LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING




แนวคิด “กรีน อยู่ ดี : Living Green” คือการนำเสนอแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม นวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แต่นับเป็นครั้งแรกของงานสถาปนิกที่จะสร้าง “ประสบการณ์สีเขียว” (Green Experience) ให้กับผู้ชม ด้วยการสาธิตแนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืนในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการก่อสร้างนิทรรศการต่างๆ การออกแบบแสงภายในพื้นที่การจัดแสดงที่เหมาะสมเพื่อลดการใช้พลังงาน แนวคิดการลดขั้นตอนการใช้กระดาษในการทำงานระหว่างผู้จัดงานและผู้แสดงงาน ระบบการจัดการกับขยะที่เกิดขึ้นภายในงาน และการนำวัสดุที่เกิดขึ้นจากการจัดงานไปใช้ใหม่หลังจบงาน


ส่วนพื้นที่ที่สองเป็นส่วนผู้แสดงสินค้า ที่รวมบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 850 บริษัท มาร่วมแสดงศักยภาพ โชว์สินค้า บริการและเทคโนโลยีด้านสถาปัตยกรรมและวัสดุก่อสร้างจาก 40 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย จีน เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ตุรกี อังกฤษ อเมริกา และเวียดนาม
ในส่วนบนเวทีบรรยายของงานสัมมนาสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติ หรือกิจกรรม “ASA Forum 2019” เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดกับรายชื่อสถาปนิกเฟิร์มระดับโลก ที่มาร่วมบรรยายบนเวทีจาก Bjarke Ingels Group (BIG), Atelier Ten, MVRDV, Foster + Partners, Stu/D/O Architects และ Eco Architect
นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมสันทนาการสำหรับคนที่เข้ามาร่วมชม ได้เพลิดเพลินกับเวิร์กช็อปเพื่อให้มีความรู้ภาคปฏิบัติ รวมถึงเวทีกลาง พื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนกับกิจกรรมน่าสนใจที่หมุนเวียนไปตลอดการจัดงาน และบริเวณ “หมอบ้านอาษา” ที่ตอบปัญหาแก่ผู้ต้องการคำปรึกษาสารพัดเรื่องบ้านและการออกแบบ

ลงทะเบียนเข้าชมงาน www.asa.or.th/architectexpo
Facebook : ASA CREW
อย่าลืมดาวน์โหลด ASA Application เพื่อรับสิทธิพิเศษและอัพเดทข้อมูลมากมายภายในงาน
กรีน อยู่ ดี : LIVING GREEN ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องสีเขียว
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )