LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
ในขณะที่คำกล่าวนี้ดูเหมือนจะอธิบายธรรมชาติของสถาปัตยกรรมอย่างมีเหตุผล แต่ถ้าเราลองถามตัวเองอีกครั้ง เราอาจพบคำถามที่เพิ่มมากขึ้น มากกว่าคำตอบ สถาปัตยกรรมเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร สถาปัตยกรรมนั้นเป็นศิลปะได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งสองสิ่งจำเป็นต้องรวมกันจริงหรือ แล้วจะรวมกันได้อย่างไร?





อรณา โลหะศิริพงศ์
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการก่อรูปของพื้นที่กับการทํางานของระบบทางสัญจร / speed ในการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน / การสร้างการรับรู้ทิศทางจากระบบการสัญจร / ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนที่ใช้งานในกลุ่มพื้นที่ต่างกัน / ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายใน และการรับรู้สภาพแวดล้อมภายนอก โดยทดลองผ่านการออกแบบสนามบินดอนเมือง

พิชชาภา วิภาวิวัฒน์
ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ย่านบางรัก จากความสัมพันธ์ของโปรแกรมที่แตกต่างกันที่มีอยู่ในบริบท ตั้งแต่ โรงเรียน โบสถ์ โรงแรม และชุมชน / เพื่อพัฒนาการใช้สอยที่ทุกโปรแกรมสามารถแชร์พื้นที่ และการใช้งาน / เพื่อประโยชน์กับทั้งผู้ใช้สอยที่อยู่ในพื้นที่เดิม และผู้ใช้สอยใหม่ ที่จะมีส่วนทำให้ย่านมีชีวิตชีวา



จิรวัชร์ อานนท์วัฒนา
ศึกษาลักษณะเฉพาะของการใช้พื้นที่สาธารณะแบบไทยๆ / ระดับของความเป็นสาธารณะ / เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมที่มีความสัมพันธ์กับโปรแกรมเดิม และโปรแกรมใหม่ ที่จะเอื้อให้เกิดพื้นที่สาธารณะใหม่บนรากฐานของบริบทเดิมในหลากหลายระดับ
สัณหจุฑม พลอยบุตร
ศึกษาแรงผลัดดันของบริบท ทั้งบริบททางกายภาพ และอุดมคติ ที่มีผลต่อการเกิดของโปรแกรม และมีผลต่อการก่อรูปของอาคาร โดยเลือกศึกษาบริบทที่แตกต่างสองขั้ว ของพื้นที่ ท่าเตียน และพื้นที่ถนนวิทยุ



ศตพร นุชฉิม
ศึกษา typology ของตึกแถว กับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป และความเป็นไปได้ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง unit และความสัมพันธ์กับบริบทในรูปแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ทางสังคมวัฒนธรรมในปัจจุบัน ในย่านที่แตกต่างกันคือบางลําพู และสามย่าน


วัศพล บรรจงทัด
ศึกษาธรรมชาติของการปิดล้อมพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ตั้งแต่ demarcation - boundary - enclosure โดยทดลองกับโปรแกรมที่ต้องการการปิดล้อมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ได้แก่ โรงพยาบาล และพื้นที่แสดงงานศิลปะ
อัญนุช แก้วพฤหัสชัย
ตั้งคําถามเกี่ยวกับสมดุลย์ระหว่างการเป็นย่านชุมชนดั้งเดิม และการใช้ชีวิตในชุมชน กับการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและการมาเยือนของผู้คนภายนอก
Between Function and Concept
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )