LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
Boy Toys Community ผลงานออกแบบล่าสุดจาก Hypothesis

BOOSTจังหวะที่เครื่องยนต์กระตุ้นให้รถทำความเร็วขึ้นในอีกระดับหนึ่ง กลายมาเป็นสถานที่ซึ่งคอยผลักดันให้ไม่ว่าเครื่องจักรหรือมนุษย์สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดไปสู่อีกขั้น มองในอีกมุม Booster ของรถก็สามารถเปรียบเป็นสถานที่อัดฉีดพลังให้คนที่ได้เข้ามาใช้งานนั่นเอง

ตัวอักษรบน Facade คือส่วนประกอบหนึ่งของฟาซาด ซึ่งมีคลับคล้ายกับโลโก้ ที่เมื่อมองจากด้านนอกคือป้าย แต่พอไปอยู่ภายในพื้นที่ตัวอักษร นี้เองจะทำหน้าที่เรืองแสงเป็นอินทีเรียของสเปซช่วงเวลากลางคืนด้วย
การตั้งคำถามในครั้งนี้ของสตูดิโอออกแบบที่ทำงานบนสมมติฐานอย่าง Hypothesis เกิดขึ้นเมื่อโครงการมีจุดเริ่มต้นจากวงจรการทำธุรกิจดูแลทีม Racing แล้วขยายสู่โปรแกรมที่หลากหลายอันครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของเจ้าของโครงการไว้ในที่เดียว เมื่อรวมกับข้อจำกัดของพระราชบัญญัติควบคุมอาคารในเขตสะพานสูงแล้ว ทำให้ลักษณะของโปรแกรมต้องถูกกระจายออกเป็นกลุ่มอาคาร ที่ทางทีมออกแบบได้มีส่วนร่วมตั้งแต่การคิดชื่อ ทำโปรแกรม ทำแบรนดิ่ง การออกแบบสถาปัตยกรรม จนถึงการคิดข้ามขั้นไปจนถึงเมื่อเวลาที่ธุรกิจสิ้นสุดลง ในวันที่สิ่งที่ลงทุนไปจะกลับมาเป็นเม็ดเงินได้ในภายหลัง
ความสัมพันธ์ของโปรแกรมมีที่มาจากวิถีชีวิตและการทำงานของเจ้าของโครงการ ซึ่งนอกจากจะมีอาชีพนักธุรกิจแล้วเขายังเป็นนักแข่งรถ ส่วนโปรแกรมเริ่มต้นหลักจึงเป็นสิ่งที่ซัพพอร์ตทีมรถแข่ง BOOST Racing ที่ใช้เป็นฐานทัพหลัก ประกอบด้วย ส่วนซ่อมบำรุง ห้องทดสอบ Engines Performance และ Dynamometer ที่กันไฟกันเสียง ซึ่งภายในมีห้อง Control กันระเบิดจากเวลาทดลองเพื่อเรียกแรงม้าเพิ่มภายในห้องมีอุปกรณ์ครบครันมากที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ยังมีห้อง Fiber สำหรับซ่อมแซมความเสียหายหลังการชน บริเวณเดียวกัน นี้ยังมีโปรแกรมบริการที่มีความต่อเนื่องจากการใช้งานส่วนแรกกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ คือ ล้างรถ เคลือบแก้ว ซ่อมบำรุง







BOOSTER’S BAR ที่มีช่วงเทิร์นของเวลาในเวลากลางวันและกลางคืน โดยเฟอร์นิเจอร์และของลอยตัวนั้นเจ้าของโครงการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ สัมผัสกับมนุษย์โดยตรง เพื่อคนที่เข้ามาใช้งานสามารถรู้สึกได้ถึงคุณภาพและ ความเอาใจใส่








ภาพรวมทั้งหมดมีภาษาความเป็น Masculine ในแบบ Industrial ที่มีความ Luxury โดยใช้สีเทาเข้มดึงพลังตื่นตัวของสีส้ม และใช้เอฟเฟกต์ของตาข่ายชุบกัลป์วาไนซ์วางซ้อนหลายๆ ชั้น เป็น Façade อาคารที่มีลูกเล่นเป็นภาพลวงตา Muller-Lyer จากสิ่งที่ทำน้อยๆ แต่สามารถส่งพลังจากสิ่งที่อยู่ให้รู้สึกว่ามันขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา บนโครงสร้างของโครงการที่เป็นเหล็กทั้งหมดทำหน้าที่เป็นตัวอาคารที่ห่อหุ้ม และสร้างพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์โปรแกรม และกฎหมายเท่านั้น





Project : BOOST FITNESS BKK
Owner : BBC Leasing Co., Ltd
Architect/Interior/Branding : HYPOTHESIS
Special Thanks : Manatspong Sanguanwuthirojana
Project Location : Ramkhamhaeng, Bangkok
Project Year : 2019
Photographer : Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke
BOOST FITNESS BKK - BOY TOYS COMMUNITY ผลงานออกแบบล่าสุดจาก HYPOTHESIS
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ติดกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสถาปัตยกรรมหลังหนึ่งที่ดูคล้ายงานประติมากรรมตั้งเคียงข้างขุนเขา นี่คือ PG หรือย่อมาจาก Project Garage ออกแบบโดย AAd - Ayutt and Associates design นี่ไม่ใช่บ้านพักอาศัย แต่คืออาคารที่ฟอร์มขึ้นจากแพสชั่นของเจ้าของบ้านผู้เป็นนักสะสมทั้งรถยนต์และงานศิลปะ
/
ให้ลองนึกถึงอาหารหนึ่งจานที่มีหลากวัตถุดิบพื้นถิ่นที่เรารู้จักดี แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยเทคนิคที่แตกต่าง ก็เกิดการรังสรรค์อาหารจานใหม่ให้เราพอได้สัมผัสถึงกลิ่นอายบางอย่างที่คุ้นเคย แต่ในขณะเดียวกันก็เผยรูปลักณ์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์รับรู้มาก่อน นี่คือคำเปรียบเผยสำหรับการอธิบายผลงานออกแบบโปรเจกท์ใหม่นี้ของ IDIN Architects ที่เกิดจากแนวคิด Deconstruct ในการนำความร่วมสมัยให้มาอยู่ร่วมกับเอกลักษณ์พื้นถิ่นภาคเหนือของไทย เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สร้างความน่าสนใจใหม่
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )