‘เบ-ดม-เบ้ง’ บ้านไม้ครึ่งศตวรรษสู่บ้านคอนกรีตที่หายใจได้ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

หากว่ามนุษย์นั้นเกิดมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติแล้วนั้น การสร้างที่อยู่อาศัยที่ใกล้ชิดกับสิ่งพื้นฐานย่อมสิ่งที่เหมาะสม และถ้าหากสถานที่ดังกล่าวสามารถรวมบริบทของพื้นที่ได้โดยอาศัยพลังแห่งงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเป็นที่น่าจับตา เฉกเช่นโปรเจ็กต์ที่หยิบยกมานำเสนอชิ้นนี้
ขึ้นชื่อว่าการสร้างสถานที่สำหรับอยู่อาศัย สำนวนภาษิตเช่น ‘ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน’ ยังคงสามารถใช้ได้ดีอยู่แม้ว่าเทคนิคทางการออกแบบแห่งสถาปัตยกรรมจะล้ำหน้าไปไกลเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ อาศัยพลังแห่งบริบทและพื้นที่ให้มาช่วยเสริมความน่าสบายของการอยู่อาศัยนั้นๆ และดูจะเป็นจังหวะที่เหมาะสมสำหรับ Eco Architect สำนักสถาปัตย์จากจังหวัดภูเก็ต ที่ได้รับโจทย์อันท้าทายที่พวกเขาสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างเหมาะสม ตรงตามความต้องการ และขับเน้นพลังแห่งธรรมชาติให้เด่นชัดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ที่มาที่ไปของบ้าน ‘เบ-ดม-เบ้ง’ แห่งนี้ เริ่มต้นจากความต้องการของผู้ว่าจ้าง ที่เป็นทั้งศิลปินและนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ปรารถนาจะสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ หลังจากที่อยู่ร่วมกันในบ้านไม้อายุกว่าครึ่งศตวรรษในหมู่บ้านปัญญา ซอยพัฒนาการ 30 บนพื้นที่ 1 งานที่อยู่เคียงข้างบ้านของผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อและดูแลได้อย่างทั่วถึง
สิ่งที่เป็นความท้าทายสำหรับโจทย์ในครั้งนี้ อาจจะนับได้ถึงสองประการหลักใหญ่คือ หนึ่ง ต้องเป็นบ้านสมัยใหม่ที่ล้อไปกับรูปแบบของโครงการบ้านในพื้นที่ข้างเคียง ที่เริ่มมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และสอง จำนวนต้นไม้ที่เก่าแก่พร้อมกับบ้านหลังเก่า ที่การก่อร่างสร้างแบบ ต้องเบียดเบียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
เมื่อลงสำรวจกันในพื้นที่จริงพบว่า ถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่เกินกว่าครึ่ง ผู้ออกแบบเลือกที่จะเข้าหาการออกแบบด้วยทรงอาคารเพรียวสูงแนวตั้งขนาดสามชั้น ไล่ตามระดับต้นไม้ ประหยัดเนื้อที่และลด Footprint ที่จะเกิดขึ้นให้กระชับที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อการดังกล่าว ตัวโครงสร้างอาคารจะประกอบไปด้วยหน้าต่างสามด้าน เพื่อก่อให้เกิด Natural Ventilation ที่จะสามารถ Cross กันได้ในทุกพื้นที่สำหรับระบายความร้อนและความชื้น ลดการปรับอากาศลงไปได้อีกมาก
นอกจากนี้ การมีต้นไม้ใหญ่โดยรอบในพื้นที่ ทำให้ผู้ออกแบบสามารถจัดสรรพื้นที่เพื่อให้เกิด Evaporative Cooling หรือการระบายอากาศแบบธรรมชาติ ที่ใช้การระเหยของน้ำจากกระบวนการสังเคราะห์แสง ช่วยดึงความร้อนให้ลอยตัว หนุนให้ลมเย็นพัดผ่านระบบ Ventilation ที่ได้จัดเตรียมไว้ ให้บ้านหลังนี้มีกระแสลมไหลเวียนพัดผ่านตลอดเวลา ซึ่งนอกเหนือจากหน้าต่างแล้ว การใช้วัสดุเหล็กสร้างเป็นฝ้าระแนงเป็น Skin ซ้อนตัวอาคารอีกชั้น ยังเพิ่มความโปร่งและสร้างสไตล์ที่น่าจับตาเมื่อมองเข้ามาจากภายนอก
ฝ้าระแนงที่สร้างพื้นผิวเสริมเข้ามา ยังมีอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ คือสร้าง Daylight Shading ที่เรียงไปกับความผอมของตัวอาคารหลัก ให้สามารถเล่นไล้กับแสงเงาได้ตามช่วงเวลาของวัน อีกทั้งยังสร้างความทั่วถึงที่เหมาะสมโดยไม่ต้องติดตั้งไฟให้เกินกว่าที่จำเป็น และสร้างบรรยากาศที่ดูสบายตาและสุนทรียะอันเหมาะสมสำหรับการทำงานศิลปะของผู้เป็นเจ้าของบ้าน
และสุดท้าย ความผอมของอาคารที่น่าจะเป็นอุปสรรค แต่ผู้ออกแบบกลับสามารถสร้างโดยจัดสรรให้ทุกอย่างกระชับ ลงตัว และชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่นั่งเล่นและรับแขกในชั้นที่หนึ่งที่เชื่อมต่อกับ Courtyard ขนาดกะทัดรัด, ส่วนพักอาศัยและสตูดิโอในชั้นที่สอง และ Master Bedroom ที่หันหน้าออกรับแสงและวิวของต้นไม้บริเวณบ้านได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งสามชั้นของบ้าน ยังเว้น Space ส่วนกลางเพดานสูง ให้สามารถมองเห็นและเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง
การติดตั้งฝ้าระแนงเพื่อให้แสงเล่นไล้กับพื้นที่ภายในบ้านตามช่วงเวลา
จะสังเกตได้ว่า ในทุกกระบวนการสร้างบ้าน ‘เบ-ดม-เบ้ง’ หลังนี้ของ Eco Architect นั้น ได้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คน-บ้าน-ธรรมชาติ ไว้ในทุกเส้นสายการออกแบบ ประหนึ่งว่าผลสำเร็จของอาคารหลังนี้ได้ ‘หายใจ’ ร่วมไปกับผู้อยู่อาศัย เป็นอีกหนึ่งองคาพยพที่ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งปลูกสร้าง หากแต่มีชีวิตและร่วมเป็นนิเวศน์หนึ่งเดียวกันกับบริบทโดยรอบ ซึ่งถ้าการที่คนจักต้องมีธรรมชาติเคียงข้าง บ้านหลังนี้ก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นๆ ทั้งยังโดดเด่นในรูปโฉม ที่จะสามารถยืนหยัดในพื้นที่ได้ เฉกเช่นเดียวกับบ้านหลังเก่าที่เจ้าของได้เคยอยู่อาศัยมา
    TAG
  • Eco Architect
  • architecture
  • design
  • house

‘เบ-ดม-เบ้ง’ บ้านไม้ครึ่งศตวรรษสู่บ้านคอนกรีตที่หายใจได้

ARCHITECTURE/HOUSE
6 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAM2 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

    เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

    Nada Inthaphunt4 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )