HIGH BRICK HOUSE BY STUDIOMITI บ้านอิฐทรงสูงเชื่อมพื้นที่ของคู่รักนักบิน | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

HIGH BRICK HOUSE BY STUDIOMITI
บ้านอิฐทรงสูงเชื่อมพื้นที่ของคู่รักนักบิน
Writer : Nada Inthaphunt
Photograph : Spaceshift studio

ณ ด้านหน้าบ้านก่ออิฐสูงสี่ชั้นของย่านพักอาศัย วังหิน เขตลาดพร้าว ได้กลายเป็นสถานที่แปลกตายอดนิยมของผู้คน อาจด้วยความสูงที่โดดเด่นกว่าบ้านในบริเวณเดียวกัน หรือรูปทรงและวัสดุย้อนแย้งกับความรู้สึกปกติที่คนภายนอกอาจมองว่าสวยสะดุดตา แต่มีความพิเศษเฉพาะตัวกับเจ้าของบ้าน

สองสามีภรรยานักบินคือเจ้าของบ้านอิฐทรงสูงได้ติดตามผลงานการออกแบบ Starbucks วังน้อย หนึ่งในผลงานวัสดุอิฐของ Studiomiti จึงติดต่อ คุณเติ้ล เผดิมเกียรติ สุขกันต์ สถาปนิกและหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ ให้เป็นผู้ออกแบบบ้านอิฐโดยถอดออกมาจากความชื่นชอบส่วนตัวของเจ้าของ ซึ่งมีความผูกพันธ์กับบ้านในประเทศอังกฤษที่มีลักษณะภายนอกเป็นบล็อคสร้างด้วยอิฐติดกัน มีชั้นใต้ดินและบันไดเดินเข้าบ้านที่ชั้นสอง

บ้านบนขนาดพื้นที่ 68 ตารางวา ขนาดเล็กซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานและความต้องการ แวดล้อมด้วยชุมชนบ้านเดี่ยวชั้นเดียวหรือสองชั้น เมื่อคุณเติ้ล เผดิมเกียรติ สุขกันต์ ได้มีโอกาสสำรวจพื้นที่พบจุดชมวิวที่ดีตั้งแต่ชั้นสอง ประกอบกับเมื่อข้ามบล็อคถนนเป็นบริเวณสามแยกนำสายตาเห็นได้ทั่วถึง

หัวใจหลักของบ้านคือโถงบันไดเหล็กลอยซ้อนเกลียวทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่บ้านฝั่งหน้าและฝั่งหลังที่ถูกแบ่งเพื่อให้สมาชิกในบ้านเชื่อมโยงกันด้วยสายตา

(ซ้าย) บันไดเหล็กสู่ชั้น 3 และ 4 ถูกวางให้ตำแหน่งเหลื่อมกับบันไดสู่ชั้น 2 เกิดระดับมิติของพื้นที่ลอยเหนือโถง รับแสงธรรมชาติจากสกายไลท์ของชั้น 2 ช่องเปิดด้านหน้าบ้าน และการเรียงผนังอิฐด้านข้างบ้าน
(ขวา) การเรียงอิฐของบ้านมีความพิเศษจากการใช้ช่างเรียงอิฐชำนาญการให้ความหนาของผนังบ้านที่บางลงได้กว่าการเรียงอิฐของบ้านทั่วไป

บ้านอิฐทรงสูงถูกสร้างบนที่ดินบ้านเดิมของเจ้าของซึ่งเคยอาศัยอยู่กับคุณแม่บนพื้นที่ขนาด 68 ตารางวา หันหน้าทางทิศเหนือ หน้ากว้างประมาณ 12 เมตร มีขนาดค่อนข้างเล็กไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ประกอบกับบริบท และสภาพแวดล้อมของบ้านเดี่ยวหนึ่งหรือสองชั้นที่รายล้อม บ้านจึงมีจุดชมวิวที่ดีตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป พื้นที่ถูกออกแบบดันการใช้งานให้สูงขึ้น
ผู้ออกแบบใช้แนวคิดการรักษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกสองคนภายในบ้าน โดยมีโถงบันไดเหล็กลอยซ้อนเกลียวเป็นศูนย์กลางของบ้านเชื่อมพื้นที่การใช้งานส่วนหน้าและหลังบ้านที่ถูกแยกออกเข้าด้วยกัน พื้นที่แต่ละส่วนแบ่งระดับชั้นให้พื้นที่อยู่เหลื่อมกัน เพื่อให้สมาชิกเห็นกันโดยรอบแล้วสามารถมองวิวภายนอกได้ทุกส่วน และทำให้พื้นที่โปร่งโล่ง

บันไดเดินขึ้นสู่ทางเข้าบ้านที่ชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นแรกของพื้นที่อยู่อาศัยให้ความรู้สึกการเข้าบ้านที่เฉพาะตัว เตรียมพื้นที่สำหรับต้นไม้ให้ความร่มรื่น และแทรกฟังก์ชั่นสอดคล้องการใช้งาน และความต้องการเฉพาะตัวที่สร้างบรรยากาศเดียวกับความชื่นชอบของเจ้าของบ้าน

พื้นที่อยู่อาศัยชั้นแรกให้ความโปร่งโล่ง และกระจายแสงได้ทั่วบริเวณ

พื้นที่การใช้งานส่วนหน้า และหลังบ้านถูกแยกและเชื่อมด้วยคอร์ทของชั้นสอง โดยพื้นที่แต่ละส่วนแบ่งระดับชั้นให้พื้นที่อยู่เหลื่อมกัน เพื่อให้สมาชิกเห็นกันโดยรอบแล้วสามารถมองวิวภายนอกได้อย่างไม่ถูกบดบัง

บริเวณห้องนอนของนักบินมีแสงสว่างน้อยให้บรรยากาศกลางคืน เนื่องจากตารางบินที่สามารถมีได้ทั้งกลางวันกลางคืน

ห้องทำงานและอ่านหนังสือ

โถงเชื่อมชั้น 2 และ 3 เชื่อมปฏิสัมพันธ์พื้นที่อยู่อาศัย

(ซ้าย) Walk-in Closet ห้องนอนหลัก ปิดด้วยบานไม้พ่นสีดำซึ่งเป็นสีวัสดุรองภายในบ้าน
(ขวา) ห้องน้ำของห้องนอนหลักเพิ่มช่องแสงธรรมชาติบริเวณรูปด้านของบ้าน

ส่วนของชั้นรองรับความต้องการอเนกประสงค์ เสมือนเป็นพื้นที่เสริมนอกจากการใช้งานหลัก
(ซ้าย) ที่จอดรถประตูปิดอัตโนมัติมีแผ่นเหล็กดำกั้นพื้นที่ระหว่างภายนอกและโถงภายในบ้าน ทำหน้าที่เป็นทั้งรั้วกั้น และเฟอร์นิเจอร์ของบ้าน
(ขวา) ต้นชมพู่ ต้นไม้เดิมของบ้านเก่า ต้อนรับอยู่บริเวณที่จอดรถให้ร่มเงาเป็นพุ่มสูงที่ชั้น 2

ห้องออกกำลังกายและบ่อน้ำช่วงเว้นระยะด้านนอก ห้องซึ่งใส่ตามความชอบและออกกำลังกายเป็นกิจวัตรของเจ้าของบ้าน

ดาดฟ้า ห้องหนังสือและส่วนบริการอเนกประสงค์บนชั้นบนสุดของบ้าน

การดันพื้นที่ให้สูงขึ้น ผู้ออกแบบตัดสินใจเรียงพื้นที่การใช้งานแนวตั้งเรียงตัวขึ้น 4 ชั้น มีพื้นที่อยู่อาศัยหลัก 2 ชั้น โดยชั้นบนสุดและล่างสุดออกแบบเป็นพื้นที่รองรับการใช้งานหลัก ทางเข้าของบ้านถูกออกแบบให้อยู่ที่ชั้น 2 เป็นส่วนเริ่มต้นของพื้นที่อยู่อาศัยเช่นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ธรรมดาหลังหนึ่งที่ประกอบด้วยห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ชั้นถัดไป มีห้องอ่านหนังสือ ทำงาน ห้องนอนสำหรับเจ้าของบ้าน และห้องสำหรับแขกอย่างละห้อง ในขณะที่ชั้นแรกประกอบด้วยที่จอดรถ ห้องออกกำลังกาย เสมือนชั้นใต้ดิน ส่วนชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า ห้องหนังสือและส่วนบริการอเนกประสงค์ สอดรับกับลักษณะบ้านแบบที่ทั้งคู่ชื่นชอบ

บ้านซึ่งใช้อิฐเป็นวัสดุหลักทั้งภายนอก และภายในถูกถอนน้ำหนักด้วยความโปร่งโล่งของพื้นที่ตัดกับวัสดุเหล็กสีดำบางของขอบประตู บันได ราวบันได ชั้นวางของ เมื่อสัมผัสกับแสงธรรมชาติผ่านช่องเปิดและการเรียงผนังอิฐโดยช่างชำนาญการ รวมถึงช่องแสงสกายไลท์เหนือบันไดคับให้พื้นที่ภายในลดความหนักทึบของวัสดุ ประกอบกับการเรียงลวดลายผนังอิฐ และการตัดถอนมวลพื้นที่ภายนอกอาคารเป็นทางเข้า ทำให้มวลอิฐทึบตันของบ้านมีความโปร่งเบาลอยย้อนแย้งแต่พิเศษกว่าเคย

บ้านมวลอิฐที่เกิดจากการเรียงตัวแนวตั้งขึ้น 4 ชั้น 500 ตร.ม. ถูกตัดถอนมวลพื้นที่ทางเข้าเพื่อลดความหนักของวัสดุ ด้วยการยื่นคานเหล็ก 3.5 เมตร ทำให้ก้อนพื้นที่ชั้น 3 และ 4 เสมือนลอยท้าทายแรงโน้มถ่วงกลางอากาศ ในขณะเดียวกันส่งผลให้บ้านโปร่งลอยย้อนแย้งกับความรู้สึก

Studiomiti ออกแบบบันไดหนีไฟตามกฎหมายอาคารสูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไป โดยใช้เหล็กฉีกเป็นวัสดุปิดผิวแทนการปิดทึบ เพื่อให้แสง ลม และน้ำ ทะลุผ่านได้เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิดที่ไม่ได้ใช้งานประจำให้

บริเวณช่องแสงตามระยะร่นใช้เหล็กฉีกที่โปร่งแต่คงทนแข็งแรงเพื่อเป็นอีกหนึ่งส่วนป้องกันความปลอดภัยภายในบ้าน

ชั้น 1 และ 2 ระยะร่นตามกฎหมาย ผู้ออกแบบอาศัยช่องแสงสกายไลท์บริเวณหลังคารับแสงธรรมชาติ ลดความแน่นของกำแพงผนังวัสดุอิฐลง

แผ่นเหล็กดำกั้นระหว่างพื้นที่ เป็นเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ทั้งให้ความโปร่งไม่บดบังแสงและการเชื่อมมองทางสายตา

Studio Miti | Facebook
Project : High Brick House
Architect : studiomiti
Lead Architect : Padirmkiat Sukkan
Architect : Thanwa chantarasena
Interior : Chamaiporn lamaiphan, Atcha chamnanchak, Narinrat Chaichat
Main Contractor : Jarin Detchutrakul
Interior Contractor : Chinnapat Changto
Manufacturers : Lamptitude, At East Lighting, KS Wood, The Mission One, it windows
Area : 500 m2
Project Complete Year : 2021
Project Loacation : Bangkok, Thailand
Photo : Spaceshift studio
    TAG
  • HIGH BRICK HOUSE
  • STUDIOMITI
  • design
  • architecture
  • Residence

HIGH BRICK HOUSE BY STUDIOMITI บ้านอิฐทรงสูงเชื่อมพื้นที่ของคู่รักนักบิน

ARCHITECTURE/RESIDENCE
3 years ago
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • DESIGN/RESIDENCE

    VILLA LAMPHAYA BY POAR บ้านพักตากอากาศเนื้อเดียวกับโครงสร้างและอากาศแวดล้อม

    วิลล่าลำพญา (Villa Lamphaya) บ้านพักตากอากาศใต้ถุนสูงของครอบครัวคุณดิว - ดุลยพล ศรีจันทร์ ดีไซเนอร์และผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ PDM ที่เคยให้สัมภาษณ์ถึงความชื่นชอบของครอบครัวกับแม่น้ำ จนเป็นที่มาของการเลือกที่ตั้งบ้านบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนใกล้ตลาดน้ำลำพญา

    Nada Inthaphunt2 years ago
  • DESIGN/RESIDENCE

    ANN HOUSE BY SUBPER ความเรียบง่ายที่ปิดภายนอกเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ออกมาจากภายใน

    Ann House ออกแบบโดยบริษัทออกแบบ Subper จากแนวคิดสะท้อนลักษณะบุคลิกที่เรียบง่ายแต่มีความสนุกของเจ้าของบ้านออกมาผสมกับพื้นที่การใช้งานของบ้านธรรมดาหลังหนึ่งให้ใช้สอยได้อย่างคุ้มค่า

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/RESIDENCE

    ARTISAN HOUSE BY MOCO แคนวาสผนังอิฐของบ้านผู้หลงใหลในงานศิลปะ

    แม้จะเป็นโครงการต่อเติม แต่เจ้าของบ้านได้ให้อิสระกับผู้ออกแบบโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดเรื่องภาษา และรูปลักษณ์ของบ้านเดิมซึ่งมีคอร์ทกลางบ้าน ผู้ออกแบบจึงวิเคราะห์ความชื่นชอบของเจ้าของบ้านออกมาทั้งเรื่องวัสดุอิฐ เรื่องความชื่นชอบสะสมผลงานออกแบบ และศิลปะหลายประเภทรวมถึงเฟอร์นิเจอร์ หลายคอลเลคชั่นออกมาเป็นแนวคิดในการออกแบบบ้าน

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/RESIDENCE

    บ้านรีโนเวทของ “ช่อง” เรขาคณิตเชื่อมความสัมพันธ์และพื้นที่ของคน 3 รุ่น

    “บ้าน-ช่อง มีที่มาจาก Concept การใช้ช่องแทนทุกอย่างในบ้านซึ่งแยกออกด้วยการมองเห็น ช่องเปิด ช่องแสง ช่องลม และใช้องค์ประกอบหลักเหล่านี้แยกอยู่ตามพื้นที่ของบ้าน” STUDIONOMAD ผู้ออกแบบได้กล่าวอธิบายถึงความที่มาของชื่อบ้าน

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/Architecture

    OB House by THE OTHERS บ้านที่ตอบโจทย์รสนิยมและตัวตนของผู้อาศัย ภายใต้สถาปัตยกรรมมินิมอลที่มีเอกลักษณ์

    บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน

    EVERYTHING TEAM17 days ago
  • DESIGN/Architecture

    เรียนรู้แนวคิด “Karamarishiro” ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลระดับโลก

    หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMa month ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )