LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
Aesthetic of Bamboo with Sunlight
เรื่อง : สาโรช พระวงค์ / ภาพ : Spaceshift Studio
วัสดุที่เริ่มมีความนิยมในฐานะทางเลือกใหม่ให้กับสถาปัตยกรรมบนโลกที่ถามหาความยั่งยืน เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ถึงการมาของไผ่ในศตวรรษนี้ได้ แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาไผ่ได้ถูกหลงลืมไป และมักฝังตัวเองไปกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเสียมาก แต่ในปัจจุบันไผ่ได้มีบทบาทแสดงตัวในฐานะวัสดุชูโรงให้กับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างมาก ดูเป็นเทรนด์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ถึงการตอบโจทย์ในบริบทปัจจุบันนี้
ขึ้นไปทางภาคเหนือ ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีสวนกล้วยไม้ชื่อว่า สวนบัวแม่สาออร์คิด ที่ดำเนินกิจการสำหรับให้คณะทัวร์มาชมกล้วยไม้มากว่า 30 ปี จนถึงวันหนึ่งที่ต้องมีการปรับปรุงสวนกล้วยไม้นี้ ให้เติบโตรับกับยุคสมัย จึงมีการปรับปรุง และเพิ่มกิจกรรมใหม่เข้าไป ประกอบไปด้วยร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ในชื่อ อารมณ์ ออร์คิด ที่มีจุดขายคือร้านอาหารในสวนกล้วยไม้ โจทย์ที่มาถึงสถาปนิก Studio Miti โดย เผดิมเกียรติ สุขกันต์ และธนกร วัฒนโชติ คือการผสานเรื่องราวเก่าและใหม่ ให้มีลมหายใจใหม่แบบร่วมสมัยด้วยไผ่
สิ่งที่สถาปนิกใช้เริ่มต้นงานการเข้าไปสำรวจพื้นที่เดิม โครงสร้างเดิมถูกนำพิจารณาถึงเป็นสิ่งแรกในการกำหนดทิศทาง ด้วยเป็นการออกแบบปรับปรุง ต่อเติม จากแต่เดิมเป็นเรือนเพาะชำกล้วยไม้ที่มีวัสดุเป็นโครงสร้างเหล็กในขนาด 3.00x3.00 เมตร เรียงตัวเป็นตารางคลุมพื้นที่กว้าง หากหมอศัลยกรรมคือผู้รับหน้าที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมของมนุษย์ให้ดูดีขึ้น สำหรับงาน renovation สถาปนิกก็คือผู้สร้างศัลยสถาปัตยกรรมด้วยการเข้าไปศัลยกรรมพื้นที่เดิม ทั้งเฉาะเฉือน ต่อเติม สเปซเก่าให้ใหม่ขึ้นมา ในงานนี้พื้นที่เดิมทางปีกตะวันตกถูกเข้าไปตัดต่อให้มีขนาดเล็กลอง และยังคงกริดขนาด 3.00x3.00 เมตร กลายเป็นส่วนเรือนเพาะชำ ส่วนปีกตะวันออกเปลี่ยนกิจกรรมเป็นภัตตาคาร ส่วนบริการ ถูกคลุมด้วยกริดขนาด 6.00x6.00 เมตร ในพื้นที่อาคารเดิมทางด้านทิศเหนือปรับเป็นร้านกาแฟ ส่วนต้อนรับ แลบกล้วยไม้
ส่วนพิเศษของการปรับปรุงครั้งนี้คือการเลือกใช้ไผ่มาเป็นวัสดุหลัก ไผ่ถูกล้อมไปกับโครงสร้างเสา คานหลังคา แต่ส่วนที่สะดุดตาคือไผ่เรียงแนวตั้งเป็นแผงยาวไปตลอด ทั้งส่วนที่เป็น parapet และแทรกเป็นแผงยาวไปตามเส้นตารางอย่างสงสัยในหน้าที่ของพวกมัน การสร้างแพทเทิร์นเหล่านี้มาจากกระบวนหาจังหวะของกริดหลังคา กับการทำงานร่วมกันกับแสงอาทิตย์
พื้นที่ส่วนเรือนเพาะชำถูกจัดให้เป็นสวนในร่ม มีทั้งกล้วยไม้ พืชที่ต้องการแสงในร่ม การออกแบบพื้นที่ส่วนนี้จึงลดความจัดจ้าของแสงอาทิตย์ที่เชียงใหม่ด้วยผืนบังแดดแบบที่ใช้ในโรงเกษตร และการใช้แผงบังแดดที่หลังคาทำจากไผ่แนวตั้งล้อมส่วนบนไว้ในขนาด 3.00x3.00 เมตร แผงแนวตั้งทั้ง 4 ด้านจะบังแดดทาบซ้อนไปมา ทำให้การออกแบบในส่วนที่แผงบังแดดสูงจะมีระยะห่างของกริดมาก มีทั้ง 3.00x6.00 เมตร และ6.00x6.00 เมตร ทำให้พื้นที่ส่วนสวนกล้วยไม้มีแสงสลัวที่เข้ม จาง เป็นระดับต่าง ๆ กันไป ไม่สม่ำเสมอตามพันธุไม้ที่ถูกวางไว้
พื้นที่ส่วนปรับปรุงใหม่ กลายเป็นพื้นที่ภัตตาคารภายใต้กริดขนาด 6.00x6.00 เมตร และเสริมเป็นกริดย่อยขนาด 2.00x2.00 เมตร ภายในตัวมันเอง การควบคุมแสงอาทิตย์ในส่วนนี้ถูกควบคุมให้สลัวจาก parapet โดยรอบ และแผงไผ่แนวตั้งในกริด 2.00x2.00 เมตร แสงที่ลอดผ่านแผงไผ่ พร้อมผืนผ้าที่เป็นฝ้ากรองแสง จะสร้างเงาสลัวให้มีบรรยากาศเหมาะกับพื้นที่รับประทานอาหาร ด้วยเงาระดับต่าง ๆ ตามช่วงเวลาของวันไปพร้อมกับแสงซี่เล็ก
เผดิมเกียรติ design director ของ Studio Miti เอ่ยถึงความเป็นมาของชุดหลังคาว่า
“ถ้ามองไปที่หลังคา เราออกแบบให้มันมีหน้าที่แยกกัน แต่ผสานการทำงานกัน ที่ layer บนสุดเป็นหลังคามีหน้าที่กันฝนให้ด้านล่างใช้งานได้ตลอด ส่วนแผงไม้ไผ่แนวตั้งมีหน้าที่กรองแสงอาทิตย์ลงมา มุมของแสงที่ส่องลงมามีมุมต่าง ๆ กันไปของวัน มันซ้อนทับกันมากน้อยตามเวลา ทำให้ควบคุมเงาสลัวตลอดวัน จนเกิดบรรยากาศที่เราต้องการ”
มองมาที่งานนี้แล้วชวนให้คิดถึง Louis Kahn เคยถามนักศึกษาในห้องบรรยายว่า อิฐอยากเป็นอะไร?
แล้วไผ่ละ อยากเป็นอะไร?
Architecture Firm : Studio Miti
Contact e-mail : [email protected]
Facebook Page : https://www.facebook.com/studiomitidesign/
Address : Bangkok , Thailand
Year of Complete : 2019
Area : 432 Sq.m.
Location : Mae Rim , Chaing Mai
Architect : Padirmkiat Sukkan , Thanakorn Watthanachote
Interior : Padirmkiat Sukkan
Photo credit : Spaceshift Studio
Owner : Weerachai Jumnuan
Landscape : Padirmkiat Sukkan
Engineering : Jedsadapong Jumderm
Arrom Orchid : Aesthetic of Bamboo with Sunlight
/
บ้านหลังแรกที่สร้างขึ้นเองของคุณออมมี่ และคุณแบงค์ -ปรีดากร เมรเกรียงชัย Co-Founder แห่งแบรนด์ Gentle RAM บ้าน ที่ตอบโจทย์รสนิยมของทั้งสองที่หลงใหลในความ Timeless และการอยู่อาศัยที่อยู่สบาย เรียบง่าย พร้อมจัดระเบียบชีวิตในบ้านได้อย่างลงตัว บ้านที่ทุกพื้นที่ และทุกฟังก์ชั่นที่ทาง THE OTHERS ผู้ออกแบบได้ขบคิดมาอย่างพิถีพิถันไม่ต่างกับเสื้อผ้าที่เทรลเลอร์เมดให้พอดีกับเจ้าของบ้าน
/
หนึ่งในกิจกรรมจากเวที TOSTEM Asia Design Award (TADA) ซึ่งจัดขึ้นโดย TOSTEM เพื่อเฟ้นหาผลงานสถาปัตยกรรมในเอเชีย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมชาติ ผสานเข้ากับนวัตกรรมการอยู่อาศัยสมัยใหม่ ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งาน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ซึ่งนอกจากผู้ชนะรางวัลจะได้ร่วมเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังได้พบปะกับ Akihisa Hirata สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มาแชร์มุมมองแนวคิดการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่งาน Installation Art บ้านพักอาศัย จนถึงอาคารสาธารณะ ซึ่งความน่าสนใจนอกเหนือจากเอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดผ่านฟอร์ม และสเปซที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำแล้วนั้น สำคัญคือปรัชญาหลักที่เป็นรากฐานความคิดของ Hirata สู่การพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมน่าทึ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะมาเจาะลึกแนวคิดที่ว่านั้นกัน
By TOSTEM/
ผสานบริบทธรรมชาติ สอดรับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมถ่ายทอดสู่เอกลักษณ์ภาษาทางสถาปัตยกรรม ที่เติมเต็มทั้งสุนทรียศาสตร์ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัยได้ทุกมิติ คือจุดร่วมหลักของสองผลงานออกแบบบ้านที่ตั้งอยู่ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือ ที่คว้ารางวัล TOSTEM ASIA DESIGN AWARD 2024 (TADA 2024) ในกลุ่มประเภท “Special Mention for Sustainable Living” มาครอง
By TOSTEM/
ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน
/
กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในซอยจ่าโสด เมื่อเราได้พบกับอาคารสถาปัตยกรรมโมเดิร์นเรียบเท่ที่เต็มไปด้วยไดนามิคของเส้นสาย ส่วนคว้านโค้งซึ่งออกแบบมาเพื่อฟังก์ชั่น และเพื่อแสงธรรมชาติ เป็นอาคารโทนสีขาวสะอาดตาแต่ทำให้เราไม่อาจละสายตา กับเอกลักษณ์ดีไซน์ของอาคารที่ทอดตัวยาวพร้อมมีประภาคารเล็ก ๆ นี่คือ SANS STUDIO BANGKOK สตูดิโอแห่งใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าของผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมและศิลปะการถ่ายภาพ หลังจากเรียนจบมาจากฝรั่งเศส โดยให้เป็นสตูดิโอที่รองรับงานถ่ายภาพ โปรดัคชั่น จนถึงอีเวนต์ ที่ได้ทาง PHTAA LIVING DESIGN มาเป็นบริษัทสถาปนิกออกแบบให้
/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดให้เรียนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งโดย อาจารย์นารถ โพธิประสาท ในปี พ.ศ. 2476 และมีการเปิดใช้ตึกคณะสถาปัตยกรรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484 จนต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ภายใต้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มี “ประกาศปรับปรุงอักสรไทย” ขึ้นเพื่อให้การสะกดคำในภาษาไทยกะทัดรัดและลดความซ้ำซ้อนของตัวอักษรลง ชื่อคณะสถาปัตยกรรม จึงถูกเปลี่ยนแปลงและใช้ชื่อว่า คณะสถาปัตยกัม อยู่นานถึงสองปี ก่อนจะมีการกลับมาใช้ชื่อเดิมอีกครั้ง (หลังจบสงคราม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เป็นต้นไป
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )