LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING

นิยามของชีวิตในเมืองยุคใหม่กำลังจะเปลี่ยนไปที่ BEATNIQ…เพราะไปไหนต่อไหนได้เร็วขึ้น ด้วยทำเลที่เชื่อมต่อทุกรูปแบบการเดินทางและใกล้ BTS สถานีทองหล่อ แวดล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย... มีสีสันยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบที่สะท้อนเสน่ห์ของยุค Mid–Century Modern ภายใต้การสร้างสรรค์ที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย
ผนังที่เต็มไปด้วยช่องหน้าต่างคอนกรีตรูปทรงเรขาคณิตของ BEATNIQ ไม่เพียงชวนให้นึกถึงภาพโรงแรม Rex Hotel ในอดีตเท่านั้น หากยังเป็นภาพความทรงจำที่กลับมาในรูปแบบที่ตื่นตายิ่งกว่าเดิมเพราะถูกเพิ่มเติมด้วยจินตนาการใหม่ องศาและความลึกของช่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมแต่ละช่องช่วยดึงแสงและเงาเข้ามาเพิ่มมิติให้กับผนังอาคารได้อย่างมีสีสันพร้อมกับช่วยในการบังแดดและกรองแสงให้กับอาคารจอดรถอีกด้วย นอกจากผนังด้านหน้าของอาคารแล้ว กลิ่นอายของสไตล์ Mid-Century Modern ยังได้รับการปรับโฉมหน้าเสียใหม่ แล้วแทรกใส่ลงไปในองค์ประกอบต่างๆ ทั่วทั้งด้านนอก และภายในอาคาร
แนวคิดหลักในการออกแบบของ BEATNIQ คือ ”Form Follows Function” ซึ่งเป็นมากกว่าแค่ความงามและการใช้สอย แต่ยังเอื้อต่อการใช้ชีวิต ดังนั้น การสะท้อนเอกลักษณ์ของยุค Mid-Century Modern จึงไม่เพียงตอบสนองความต้องการด้านสุนทรียภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากยังพิถีพิถันในการสร้างสรรค์ทุกรายละเอียดของโครงการให้ตอบโจทย์ด้านการใช้งานในวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย นอกจากนั้น การเลือกใช้วัสดุคุณภาพมาออกแบบและตกแต่งอย่างสร้างสรรค์ยังช่วยเพิ่มความเฉพาะตัวให้กับโครงการมากยิ่งขึ้น



ด้วยที่ตั้งของ BEATNIQ ซึ่งอยู่ในใจกลางของกรุงเทพมหานครอย่างแท้จริง Floating Pavilion ที่ลอยขนาบสระว่ายน้ำบนชั้น 7 จึงทำหน้าที่เป็นเสมือนจุดชมวิวของเมืองที่ไม่เคยหลับใหลได้อย่างสมบูรณ์แบบ การนั่งผ่อนคลายริมสระว่ายน้ำส่วนตัว และทอดสายตาออกไปพบกับความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองกรุงที่โอบล้อมอยู่รอบด้าน ให้ความรู้สึกคล้ายกับการได้สวมกอดกรุงเทพอย่างอบอุ่นและใกล้ชิด
หลังจากอิ่มตากับสีสันของจังหวะชีวิตในเมืองแล้ว เมื่อขึ้นไปที่ชั้น 32 ที่นี่ยังมีความร่มรื่นของ Landscape Sky Garden ที่ไม่เพียงเติมความร่มรื่นให้กับชีวิตในเมืองด้วยต้นไม้เขียวชะอุ่ม หากมุมมองทอดยาวไปเห็นความคดโค้งของคุ้งน้ำเจ้าพระยา และธรรมชาติของบางกระเจ้ายังเผยให้เห็นเสน่ห์อีกด้านที่ผ่อนคลายของกรุงเทพอีกด้วย

จากพื้นที่ส่วนกลางสู่ห้องพักส่วนตัว BEATNIQ ออกแบบห้องหลากหลายสไตล์เพื่อรองรับความต้องการ และขนาดที่แตกต่างกันตั้งแต่ 1 ห้องนอน 43 ตร.ม. – 3 ห้องนอน 207 ตร.ม. โดยห้องแต่ละแบบได้รับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัว ให้ความรู้สึกกว้างขวาง และเปิดรับมุมมองภายนอกได้อย่างเต็มที่ด้วยหน้าต่างขนาดความสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน

ก่อนที่จะมีฮิปสเตอร์ นักคิดนักสร้างสรรค์ยุคก่อนก็เคยพยายามที่จะหลีกหนีออกจากกรอบของความซ้ำซากจำเจมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน หนึ่งในกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะกฏเกณฑ์และข้อจำกัดจนสามารถสร้างวัฒนธรรมใหม่ของตนเองทิ้งไว้ให้คนรุ่นต่อๆ มาได้ใช้เป็นแรงบันดาลใจก็คือชาว Beatnik หรือ Beat Generation ซึ่งอยู่ในยุคที่รูปแบบ Mid-Century Modern กำลังแผ่อิทธิพลเข้าไปในศิลปะแขนงต่างๆ “Mid-Century Modern คือยุคที่คนยุโรปเริ่มเบื่อกับความเป็นยุโรป เขาก็มีคนกลุ่มหนึ่ง ส่วนมากก็จะเป็นศิลปิน ทั้งด้านเพลง แฟชั่น สถาปัตยกรรม และนักออกแบบแขนงอื่นๆ เริ่มลุกขึ้นมาอยากจะเป็นกบฏทางเชิงความคิด เลยเกิดการเปลี่ยนแปลง” เชินชิน เชิดชูชัย Brand Consultant จาก Ketchup IMC ผู้รับผิดชอบด้านการสร้างแบรนด์ของ BEATNIQ กล่าว “ในยุคนั้นเขาเรียกศิลปินที่มีความขบถทางความคิดนี้ว่า Beatnik เราเลยรู้สึกว่าอันนี้เป็น Good Attitude นะ เราเลยเอาชื่อนี้มาตั้งเป็น Brand นี้ แต่เราเปลี่ยนตัวสะกดจาก K เป็น Q เพื่อเพิ่มความร่วมสมัยมากขึ้นและตัว Q มันก็สะท้อนคำว่า Unique เพราะจริงๆ เราก็อยากทำให้ตึกนี้มีความ Unique ด้วย”



จากความโดดเด่นทางด้านศิลปะและการออกแบบแขนงต่างๆ ของชาว Beatnik ในยุค Mid-Century Modern กับความ Unique ที่มารวมกันในบริบทของยุคปัจจุบัน ทีมแบรนดิ้งของ BEATNIQ ได้จับมือกับทีมออกแบบเพื่อร่วมกันพัฒนาโจทย์นี้ไปสู่การสร้างสรรค์โครงการคอนโดที่โดดเด่นทั้งทางด้านแนวคิด รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการใช้งานที่เข้ากับยุคสมัยใหม่ภายใต้กลิ่นอายจางๆ ของอดีต “เวลาที่เราคุยกัน ไม่ว่าจะเป็น Landscape สถาปนิก มาร์เก็ตติ้ง หรือตัวพี่เองที่ทำแบรนด์นี้ ทุกคนเห็นตรงกันว่าเราจะเอามาแค่จริตหรือ Culture ของยุคนั้น เราไม่ได้ยกมันมาทั้งหมด เพราะถ้าเรายกมาทั้งหมดตึกนี้ก็คงเป็นคอนโด Retro ไปแล้ว” เชินชิน อธิบาย “ภาพที่มันออกมาก็จะค่อนข้างกลมกล่อม ก็จะเห็นว่าทั้งคาแรคเตอร์ของแบรนด์และตึก มีความเป็น Mid-Century Modern ในแบบฉบับที่เราพัฒนาขึ้นมา มันไม่ได้เป็นแนวคิดของการย้อนยุค”




งานออกแบบย่อมตั้งอยู่บนเงื่อนไขของยุคสมัยและกาลเวลา ถึงแม้จะหลงใหลในเอกลักษณ์ของ Mid-Century Modern แต่เพื่อสร้างอาคารที่ตอบโจทย์ของวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป การหาสูตรในการผสมผสานอดีตเข้ากับปัจจุบันจึงเริ่มต้นขึ้น “เราไม่ได้มีความคิดเรื่อง Retro เพราะเราไม่ได้ต้องการทำตึกย้อนยุค” ศุภสิริ กล่าว “แต่เป็นการตีความ MCM ในแบบของเรา มีกลิ่นอายและการตีความของงานศิลปะและสถาปัตยกรรมจากยุค MCM โดยที่ไม่ได้สูญเสียความสะดวกสบาย และฟังก์ชั่นในการใช้ชีวิตปัจจุบัน”

แนวคิดเรื่องของสัจจะวัสดุจากสถาปัตยกรรมยุค MCM ถูกนำมาเป็นกรอบในงานออกแบบ การใช้หิน คอนกรีต เหล็ก และกระจกในอาคารแห่งนี้จึงได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนั้น ช่องลมและแผงกันแดดอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ MCM ก็ยังได้รับการเปลี่ยนโฉมเสียใหม่ให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นทั้งในแง่ของภาพลักษณ์และการใช้งาน ช่องลมสี่เหลี่ยมที่ล้อมกรอบอาคารส่วนล่างไม่เพียงสร้างผิวอาคารภายนอกที่สะดุดตาทันทีที่ได้เห็น หากยังเปลี่ยนโฉมพื้นที่จอดรถซึ่งมักจะดูซ้ำซากและน่าเบื่อให้กลายเป็นจุดเด่นดึงดูดสายตาได้อย่างน่าสนใจ “เวลาเราเห็นที่จอดรถของคอนโดทั่วไป เราจะอ่านออกทันทีเลยว่ามันคือที่จอดรถ แล้วค่อยเป็นที่อยู่อาศัยขึ้นไปข้างบน มันดู Typical คือเป็นตึก ที่จอดรถ แล้วก็เป็นแท่งขึ้นไป” ศุภสิริ กล่าว “พอเรามี Skin ที่เป็นช่องลม หน้าตาแบบนี้มันน่าสนใจ ยิ่งลองนึกถึงกลางคืน ปกติไฟก็จะถูกทำให้เป็นไฟ Function Light ที่เป็นแสงสว่างเพียวๆ ไม่ว่าจะมองอย่างไรก็ไม่สวย แต่พอเรามาทำให้เป็นช่องลมที่เป็น Customize Facade เราคิดว่าถ้าหุ้มที่จอดรถด้วยแบบนี้ เวลาตอนกลางคืนที่เปิดไฟ ต่อให้เป็นไฟ Functional Light มันก็คงจะน่าสนใจ มันจะเรืองๆ เหมือนเป็นโคมไฟอันใหญ่ๆ อันหนึ่ง”

เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมในยุค Mid-Century Modern ซึ่งมีโฉมหน้าเรียบเท่แต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจ "คือในยุคของ MCM จะเป็นความเรียบเท่และมีดีเทลที่น่าสนใจ ไม่ได้มีฟอร์มที่ฉูดฉาดและตะโกนว่ามาดูฉันสิ แต่เมื่ออยู่กับมันไปนานๆ เห็นมันไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่าตึกนี้มันมีดีเทลที่น่าสนใจเนอะ มีรายละเอียดที่ไม่เหมือนใคร" ศุภสิริ กล่าว "เราก็อยากให้ BEATNIQ ตั้งอยู่ตรงนี้ และไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ยังรู้สึกว่ามันเป็นตึกที่เรียบเท่อยู่"


“โครงการนี้เริ่มจากตัวที่ตั้งโครงการเคยเป็นโรงแรมเก่าที่สร้างในยุค 60s-70s ซึ่งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ พอเรามา Develop โครงการนี้กับ SC Asset ทางทีม เจ้าของและผู้ออกแบบ พยายามจะสร้างเรื่องราวให้มันตอบ Sense of Place ของตัวที่ตั้งของสถาปัตยกรรมอันเดิมซึ่งเป็นยุค MCM เราก็เลยศึกษางานในยุคนั้นทั้ง Architecture Landscape และ Painting แล้วเราก็เอามาปรุงให้เกิดเป็นโครงการ BEATNIQ ขึ้นมา” อรรถพร คบคงสันติ Design Director จากสตูดิโอ T.R.O.P ผู้รับผิดชอบงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของโครงการนี้กล่าว




ภาพการสะบัดฝีแปรงของ Jackson Pollock และภาพในซีรีส์สระว่ายน้ำของ David Hockney กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สวนชั้นล่างที่เชื่อมล็อบบี้ของ BEATNIQ ออกไปสู่ความร่มรื่นของพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง “เรามองศิลปะจากยุคนั้นแล้วมาคิดว่าถ้าเอามาเปลี่ยนแปลงเป็น Landscape จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร” อรรถพรกล่าว “ผมมองภาพวาดของ Jackson Pollock ที่เป็นแปรงสะบัดสีมันก็ทำให้เรานึกถึงต้นไม้ที่มันมีแสงลอดผ่านใบไม้มาเป็นจุดๆ บนพื้น ใบต้องไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ให้มันเกิดสัดส่วนของเงากับแสงที่ลอดส่องลงมาประมาณครึ่งๆ อย่างต้นแคนาที่เราใช้ก็จะทำให้เกิด Texture คล้ายๆ กับภาพของ Pollock ในขณะเดียวกันภาพซีรี่ส์สระว่ายน้ำและสวนของ David Hockney ก็เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้สวนชั้นล่างของ Lobby ที่เรามีการเล่นของสระน้ำตื้น หรือว่าร่มเงาและพื้นที่สีเขียวด้วย”



นอกจากสวนด้านล่างและสระว่ายน้ำบนชั้น 7 เมื่อไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ BEATNIQ ก็ยังแทรกความเขียวชะอุ่มแนบเข้าไว้กับตัวอาคารที่ชั้น 32 อีกด้วย ที่สวนลอยฟ้าแห่งนี้ ไม่เพียงมีความร่มรื่นของต้นไม้เท่านั้น หากยังมีบันไดวนสีขาวตั้งตระหง่านประหนึ่งเป็นงานประติมากรรมกลางแจ้งที่เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยเดินวนดูวิวที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปได้ 360 องศาอีกด้วย “เนื่องจากพื้นที่ไม่ได้กว้างมาก ในขณะเดียวกันยังมี Facility อยู่ข้างบนอีกสองสามชั้น ผมอยากให้มันมีอะไรตรงการที่เชื่อมทุกชั้นเข้าด้วยกัน ก็เลยนึกว่ารูปแบบของบันไดเวียนเท่ๆ ขาวๆ ก็เข้ากับสถาปัตยกรรม MCM เหมือนกัน ก็เลยดึงตรงนั้นมาใช้” อรรถพรเล่าถึงที่มาของบันไดวนในสวน
FORM FOLLOWS FUNCTION
/
ทันทีที่ Key Visual สถาปนิก’ 68 เผยแพร่ออกมา บทสนทนาปลุกสัญชาตญาณนักสืบในตัวทุกคนพร้อมใจกันทำงานแบบ Autopilot และระหว่างที่ตามหาเฉลยกันจริงจัง ทุกคนเริ่มหันมาตั้งคำถามต่อว่า Art Toys เกี่ยวข้องกับธีมงานอย่างไร รู้ตัวอีกทีวงสนทนาก็กระเพื่อมขยายกว้างขึ้น ส่งสัญญาณชัดว่า Key Visual ปีนี้เปิดฉากมาแบบสนุกเอาเรื่อง โดนเส้นกันสุดๆ
/
วัลลภ รุ่งกำจัด หรือ อุ้ม นักแสดงที่เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์กับโลกของภาพยนตร์ ผ่านการสร้างชีวิตให้ตัวละครต่าง ๆ ได้ออกมาโลดแล่นแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ให้กับผู้ชม แม้เขาจะไม่ได้เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงกว้างเทียบเท่ากับนักแสดงกระแสหลัก แต่ในเวทีระดับโลก “อุ้ม” ได้พิสูจน์ตัวเองกับการเป็นนักแสดงที่มีความสามารถที่ยอมทุ่มเทหลาย ๆ สิ่ง ให้กับงานศิลปะด้านการแสดงในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสุดตัว
/
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับเธอคนนี้ในชื่อของ พัด หรือที่ชอบเรียกติดปากกันว่า พัด ZWEED N’ ROLL เจ้าของเสียงทุ้มมีเสน่ห์ นักร้องและนักแต่งเพลงที่ฝากผลงานเพลงเศร้าเอาไว้ในวงการมากมาย อาทิ ช่วงเวลา, Diary, อาจเป็นฉัน และอีกมากมาย ไม่มีอะไรแน่นอนแม้กระทั่งตัวเราเอง ช่วงเวลาจึงได้พัดพาให้เรามาทำความรู้จักกับ “MAMIO” ในฐานะศิลปินใหม่จากค่าย Warner Music Thailand ซึ่งเป็นอีกตัวตนหนึ่งของคุณพัดที่ไม่เคยถูกปลดปล่อยออกมาเลยตลอดชีวิตการทำงานในวงการสิบกว่าปีที่ผ่านมา หรือถ้าจะให้ซื่อสัตย์กับตัวเองจริง ๆ ก็อาจจะเป็นทั้งชีวิตที่เกิดมาเลยเสียด้วยซ้ำ
/
Whispers เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่สะท้อนการเติบโตของวงการ Hardcore ในประเทศไทยอย่างแท้จริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เป็นเพียงกลุ่มเพื่อนที่หลงใหลในดนตรี เพราะนอกจากจะเป็นผู้เล่น พวกเขายังเป็นกำลังสำคัญที่คอยผลักดันซีนฮาร์ดคอร์ในบ้านเรามาโดยตลอด ประสบการณ์ที่สั่งสมทำให้เกิดเป็นสไตล์เฉพาะของ Whispers สร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้พวกเขาก้าวไปสู่เวทีระดับสากล ถึงแม้พวกเขาจะอยู่ใต้ดินของไทย แต่เสียงคำรามของพวกเขาก็ดังไปไกลถึงทวีปยุโรป มาพบกับเส้นทางดนตรีที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง กับวงฮาร์ดคอร์ระดับบท็อปของ Southeast Asia
/
ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบงานสักของเขา ที่เรารู้สึกแปลกประหลาดกว่างานสักอื่น ๆ (แปลกประหลาดในที่นี้คือความหมายในแง่ดีนะ) ก็เลยตัดสินใจส่งข้อความทักไปหา “พี่นัทครับ ผมขอสัมภาษณ์พี่ได้ไหม” “ได้ครับ” สั้น ๆ แต่จบ เรื่องราวทั้งหมดก็เลยเริ่มต้นขึ้นที่ร้าน CAVETOWN.TATTOO แถว ๆ ปิ่นเกล้า ซึ่งพี่นัทเป็นเจ้าของร้านแห่งนี้ บทสนทนาของเราเริ่มกันในช่วงเวลาบ่าย ๆ ของวันพฤหัส พอไปถึงร้านพี่นัทกำลังติดงานสักให้กับลูกค้าอยู่หนึ่งคน พอได้เห็นลายที่เขาสักต้องบอกว่าเท่มาก ๆ มันมีความเป็น Psychedelic บวกกับ Ornamental ผสมผสานกับเทคนิค Dotwork จนกลายเป็นงานศิลปะบนผิวหนังหลังฝ่ามือ เราถึงกับต้องถามคำถามโง่ ๆ กับลูกค้าที่ถูกสักว่า “เจ็บไหม” แน่นอนคำตอบที่ได้คือ “โคตรเจ็บ” เพราะจุดที่สักคือหลังฝ่ามือ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่หลายคนร่ำลือกันว่าโคตรเจ็บ ระหว่างที่รอพี่นัทไปพลาง ๆ น้องแมคช่างภาพที่มีรอยสัก Full Sleeve เต็มแขนขวา ก็เริ่มกดชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปเก็บภาพระหว่างที่เขาสักไปด้วย พอสักเสร็จเรียบร้อยก็ปล่อยให้พี่เขาพักผ่อนกินน้ำ ปัสสาวะ (อ่านแยกคำนะอย่าอ่านติดกัน) ก่อนจะพูดคุย แต่เดี๋ยว ! ก่อนจะเริ่มบทสนทนา เราขอเกริ่นให้ฟังซักนิดนึงเกี่ยวกับชายคนนี้ก่อน
/
ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีวงดนตรีสัญชาติไทยที่ชื่อ KIKI ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในวงที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ก็เพราะด้วยเสียงเพลงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )