LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
MODERN ARCHITECTURE
ด้วยความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองทำให้บริบทต่างๆ ถูกเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้ก้าวทันไปตามยุคสมัย ส่งผลมายังตัวแทนแห่งอดีตที่ถูกรื้อถอนทำลายไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วกับสิ่งที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการความเป็นไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย อย่างสถาปัตยกรรมที่สถาปนิกดาวรุ่งแต่ละคนได้ฝากฝังผลงานของพวกเขาเอาไว้ ในขณะที่อาคารทรงคุณค่าค่อยๆ หายไป ก็ยังมีคนที่ผูกพัน หลงใหล และไม่อยากให้สถาปัตยกรรมเหล่านี้ต้องหายไปจนคนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จัก
เป็นอาคารสมัยใหม่ในประเทศไทยที่อยู่ในยุคประมาณ 1930 -1980 มีความสำคัญในแง่ที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่เห็นพัฒนาการต่อเนื่องของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นหน้าหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคมยุคนั้น หลังจากเกิดสงครามโลกแล้ว เศรษฐกิจซบเซาต้องรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ การเมืองการปกครองเริ่มเปลี่ยนระบอบใหม่ทำให้บ้านเมืองเปลี่ยนไป แต่ ณ ปัจจุบันที่น่าตกใจคือมันกำลังถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ คือ สถานทูตออสเตรเลีย ตึกโชคชัยตรงสุขุมวิท 26 หรืออาคารกรุงศรีตรงหัวมุมเพลินจิต มันน่าใจหายตรงที่เราหลงลืมอาคารยุคนี้ไป ก็เลยรวบรวมเป็นเพจขึ้นมา พยายามเก็บเป็น Photo Documentary
ด้วยความที่ผมมีแบ็คกราวน์เคยเรียนสถาปัตย์มา เราเลยใส่ข้อมูลของแต่ละอาคารเป็นเหมือนช็อตโน้ตของตัวเองด้วย พอถึงวันนึงผมแบ่ง Category ได้ง่ายว่าสถาปนิกคนนี้ออกแบบกลุ่มอาคารประเภทนี้ เขามีซิกเนเจอร์มีลายเซ็นในการออกแบบยังไง หรือถ้าจะเอาอาคารเหล่านี้มาเรียงเป็นไทม์ไลน์ พ.ศ. ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มันจะเห็นอะไรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
ตอนแรกๆ มันจะเป็นเชิงงานอดิเรกซะมากกว่า ตอนหลังเริ่มพัฒนาเป็นโปรเจคท์จริงจัง พอมีข้อมูลหรือรูปเยอะมากขึ้น ผมเลยต้องจัดข้อมูลใหม่ อยากรู้มากขึ้นว่าตึกนี้ใครเป็นคนออกแบบ ก็เลยไปค้นข้อมูล เกิดเป็นขั้นตอนของการรีเสิร์ชขึ้นมา ถ้าจะแบ่งจริงๆ ตอนนี้จะเป็นสามขั้นตอนหลักๆ คือ รีเสิร์ชก่อน สองออกไปถ่าย สามเอารูปกลับมาตกแต่งใหม่ ซึ่งขั้นตอนที่ยาวนานก็คือการรีเสิร์ชครับ จริงๆ มีทำฐานข้อมูลเอาไว้ประมาณ 200-300 กว่าอาคาร แต่บางส่วนถูกทำลายไปบ้าง ถ่ายไม่ทัน หรือถูกเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เห็นความงามเดิมแล้วก็มี พยายามเก็บให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ
เรายังคงชอบความออริจินัลในยุคนั้น เข้าใจว่าปัจจุบันมันต้องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่บางส่วนถูกดัดแปลงแล้วมันน่าเสียดาย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ธนาคารบางธนาคารที่มีองค์ประกอบด้านหน้าสวยๆ บางทีเขาเอาป้ายโฆษณาไปปิดหมดเลย ของสวยๆ เหล่านั้นกลับถูกซ่อนอยู่ภายใต้แผ่นไวนิล ก็แอบเสียดายนิดนึง บางอาคารย้อนไปดูรูปถ่ายเดิมสเปซดีมาก แต่ปัจจุบันมีตึกใหม่ขนาดใหญ่โตสร้างใกล้ๆ พอเทียบกับอาคารเดิมแล้วคนละสเกลกัน มันทำให้ความสวยงามลดน้อยลงไป
ผมเริ่มสนใจอาคาร Brutalism อยู่ในยุคโมเดิร์นปลายๆ ความโดดเด่นของมันคือรูปทรงคอนกรีตที่หนักแน่น แต่ Brutalism ในเมืองไทยมีน้อย เลยขยายขอบเขตของงานไปที่อาคารยุค Modern แม้อาคาร Modern ยุคแรกๆ รูปทรงไม่ได้น่าตื่นตาตื่นใจมากเท่า Brutalism แต่แนวคิดและอิทธิพลของอาคาร Modern นั้น ส่งผลต่อเนื่องมาถึงการออกแบบในยุคปัจจุบัน
หนึ่งในคอนเซ็ปต์สำคัญของ Modern คือเรื่องสัจจะวัสดุตั้งใจเปลือยผิวคอนกรีตโชว์ความแข็งแรง ที่ขั้นตอนการเทคอนกรีตก็ตั้งใจทิ้งร่องรอยไม้เอาไว้ เพื่อให้เกิดพื้นผิวหยาบกร้านมันเป็นแฟชั่นของยุคสมัยนั้น สมัยนี้คงไม่นิยมแล้ว ผมคิดว่าความย้อนแย้งอีกอย่างคือคอนกรีตเป็นวัสดุที่หนักมากๆ แต่สถาปนิกยุคนั้นต้องการออกแบบให้ดูเบาไร้น้ำหนัก สามารถยื่นโครงสร้างออกไปได้กว่าที่เราคาดหมาย บางแห่งทำแผ่นหลังคาให้บางราวกับกระดาษ มันฉีกกฏของวัสดุต่างๆ ทำให้สถาปนิกต้องหาอะไรที่แหวกแนวออกไป มีความท้าทายกว่าเดิม
นอกจากในประเทศไทยยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่ผมสนใจ เช่น อินเดีย กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น พอเรามองภาพที่กว้างขึ้น หรือบริบทที่ใหญ่ขึ้นเราจะได้เห็นอะไรบางอย่างที่สัมพันธ์กัน เห็นว่าสถาปนิกแต่ละประเทศในยุคนั้น เขาไปร่ำเรียนจบมาจากประเทศไหนแล้วเขากลับมาพัฒนาประเทศตัวเองอย่างไร เขาได้รับอิทธิพจากชาติอะไรมา
ชอบที่สุดคือตึกฟักทองที่หาดใหญ่ เพราะประทับใจคนออกแบบคือ คุณอมร ศรีวงศ์ เป็นคนออกแบบที่มีหัวก้าวหน้ามาก แม้จะไม่ได้เรียนจบสถาปัตย์มาโดยตรง แต่อาศัยประสบการณ์ในแวดวงการก่อสร้างสามารถสร้างงานล้ำสมัยได้ขนาดนี้ ถ้าประเทศใกล้เคียง ชอบที่กัมพูชาครับ สถาปนิกชื่อ Vann Molyvann คนนี้ก็ดังระดับโลกเหมือนกัน ถ้าในวงการ Modern Architecture ต้องยกย่องให้เขาเป็นเบอร์ต้นๆ ในภูมิภาคนี้เลย เขาเป็นสถาปนิกกัมพูชาที่ไปเรียนที่ฝรั่งเศส และกลับมาพัฒนาประเทศในยุคที่กำลังสร้างชาติ งานเขาหลายๆ ชิ้นยังอยู่ในเขมร ถูกทุบไปบ้างก็มี สถานการณ์พอๆ กับบ้านเราเลย ผมว่าสถาปนิกทั้งในไทย เขมร หรือในละแวกนี้ พอเรียนจากต่างประเทศ เขาได้รับทั้งความรู้และอิทธิพลแต่ไม่ได้เอามาใช้ตรงๆ มีการดัดแปลงเพื่อให้เหมาะกับภูมิประเทศหรือภูมิอากาศ โดยเฉพาะเรื่องแดดและฝนเป็นสิ่งสำคัญ มันเลยสร้างเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Tropical Modernism ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น อาคารศรีเฟื่องฟุ้งตรงสวนลุมฯ มีการออกแบบแผงกันแดดที่เหมาะกับการใช้งานในยุคนั้น สามารถบังแดดได้ดี ขณะเดียวกันก็เป็นช่องระบายลมให้ลมพัดถ่ายเทได้
ความโดดเด่นของที่นี่น่าจะเป็นเรื่องของห้องบรรยายที่อยู่ด้านหน้า สถาปนิกคุณองอาจ สาตรพันธุ์ ออกแบบให้ห้องบรรยายมีเก้าอี้เป็นขั้นบันไดหลดหลั่นลงมา แล้วปล่อยให้พื้นห้องด้านนอกอาคารไม่มีเสามารับน้ำหนัก เสมือนเป็นคอนกรีตที่ลอยได้
เคยแอบถามคนอื่นที่อยู่นอกวงการสถาปัตย์เหมือนกันว่าเขามองตึกพวกนี้ยังไง บางคนก็บอกว่าเป็นตึกเก่าๆ ไม่ได้มีอะไรน่าสนใจ เห็นผ่านๆ ตา ไม่ได้รู้สึกประทับใจ แต่พอมาเห็นรูปถ่ายของเรา ทำให้เขากลับไปมองตึกนั้นใหม่อีกที พอตั้งใจดูก็เห็นความงามของยุคสมัย ผมก็ดีใจที่ได้ใช้ความสามารถในการถ่ายรูป ทำให้บางคนตระหนักถึงคุณค่าของอาคารเหล่านี้
โปรเจกท์ที่อยากให้เกิดขึ้นคือ นิทรรศการเกี่ยวกับอาคารยุคโมเดิร์นในประเทศไทย แล้วในปลายปีนี้โครงการ mASEANa Project เครือข่ายด้านการอนุรักษ์อาคารยุคโมเดิร์นในภูมิภาคอาเซียนนี้ กำลังจะจัดประชุมวิชาการที่เมืองไทยพอดี ก็อยากให้คนทั่วไปรับรู้ถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอาคารยุคนี้
SAVING THAI MODERN ARCHITECTURE
/
พื้นที่ที่เอาความหลงใหลในเรื่องของกาแฟกับเฟอร์นิเจอร์วินเทจมารวมอยู่ด้วยกัน
/
สิ่งที่ทำให้วัสดุมีคุณค่าอาจอยู่ที่เรื่องราวการกำเนิดของวัสดุนั้นๆ แต่การกำเนิดในครั้งนี้กลับเป็นวิธีย้อนกระบวนการความคิด
/
ความแตกต่างทั้งความสว่างและความมืดในภาพเดียวกัน
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )