ANGULAR HOUSE | IAMEVERYTHING.CO

LOOKING ON EVERYTHING ?

EXPLORE ON EVERYTHING

"ทางสามแพร่ง" คงเป็นตำแหน่งที่ตั้งของบ้านที่คนไทยหลายคนพยายามจะหลีกเลี่ยง แต่ลึกเข้าไปในซอยสุขุมวิท 49 หัวมุมทางสามแพร่งแห่งหนึ่งเป็นสถานที่ที่ช่างภาพชาวเยอรมันเลือกให้เป็นบ้านและแกลเลอรี่ของเขากับภรรยา
Photography :
Tanapol Kaewpring
Writer :
Dorsakun Srichoo
"ข้างล่างเป็นแกลเลอรี่ ชั้นสองชั้นสามเป็นบ้าน" จูน เซคิโน่ อธิบายให้ฟังถึงแผนผังคร่าวๆ ของบ้านหลังนี้ "ข้างล่างเป็นที่เปิดสำหรับสาธารณะ มีห้องน้ำ มีพื้นที่สำหรับ Exhibition ด้วย ข้างล่างมันจึงจอแจ แต่พอขึ้นไปชั้นสอง เราจะเห็นยอดของบ้านข้างๆ บริบทมันเป็นชุมชนที่หนาแน่นของกรุงเทพ"
ท่ามกลางความแออัดของบริเวณรอบข้าง ช่างภาพชาวเยอรมันเจ้าของบ้านเห็นว่าทิวทัศน์แบบนี้มีความเป็นกรุงเทพและมีลักษณะของความเป็นไทยที่น่าสนใจ ด้วยบริบทของหมู่บ้านที่หนาแน่น การย้ายจากชั้นหนึ่งขึ้นมาที่ชั้นสองสามารถยกระดับมุมมองได้อย่างน่าประหลาดใจ “การได้เห็นหลังคาบ้านคนอื่นมันให้ความรู้สึกอิสระมากเลย” จูนเล่าขณะมองออกไปจากชั้นสองของบ้านที่ตั้งอยู่หัวมุมหลังนี้
“บ้านหลังนี้มันขัดแย้งกันไปหมด ทั้งที่ตั้งและบริบทของมัน ดูสายไฟสิ” จูนชี้ชวนให้ดูสายไฟระโรงระยางที่พาดผ่านหน้าบ้าน “มันเป็นแกลเลอรี่ภาพถ่ายนิ่งๆ แล้วมีบ้านอยู่ข้างบน ผมรู้สึกว่าเป็นบ้านที่มีความขัดแย้งสูงมาก เป็นบ้านที่ตัดกันแบบดำกับขาวเลย” จูนดึงมุมมองแบบ Positive Negative ของภาพถ่ายมาใส่ในการออกแบบบ้านหลังนี้ “เราเสนอเรื่องของมุมเหลี่ยมๆ เข้าไปในที่ตั้งซึ่งไม่มีใครทำแล้วเราลองทำดู มันเลยเกิดเป็นมุมมองสามเหลี่ยมที่ไม่ได้ฉาก ขาดบ้างแหว่งบ้าง ซึ่งก็โอเค รูปร่างที่แปลกตานั้นไม่ได้เกิดจากผมตั้งใจ หากเกิดจากตำแหน่งที่ตั้ง เกิดจากบริบท เกิดจากสภาพแวดล้อมมันบังคับให้บ้านต้องเป็นอย่างนี้ หลังคาเองก็ด้วย”
จูนยอมรับว่าการออกแบบบ้านบนที่ดินผืนเล็กๆ ในซอยแคบๆ ท่ามกลางความแออัดของกรุงเทพมหานครเป็นโจทย์ที่ยากมาก แต่บนความยากก็มีความน่าสนุกแฝงอยู่ “เมื่อไซต์บังคับมาว่ารูปทรงมันต้องเป็นสามเหลี่ยม สถาปนิกก็มานึกว่าสามเหลี่ยมจะทำเป็นอะไรได้บ้าง เราก็มานั่งนึกเรื่องความเป็นไปได้ของสามเหลี่ยม ปรากฏว่าเป็นได้เยอะมาก บิดแปลนได้ด้วย ซึ่งเราลองมาหมดแล้ว” จูนเล่าด้วยความกระตือรือร้น
นอกจากการใฃ้สีขาวตัดกับสีดำ การเลือกใช้วัสดุต่างๆ ก็มีการจับคู่ที่ขัดแย้งให้มีอยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งผนังขัดมัน กำแพงปูนเปลือยกับผนังอิฐสีเทาเข้ม หนังชั้นต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความสวยงามเท่านั้น หากยังตอบโจทย์การใช้งานของบ้านอีกด้วย จูนอธิบายว่าผนังของบ้านนี้ทำหน้าที่เหมือนเสื้อผ้าที่ช่วยเป็นเปลือกป้องกันเรื่องเสียง แสงและก่อให้เกิดความเป็นส่วนตัว คนจากภายนอกจะไม่สามารถมองเห็นกิจกรรมภายในพื้นที่ชั้นสองและสาม ทำให้เกิดความเป็นส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถระบายอากาศและรับแสงธรรมชาติได้ด้วย
มุม 45 องศาของหน้าบ้านช่วยลดแรงปะทะของทางสามแพร่ง การใช้ผนังปูนแผงใหญ่ก่อให้เกิดเส้นแบ่งความวุ่นวายภายนอกกับความสงบภายใน ชั้นล่างนอกจากจะเป็นแกลเลอรี่แล้วยังมีห้องอัดรูปขนาดใหญ่อยู่ด้วย "กำแพงอิฐสามเหลี่ยมเป็นไฮไลท์สำคัญเลย" จูนอธิบายถึงการออกแบบเพื่อตอบโจทย์เรื่องความเป็นส่วนตัว "การเปลี่ยนบริบทที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นบ้านที่อยู่แล้วเป็นส่วนตัวได้แต่มันเป็นส่วนตัวจริงๆ มันเป็นความขัดแย้งมากๆของโครงการนี้ มันขัดแย้งด้วยแปลนที่เราต้องทำให้สบายแต่มันเป็นสามเหลี่ยม อยู่ข้างในแล้วต้องเอียงตัวตลอด แต่พอมาอยู่แล้วมันให้ความรู้สึกว่าเพราะแบบนี้แหละมันเลยให้ความเป็นส่วนตัว เพราะแกนในบ้านหลังนี้มันไม่เหมือนคนอื่น ความสัมพันธ์ของสเกลตั้งแต่ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ จนถึงระดับของบ้านข้างๆ มีผลมาก แกนบ้านหลังนี้มันไม่ได้ปะทะกับใครเลย มันเลยมีความเป็นส่วนตัว"
ที่ดินผืนน้อยบนทางสามแพร่งในทำเลที่หนาแน่นไปด้วยบ้านเรือน กับแกนเอียงๆ ของอาคารสีขาวดำ ดูเผินๆ "บ้านมุม" หลังนี้อาจจะไม่ใช่บ้านในฝันสำหรับคนทั่วไป แต่ด้วยการออกแบบที่จัดระบบกับความขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างลงตัว เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ บ้านบวกแกลเลอรี่แห่งนี้กำลังจะทำหน้าที่เป็นบ้านอันอบอุ่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านได้อย่างครบถ้วนในอนาคตอันใกล้
    TAG
  • design
  • architecture
  • house
  • interior
  • vdo

ANGULAR HOUSE

ARCHITECTURE/WORK IN PROGRESS
6 years ago
CONTRIBUTORS
Dorsakun Srichoo
RECOMMEND
  • DESIGN/WORK IN PROGRESS

    บ้านเหล็กที่นุ่มนวล และแนบชิดกับธรรมชาติ โดย Vin Varavarn Architects

    การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไป พื้นไม้ ผนังคอนกรีต และโครงหลังคาค่อยๆ ประกอบกันจนเผยให้เห็นเค้าโครงของบ้านเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ จาก Vin Varavarn Architects (VVA) พา EVERYTHING Team เข้าไปสำรวจบ้าน Iron House ในช่วงเวลาที่งานออกแบบค่อยๆ เดินทางจากจินตนาการสู่การเป็นสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ขึ้นอย่างช้าๆ

    EVERYTHING TEAMOctober 2020
  • CULTURE&LIFESTYLE/WORK IN PROGRESS

    ใครว่า Workplace ไม่สำคัญ! CO.Lab พื้นที่ระเบิดความคิดแห่งใหม่ ของชาว SC Asset

    ด้วยวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ต้องการกำหนดทิศทางวัฒนธรรมองค์กรใหม่เพื่อหล่อหลอมพนักงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ทั้งด้านการทำงาน ความสุข และคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มศักยภาพให้พนักงานทุกคนได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ พร้อมทั้งสร้างความพึงพอใจและการอยู่อาศัยให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “รู้ใจ” โดยยึดถือหัวใจหลัก “สร้างทุกเช้าที่ดีให้กับลูกค้าทุกคน” เป็นภารกิจสำคัญ ไปทำความรู้จักกับ CO.Lab พื้นที่สร้างสรรค์งานแห่งใหม่ของพนักงาน SC Asset ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กร สู่การต่อยอดเป็น Living Solutions Provider

    EVERYTHING TEAMSeptember 2019
  • DESIGN/WORK IN PROGRESS

    ANON PAIROT x SAMUEL WILKINSON โปรดักท์ท้องถิ่นที่สวมจิตวิญญาณสากล

    อานนท์ ไพโรจน์ ทำโปรเจกท์ร่วมกับ Samuel Wilkinson ทำโปรดักท์ชิ้นใหม่ที่ผลิตด้วยโรงงานช่างฝีมือของไทย

    EVERYTHING TEAMMarch 2019
  • DESIGN/WORK IN PROGRESS

    BOOK PAVILION

    ลึกเข้าไปผ่านผืนป่า ห้อมล้อมไปด้วยสวนกล้วย ของขวัญชิ้นใหญ่สำหรับนักอ่านในชุมชนแก่งกระจานใกล้จะถึงเวลาได้แกะกล่องในไม่ช้า

    EVERYTHING TEAM6 years ago
  • DESIGN/WORK IN PROGRESS

    MASON / THE STONE CARVER

    MASON THE STONE CARVER ภาพเหล่านี้จะไม่มีวันได้เห็นอีกเมื่อโครงการเสร็จสิ้น คุณวสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกแถวหน้าแห่ง VaSLab Architecture พาชมระหว่างทางการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่คล้ายประติมากรรมหินซ้อนตัว ริมหาดนาจอมเทียน

    EVERYTHING TEAMJuly 2018
  • DESIGN/Architecture

    เชื่อมบริบทธรรมชาติของเมือง Hefei สู่จิตวิญญาณของ 3 โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำในจีน ที่ออกแบบโดย HAS design and research

    ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรเจกต์ออกแบบโดย HAS design and research ของสองสถาปนิกฝีมือแถวหน้าอย่าง คุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) และคุณป้อ-กุลธิดา ทรงกิตติภักดี (Kulthida Songkittipakdee) แล้วนั้นรับรองว่ามิติที่ลึกซึ้งกว่าเรื่องของฟอร์มอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ทุกคนต่างทึ่งไปกับงาน“Aluminum Grotto and Public Ground” งานอินสตอลเลชันสุดอลังการที่จัดแสดงในงานสถาปนิก’67 ก็เป็นตัวอย่างของการผสานองค์ประกอบเรื่องของพื้นผิว-พื้นที่-โครงสร้าง-ฟังก์ชั่นให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ และเชื่อมระหว่างภูมิทัศน์ธรรมชาติ ศิลปะเชิงช่าง และวัสดุอุตสาหกรรมได้อย่างน่าตื่นตา มาถึงโปรเจกต์ใหม่ที่เป็นงานออกแบบรีเทลนี้ ทาง HAS ได้พยายามข้ามขนบบางอย่างของการออกแบบพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ที่ได้ไปเยือน

    EVERYTHING TEAM8 days ago
SIGN UP TO OUR NEWSLETTER
A Monthly update of the new issue from us
THANK YOU FOR YOUR SUBSCRIPTION

We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )