร์กับบ้านเดิมฝั่งเดียวทางทิศตะวันตก แปลงที่ดินตั้งอยู่หัวมุมถนนหลักใกล้ป้อมยาม และถนนรองของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นจุดปะทะสายตาของทางสัญจรของรถยนต์
บ้าน COVE(R) ถูกออกแบบจากการใช้งานภายในสู่ภายนอก สะท้อนออกมาผ่านรูปลักษณ์ของตัวบ้าน โดยขยายส่วนต่อเติมออกมาเต็มพื้นที่ ตามการร่นระยะของอาคารที่ถูกกฎหมายไปตามรูปทรงของแปลงที่ดินซึ่งเหมือนเป็นมุมถูกปาดเฉียงออก ส่วนด้านหน้าจึงมีลักษณะปลายแหลมที่แคบกว่าด้านหลังบ้านซึ่งป่านกว้างกว่า ระยะร่นของอาคารจึงถูกปรับให้เป็น Landscape ของบ้าน ที่มีสวน เทอเรสกลางแจ้ง และบ่อน้ำ เป็นพื้นที่สีเขียว เมื่อลักษณะของแปลงที่ดินมีขนาดแคบหรือกว้างแตกต่างกัน องค์ประกอบของแสงจึงเข้ามาเป็นส่วนช่วยให้ส่วนที่แคบดูโปร่งขึ้น โดยเฉพาะห้องเล่นของชั้นล่างนั้นมีการเจาะกระจกขึ้นไปจนถึงใต้ Slope ความเอียงของตัวบันได เพื่อให้แสงธรรมชาติเข้ามามากที่สุด ทั้งด้านข้าง และด้านบน Skylight ของโถงบันได แต่ด้วยเป็นส่วนที่ติดถนน รั้ว Perforated และ Façade ที่ออกแบบให้กลมกลืน ตัวอาคารจึงออกแบบให้มีความกึ่งทึบกึ่งโปร่ง รวมถึงมีต้นไม้ใหญ่ของโครงการช่วยบังสายตา และช่วยบังความร้อน เพื่อให้ผู้ใช้งานหลักของบริเวณนี้สัมผัสแสงแดดทั้งทางตรง และทางอ้อมได้อย่างเหมาะสมตลอดทั้งวัน โดยจากภายในสามารถมองเห็นพื้นที่สีเขียวภายนอกได้ ในขณะเดียวกันก็กันสายตาจากมุมมองบนถนนได้
การจัดสรรการใช้งานภายในบ้านสามชั้น ประกอบด้วยห้องเล่นของสมาชิกรุ่นหลานและห้องนอนบนชั้นแรก มีห้องนอนมาสเตอร์บนชั้นสอง ส่วนชั้นสามมีห้องนั่งเล่น มี Skylight ของโถงบันไดสามเหลี่ยม และมีสวนบนดาดฟ้าถูกออกแบบให้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สีเขียวทดแทนส่วนที่หายไปจากการต่อเติมบ้าน โดยมีทางเข้าออกเชื่อมระหว่างบ้านเดิมและส่วนต่อขยายอยู่ที่ชั้นแรก
ทางสัญจรหลักถูกวางตัวให้ผ่านส่วนที่แคบที่สุดทางด้านหน้า และขนานไปกับรูปทรงของบ้าน ดังนั้นตำแหน่งบันไดขึ้นชั้น 2 และชั้น 3 จึงไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เพื่อให้พื้นที่หลักถูกใช้สอยได้อย่างเต็มที่
เมื่อบ้านมีพื้นที่ใช้งานพอเพียงแล้ว อีกทั้งบ้านในหมู่บ้านมีความสูงเพียงสองชั้น บริเวณชั้นสามจึงลดถอนแมสของบ้านให้ห้องนั่งเล่นที่มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของชั้น ประกอบกับ Façade กึ่งทึบกึ่งโปร่งของบ้านได้ถูกออกแบบให้สร้างความกลมกลืนกับบ้านหลังเดิม และต่อเนื่องกับพื้นที่การใช้งานภายใน ผลลัพธ์ที่ได้จึงทำให้รูปทรงของบ้านออกมามีความน่าสนใจ เหมือนเป็นการสร้างบ้านหลังใหม่ทั้งหลังมากกว่าการต่อเติม
โจทย์การต่อเติมบ้านหัวมุมของ TOUCH Architect ได้ดึงข้อจำกัดของบริบทที่เป็นทั้งจุดเด่นและจุดอ่อนออกมา ถึงแม้รูปลักษณ์ที่ต่อเนื่องจะเป็นโจทย์หนึ่งของการออกแบบ แต่สิ่งสำคัญคือความต่อเนื่องจากบ้านเดิม และการใช้งานอันเกิดจากภายในสู่ภายนอกที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน บ้าน COVE(R) จึงเป็นบ้านที่กลับมุมมองและเปลี่ยนความรู้สึกของการเป็นบ้านหัว “มุมโค้ง” ที่ถูก “ปิดคลุม” ได้เป็นอย่างเป็นที่น่าจดจำ
Links:
TOUCH Architect | Facebook
TOUCH STUDIO | Toucharchitect.com
Project: House COVE(R)
Architect: TOUCH Architect
Lead Architects: Setthakarn Yangderm, Parpis Leelaniramol
Design Team: Pitchaya Tiyapitsanupaisan, Supanan Tangsajjanuraksa, Tanita Panjawongroj
Engineering: Chittinat Wongmaneeprateep
Contractor: DWN Builder
Area: 170 sq.m.
Site Area: 256 sq.m.
Project Location: Bangkok, Thailand
Project Year: 2021
Photographer: Anan Naruphantawat (Studio.Horizon)
House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า
/
“Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน
/
“One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว
/
HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน
By TOSTEM/
บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน
/
เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น
/
แม้ตอนนี้ ศบค. ยังไม่ประกาศล็อคดาวน์ครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ แต่จากแนวโน้มของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ครั้งที่ 2 นี้ก็ส่อเค้าว่าพวกเราอาจต้องกลับไป work from home อยู่กับบ้านให้มากขึ้นกันอีกครั้ง ถ้าหากเกิดขึ้นจริง ทุกคนน่าจะรับมือและปรับตัวให้เข้ากับการทำงานที่บ้านได้ดีขึ้น และกิจกรรมที่เริ่มซาลงไปอย่างการปลูกต้นไม้ การหัดทำอาหาร หรือการออกกำลังกายในบ้านก็จะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นเหมือนเมื่อกลางปีที่แล้ว เช่นเดียวกับการรีโนเวทบ้าน
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )