CH House I บ้านตึกแถวกลางเมืองกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวของทุกคนในครอบครัว โดย ODDO Architects | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

Shophouse Less Ordinary จากตึกแถวธรรมดาสู่บ้านที่ไม่ธรรมดาซึ่งมีสมาชิกในครอบครัว3 ช่วงอายุคนอาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกันท่ามแมกไม้และโลกส่วนตัวที่ตัดขาดจากความวุ่นวายของเมืองใหญ่

ท่ามกลางความหนาแน่นของประชากรในเมืองหลวง และเสียงจ๊อกแจ๊กจอแจของผู้คนที่ผสานเข้ากับการจราจรอันคับคั่งจนกลายเป็นซาวน์แทร็กเฉพาะตัวของฮานอย ทีมสถาปนิก ODDO Architects ออกแบบบ้าน CH House โดยเปลี่ยนตึกแถวเก่าในย่านการค้าที่พลุกพล่านให้กลายเป็นบ้านซึ่งสมาชิกในครอบครัว 3 รุ่น 3 ช่วงอายุ อาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว

พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านตึกแถวหลังนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือพื้นที่ส่วนร้านค้าซึ่งอยู่บริเวณสองชั้นล่าง และพื้นที่พักอาศัยซึ่งอยู่ในชั้นบนของอาคาร โดยพื้นที่ทั้งสองส่วนนี้แบ่งแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดชัดเจนเพื่อความเป็นส่วนตัวของสมาชิกในบ้าน การแบ่งพื้นที่ร้านค้าและส่วนพักอาศัยนี้จากกันนี้สะท้อนออกมาจนเห็นได้จากภายนอกอาคาร ผนังของพื้นที่สองชั้นล่างเป็นกระจกใสที่เผยให้เห็นบรรยากาศในร้านค้าเพื่อดึงดูดคนเดินถนนที่ผ่านไปมา ในขณะที่ผนังอาคารชั้นบนอันเป็นส่วนของบ้านพักอาศัยเป็นแผงอิฐบล๊อกที่ไม่เผยให้คนภายนอกมองเห็นกิจกรรมภายในบ้าน

ทีมสถาปนิกออกแบบบ้าน CH House ให้มีผนังด้านหน้าสองชั้น โดยชั้นนอกเป็นผนังอิฐบล๊อกช่องลม และผนังชั้นในเป็นเฟรมกระจกใส ด้วยการใช้ผนังสองชั้นผนวกกับกำแพงสีเขียวของต้นไม้ที่แทรกตัวอยู่ในบ้าน ทำให้ความวุ่นวายจากภายนอกถูกกรองจนเหลือเพียงความสงบและร่มรื่นของพื้นที่ภายใน ความร้อนและฝุ่นควันไม่อาจเล็ดลอดผนังสองชั้นและแนวต้นไม้เข้ามาได้ แต่ในขณะเดียวกัน แสงธรรมชาติกับสายลมกลับได้รับการเชื้อเชิญเข้ามาแต่งเติมบรรยากาศภายในบ้านเป็นอย่างดี

ลักษณะหน้าแคบและลึกของตึกแถวไม่ได้เป็นข้อจำกัดในการสร้างบรรยากาศที่ดีภายในบ้านหลังนี้ เพื่อเปิดรับแสงสว่างเข้ามาในอาคารที่มีหน้ากว้างเพียง 4.2 เมตรแต่มีความลึกถึง 35 เมตร ผนังกระจกด้านหน้าบ้านจึงได้รับการออกแบบให้เป็นหน้าต่างขนาดใหญ่ ทำให้แม้แต่พื้นที่มุมในสุดของบ้านก็ยังได้รับแสงสว่างและไม่มืดอับ นอกจากนั้น บานหน้าต่างกระจกใสขนาดใหญ่ยังตัดกับผนังอิฐบล๊อกด้านนอกกลายเป็นลวดลายที่ทำให้บ้านตึกแถวหลังนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ความท้าทายในการออกแบบบ้าน CH House ก็คือการนำเอกลักษณ์ของบ้านตึกแถวตามแบบฉบับของเมืองฮานอยมาปรับประยุกต์เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตสมัยใหม่ นอกจากการแบ่งพื้นที่ชั้นล่างของบ้านเป็นร้านค้าแล้ว อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของบ้านตึกแถวที่ทีมสถาปนิกนำมาใช้ในบ้าน CH House ก็คือลานโล่งกลางบ้านซึ่งทำหน้าที่เปิดรับแสงธรรมชาติและถ่ายเทของลมไปส่วนต่างๆ ในบ้านหลังนี้

เพื่อให้ลานโล่งกลางบ้านทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทีมสถาปนิกออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้มีลักษณะโปร่งและเชื่อมต่อถึงกัน พื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ทั้งห้องนั่งเล่น ห้องสมุด ห้องรับประทานอาหาร และครัว กระจายตัวอยู่ในชั้นต่างๆ โดยที่ฝ้าเพดานในแต่ละห้องมีระดับความสูงที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดผนังที่มองไม่เห็นแบ่งกั้นอาณาเขตของแต่ละห้องโดยไม่ต้องมีผนังปิดทึบ พื้นที่ภายในบ้าน CH House จึงโล่งสบายกว่ารูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นเพียงตึกแถวแคบๆ

การนำธรรมชาติเข้ามาในอาคารเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งในการออกแบบบ้านหลังนี้ ทีมสถาปนิกแทรกพื้นที่สีเขียวใส่ลงไปในตึกแถวด้วยการปลูกต้นไม้น้อยใหญ่กระจายตัวอยู่ตามส่วนต่างๆ ของบ้าน ทั้งในช่องว่างระหว่างผนังสองชั้นด้านหน้า บนชานพักบันได และในลานโล่งที่โถงกลางบ้าน การนำต้นไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารทำให้บ้าน CH House เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย หากยังเป็นทางลัดที่พาสมาชิกในบ้านกลับเข้าไปใกล้ชิดกับธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิตของคนในเมืองใหญ่อย่างฮานอย

โดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวของชาวเวียดนามนั้นแนบแน่นและอบอุ่น การสร้างบ้านเพื่ออยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีสมาชิกหลายรุ่นอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป บ้าน CH House หลังนี้ก็ออกแบบมาภายใต้โจทย์ความต้องการของครอบครัวที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวเวียดนามลักษณะนี้เอาไว้ภายใต้เงื่อนไขของวิถีชีวิตที่กำลังเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและความสะดวกสบายในโลกยุคดิจิทัล

ยิ่งใกล้ชิด...ยิ่งสนิทกัน การทำให้สมาชิกในบ้านซึ่งมีอายุต่างกันทั้งสามรุ่นอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจคือโจทย์ที่ท้าทายสำหรับการออกแบบบ้านหลังนี้ ทีมสถาปนิก ODDO สร้างความสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวกับสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างคนในครอบครัวได้อย่างพอเหมาะพอดี ในขณะที่พื้นที่กิจกรรมส่วนกลางของบ้านซึ่งมีลักษณะเปิดโล่งช่วยเพิ่มโอกาสให้สมาชิกภายในบ้านสามารถพบปะพูดคุยกันได้มากขึ้น เมื่อต้องการความเป็นส่วนตัวทุกคนก็สามารถแยกย้ายเข้าไปในห้องของตนเองได้อย่างมีอิสระ โดยที่ห้องนอนของพ่อแม่และตายายอยู่บริเวณชั้นล่างด้านในสุด ส่วนห้องนอนของลูกทั้งสองห้องอยู่ที่ชั้นบน อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งของห้องนอนลูกที่อยู่ติดกับโถงกลางบ้าน ทำให้ห้องนอนลูกทั้งสองไม่รู้สึกตัดขาดจากส่วนอื่นๆ ในบ้านจนเกินไป

ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงบริบทที่ตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติ ความผูกพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว ขนบธรรมเนียมแบบดั้งเดิมและวิถีชีวิตที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ODDO Architects ออกแบบบ้าน CH House ให้กลายเป็นบ้านตึกแถวที่คน 3 รุ่น 3 ช่วงอายุใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่ที่วุ่นวายได้อย่างสงบสุขท่ามกลางธรรมชาติในโลกส่วนตัวของทุกคนในครอบครัว

CH house
Architects: ODDO architects
Location: Hanoi, Vietnam
built up area: 220 m2
floor area: 700 m2
completed: 06 / 2019
construction time: 14 months
amount of dwellers: 6 members family
Photographer: Hoang Le photography

    TAG
  • CH House
  • ODDO Architects
  • house
  • design
  • architecture

CH House I บ้านตึกแถวกลางเมืองกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวของทุกคนในครอบครัว โดย ODDO Architects

ARCHITECTURE/HOUSE
April 2020
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAMSeptember 2022
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada InthaphuntMay 2022
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAMOctober 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada InthaphuntMay 2021
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada InthaphuntApril 2021
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

    เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

    Nada InthaphuntMarch 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )