NEW FACE
NEW PLACE
SAME SOUL
CADSON DEMAK
EVERYTHING พาเยี่ยมชมสเปซทำงานแห่งใหม่ของ “คัดสรร ดีมาก” พร้อมการก้าวสู่ปีที่ 16 ของบริษัทออกแบบตัวอักษร (ฟอนต์) ที่เปรียบเหมือนนักกีฬาผู้ทุ่มเทลงสนามอย่างหนักมาตลอด จนกลายเป็นผู้เล่นหลักในวงการออกแบบฟอนต์ในประเทศไทย คำว่า “คัดสรร ดีมาก” ที่มีหมายความว่า “ถูกเลือกมาอย่างดี” เรามองว่าเป็นแนวคิดหลักของทุกอย่าง ทั้งการประดิษฐ์ฟอนต์อย่างดีให้ตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกยุคสมัย การคัดสรรทีมงานผู้เชี่ยวชาญมาอย่างดีเพื่อให้บริการครบวงจรตั้งแต่ Type Design, Graphic Design และ Communication Design รวมถึงการคัดเลือกพื้นที่ทำงานใหม่อย่างดี เพื่อรีเฟรชตัวเองพร้อมแอดติจูดใหม่ในการทำงานกับก้าวต่อไปของ คัดสรร ดีมาก
การขยายเติบโตของ คัดสรร ดีมาก ในวันนี้
จากสตูดิโอขนาดย่อมที่ก่อตั้งในปี 2002 โดย พงศ์ธร หิรัญพฤกษ์, บุรินทร์ เหมทัต และ อนุทิน วงศ์สรรคกร มาในวันนี้ คัดสรร ดีมาก ได้ก้าวเติบโตอย่างมากพร้อมมีพาร์ทเนอร์ ใหม่กับกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วย บริษัท คัดสรร อักษร : ดูแลงานออกแบบและผลิตฟอนต์ ทั้งภาษาไทย ละติน และภาษาเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท สมรรถภาพ : ดูแลงานออกแบบเพื่อการสื่อสารผ่านภาพ (ที่มีสมรรถภาพ) ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ ตราสัญลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ บริษัท สารพัด คัดสรร : การสร้างและบริหารจัดการเนื้อหา รวมถึงจัดกิจกรรมต่างๆ และสุดท้าย บริษัท กะทัดรัด อักษร : ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เป็นโพสโปรดักชั่นฟอนต์แห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศไทย
“ทำไมเราถึงต้องแยกออกมาเป็นบริษัทลูก เพราะลูกค้าต้องการ One Stop Service ที่สามารถทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ และเราไม่ได้ออกแบบ Corporate Typeface หรือ Custom Typeface เท่านั้น แต่ยังมีทีมวิชวลดีไซน์ กราฟิกดีไซน์ และคอมมิวนิเคชั่นดีไซน์ด้วย การทำงานจะเป็นลักษณะแลกเปลี่ยนเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยเริ่มที่ความรู้ ความสามารถระหว่างบริษัทที่ถูกแชร์กันภายในตลอดเวลา ไม่ว่าใครในบริษัทฯ จะไปขายงานก็จะสามารถพูดถึงบริการของเราได้ ทำให้ลูกค้าเชื่อใจ มั่นใจในศักยภาพในทุกๆ โปรเจกท์ เช่น ลูกค้าที่เข้ามาทางสมรรถภาพ เพื่อทำ Corporate Identity เราก็จะ เสนอแนะสินค้า และบริการของทาง คัดสรร อักษร ถ้าหากลูกค้าทำ Custom Font ก็สามารถแนะนำบริการออกแบบการนำไปใช้ หรือ Typography Guidelines สำหรับ Branding ได้เช่นกัน นอกจากนี้เรามี สารพัด คัดสรร ที่สามารถบริหารจัดการ เรื่องของคอนเทนต์ จนถึงจัดอีเว้นท์เสริมภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งแน่นอนว่าวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบงานย่อมมาจาก Shelf ในบ้านของเราเอง”
จาก 15 ปีที่อาคารคาอูลินแนวโคซี่ สู่ปีที่ 16 บนตึกออฟฟิศทันสมัย
จากเดิมที่ตั้งของ คัดสรร ดีมาก บนอาคารคาอูลินเป็นแนว Cozy ในโทนสีเย็นอย่างน้ำเงินและน้ำตาล ที่ให้บรรยากาศเหมือนล็อบบี้โรงแรม พร้อมพื้นที่กว้างขวาง อีกทั้งโต๊ะทำงานยังถูกแบ่งด้วยพาร์ทิชั่น ทำให้แต่ละคนมีพื้นที่ทำงานของตัวเองมาก (เกินไป) จนเหมือนต่างคนต่างอยู่ การย้ายสเปซออฟฟิศใหม่มาอยู่บนตึกภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ นอกจากจะเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ (แต่ยังคงความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแบบออฟฟิศของ คัดสรร ดีมาก อยู่) สิ่งสำคัญคือ พื้นที่ใหม่นี้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานของ คัดสรร ดีมาก ในปัจจุบันได้ดีกว่าเดิม
“ถึงแม้เราจะแยกบริษัทกัน แต่ในการทำงานต้องประสานร่วมกันอยู่ และพื้นที่ออฟฟิศใหม่ก็เอื้อให้เรามีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้มากขึ้น เกิดการ Synchronise และกลมกลืนกันมากขึ้นในออฟฟิศ เรามองว่าพื้นที่มีผลกับงานที่ออกมา และมีผลกับทัศนคติของคนที่อยู่ใช้พื้นที่ และหวังว่าพื้นที่ใหม่จะเปลี่ยนทัศนคติใหม่ในการทำงานได้”
New Face, New Place, Same Soul
“New Face คือการย้ายที่ตั้งออฟฟิศใหม่ พร้อมแอดติจูดใหม่ โดยมีคนทำงานรุ่นใหม่ๆ เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ด้วย ส่วน Same Soul คือ คงแก่นแนวคิดความเป็น คัดสรร ดีมาก ในหลักการใช้เหตุและผลเหมือนเดิม เพียงแต่ไอเดียที่จะใช้ในเชิงปฏิบัติสามารถปรับเปลี่ยนไปได้”
ออฟฟิศที่ใช้พื้นที่น้อยลง และพึ่งเทคโนโลยีมากขึ้น
“เราเป็นบริษัทที่ต้องใช้พื้นฐานจากเทคโนโลยี ดังนั้นการทำงานจึงต้องทันสมัยตามเทคโนโลยีด้วย คือใช้รูปแบบเป็น Office in the Cloud คือตั้งโปรเจกท์ไว้บน Cloud คนทำงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถอัพโหลดงาน อัพเดทงาน ตรวจงานได้เลย ช่วยลดขั้นตอนการติดต่อสื่อสารในการทำงานลงได้ ตอนนี้เราก็ใช้วิดีโอคอลสำหรับประชุมทางไกลผ่านออนไลน์ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในประเทศ หรือติดต่อลูกค้าต่างประเทศ สำหรับเป้าหมายในอนาคตอยากให้เป็น Remote Working เต็มตัว และลดเวลาการทำงานให้เหลือ 4 วันต่อสัปดาห์”ความแตกต่างระหว่างฟอนต์ยุคสิ่งพิมพ์ กับฟอนต์ยุคดิจิทัล
“เมื่อก่อนผู้ออกแบบฟอนต์สนใจเรื่องความสวยงามเวลาไปปรากฏบนสิ่งพิมพ์ แต่ตอนนี้เทคโนโลยีเปลี่ยน เราไม่รู้เลยว่าปลายทางการแสดงผลของฟอนต์บนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นนั้นจะไปปรากฏบนหน้าจอแบบไหนที่มีหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น มือถือ ไอแพ็ด คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่มือถือแต่ละค่ายก็ยังแตกต่างกัน ทำให้เราต้องกำหนดน้ำหนักหรือขนาดของฟอนต์ให้ละเอียดยิบย่อยกว่าเดิม จะมีแค่ Regular / Light / Bold เหมือนก่อนไม่ได้แล้ว เพราะในขนาดจอที่มีหลากหลายขนาด บางครั้งจึงต้องการขนาด Regular ที่หนาไม่เท่ากัน จึงทำให้การเรียกน้ำหนักอาจจะเปลี่ยนเป็น 100 200 300... แทน ทำให้ฟอนต์ที่แสดงผลเป็น Screen Base ซับซ้อนกว่า Print Base เยอะมาก” ตอนนี้ในประเทศไทย คัดสรร ดีมาก จึงเป็นบริษัทเดียวที่ทำ Manual Hinting หรือเป็นฟอนต์ที่ซัพพอร์ทการแสดงผลบนหน้าจอ
ทำไมประเทศไทยจึงขาดผู้เล่นหน้าใหม่ในสนามการออกแบบฟอนต์
“หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าการทำฟอนต์ เป็นเรื่องของกราฟิกดีไซน์เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีเรื่องทางเทคนิคเบื้องหลังอีกมากมาย ทั้งเรื่องการ Coding การเดินเส้น การวางจุด เป็นต้น กราฟิกดีไซเนอร์มักจะถือชุดความคิดที่เข้าใจผิดเหล่านี้มาจากมหาวิทยาลัย ทำให้เราต้องใช้เวลาล้างชุดความคิดนี้ออกให้หมดว่า Graphic Designer กับ Type Designer นั้นแตกต่างกัน กว่าจะสามารถทำฟอนต์ให้ใช้งานได้จริง ส่วนใหญ่ต้องทำงานที่ คัดสรร ดีมาก ก่อนประมาณ 1 ปี จึงจะพอเริ่มทำเป็นและช่วยงานได้ (แต่ยังจบโปรเจกท์เองไม่ได้) โดยช่วงหลังจาก 6 เดือนขึ้นไปก็จะเริ่มเห็นแววว่าคนนั้นสามารถทำเป็นมืออาชีพได้หรือไม่ แต่หลายๆ คนก็จะสอบตกในช่วงนี้ เหมือนกับคนทำอาหารเป็น การทำอาหารให้คนที่บ้าน กับเปิดร้านอาหารก็คนละเรื่องกันเลย ตอนนี้หานักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ได้ยาก (ที่ใช้งานจริงได้)”พวกเขาเสริมว่า นอกจาก Type Designer ที่หายากแล้ว อาจารย์ที่สอนด้าน Type Design ก็หายากด้วย “นอกจากระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจะตามเรื่องความเข้าใจพื้นฐานไม่ทันแล้ว ยังตามเทคโนโลยีของหน้าจอที่มีหลากหลายแบบมากไม่ทันอีก ทำให้ขาดบุคลากรด้าน Type Design โดยปริยาย ในขณะที่เราอยากให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ เข้ามาเติมในอุตสาหกรรมฟอนต์ใจจะขาด ซึ่งเราไม่ได้ละเลยปัญหาตรงนี้ และพยายามเผยแพร่ความรู้เชิงเปิดมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือ จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปต่างๆ รวมทั้งแชร์เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และกำลังวางแผนพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทด้าน Type Design โดยตรงร่วมกับมหาวิทยาลัยชื่อดังในอนาคตด้วย”ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นมีโอกาสครองความสำเร็จในยุคดิจิทัลนี้ รู้หรือไม่ว่าแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Google, Microsoft และ Apple เมื่อต้องการสร้างแบรนด์ดิ้งหรือทำการตลาดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังต้องเรียกหา คัดสรร ดีมาก ในขณะที่ตลาดฟอนต์ขาดบุคลากรเพื่อรองรับงานตั้งแต่สเกลในประเทศจนถึงอินเตอร์เนชั่นแนล แต่จวบจนถึงทุกวันนี้ก็ดูเหมือนว่า คัดสรร ดีมาก ยังคงเป็นผู้นำเดียวในวงการนี้อยู่
TAG
design studio font typography vdo NEW FACE NEW PLACE SAME SOUL
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
PEOPLE / STUDIO VISIT
‘Snappy Studio’ จากคลับเฮ้าส์ร้างอายุกว่า 30 ปี สู่พื้นที่สร้างสรรค์ของคนมันๆ ใจกลางหมู่บ้าน
ห้องแล็บลับใต้ดิน ศูนย์บัญชาการอวกาศในหนัง Space Age ลานโรลเลอร์สเก็ตยุค 80s... นี่คือสิ่งที่กำลังตีกันยุ่งเหยิงในหัวเราเมื่อเห็นอาคารหน้าตาแปลกประหลาดลักษณะเป็นโดมกระจกครอบไว้ด้านนอกผุดขึ้นมากลางลานสโมสรของหมู่บ้าน แต่เมื่อเดินลงบันไดที่ซ่อนอยู่ตรงนั้น ทอดยาวไปสู่ชั้นใต้ดินด้านล่าง เรากลับพบความรู้สึกประหลาดยิ่งกว่า!
Nat Lelaputra January 2024
DESIGN / STUDIO VISIT
เช็คอินสตูดิโอดีไซน์ระดับตำนานสัญชาติดัตช์ droog
ในครั้งแรกที่เรามีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากความตั้งใจในการชมงานศิลปะชั้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกที่นี่แล้ว ความหวังอีกอย่างคือการได้เยี่ยมเยือนสตูดิโอดีไซน์ในดวงใจของเรามาเนิ่นนาน สตูดิโอแห่งนี้มีชื่อว่า droog นั่นเอง
Panu Boonpipattanapong 2 years ago
DESIGN / STUDIO VISIT
‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอที่ออกแบบ ‘บ้าน’ บนความหลากหลาย และเป็นอะไรก็ได้ตามใจผู้อยู่
‘DOT.X’ ดีไซน์สตูดิโอ การรวมตัวกันของคนเจนฯ ใหม่ที่ทำงานบนความหลากหลาย ลื่นไหล และพร้อมปรับตัวไปกับทุกภารกิจที่ถาโถมเข้ามา เพื่อจัดการความชอบของผู้คนให้เข้าที่เข้าทาง
Nat Lelaputra February 2023
DESIGN / STUDIO VISIT
เยือนแหล่งกำเนิด “King of Watch” ของญี่ปุ่น ก้าวสู่นาฬิกาเรือนหรูระดับโลกในนาม “Grand Seiko”
ก่อนที่ทุกคนจะได้สัมผัสนาฬิกาชั้นสูงเรือนจริงที่บูทีคของ Grand Seiko แห่งแรกในประเทศไทย ที่เกษรวิลเลจ เราจะพาเจาะลึกไปยังเบื้องหลังแหล่งกำเนิดที่จะตอบคำถามได้ว่าทำไมนาฬิกา Grand Seiko จึงได้รับการยกย่องให้เป็นหัตถศิลป์แห่งเครื่องบอกเวลาระดับโลกที่คู่ควรแก่การสะสมและครอบครอง
EVERYTHING TEAM 6 years ago
DESIGN / STUDIO VISIT
ตุ่ย - ขวัญชัย แห่งแผลงฤทธิ์ กับความอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด
ครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่คุณตุ่ย - ขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกแผลงฤทธิ์ ปรากฏตัวในหน้าสื่ออีกครั้ง หลังจากหมกมุ่นอยู่กับการทดลองเพื่อค้นหามุมมองใหม่ๆ ที่ลงลึกไปมากความงามภายนอกของงานสถาปัตยกรรม เพื่อความยืนหยัดอยู่รอดของอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัด
EVERYTHING TEAM 6 years ago
DESIGN / STUDIO VISIT
STUDIO VISIT JUNSEKINO A+D
ภายใต้บรรยากาศบ้านๆ สถาปนิกและนักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานที่มีมากกว่าบ้าน ภายใต้ชื่อสำนักงานจูน เซคิโน อาร์คิเทคต์ แอนด์ ดีไซน์ บ้านเก่าที่ยังคงเอกลักษณ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรม Post Modern ซึ่งมักจะเห็นในบ้านจัดสรรยุค 60-70
EVERYTHING TEAM 6 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
SUBMIT
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION