LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING


ลัดเลาะชมกรุงกันมาก็หลายมุม ครั้งนี้เราอยากพาทุกคนกลับไปสู่ความเรียบง่ายธรรมดาของชีวิตกับ “มิวเซียมสยาม” พิพิธภัณฑ์เก่าที่ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย สามารถเดินทางมาถึงได้ง่ายโดยทั้งทางรถไฟฟ้า รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง หรือแม้กระทั่งทางเรือก็สามารถมาถึงที่นี่ได้โดยง่ายดาย มิวเซียมเป็นสถานที่ที่สวยงาม ร่มรื่น เหมาะมากสำหรับการจัดแสดงงานศิลป์และใช้พักผ่อนในยามที่ต้องการความสงบ เป็นที่พักหลีกหนีจากความวุ่นวายประจำเขตพระนครที่ใคร ๆ ก็ชื่นชอบ

ในทางพุทธศาสนา ‘ชีวิต’ กับ ‘ความตาย’ รวมกันเป็น ‘ชีวิต’ และ “ชีวิต” เป็นการมีอยู่ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในรูปแบบที่ไม่แน่นอน “Wall of Change” เป็นอีกหนึ่งผลงานของ ทัตสึโอะ มิยาจิมะ ศิลปินชาวญี่ปุ่น โดดเด่นในผลงานที่เกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ตัวเลขและแสงไฟ ซึ่งในครั้งนี้ Wall of Change ก็ได้เล่าถึงการเปรียบเทียบระหว่างตัวเลขและเวลาของชีวิตผ่านเลขห้าตัวที่ฝังเข้ากับผนังแผ่นใหญ่ ซึ่งตัวเลขนั้นจะเปลี่ยนไปทุกวันตามการทอยของลูกเต๋า
ภูมิทัศน์โลกภายนอกที่มองเห็นผ่านรูที่เจาะบนผนัง จะเปลี่ยนลักษณะทุกวันตามภูมิทัศน์ของตัวเลขที่ทอยลูกเต๋าได้ และเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ แสงแดด ร่วมกับสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นที่เราไม่สามารถควบคุมสิ่งใดได้เลยจากด้านในที่เรายืนอยู่ แสดงถึงความไม่แน่นอนของชีวิต บ้างมีเกิด บ้างมีตาย บ้างเป็นวันที่ฟ้าสดใสมีแสงรำไร แต่บ้างก็เป็นวันที่ฝนตกหนักไร้แสงไร้ไอแดด ไร้ความสดชื่น
งานของคุณทัตสึโอะ ทำให้ตระหนักถึงความเป็นไปของชีวิต ที่ไม่ว่าจะเจออะไรในวันข้างหน้า บางครั้งเราควรเข้าตระหนักว่าโลกนี้มันคาดการณ์ไม่ได้และสุดแสนโกลาหลจริง ๆ นั่นก็เพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนมี ‘ชีวิต’ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องไม่ลืมที่จะยำเกรงทุก ‘ชีวิต’ บนโลก นอกจากนั้นเรายังต้องชื่นชม ‘ชีวิต’ ของมนุษย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเวลาชีวิตและภูมิทัศน์ที่แต่ละคนได้เจอได้ผ่านมาในแต่ละวันนั้น สวยงามหรือครึ้มฝนมากมายเพียงใด

ทาซีน ไกยัม ศิลปินชาวปากีสถาน-แคนาดา ผู้มีความสนใจในการศึกษาวาดภาพแบบจุลจิตรกรรมตามขนบของเอเชียใต้และเปอร์เชีย การทำงานศิลปะที่ขับเคลื่อนด้วยมโนทัศน์ของเธอมีความสดเสมอด้วยศิลปะเชิงทดลองในรูปแบบใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งการทำซ้ำ จังหวะ สมดุลและเรขาคณิต ที่มีความซับซ้อนต่างกันไป ครั้งนี้เธอได้สร้างงานศิลปะการจัดวางโดยใช้โมทีฟแมลงสาบ ซึ่งเป็นการจัดวางและทำซ้ำที่สร้างอาณาเขตปกคลุมไปทั่วผนังรอบบริเวณมิวเซียมสยาม เป็นการผสานกันระหว่างศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ หรือ Neoclassic กับความน่าสะอิดสะเอียนอันแฝงด้วยนัยยะของตัวแมลงสาบ
ในบริบทนี้งานของเธอมีนัยยะสำคัญในการเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีชีวิตรอด แมลงสาบเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อิงแอบใต้เงามืดในบ้านของคนอื่น คอยอาศัยเศษเดนจากมนุษย์เพื่อประทังความหิว แต่ถึงกระนั้นก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่มาได้อย่างยาวนาน และจะยังมีชีวิตรอดเสมอเมื่อบ้านใครก็ตามพังลง
ซี่งสอดคล้องกับเหตุการณ์ของสังคมโลกมนุษย์ที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางการเมือง สงคราม โรคระบาด และข่าวร้ายไม่น่าฟังต่าง ๆ อีกมากมายในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้นมนุษย์ยังด้อยค่ามนุษย์กันเองด้วยวิธีเลือกปฎิบัติ การใช้ “แมลงสาบ” ที่มนุษย์ได้ตัดสินใจแบ่งแยกและกระทำกับมันเสมือนเป็นสัตว์ชั้นต่ำกว่าตนเสียมากมาย จึงเป็นการสื่อสารในประเด็นที่ซับซ้อนเช่นนี้ได้อย่างมีพลังยิ่ง

ในวงการศิลปะร่วมสมัยของอินเดีย ชื่อของ “จินิช กัลลัต” เป็นที่รู้จักและเลื่องลือเป็นอย่างมาก ในส่วนของการทำงานศิลป์ที่เกี่ยวกับเรื่องเวลา การเวียนว่ายตายเกิด การเอาชีวิตรอดและการระลึกอดีต
“ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” ศิลปินเชื่อเรื่องดวงชะตาพรหมลิขิตและการมีอยู่ของจักรวาล ควบคู่ไปกับการมองโลกในแง่ของความเป็นจริง เขาได้เชื่อมโยงระหว่างโลกที่แสนแออัดไว้กับจักรวาลที่ดูเหมือนจะอยู่ไกลโพ้นยากที่จะแตะต้องถึงได้ด้วยมือเปล่า แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าจะสามารถสัมผัสได้ด้วยจิตและใจ งานวอลล์เปเปอร์ที่จัดวางใน Bangkok Art Biennale 2022 นี้ มีชื่อว่า Integer Study (drawing from life) (2022) ประกอบด้วยภาพวาด 365 ภาพ ซึ่งภาพเหล่านี้ถูกวาดขึ้นทุกวันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่เหนือการควบคุม งานชิ้นนี้ของเขาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นนามธรรมแบบภาพวาดกับข้อมูลที่เที่ยงตรงของตัวเลขแจกแจงจำนวนประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นและลดลง (การเกิด-ตาย) ทำให้นึกถึงเรื่องของชีวิตที่ไม่แน่นอน กับความตายที่ใกล้เพียงวินาทีลมหายใจ
BANGKOK ART BIENNALE 2022 - Museum Siam
/
ในอดีตที่ผ่านมา ในแวดวงศิลปะ(กระแสหลัก)ในบ้านเรา มักมีคํากล่าวว่า ศิลปะไม่ควรข้องแวะกับ การเมือง หากแต่ควรเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม สุนทรียะ และจิตวิญญาณภายในอัน ลึกซึ้งมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ศิลปะไม่เคยแยกขาดออกจาก การเมืองได้เลย ไม่ว่าจะในยุคโบราณ ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้นสูงและผู้มีอํานาจ หรือใน ยุคสมัยใหม่ที่ศิลปะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง หันมามองในบ้าน เราเอง ก็มีศิลปินไทยหลายคนก็ทํางานศิลปะทางการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสะท้อนและ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้อย่างเข้มข้น จริงจัง
/
เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
/
ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
/
เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )