LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING


เรื่อง: ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
มิตรรักแฟนศิลปะชาวไทยหลายคนอาจยังไม่ทราบว่า ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยชั้นนําของโลกอย่างพิพิธภัณฑ์ Stedelijk ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น นอกจากจะมีผลงานของศิลปินสมัยใหม่ระดับตํานานของโลกอย่าง วินเซนต์ แวน โก๊ะห์ (Vincent van Gogh), ปอล เซซานน์ (Paul Cézanne), คาซีมีร์ มาเลวิช (Kazimir Malevich) และศิลปินร่วมสมัยชั้นนําของโลกอย่าง เจฟฟ์ คูนส์ (Jeff Koons) และ ยาโยย คูซามะ (Yayoi Kusama) แล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังมีผลงานของศิลปินชาวไทยจัดแสดงอยู่ด้วย ศิลปินผู้นั้นมีชื่อว่า ชวลิต เสริมปรุงสุข (Chavalit Soemprungsuk) ศิลปินร่วมสมัยชายไทยผู้เคยอาศัยและทํางานอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เราได้มีโอกาสไปชมผลงานของเขามานั่นเอง
ชวลิตเป็นนักเรียนศิลปะไทยรุ่นสุดท้ายที่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจบการศึกษา ชวลิตได้รับทุนเล่าเรียนจากกระทรวงวัฒนธรรมแห่งเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะ Rijksakademie van Beeldende Kunsten ในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ชวลิตเริ่มชีวิตศิลปินโดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างงานศิลปะแนวเหมือนจริง (Realistic art) ก่อนที่จะ ค่อยๆ พัฒนาไปสู่งานศิลปะแนวนามธรรม (Abstract art) กว่า 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ชวลิตกลายเป็นศิลปินคนสําคัญในวงการศิลปะนามธรรมและ Non objective art (ศิลปะไร้รูปลักษณ์) ทั้งใน ประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ ด้วยการทํางานที่ใช้องค์ประกอบเฉพาะตัว รวมถึงการใช้รูปทรงเรขาคณิตสีสันสดใส ฉูดฉาด และเส้นสายอันเรียบง่ายในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเส้นตรง มาถ่ายทอดแนวความคิดและความรู้สึกของตัวเองจนกลายเป็นงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานวาดเส้น และศิลปะจัดวางที่มีมิติของสุนทรียภาพอันเป็นเอกลักษณ์และสะท้อนแรงบันดาลใจของประสบการณ์ชีวิตในแต่ละวัย ชวลิตมีงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มทั้งในประเทศไทย, เนเธอร์แลนด์, ยูโกสลาเวีย, โปแลนด์, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ผลงาน Untitled (1971) ของชวลิต ถูกจัดแสดงอย่างโดดเด่นภายในห้องแสดงงานของพิพิธภัณฑ์ Stedelijk เคียงข้างผลงานศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในยุคหลังสมัยใหม่อย่าง แฟรงก์ สเตลลา (Frank Stella), ลูซิโอ ฟอนตานา (Lucio Fontana), ปิแอโร มันโซนี (Piero Manzoni), คาร์ล อังเดร (Carl Andre) และ บาร์เน็ตต์ นิวแมน (Barnett Newman) สิ่งนี้เป็นหลักฐานอันชัดเจนถึงสถานภาพของ ชวลิตในแวดวงศิลปะระดับสากลได้เป็นอย่างดี

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงผลงานของชวลิตให้อยู่ในลักษณะของผลงานแบบมินิมอลลิสม์ (Minimal Gestures) โดยในยุคทศวรรษ 1969 ศิลปินจํานวนหนึ่งถอยห่างออกจากแนวคิดที่มองว่าศิลปะ ต้องอ้างอิงถึงความเป็นจริงภายนอก และหันมามุ่งเน้นในคุณสมบัติอย่าง ความเรียบง่าย ความสอดประสานกลมกลืน และการซ้ํากันของรูปทรง และใช้รูปทรงเรขาคณิตแบบนามธรรม สีสันอันนิ่งน้อยเคร่งขรึมในผลงานของพวกเขา สําหรับศิลปินเหล่านี้ ร่องรอยอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินที่ปรากฏในผลงานเป็นสิ่งที่ไม่มีความสําคัญ ผลงานของพวกเขา (หรือเธอ) มักคล้ายคลึงกับสิ่งที่ถูกผลิตในกระบวนการอุตสหกรรม ดังเช่นศิลปินในกระแสเคลื่อนไหวมินิมอลลิต์อย่าง คาร์ล อัง เดร, โจ แบร์ (Jo Baer), โรเบิร์ต ไรแมน (Robert Ryman) เช่นเดียวกับศิลปินที่ทํางานในรูปแบบมินิมอลลิสต์ แต่ไม่ได้อยู่รวมในกระแสเคลื่อนไหวนี้อย่าง มาเรีย ฟาน เอลค์ (Maria van Elk) และแน่นอน ชวลิต เสริมปรุงสุข นั่นเอง
ผลงานจิตรกรรมสื่อผสมของชวลิตชิ้นนี้ทําจากแผ่นพลาสติกพีวีซีฟอยล์บุนวม เย็บด้วยแม็กเย็บกระดาษ จนเกิดเป็นเส้นสายรูปทรงนามธรรมขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ดูคุ้นตาราวกับเป็นข้าวของเครื่องใช้ในบ้านที่เห็นได้รอบตัวทั่วไปเช่นเดียวกัน

ภายในห้องแสดงงานของพิพิธภัณฑ์ชั้นนําแห่งนี้ยังมีถ้อยแถลงแห่งเจตนารมณ์ทางศิลปะของชวลิตติดเอาไว้เคียงคู่กับผลงานของเขา
ถ้อยแถลงนี้นี่เองที่เป็นถ้อยแถลงเดียวกันในยามที่ชวลิตประกาศมอบทรัพย์สมบัติกว่า 4,000 ชิ้น ที่ประกอบด้วยผลงานศิลปะ หนังสือ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ส่วนตัว และโครงสร้างอพาร์ตเมนต์ของเขาในอัมสเตอร์ดัมให้แก่กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีเงื่อนไขว่าสาธารณชนจะต้องสามารถเข้าถึงทรัพย์สินของเขาได้ทั้งหมด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อศิลปินและคนไทยรุ่นหลัง หลังจากที่เขาจัดนิทรรศการแสดงเดี่ยว “IN AMSTERDAM WITH CHAVALIT SOEMPRUNGSUK” ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน ในปี 2556 ทําให้ต่อมาในปี 2557 ชวลิตได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ในที่สุด
“ตลอดเวลาห้าสิบปีที่ผ่านมา ข้าพเข้าดํารงชีพได้อย่างสุขสบาย มีโอกาสทํางานอย่างเต็มที่จาก ภาษีอากรของประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ทุกคน และจากปัจจัยเหล่านี้ ได้ส่งผลกลับไปรับใช้ประชาชนโดยตรง ผ่านทางนิทรรศการทั่วโลก พิพิธภัณฑ์ สถานที่ราชการของรัฐ โรงพยาบาล โรงเรียน รวมไปถึงในคุก ตลอดจนประชาชนทั่วไปตลอดมาจนถึงทุกวันนี้และตลอดไป
การมอบงาน (Donate) ของข้าพเจ้าทั้งหมดหลายพันชิ้นแก่กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย ใน โอกาสนี้ จึงถือได้ว่าเป็นของขวัญที่วัดค่าไม่ได้จากประชาชนชาวดัตช์ เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยโดยตรง ข้าพเจ้าเป็นเพียงฝุ่นละอองผู้รับใช้ศิลปะอันต่ําต้อย หาได้มีความสําคัญใดๆ เลย ได้รับเพียงความสุข ปิติ ในการที่ได้มีส่วนร่วมเป็นผู้ให้ เพราะไม่มีความสุขอันใดที่จะล้ําเลิศไปกว่า การได้มีโอกาสเป็นผู้ให้สิ่งดีงามต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเดียวกันอีกแล้ว”


ภายในร้านจําหน่ายสินค้าที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์ Stedelijk ยังมีหนังสือ Rest in Progress R.I.P. ที่รวบรวมผลงานศิลปะดิจิทัลและภาพถ่ายของชวลิต เสริมปรุงสุข ตั้งแต่ปี 2556 จัดจําหน่ายร่วมกับหนังสือศิลปะของศิลปินชั้นนําของโลกวางจําหน่ายอยู่อีกด้วย
เรายังมีโอกาสเดินทางไปชมผลงานอีกชิ้นของชวลิตในห้องสมุดในมหาวิทยาลัยเอรัสมุสรอตเทอร์ ดาม (Erasmus University Rotterdam) ซึ่งเป็นผลงานเซรามิกขนาดใหญ่ถึง 90 ตารางเมตร ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ที่ติดตั้งถาวรบนระเบียงของห้องสมุด
โดยชวลิตได้รับมอบหมายจาก วิม สไตรบอช (Wim Strijbosch) ศิลปินชาวดัตช์คนสําคัญซึ่งเป็น เพื่อนของเขาให้เป็นผู้ผลิตผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาในขนาดใหญ่อลังการตระการตา


แต่น่าเสียดายที่เราไม่มีโอกาสได้เห็นผลงานศิลปะสาธารณะชิ้นเด่นของชวลิตอย่าง Windbreker (1987) ที่เขาได้รับการคัดเลือกจากศิลปินจํานวนหลายร้อยคนโดยเทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัม ให้เป็นผู้ออกแบบงานประติมากรรมเพื่อใช้ติดตั้งภายนอกอาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งเมืองอัมสเตอร์ดัมจํานวน 2 ชิ้น โดยชวลิตได้แรงบันดาลใจจากใบกังหันลมของเนเธอร์แลนด์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศนี้มาดัดแปลงใหม่ แต่เมื่อเราไปถึงผลงานสองชิ้นนี้ก็ถูกถอดออกไปจากอาคารศูนย์วัฒนธรรม หลังจากการปรับเปลี่ยนอาคารไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในราวปี 2017
ในวัย 70 ปี หลังจากมอบทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ ด้วยความตั้งใจที่จะเตรียม ตัวไปสู่บทสรุปสุดท้ายของชีวิต ชวลิตเปลี่ยนแนวทางการทํางานจากการทําชิ้นงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ขนาดใหญ่ ไปสู่การทํางานในรูปแบบดิจิทัลบนคอมพิวเตอร์ ในช่วงปี 2556 - 2562 ณ ห้องทํางานศิลปะของเขาในอัมสเตอร์ดัม เขาได้พัฒนาผลงานแนวดิจิทัลและทดลองสร้างงานภาพพิมพ์อิงค์เจ็ตดิจิทัลที่มีเพียงชิ้นเดียวออกมา แต่น่าเศร้าที่ในเดือนเมษายน ปี 2563 ที่ผ่านมา ชวลิตได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าได้รับเชื้อโคโรน่าไวรัส และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในอัมสเตอร์ดัม ก่อนที่จะถึงแก่กรรมอย่างสงบในวันที่ 27 เมษายน 2563 ด้วยวัย 80 ปี เหลือทิ้งเอาไว้แต่แรงบันดาลใจทางศิลปะแก่ศิลปินและคนทํางานสร้างสรรค์รุ่นหลัง
หนังสือ IN AMSTERDAM WITH CHAVALIT SOEMPRUNGSUK โดย สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
หนังสือ ชวลิต เสริมปรุงสุข โดย บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ซิทก้า จํากัด (มหาชน),
บริษัทเงินทุนหลัก ทรัพย์ มหานครทรัสค์ จํากัด (มหาชน)
พิพิธภัณฑ์ Stedelijk อัมสเตอร์ดัม
ขอขอบคุณกองทุนศิลปะชวลิต เสริมปรุงสุข
สนับสนุนการเดินทาง #84chavalitfestival
เยี่ยมชมผลงานของศิลปินร่วมสมัยชาวไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะชั้นนําของโลก Chavalit Soemprungsuk in Stedelijk Museum Amsterdam
/
สเปน เป็นประเทศที่ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่รุ่มรวยด้วยงานศิลปะชั้นเลิศ และเต็มไปด้วย พิพิธภัณฑ์ศิลปะชั้นเยี่ยมในแทบทุกเมือง นอกจากในกรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน ที่ถือเป็นเมือง สําคัญทางศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรปหรือแม้แต่ของโลก อันเป็นที่ตั้งของสุดยอดพิพิธภัณฑ์ที่ถูก ขนานนามว่าเป็น สามเหลี่ยมทองคําแห่งศิลปะ (Golden Triangle of Art) อย่าง พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ปราโด (Museo Nacional del Prado) พิพิธภัณฑ์ทิสเซน-บอร์เนอมิสซา (Thyssen-Bornemisza Museum) และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติไรนา โซเฟีย (Museo Nacional Centro de Arte Reina Sofía) แล้ว ยังมีเมืองสําคัญอีกแห่งในสเปนที่ถือเป็นหมุดหมายของผู้รักศิลปะทั่วโลกที่จะมาเยี่ยม เยือน เมืองนั้นมีชื่อว่าเมือง บิลเบา (Bilbao) ที่ตั้งอยู่ในแคว้นบาสก์ (Basque) แคว้นปกครองตนเอง ของสเปน สิ่งที่ทําให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองสําคัญของคนรักศิลปะทั้งหลายก็คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัย ที่มีชื่อว่า พิพิธภัณฑ์กูเกนไฮม์ แห่งเมืองบิลเบา (Guggenheim Museum Bilbao) ที่สําคัญ ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่ผลงานศิลปะที่จัดแสดงอยู่ ภายในเหมือนพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นๆ หากแต่พิพิธภัณฑ์มีความโดดเด่นตั้งแต่ตัวอาคารเลยก็ว่าได้ เพราะ อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นผลงานการออกแบบของสุดยอดสถาปนิกอเมริกัน-แคนาดา ผู้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสถาปนิกผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในศตวรรษที่ 21 อย่าง แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) นั่นเอง
/
ในอดีตที่ผ่านมา ในแวดวงศิลปะ(กระแสหลัก)ในบ้านเรา มักมีคํากล่าวว่า ศิลปะไม่ควรข้องแวะกับ การเมือง หากแต่ควรเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม สุนทรียะ และจิตวิญญาณภายในอัน ลึกซึ้งมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ศิลปะไม่เคยแยกขาดออกจาก การเมืองได้เลย ไม่ว่าจะในยุคโบราณ ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้นสูงและผู้มีอํานาจ หรือใน ยุคสมัยใหม่ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง หันมามองในบ้าน เราเอง ก็มีศิลปินไทยหลายคนก็ทํางานศิลปะทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสะท้อนและ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างเข้มข้น จริงจัง
/
เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้
/
เป็นอีกปีที่เราได้ไปเยือนจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากจะได้เที่ยวชม Art scene สัมผัสวัฒนธรรมของเมืองแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดแสดง Art Jakarta 2024 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยที่มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนวงการศิลปะร่วมสมัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีสีสันและเป็นที่จับตาของคนรักศิลปะทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2009 เทศกาลนี้มีอะไรน่าสนใจ แล้วทำไมถึงควรค่ากับการกลับไปซ้ำอีกในปีหน้า
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )