BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

“ลม” คือบริบทหลักที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานสถาปัตยกรรม ที่ถึงแม้ไม่มีรูปร่าง ไม่มีมวลสาร แต่มีตัวกลางให้ถูกสัมผัสได้

เอกลักษณ์ของผลงาน ANONYM คือการดึงตัวตนของเจ้าของบ้านออกม่านงานได้อย่างหลากมิติ รวมถึงความใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้ภาพรวมของผลงานออกมาเนี้ยบทุกชิ้น แต่ “ตัวกลาง” ของ “บ้านสายลม” กลายเป็นสิ่งปลดล็อคความเป็น ANONYM อีกแบบที่อนุญาตให้เจ้าของบ้านเข้ามาตัวตนอีกมุมซึ่งแตกต่างจากผลงานชิ้นอื่น

จุดเริ่มต้น
“ส่วนสำคัญระหว่างสถาปนิกและผู้อยู่อาศัยในงานประเภทบ้าน มีจุดเริ่มต้นมาจากความเชื่อใจ” คุณพงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์ ผู้ออกแบบกล่าวถึงความพิเศษของการออกแบบบ้านสักหลัง สิ่งที่เป็นตัวแปรวัดระดับความเชื่อใจส่วนหนึ่งจะออกมาจากตัวโจทย์ของงาน

“มีสามครอบครัว มีที่ปีนผา นอกนั้นลุยได้เลยครับพี่!” สามประโยคที่เจ้าของบ้านออกปากกลายเป็นรหัสที่หากตีความหรือเสนอแบบถูกจุด กระบวนการออกแบบจะไปได้เร็ว องค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์คือผู้อาศัยหลักทั้ง 6 คน มี สามี ภรรยา และคุณพ่อคุณแม่ของทั้งสองฝั่ง โดยมีผู้อาศัยขาจรจากทั้งสองฝั่งมาค้างบ้างเป็นครั้งคราว เจ้าของบ้านฝ่ายสามีเป็นคนค่อนข้างชัดเจน ชอบสังสรรค์ ชอบการปีนผา ส่วนฝ่ายภรรยาเป็นศิลปินที่มีเอเนอร์จีส่งต่อพลังงานดีๆ ให้ผู้อื่นเสมอ ทั้งนี้ยังมีคุณพ่อที่ชอบปลูกผักสวนครัวอีกด้วย

เมื่อเข้าสู่ภายในบ้านจะเป็นที่จอดรถ จะเป็นที่ปีนผา หลังจากนั้นเป็นพื้นที่นั่งเล่น ส่วนหลังบ้านมีสวนผักสวนครัวของคุณพ่อ

สมาชิกต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันบนแปลงที่ดินของฝั่งภรรยา ในย่านพักอาศัยขนาด 200 ตารางวา ตัวบ้านจะหันหน้าไปทางทิศใต้ ทิศตะวันออกเป็นชุมชน ทิศตะวันตกเป็นบ้านของญาติ ทิศเหนือเป็นโรงงานที่ไม่มีมลภาวะทางเสียงและกลิ่น อีกองค์ประกอบสำคัญคือพื้นที่ตั้งบ้านมีลมที่ดีมาก

โครงการ Service Apartment ย่อมๆ จำนวน 4 ชั้น จึงถูกตั้งเป็นโจทย์ถัดมาซึ่งเหมาะสมต่อพื้นที่ ช่วงเวลาและคน โดยทุกครอบครัวมีชั้นเป็นของตนเอง และมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางต้อนรับแขกที่แวะเวียนอยู่เสมอ

SECTION
กระบวนการของงานชิ้นนี้เริ่มจากการวางไดอะแกรมของ Section หากแบ่งการใช้งานออกตามชั้นอาจทำให้มีพื้นที่ใช้สอยในแต่ละชั้นได้อย่างเต็มที่ แต่จะเป็นการแบ่งที่ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ การมีคอร์ทกลางจะเกิดความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ชั้น สอง สาม สี่ คอร์ทจึงถูกคว้านออกเป็นสองส่วนระหว่างคอร์ทพื้นที่นั่งเล่นภายใน และคอร์ทปีนผา ให้สามารถมองเห็นด้วยสายตา
คอร์ทถูกเชื่อมกันด้วยทางเดินที่วางตัวไว้เหลื่อมกันระหว่างชั้น สร้างสมมติฐานถึงบทบาทของสื่อกลาง “จะเกิดอะไรขึ้น หากทิศทางเดินและทิศทางลมเชื่อมโยงถึงกันได้?”

ไดอะแกรมแสดงการคว้านสองพื้นที่ และไขว้กัน และไม่เท่ากัน
นึกถึงลมที่ลอยจากการระบายด้านข้างขึ้นสู่หลังคาด้านบน
Function และ circulation ที่แบ่งตรงกลางให้เกิดจุดเชื่อมโยงภายในพื้นที่ และบิดพื้นที่ภายในเพิ่มมิติให้พื้นที่
PERSPECTIVE COLLAGE รูปแรกที่ถูกนำเสนอ แสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่ ซึ่งโปรแกรมแต่ละชั้นมีการวางไว้แล้วใครอยู่ชั้นไหน

ความสัมพันธ์ระหว่างก้อนแมส แพทเทิร์น และความทึบ ฝั่งที่เป็นชุมชน ผู้ออกแบบไม่ได้มองว่าชุมชนเป็นส่วนที่ต้องแยกออก โดยต้องทำผนังสูงให้ปลีกแยกตัวบ้านออกมา จึงแหวกรูปอาคารสร้างจุดโฟกัส ที่สามารถแชร์กันได้ทั้งคนในชุมชนและผู้อาศัยในบ้าน ซึ่งไม่ได้ขัดกับการใช้งานของพื้นที่ อาจมองเห็นชุมชนจากทางเดินแต่ไม่ใช่ตำแหน่งที่จะยืนอยู่ประจำ การเปิดผนังฝั่งนี้ทำให้แสงเข้ามาเกิดเฉดแสงไล่เข้ามาอย่างสวยงาม ในขณะเดียวกันฝั่งตะวันออกที่ติดกับบ้านญาติเป็นผนังทึบที่ค่อนข้างปิดเพื่อสร้างพื้นที่ส่วนตัว ฝั่งที่ติดกับโรงงานด้านหลังกลับเป็นส่วนที่ผู้ออกแบบปล่อยวางมากที่สุด โดยใช้ความรู้สึกแทนจากผู้อาศัย ใช้ความสัมพันธ์ภายในประเภทของพื้นที่และวัสดุเป็นตัวสร้างรูปด้านภายนอกได้อย่างน่าสนใจ

วัสดุที่ถูกวางไว้ตามก้อนแมสสองประเภทที่สอดรับกัน สีวัสดุหลักซึ่งวางไว้เป็นสีคอนกรีต มีแมสทึบและอิฐช่องลม ซึ่งส่วนหนึ่งของเหตุผลในการเลือกวัสดุเกิดจากเจ้าของบ้าน “บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่ได้พูดคุยกับเจ้าของบ้านตลอด และปรับเปลี่ยนวัสดุไปตามตัวตนของเจ้าของ เหมือนการทำความรู้จักกันตลอดเวลาสามปี เช่นเหตุผลการเลือกอิฐช่องลมหรือแพทเทิร์นการเรียงตัว ส่วนหนึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากลักษณะนิสัยของเจ้าของบ้านฝ่ายหญิงด้วย”

การสร้างแพทเทิร์นการวางอิฐช่องลมจะไล่ความทึบไปโปร่งในแนวตั้ง จากด้านล่างไปด้านบน ยิ่งสูงวิวจะยิ่งดี และแทรกต้นไม้เพิ่มสีเขียวไปตามแต่ละจุดของบ้าน ทุกช่องมุมเปิดของบ้านได้ถูกคิดไว้แล้วจะมองเห็นอะไร ตัวอิฐช่องลมก็เป็นอีกเลเยอร์หนึ่งที่มาเพิ่มมิติของการมองเห็น และสร้าง Privacyให้กับพื้นที่ด้านใน

ส่วนวัสดุของแมสผนังทึบเกิดจากการให้ผู้รับเหมาสร้างอาคารทดลองสร้างผิวบนวัสดุ โดยนำเกรียงมากรีดเป็นแพทเทิร์นหน้างาน เกิดเป็นร่องลึกเหมือนผลลัพท์ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่แรก จึงตัดสินใจทำทั้งหลัง

รูป Concept Diagram ที่ได้รับแรงบันดาลใจในตอนแรก เป็นจุดเชื่อมโยงกันของทั้งงาน ที่สื่อได้ทั้งพื้นที่ภายใน section วัสดุ การเคลื่อนไหว คน และสายลม

ชื่อของ “บ้านลายลม” ถูกตั้งโดยเจ้าของบ้าน เมื่อมาเยื่อมชมงานซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และสัมผัสได้ถึงบริบทที่เด่นออกมาผ่านวัสดุและพื้นที่

ในขณะที่ตัวกลางของเจ้าของผลงาน และเจ้าของโครงการคือ “ความเชื่อใจ” ที่พัฒนามาตลอดเวลาประมาณ 3 ปี ของโครงการ สถาปนิกได้เรียนรู้ลักษณะนิสัย ตัวตนของเจ้าของบ้าน และเติบโตไปพร้อมกับงาน และค้นพบความสวยงามในรายละเอียดบางจุดที่ปล่อยให้มันเติบโตไปอย่างธรรมชาติ ร่างกายของ “สายลม” จึงถูกจับต้องได้ผ่านตัวกลางหลายองค์ประกอบของบ้าน ที่แม้แต่เจ้าของบ้านก็เป็นหนึ่งในนิยามของสายลม อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ANONYM เองได้ค้นพบความสวยงามของการปล่อยวางบางรายละเอียดให้มันเติบโต และเป็นไปอย่างธรรมชาติ

Ground Floor Plan
Second Floor Level Plan
Third Floor Level Plan
Fourth Floor Level Plan
Links:
anonymstudio.com
fb.com/anonymstudio

Project : Baan Sailom
Architect : ANONYM
Design Director :
Phongphat Ueasangkhomset,
Parnduangjai Roojnawate
Area : 1,018 sq.m.
Site Area : 200 sq.wa
Project Loacation : Bangkok, Thailand
Project Year : 2020
Photographer: Ketsiree Wongwan
    TAG
  • ANONYM
  • BAAN SAILOM
  • design
  • architecture
  • house

BAAN SAILOM BY ANONYM บ้านที่สายลมมีร่างกายให้จับต้อง

ARCHITECTURE/HOUSE
March 2021
CONTRIBUTORS
Nada Inthaphunt
RECOMMEND
  • DESIGN/HOUSE

    “Pong House” เชื่อมปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านคอร์ต พร้อมตอบโจทย์ความ Privacy

    “Pong House” บ้านที่พร้อมเปิดสเปซมากที่สุดสำหรับการเชื่อมปฏิสัมพันธ์สู่ธรรมชาติ และเผยมุมมองน้อยที่สุดสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยมี ‘คอร์ตยาร์ต’ เป็นหัวใจของบ้าน ในการสอดแทรกพื้นที่สีเขียวเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัย ภายใต้ดีไซน์ที่คลี่คลายสู่ความเรียบง่าย และพร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยสบายใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในทุกมุมของบ้าน

    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    ICE.SU HOUSE BY JUNSEKINO A+D บทสนทนาระหว่างการสร้างบ้านที่ย้อนแย้งแต่ชัดเจนบนสเกล 1:1

    “One for the Road” หรือ “วันสุดท้าย . . ก่อนบายเธอ” ภาพยนตร์ไทยที่สร้างกระแสตั้งแต่ก่อนเข้าฉาย และได้ผลตอบรับที่ดีทั้งจากตัวหนัง ผู้อำนายการสร้าง ผู้กำกับ บท เพลง นักแสดง ไปจนถึงบ้านของนักแสดงนำซึ่งมีเอกลักษณ์ และถูกพูดถึงมากกว่าเจ้าของ ไอซ์ซึ หรือ คุณณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ เลือกการปลูกบ้านขึ้นใหม่จากสถาปนิกที่เขาเลือกเอง JUNSEKINO A+D เพื่ออาศัยอยู่กับแฟนและแมว

    Nada Inthaphunt3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    HOUSE 362 บ้านที่เปิด “ช่อง” เชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติ

    HOUSE 362 ของครอบครัวพงษ์สุรพิพัฒน์ อันเป็นฝีมือการออกแบบของเพื่อนสถาปนิกอย่าง จูน เซคิโน จาก Junsekino Architect and Design / Junsekino Interior Design ที่นอกจากจะสวยงามด้วยเค้าโครงสถาปัตยกรรมอันเรียบง่ายแล้ว ยังสร้างการเชื่อมโยงให้สมาชิกภายในบ้าน ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตผ่านดีไซน์ประตู หน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานกระทุ้งของ Double Space อันเป็นพื้นที่หัวใจหลักของบ้าน

    By TOSTEM
    EVERYTHING TEAM3 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    BAAN VIPHA 41 BY ANONYM บทสนทนาของตัวตนและประสบการณ์อย่างที่ใจตามหา

    บ้านวิภา 41 เป็นผลงานที่เริ่มต้นโครงการเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในช่วงยุคเริ่มต้นก่อตั้งสตูดิโอ ANONYM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสร้างผลงานบ้าน และเน้นย้ำแก่นเอกลักษณ์ของตนจนมีความโดดเด่นทางผลงานสถาปัตยกรรมประเภทที่พักอาศัยเช่นในปัจจุบัน

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    House COVE(R) by TOUCH Architect ต่อเติมบ้านหัวมุมให้ต่อเนื่องกับบ้านหลังเก่า

    เมื่อบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมในหมู่บ้านจัดสรรของครอบครัวที่มีสมาชิก 5 คน ของคน 3 รุ่น มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกต่อไป การต่อเติมบ้านบนแปลงที่ดินรูปทรงพิเศษตามการจัดสรรเดิมในรั้วบ้านซึ่งมีโจทย์ของการต่อเติมอย่างไรให้กลมกลืนจึงเกิดขึ้น

    Nada Inthaphunt4 years ago
  • DESIGN/HOUSE

    5 เคล็ดลับในการรีโนเวตบ้าน ให้ประหยัดและคุ้มค่าในช่วงล็อคดาวน์

    แม้ตอนนี้ ศบค. ยังไม่ประกาศล็อคดาวน์ครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ แต่จากแนวโน้มของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ครั้งที่ 2 นี้ก็ส่อเค้าว่าพวกเราอาจต้องกลับไป work from home อยู่กับบ้านให้มากขึ้นกันอีกครั้ง ถ้าหากเกิดขึ้นจริง ทุกคนน่าจะรับมือและปรับตัวให้เข้ากับการทำงานที่บ้านได้ดีขึ้น และกิจกรรมที่เริ่มซาลงไปอย่างการปลูกต้นไม้ การหัดทำอาหาร หรือการออกกำลังกายในบ้านก็จะกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้นเหมือนเมื่อกลางปีที่แล้ว เช่นเดียวกับการรีโนเวทบ้าน

    EVERYTHING TEAMJanuary 2021
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )