สถาปัตยกรรม กับ ส้มตำของ BAAN SOMTUM HQ | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

สถาปัตยกรรม กับ ส้มตำของ
BAAN SOMTUM HQ
การคิดค้นวิธีใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ทั่วไปให้เกิดประสิทธิภาพ และความงามในงานสถาปัตยกรรม กลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกลับไปถึงอาหารพื้นถิ่นอย่าง “ส้มตำ” ซึ่งเกิดจากการใช้วัตถุดิบจากพื้นที่มาเป็นส่วนประกอบ ที่ทำได้ง่าย และรสชาติดี

Baan Somtum Headquarters อาคารใต้ถุนที่ชั้นบนเป็นออฟฟิศ และใต้ถุนเป็น Food Testing Studio and Workshop

“บ้านส้มตำ” เป็นร้านอาหารไทยอีสานร่วมสมัยที่มีเมนูหลักตามชื่อร้าน ปัจจุบันได้ขยับขยายจากร้านแรกออกมา 7 สาขา กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ การเริ่มโปรเจกท์ Headquarters นี้เกิดจากหัวใจสำคัญของแบรนด์คือเรื่องการจัดการหลังร้าน ( Back of House ) ที่มารองรับทุกสาขา เพื่อควบคุมคุณภาพให้มีมาตรฐานสม่ำเสมอ และพัฒนาเมนูของร้าน เมื่อแบรนด์เติบโตระบบหลังร้านจึงต้องขยับขยายไปด้วย

ก่อนใช้และหลังใช้งาน ห้องทดสอบอาหาร โดยในช่วงนี้กำลังมีการทดสอบเมนูไก่ย่าง ซึ่งกำลังเป็นเมนูใหม่ของทางร้าน
เมื่อโจทย์แรกที่ได้รับคือการอัพเกรด ครัวกลาง ให้กลายเป็นสำนักงานใหญ่ โดยมีส่วนออฟฟิศ และพื้นที่พิเศษเรียกว่า “สตูดิโอทดลองอาหาร” เพื่อสนับสนุนให้เกิดการคิดค้นไอเดียใหม่ๆ หรือประชุมหารือกันในเชิงปฏิบัติคู่ขนานกับการมีครัวกลางซึ่งทำหน้าที่ผลิต คือให้มีทั้ง “ครัวที่ใช้ทำ” และ“ครัวที่ใช้คิดค้น” ด้วยความเป็นร้านอาหารที่การจัดการต้องดำเนินไปตลอดเวลา การทำงานต้อง รวดเร็ว และมีงบที่จำกัด การหาทางออกอย่างเป็นระบบทั้งหมดอยู่ภายใต้โจทย์ที่ต้องถูก ง่าย สร้างได้ไว และสวยงาม

การเพิ่มส่วนอาคารเพื่อรองรับการเติบโตของร้าน เกิดขึ้นบนพื้นที่ว่างใกล้บริเวณครัวเดิมที่มีต้นชมพูพันทิพย์สูงใหญ่เป็นหัวใจของพื้นที่ ลักษณะอาคารคล้ายบ้านยกใต้ถุนสูง ด้านบนมีความเป็นส่วนตัวใช้เป็นสำนักงาน ด้านล่างเป็นสตูดิโอพัฒนาเมนู เหมือนเป็นห้องทดลองสูตรอาหาร และพูดคุยกันระหว่างทีมแม่ครัวกับผู้บริหาร มีบานเฟี้ยมเปิดโล่งได้เพื่อให้ความเป็นห้องกลายสภาพเป็นใต้ถุนโล่ง โปร่ง เพื่อรับเอาบรรยากาศสวนเข้ามา ใช้ระเบียง ชาน ทางเดิน สร้างความรู้สึกของพื้นที่ให้กลมกลืนเข้าด้วยกันให้ดูเป็นกันเอง และอบอุ่น สร้างอารมณ์ความเป็นบ้านมากกว่าสำนักงานหรือโรงผลิตอาหาร อาคารหลังนี้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนวิธีคิดของร้าน ณ ปัจจุบันนี้ ที่นอกจากต้องการรักษาคุณภาพของอาหารทุกจาน ยังต้องการสะท้อนคุณค่านี้ออกมาสู่พนักงานที่ทำงานอยู่ และบอกว่าต้องมีการคิดค้นอะไรใหม่ๆ ต่อๆ ไป เพราะอาหารอีสานสามารถพลิกแพลงได้หลายอย่าง
ไต้ถุน ระเบียง ชานพักบันได และเสาพิเศษรัดรอบอาคาร ช่วยให้เกิดพื้นที่ Grey Area ดูอบอุ่นไม่เป็นทางการ เหมือนอยู่ในบ้าน
วัสดุง่ายๆ ของระบบโครงสร้าง สามารถสร้างภาษาของความงาม ขึ้นได้ไม่ต่างจากวัสดุแพงๆ

“เรามีความคิดในใจอยู่เสมอว่า จะทำงานออกแบบยังงัยให้ถูก ดี และมีความสวยงามด้วย เพราะสิ่งที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น อย่างหมูบ้านชาวเขา หรือ เรือนไม้ญี่ปุ่นมักสอนเราอยู่ลึกๆ เสมอ คือมันเป็น “Architecture without desire” งานพื้นถิ่นใช้ทุกสิ่ง เท่าที่จำเป็น ตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ได้ประสิทธิภาพ และความงามพร้อมกัน “Minimum force-Maximum impact”” ป๊อป สุวภัทร ชูดวง อธิบายตอนที่บ้านโยนโจทย์ออกแบบมาให้รับผิดชอบ


ด้วยงบประมาณ และเวลาที่จำกัด การแก้ปัญหาจึงทำให้กลับไปมองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ใช้ไม้ ของภูมิภาคเอเชีย เขาสังเกตุว่างานสถาปัตยกรรมเหล่านี้จะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่น รวมถึงการใช้กระบวนการสร้างแบบ Dry Process ซึ่งทำได้ไวขึ้น จังหวะของขนาดวัสดุพื้นฐานที่ร้อยเรียงกันเช่น ฝาไม้ โครงสร้างไม้ ทำให้เกิดความสวยงามที่เรียบง่ายไม่ปรุงแต่ง ซึ่งวัสดุพื้นถิ่นสำหรับงานก่อสร้างของเราคือเหล็ก ซีเมนต์บอร์ด ไม้อัด และวีว่าบอร์ด ป๊อปจึงได้ใช้โอกาสนี้นำเรื่องขนาดพิกัดวัสดุตามท้องตลาดที่ตนเองให้ความสนใจอยู่ มาทดลองใช้กับการออกแบบ โดยนำมาใช้เป็นสัดส่วนหลักของอาคาร สร้างภาษาของความงามง่ายๆ

ส่วนชั้นบนเป็นออฟฟิศ ห้องประชุม และส่วนที่เตรียมไว้เพื่อการขยาย
ส่วนใต้ถุนชั้นล่างเป็น Food Testing Studio and Workshop และพื้นที่อเนกประสงค์
การใช้วัสดุที่หาได้ตามท้องตลาดทำให้เวลาซื้อจะได้สัดส่วนมาตรฐาน และหาได้ง่าย เมื่อนำมาใช้โดยไม่ต้องตัดเศษให้สิ้นเปลืองจะได้การวางเป็นจังหวะซ้ำๆ เกิดเป็นระบบสัดส่วนของตัวอาคารเอง เพียงแต่ต้องมีงานเก็บขอบดีๆ การทำแบบนี้ช่างสามารถเข้าใจแบบได้อย่างรวดเร็วเพราะระบบในหัวของเขาคือวัดจากการใช้พิกัดวัสดุอยู่แล้ว การใช้งานไม่ก่อเศษวัสดุจากการสร้าง แม้แต่ตัวโครงสร้างเหล็กเองก็ถูกออกแบบมาให้พอดีกับค่าการรับแรง และจัดวางตำแหน่งอย่างประณีต แบบที่ออกมาจึงมีแต่สิ่งที่จำเป็นอย่างพอดีๆ เท่านั้น
ระบบพิกัดวัสดุและสัดส่วนของอาคารจะเห็นจากด้านข้างที่เส้นระบบตรงกันได้อย่างชัดเจน รวมถึงเรื่องวัสดุการใช้ไม้ยางกันน้ำชนิดเดียวกับทำเรือ และซีเมนต์บอร์ดสำหรับงานเอ้าดอร์
โครงสร้างเหล็กสานกันเป็นโครงแบบวาฟเฟิลในขนาดช่องเท่าๆ กัน เพื่อกระจายแรง
ปีกค้ำเหล็กปาดโค้งช่วยรับการยื่นออกของโครงสร้าง และสร้างความสวยงาม
การหาทางออกให้กับการออกแบบภายใต้โจทย์นี้ จึงกลับไปหาวิถีพื้นฐานที่สุดคือวิธีที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเอเชียใช้กับการสร้างอาคารจากวัสดุที่หาได้ในท้องที่ ความเรียบง่ายไม่ซับซ้อนของกระบวนการสร้างรวมถึงบทบาทของวัสดุจึงถูกนำมาใช้เป็นสัดส่วนร้อยเรียงให้เกิดความงาม และกลายมาเป็นพระเอกของงาน “บ้านส้มตำ” สำนักงานใหญ่นี้มีสถาปัตยกรรมส้มตำซึ่งหาวัสดุทานได้ง่าย ราคาถูก สร้างได้ไว และมีรสชาติของหน้าตาที่ถูกปากเช่นเดียวกับส้มตำ
แผ่นไม้อัดยางกันน้ำ หน้าต่าง และ ระยะจันทัน สะท้อนการนำสัดส่วนพื้นฐานวัสดุมาใช้
ผนังทำจากแผ่นซีเมนต์บอร์ดซ้อนกันสองชั้นช่องว่างด้านในใส่ฉนวนกันความร้อน
พื้นที่ Grey Area ที่อยู่ระหว่างอินดอร์และเอ้าดอร์
ใช้สีเขียวอ่อนปนเทาเพื่อแสดงความเป็นมิตรจับเงาของต้นไม้เวลาพาดทับและวิธีการดึงชะเนาะยึดกิ่งไม้ก้านใหญ่ของชมพูพันธุ์ทิพย์ที่ยื่นออกไปกับลำ ต้น เพื่อสอดอาคารเข้าข้างใต้พอดี
Project : BAAN SOMTUM HEADQUATERS
Owner : BAAN SOMTUM
Architect : คุณสุวภัทร ชูดวง
Engineer : คุณพงพันธ์ ทองมาก
Contractors : คุณกรสรร พึ่งทองหล่อ และ คุณพงพันธ์ ทองมาก
Budget : 4,500,000 บาท
Area : 250 ตารางเมตร
Photograph : ACKI
    TAG
  • design
  • architecture
  • lifestyle
  • retail

สถาปัตยกรรม กับ ส้มตำของ BAAN SOMTUM HQ

ARCHITECTURE/RETAIL
6 years ago
CONTRIBUTORS
EVERYTHING TEAM
RECOMMEND
  • DESIGN/RETAIL

    BETTER TOGETHER BY VIVE DESIGN STUDIO

    BETTER TOGETHER ... มาใช้เวลาร่วมกันจัดสรรพื้นที่ให้เติบโตไปมากกว่าร้านเครื่องเขียนแห่งหนึ่งในหาดใหญ่

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/RETAIL

    NEVERSAYCUTZ X PHTAA สตรีทแบบนิวยอร์คสู่ยุคฟิวชั่นฟิวเจอริสติกแบบไทยสตรีท

    NEVERSAYCUTZ ร้านตัดผมชายสไตล์อเมริกัน ที่ให้บริการทุกเพศทุกวัย โดยเปิดทำการมาตั้งแต่ปี 2008 แบรนด์ประสบความสำเร็จทั้งเติบโต และขยายสาขาไปตามส่วนต่างของกรุงเทพฯ รวมถึงเมืองต่างๆ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ร้านจะเริ่ม Rebrand โดยมีดีไซเนอร์มาช่วยกำหนดทิศทางของหน้าตาร้านเป็นครั้งแรก

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/RETAIL

    สถาปัตยกรรม “SOMEWHERE” กับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ใหม่ในย่านประดิพัทธ์

    เหมือนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่น่ารัก อบอุ่น และหนุนนำให้เกิดปฏิสัมพันธ์สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างพื้นที่ ที่ประกอบด้วย 3 เพื่อนบ้านคือคาเฟ่ (F.I.X.) ร้านไก่คาราเกะ (8 sqm) และออฟฟิศบริษัทสถาปนิก (Junnarchitect) ภายใต้โครงการ “Somewhere” ที่เชื่อมโยงการใช้ชีวิต ผู้คน และธรรมชาติเข้าด้วยกัน ในเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่าง แต่สามารถอยู่อย่างเป็นมิตรกับเสน่ห์ย่านประดิพัทธ์ได้อย่างดี และแม้ที่ตั้งจะเหมือนซ่อนตัวอยู่หลังแนวอาคารพาณิชย์สิบกว่าคูหาริมถนนด้านหน้า แต่ทั้งบริบทและบรรยากาศที่เตะตาของที่นี่ ก็ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาค้นพบได้ไม่ยากในซอยประดิพัทธ์ 17

    EVERYTHING TEAM4 years ago
  • CULTURE&LIFESTYLE/RETAIL

    “จีน่า” ชวนเที่ยว สามย่านมิตรทาวน์ ทั้งกิน ทั้งเที่ยว วันเดียวครบ

    ใครที่ยังไม่ได้ไปเช็คอินที่ “สามย่านมิตรทาวน์” ระวังคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง กับโครงการมิกซ์ยูส (Mixed-Use) เป็น “มิตร” กับคนเมืองบนหัวมุมถนนพญาไท-ถนนพระราม 4 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “คลังแห่งอาหารและการเรียนรู้” (Urban Life Library) ที่เปิดให้ทั้งนิสิต-นักศึกษา กลุ่มสตาร์ทอัพ พนักงาน นักท่องเที่ยว และคนทั่วไป ได้เข้ามาใช้ชีวิตแบบ 24 ชั่วโมง

    EVERYTHING TEAM5 years ago
  • FASHION/RETAIL

    24 KILATES / DESTINATION เเห่งใหม่ใจกลางทองหล่อ สำหรับคอสนีกเกอร์ตัวจริง

    ร้าน 24 KILATES ร้านที่เป็นเหมือนจุดนัดพบของคอสนีกเกอร์ หรือผู้ที่ชื่นชอบในแฟชั่นสตรีทแวร์มารวมตัวกัน ซึ่งหลังจากได้เห็นความอลังการในแต่ละสาขาของที่นี่แล้ว วันนี้เราก็ได้เห็นความคูลครั้งใหม่ของ 24 KILATES ในสาขาทองหล่อ จน EVERYTHING ต้องขอเข้าไปพูดคุยกับ คุณตี้ - จิรพงศ์ สภาคกุล หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน 24 KILATES ผู้เป็นเสาหลักของ Retail Business แห่งนี้ให้ก้าวมาสู่ปีที่ 5

    EVERYTHING TEAM5 years ago
  • DESIGN/RETAIL

    พื้นที่แห่งกลิ่นกาแฟกำจายอันเรียบง่าย เพื่อความหลากหลายทางการออกแบบของ WWA Portal

    หากว่า ‘ร้านกาแฟ’ คือสถานที่ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบันอย่างไม่แปลกตา จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า งานออกแบบในเชิงสถาปัตย์จะสามารถร่ายความพิเศษให้กับสถานที่นั้นๆ ให้กลายมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และตอบสนองต่อทุกความต้องการของผู้ใช้บริการ?

    EVERYTHING TEAM6 years ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )