LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ทำไมภาพวัดหลังคาจั่วทั่วไปจึงไม่อยู่ในสายตาของพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ที่มอบหมายให้คุณมาโนช สุขชัย สถาปนิกแห่ง Triple One Architects เป็นผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคารใหม่ของวัดศีลมหาสนิท วัดหลังแรกที่สร้างขึ้นในสมัยท่านก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราช เราจึงได้เห็นสถาปัตยกรรมรูปทรงอสมมาตรที่ดูแปลกตา กับเส้นสายตั้งต้นจากพื้นดิน ก่อนไหลโค้งวนเป็นเส้นวงกลมของตัวอาคาร และทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นหอระฆังไม้กางเขนสูง
“พระคาร์ดินัลท่านมีความคิดก้าวหน้าสมัยใหม่อย่างมาก ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนศิลปะผมสมัยเรียนมัธยม ก่อนที่ท่านจะเรียนอยู่ที่กรุงโรม อิตาลีอยู่หลายปี และเข้าสู่เส้นทางการเป็นพระสงฆ์ ในช่วงสเก็ตช์แบบเราวางคอนเซ็ปต์ไว้หลายอย่าง แต่พระคาร์ดินัลท่านสนใจนำแบบสเก็ตซ์ดีไซน์โมเดิร์นที่เล่นกับเส้นวงกลมมาพัฒนาต่อ ซึ่งผมก็คิดในใจว่าลำบากแล้ว เพราะเป็นแบบยาก (หัวเราะ) ”

คุณมาโนชเป็นสถาปนิกที่คร่ำหวอดในวงการออกแบบวัด โรงเรียน และอาคารในพระศาสนจักรคาทอลิคแห่งประเทศไทยมาแล้วหลายแห่ง จึงรู้ดีว่าการออกแบบวัดแต่ละหลังต้องอาศัยการพิจารณาบริบทโดยรอบ รวมทั้งศึกษาถึงประวัติและความหมายของชื่อวัดด้วย ในครั้งนี้ชื่อของวัดศีลมหาสนิทเป็นที่มาของการออกแบบผังพื้นที่อาคารเป็นวงกลมตามรูปทรงของแผ่นศีลที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท โดยอาคารทรงกลมนั้นยังสอดคล้องลงตัวกับพื้นที่ตั้งที่เป็นสามเหลี่ยมได้อย่างดี ที่สำคัญความเชื่อทางด้านศาสนาของคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกยังถูกนำมาขมวดและคลี่คลายสู่รูปทรงของวัดครั้งนี้ด้วย “เราเชื่อว่ามนุษย์เราเกิดมาจากดิน สุดท้ายกายดับก็กลับสู่ดิน ส่วนจิตวิญญาณผู้ทำความดีจะได้ขึ้นสวรรค์ จึงเป็นที่มาของรูปทรงสถาปัตยกรรมที่เหมือนโผล่ออกมาจากพื้นดิน ต่อเนื่องมาสู่บริเวณพื้นที่อาคารโบสถ์ที่เสมือนการจำลองเวทีชีวิตของมนุษย์ โดยยอดหอคอยไม้กางเขนคือสัญลักษณ์การนำไปสู่สวรรค์”
โดยพื้นที่หลักสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้น ประกอบด้วยสักการะสถาน (Sanctuary) ซึ่งจะมีพระแท่นสำหรับให้พระสงฆ์ประกอบพิธีกรรมและอ่านพระคัมภีร์ โดยในส่วนนี้พระคาร์ดินัลเป็นผู้ลงมือสเก็ตช์แบบเอง ด้านบนของสักการะสถานมีประติมากรรมรูปปั้นของพระเยซูและพระแม่มารีในสไตล์โมเดิร์นที่ไม่ใช่รูปปั้นเสมือนจริงทั่วไป โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง ในส่วนนี้สถาปนิกออกแบบให้มีสกายไลท์เป็นช่องให้แสงธรรมชาติส่องลงมาตรงบริเวณรูปปั้นพระเยซูพอดี เพื่อเพิ่มแสงในเวลากลางวัน ในขณะที่ผนังส่วนอื่นของอาคารเป็นโทนขาวเรียบทั้งหมด แต่บริเวณแท่นสักการะปูด้วยผนังอิฐเทียม เพื่อจำลองบรรยากาศเหมือนคอกแกะในอิสราเอลสมัยโบราณที่ก่อด้วยหิน ในส่วนของพื้นที่ชุมนุมภายในโบสถ์นี้สามารถรองรับคนได้ประมาณ 300 คน พร้อมกับมีม้านั่งที่ออกแบบให้โค้งตามพื้นที่ ซึ่งข้อดีของดีไซน์ผนังกระจกเปลือยแบบ frameless ทำให้ผู้ร่วมพิธีที่อยู่ด้านนอกก็สามารถมองเห็นพิธีข้างในได้ชัดเจน
ความโมเดิร์นของวัดแห่งนี้ถูกถ่ายทอดผ่านทั้งรูปทรง โทนสีเรียบสะอาดตา การเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่อย่าง ผนังและหลังคากระจก และระบบหลังคาผ้าใบแรงดึงสูง (Tension Membrane) ซึ่งที่นี่เป็นวัดหลังแรกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ใช้วัสดุนี้ ร่วมกับวัสดุแบบเก่าอย่างผนังหินล้าง ส่วนที่เป็นไฮไลท์ของอาคารที่มองเห็นได้ในระยะไกลนอกจากหอระฆังไม้กางเขนสูงราว 50 เมตรแล้ว ก็คือโครงสร้างหลังคา ที่แดดจะส่องกระทบกับวัสดุโลหะบนหลังคาจะทำมุมหักเหเกิดแสงเงาเหลื่อมล้ำกันไปมาคล้ายเปลือกหอย ภายในยังออกแบบคานให้เป็นเส้นไขว้สอดรับกับความโค้งของหลังคาด้วย
หลังจากใช้เวลากว่า 5 ปีสำหรับขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้าง ในที่สุดวัดหลังใหม่ของวัดศีลมหาสนิทก็ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว “ผมต้องขอบคุณพระเป็นเจ้าที่อยู่เบื้องบน และขอบคุณพระคาร์ดินัลที่มีวิสัยทัศน์ หากท่านไม่เลือกแบบดีไซน์นี้ เราก็จะไม่ได้เห็นงานสไตล์ใหม่เกิดขึ้น ท่านช่วยนำในสิ่งที่เราไม่กล้าทำ ท่านเสมือนเป็นกำแพงให้เราพิงเลยก็ว่าได้ สำหรับผมที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอยู่แล้วนั้น ในการทำงานตรงนี้ผมมีความศรัทธาเต็มร้อย กลั่นกรองอย่างดีที่สุด และต่อให้ยากอย่างไรก็ต้องทำให้สำเร็จจุดประสงค์เพื่อพระเจ้า เพราะผมมีคติว่า งานเป็นของพระ ฉันเป็นเครื่องมือเท่านั้น”
สถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจคริสตชนหลังใหม่แล้ว ยังเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่มีคุณค่าด้านงานสถาปัตยกรรม และทำให้คนสนใจอยากศึกษาคริสตศาสนาในประเทศไทยมากขึ้นด้วย
วัดศีลมหาสนิท สถาปัตยกรรมทรงล้ำสไตล์โมเดิร์น แห่งแรกในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ
/
ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )