LOOKING ON EVERYTHING ?
EXPLORE ON EVERYTHING
![1_HD](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/1_HD-2.png)
สังคม การเมือง วัฒนธรรม เข้าด้วยกันอย่างแนบเนียนน่าพิศวง Almagul Menlibayeva
![2](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/2-4.png)
ในยุคสมัยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) ซึ่งบางคนคิดว่ามันล้ำสมัยเกินหน้าเกินตา จนเบียดบัง แทรกแซง และแย่งชิง (Disrupt) ความสามารถในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ผู้ใช้สมองและสองมือไปสิ้น หากแต่มีศิลปินบางคนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเหล่านี้ สร้างสรรค์ผลงานอันแปลกใหม่และแหลมคมทางความคิดออกมาได้อย่างเหลือเชื่อ หนึ่งในจำนวนนั้นคือศิลปินผู้มีชื่อว่า
อัลมากุล เมนลิบาเยวา (Almagul Menlibayeva) ศิลปินชาวคาซัคสถาน ผู้อาศัยและทำงานในเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และประเทศคาซัคสถาน เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานภาพถ่าย วิดีโอ และศิลปะแสดงสด ที่มุ่งเน้นในการสำรวจประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียกลาง ด้วยผลงานภาพถ่าย, ศิลปะแสดงสด และวิดีโออันเปี่ยมสุนทรียะในเชิงกวี ที่นำเสนอผ่านฉากและองค์ประกอบรายรอบที่หลอมรวมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของภูมิภาคและงานศิลปะร่วมสมัย เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนแนบเนียบ จนกลายเป็นรูปแบบอันเปี่ยมเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเธอที่เรียกว่า “Romantic Punk Shamanism” ที่นำเสนอมุมมองของเธอเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัว และประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม สังคม การเมือง
เมนลิบาเยวา จบการศึกษาจากสถาบัน Soviet Russian avant-garde school of Futurism ที่นั่น เธอผสมผสานสุนทรียะของชนเผ่าเร่ร่อนของยุคสมัยหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และศิลปะร่วมสมัยของคาซัคสถานเข้าไว้ด้วยกัน
“ปฏิบัติการทางศิลปะของฉันครอบคลุมสุนทรียะของชนเผ่าเร่ร่อน และการปลดเปลื้องอาณานิคม ซึ่งอยู่ในบริบทอันเปี่ยมความเคลื่อนไหวของสังคมคาซัคสถานร่วมสมัยในยุคหลังสังคมนิยม โดยนำเสนอผ่านผลงานภาพถ่ายและวิดีโอของฉัน ที่สำรวจลักษณะทางกายภาพอันซับซ้อนของเรื่องราวเหล่านี้ โดยได้แรงบันดาลใจจากตำนานท้องถิ่นและภูมิศาสตร์การเมืองอันยาวนาน สิ่งเหล่านี้ได้อานิสงส์จากพื้นเพทางการศึกษาของฉันในสถาบัน Soviet avant-garde school of Futurism ที่เปิดโอกาสให้ฉันสามารถเชื่อมโยงอดีตเข้ากับปัจจุบัน เชื่อมโยงขนบธรรมเนียมประเพณีเข้ากับนวัตกรรม ในเส้นทางการทำงานสร้างสรรค์ของฉัน ฉันใช้กระบวนการแสดงออกอันเฉพาะเจาะจงในงานศิลปะร่วมสมัย เป็นเครื่องมือในการสำรวจรากเหง้าแห่งอดีตอันไกลโพ้นของบรรพบุรุษของฉัน ราวกับเป็นนักมานุษยวิทยาที่สำรวจวัฒนธรรมอันลี้ลับในโลก”
![4](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/4-6.png)
เมนลิบาเยวาใช้ผลงานของเธอสำรวจธรรมชาติของประสบการณ์ร่วมทางจิตในวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ของชนพื้นเมืองผู้อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าโบราณอันแห้งแล้งของคาซัคสถานในปัจจุบัน ผู้กำลังสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของตนเองขึ้นมาอีกครั้งหลังจาก 80 ปี แห่งการครอบงำของสหภาพโซเวียตและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรมของลัทธิคอมมิวนิสต์ ด้วยการผสมผสานสื่อทางศิลปะต่างๆ อย่างภาพถ่าย, ศิลปะแสดงสด และฟุตเตจจากสารคดีต่างๆ ที่เธอถ่ายทำ รวมถึงข้อมูลดิจิทัลที่ถูกประมวลผลโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการผสมสานความเป็นจริงเข้ากับความทรงจำ จินตนาการและเทคโนโลยีไซเบอร์สเปซ
![5](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/5-6.png)
![6](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/6-4.png)
“ผลงานชุดนี้ของฉันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิง, แม่มด, หมอผี (Shaman), ช่างฝีมือทางจิตวิญญาณ หรือแม้แต่หญิงสาวสมัยใหม่ผู้ค้นหาตัวเอง ผลงานเหล่านี้นำเสนอมุมมองทางศิลปะส่วนบุคคลที่เป็นทางเลือกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่หลอมรวมประวัติศาสตร์และความเป็นสมัยใหม่เข้าไว้ด้วยกัน ในงานภาพถ่ายชุดนี้ ผู้หญิงเหล่านี้ยืนอยู่เคียงข้างสิ่งก่อสร้างจากยุคสมัยต่างๆ ทั้งกำแพงที่มองไม่เห็นจากยุคเจงกิสข่าน, กำแพงแห่งจักรวรรดิตีมูร์ หรือกำแพงค่ายกักกันกูลัก ของสตาลิน, กำแพงป้องกันรังสีนิวเคลียร์ สิ่งก่อสร้างบนเส้นทางสายไหมในยุคดิสโทเปีย ไปจนถึงสถาปัตยกรรมคอนกรีตและกระจกของระบอบเผด็จการยุคใหม่ พวกเธอเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์กายภาพของโลกอนาคตอันมืดมิด ในฐานะของผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
![7](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/7-4.png)
![8](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/8-4.png)
“ฉันเกิดในคาซัคสถาน สหภาพโซเวียต ประเทศที่ไม่มีอยู่อีกต่อไป เอเชียกลางและคาซัคสถานมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งต่างกับวัฒนธรรมของชนชาติที่ตั้งรกรากอยู่เป็นหลักแหล่งอย่างมาก งานของฉันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสุนทรียะของชนเผ่าเร่ร่อน ฉันพยายามผสมผสานวัฒนธรรมที่ว่านี้เข้ากับศิลปะร่วมสมัย ฉันคือผู้ร่อนเร่ทางวัฒนธรรม ฉันคิดว่ามันเป็นวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน เราเดินทางโยกย้ายถิ่นฐานไปยังที่ต่างๆ เป็นเรื่องปกติ และเมื่อคุณเป็นชนเร่ร่อน คุณจะไม่มีข้าวของติดตัวมากมายนัก คุณต้องมีข้าวของที่สะดวกต่อการพกพาในการเดินทาง”
“สำหรับฉัน ประสบการณ์ที่น่าสนใจคือ เวลาได้เห็นปฏิกิริยาของผู้คนที่ได้ชมผลงานของฉัน ได้เห็นว่าผลงานของฉันสัมผัสหัวใจของพวกเขาเพียงไร สิ่งที่ฉันนำเสนอคือวัตถุจากวัฒนธรรมอิสลาม ฉันทำงานในหัวข้อนี้เพราะเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ผู้คนต้องการหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมใหม่ และพวกเขามักพบว่าศาสนาคืออัตลักษณ์ใหม่ของพวกเขา เมื่อศาสนาผสานเข้ากับวัฒนธรรม คุณจะเห็นอัตลักษณ์ที่ว่านี้เมื่อบางคนกล่าวว่าความเป็นคาซัคสถานใหม่คือความเป็นมุสลิม”
![10](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/10-3.png)
อัลมากุล เมนลิบาเยวา ยังเป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับการเชื้อเชิญให้ร่วมแสดงผลงานในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 ที่จังหวัดเชียงราย กับผลงานภาพถ่ายจัดวางบนตู้ไฟ (Lightbox photography) ที่ผสมผสานสุนทรียะของภาพถ่ายแฟชั่น เข้ากับแนวคิดเชิงคอนเซ็ปชวล ที่เต็มไปด้วยบริบททางวัฒนธรรม การเมือง และกลิ่นอายของความเหนือจริงอันน่าพิศวง
“ผลงานชุดนี้ของฉันเกี่ยวกับเรื่องราวของเอเชียกลาง อย่างคาซัคสถาน เตอร์กิสถาน โดยใช้ภาพของผู้หญิงในประวัติศาสตร์ของคาซัคสถานในช่วงเวลาที่ศาสนาคริสต์และอิสลามยังไม่มีความแตกต่างและขัดแย้งกันอย่างที่เป็นในทุกวันนี้ สิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ที่เปิดโอกาสให้เกิดการพูดคุยและถกเถียงมากขึ้น”
ผลงานภาพถ่ายของเมนลิบาเยวา เป็นส่วนผสมของเทคโนโลยีทั้งเก่าและใหม่ ทั้งเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมอย่างระบบอนาล็อก หรือเทคโนโลยีกลางเก่ากลางใหม่อย่างระบบดิจิทัล และเทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่ผ่านการประมวลผลโดยระบบปัญญาประดิษฐ์
![11](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/11-2.png)
“ฉันทำงานทั้งในระบบอนาล็อก ดิจิทัล หรือแม้แต่ AI ฉันถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ซึ่งเป็นระบบอนาล็อก หลังจากนั้นฉันก็เอาภาพทั้งหมดมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลและส่งให้ระบบ AI ประมวลผลสร้างเป็นภาพใหม่ขึ้นมา ในช่วงเวลาที่ผู้คนตั้งคำถามเกี่ยวกับ AI ฉันใช้มันเป็นเครื่องมือในการสร้างงานของฉันขึ้นมา”
ถึงแม้จะเป็นคนทำงานผู้คาบเกี่ยวจากยุคอนาล็อก ที่ก้าวเข้ามาสู่ความล้ำสมัยอันซับซ้อนของระบบดิจิทัลและ AI แต่เมนลิบาเยวาก็หาได้เกรงกลัวว่าจะถูกระบบปัญญาประดิษฐ์แทรกแซงและคุกคามจนสูญเสียความเป็นตัวตนหรือความเป็นศิลปินแต่อย่างใด
“ฉันไม่ได้มอง AI ว่าเป็นปัญหานะ เพราะที่ผ่านมา เทคโนโลยีก็เปลี่ยนการรับรู้ของมนุษย์เรามาโดยตลอด ดังนั้น ฉันจึงใช้เทคโนโลยีหลากหลายในการทำงาน ทั้งอนาล็อก ดิจิทัล และ AI ฉันมักจะสนใจอย่างมาก ว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนการรับรู้ทางศิลปะได้อย่างไร และเราจะหาความหมายใหม่จากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างไร เพราะเมื่อเทคโนโลยีภาพถ่ายปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ นิยามของงานศิลปะนั้นมีแค่เพียงงานจิตรกรรมเท่านั้น ภาพถ่ายไม่เคยถูกยกให้เป็นศิลปะ แต่เมื่อศิลปะเปลี่ยนความหมาย สุดท้ายภาพถ่ายก็ถูกยอมรับให้เป็นงานศิลปะได้ในที่สุด”
![12](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/12-3.png)
“สิ่งที่เราต้องทำคือ การมอบความเป็นมนุษย์ให้แก่เทคโนโลยี เพราะท้ายที่สุด เทคโนโลยีก็เป็นเครื่องมือที่วิวัฒนาการขึ้นตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นไซเบอร์สเปซ หรือ AI อยู่ที่เรามองตัวเองว่าเป็นมนุษย์ผู้ใช้งานเทคโนโลยี หรือเป็นผู้ถูกคุกคาม นี่เป็นเหตุผลที่ฉันทำงานชุด Thermonuclear Skin ขึ้นมา”
“Thermonuclear Skin เป็นผลงานที่ผสมผสานระหว่างสื่อที่สัมผัสได้ กับสื่อดิจิทัล โดยผสมผสานแนวคิดต้นกำเนิดของความเป็นไซเบอร์เข้ากับวัสดุและรูปทรงของสิ่งทอ เพราะยิ่งเทคโนโลยีซับซ้อนขึ้นเท่าไร ความเป็นการเมืองยิ่งซับซ้อนขึ้นเท่านั้น สิ่งที่จะปกป้องเราในสถานการณ์นี้ได้คือ “ผิวหนังแห่งยุคสมัยใหม่” (Skin of Modernity) นั่นเอง”
“Thermonuclear Skin คือการถักร้อยสิ่งทอแห่งประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าส่วนตัวเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งทอของชนเผ่าเร่่ร่อนเบื้องหน้าฉากหลังที่เป็นท้องทุ่งสถานที่ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของคาซัคสถาน ซึ่งเป็นเหมือนถ้อยแถลงแห่งอดีตที่ส่งผ่านเลนส์ของงานออกแบบสิ่งทอในผลงานของฉัน”
![13](https://admin.iameverything.co/wp-content/uploads/2024/01/13-3.png)
“ผิวหนังของผืนผ้าที่ถูกบรรจงสร้างขึ้นมาอย่างละเอียดละออในภาพถ่ายเหล่านี้ เป็นมากกว่าชิ้นส่วนของสิ่งทอ มันเป็นสัญลักษณ์ของเกราะกำบังและการปรับตัว ที่เล่าเรื่องราวของผู้อยู่รอดและผู้ปรับตัวจากหายนะ สตรีผู้สวมใส่สิ่งทอเหล่านี้ก็ไม่่ต่างอะไรกับสภาพแวดล้อมที่ถูกประทับตราหลังจากรอดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์”
จากสื่อสิ่งทอสู่ความทรงจำ ผลกระทบ ประสบการณ์ ไปสู่บางสิ่งที่จับต้องและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ ผลงาน Thermonuclear Skin จึงเป็นเสมือนเรื่องเล่าที่มีชีวิต เป็นบันทึกความทรงจำสวมใส่ได้ ที่ห่อหุ้มร่างกายและเชื่อมโยงบุคคลเข้ากับประวัติศาสตร์ และเชื่อมโยงปัจเจกชนเข้ากับความทรงจำร่วมของมนุษยชาติ ที่ถูกตีตราด้วยระเบิดนิวเคลียร์แห่งอดีต เป็นเสมือนสะพานเชื่อมแห่งยุคสมัย เป็นบทสนทนาระหว่างรอยแผลเป็นของแผ่นดิน และการเยียวยาด้วยการแสดงออกทางศิลปะ เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะครั้งนี้ และผลลัพธ์ของกระบวนการนี้ก็แสดงออกผ่านวัตถุทางกายภาพของสิ่งทอเหล่านี้ในผลงานของเมนลิบาเยวานั่นเอง
มิตรรักแฟนศิลปะท่านใดสนใจสัมผัสกับผลงานของ อัลมากุล เมนลิบาเยวา ก็สามารถมาเยี่ยมชมกันได้ในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ธ.ค. 2566 - 30 เม.ย. 2567 ในพื้นที่แสดงงาน หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองเชียงราย (CIAM)
ศิลปินผู้ผสมผสานเทคโนโลยีหลากยุคสมัยและประเด็นทางประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เข้าด้วยกันอย่างแนบเนียนน่าพิศวง Almagul Menlibayeva
/
เหตุการณ์นี้เป็นอุทาหรณ์ให้เรารู้ว่า การก๊อปปี้ก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะอย่างน้อยที่สุด ก็ทําให้ เราได้รู้ว่าผลงานต้นฉบับของจริงในช่วงเวลาที่เสร็จสมบูรณ์นั้นมีความดีงามขนาดไหน ไม่ต่างอะไรกับศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทยอย่าง วิชิต นงนวล ที่หลงใหลศรัทธาในผลงานของศิลปิน ระดับปรมาจารย์ในยุคสมัยใหม่ของไทยอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์ ในวัยของนักเรียน นักศึกษา เรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ ความหลงใหลศรัทธาที่ว่าก็ยังไม่จางหาย หากแต่เพิ่มพูน ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สุกงอมออกดอกผลเป็นผลงานศิลปะในนิทรรศการ The Grandmaster : After Tang Chang ที่เป็นเสมือนหนึ่งการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ผู้นี้
/
“ยูบาซาโตะ เดินผ่านตามแนวต้นสนขึ้นไปบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไปก่อสร้างสถูปดิน และมักจะโดน ทีมงานช่างบ่นทุกวันเกี่ยวกับการก่อสร้าง ที่มีเวลาอยู่อย่างจํากัด เขาเพียงได้แต่ตอบไปว่า .. บุญกุศล นําพาและเวลามีเท่านี้ ขอให้ทําสิ่งดีๆ ให้เต็มที่ ต่อสถานที่บนภูเขานี้เถอะ อย่าบ่นไปเลย เราอาจจะ พบกันแค่ประเดี๋ยวเดียว แต่สิ่งเหล่านี้จะอยู่ต่อไปอีกหลายร้อยปี ... ทีมงานทุกคนเพียงส่งรอยยิ้มที่ เหนื่อยล้ากลับมา ก็เพราะต้องทนร้อนทนแดด และเปียกฝนสลับกันไป จากสภาวะโลกเดือด ที่ทุกคน ต่างพูดถึง แต่ก็จะมาจากใคร ก็จากเราเองกันทั้งนั้น ... แม้จะมาทํางานบนภูเขาก็จริง แต่เขาก็ยังคง คิดถึงเหตุการณ์ภัยน้ําท่วมดินโคลนถล่มที่ผ่านมา อีกทั้งความเสียหายต่อข้าวของที่ต้องย้ายออกจาก บ้านเช่าและค่าใช้จ่ายหลังน้ําท่วมที่ค่อนข้างเยอะพอควร และยิ่งในสภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจแบบนี้...
/
หากเราเปรียบสงคราม และอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษย์ อย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ และการล่าอาณานิคม เป็นเหมือนการสร้างบาดแผลและความแตกร้าวต่อมวลมนุษยชาติ ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งในการเยียวยาซ่อมแซมบาดแผลและความแตกร้าวเหล่านั้น แต่การเยียวยาซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องลบเลือนบาดแผลและความแตกร้าวให้สูญหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น หากแต่การเหลือร่องรอยแผลเป็นและรอยแตกร้าวที่ถูกประสาน ก็เป็นเสมือนเครื่องรำลึกย้ำเตือนว่า สิ่งเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นอีกซ้ำเป็นครั้งที่สอง เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในนิทรรศการ “Urgency of Existence” นิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในเอเชียของ คาแดร์ อัทเทีย (Kader Attia) ศิลปินชาวฝรั่งเศส - แอลจีเรีย ผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เขาเป็นหัวหอกในการทำงานศิลปะผ่านสื่ออันแตกต่างหลากหลาย ที่นำเสนอแนวคิดหลังอาณานิคม และการปลดแอกอาณานิคม จากมุมมองของตัวเขาเอง ที่มีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมของผู้ที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ผ่านมา
/
ในช่วงปลายปี 2024 นี้ มีข่าวดีสำหรับแฟนๆ ศิลปะชาวไทย ที่จะได้มีโอกาสชมผลงานศิลปะร่วมสมัยของเหล่าบรรดาศิลปินทั้งในประเทศและระดับสากล ยกขบวนมาจัดแสดงผลงานกันในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดยในเทศกาลศิลปะครั้งนี้นำเสนอผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ภายใต้ธีมหลัก “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่ได้แรงบันดาลใจจากเทพี ไกอา (Gaia) ในตำนานเทพปรณัมกรีก หรือพระแม่ธรณีผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันสอดประสานกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ
/
เมื่อพูดถึงชื่อ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย มิตรรักแฟนหนังหลายคนน่าจะรู้จักเขาในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยผู้เปี่ยมไปด้วยความเป็นศิลปะที่สุด ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่หมายรวมถึงในสากลโลก ยืนยันด้วยรางวัลสำคัญจากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกหลายต่อหลายรางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัลยอดเยี่ยมในการฉายสายรอง (Un Certain Regard) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) (2002) และรางวัลขวัญใจคณะกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) (2004) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ในปี 2002 และ 2004, หรือภาพยนตร์เรื่อง แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century) (2006) ของเขาก็ได้รับเลือกให้เข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ในปี 2006 และคว้ารางวัลกรังปรีซ์จากเทศกาลภาพยนตร์ Deauville Asian Film Festival ในปี 2007, และภาพยนตร์เรื่อง รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendor) (2015) ของเขาก็คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากเวที Asia Pacific Screen Awards ในปี 2015, ที่สำคัญที่สุด อภิชาติพงศ์ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคำ (Palm d’or) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ครั้งที่ 63 ในปี 2010 จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) (2010), และล่าสุด ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Memoria (2021) ยังคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74 ในปี 2021 มาครองได้อีกครั้ง อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้นจากสื่อมวลชนนานาชาติ
/
เมื่อพูดถึงเกาหลีใต้ หลายคนอาจจะนึกถึง เคป็อป หรือซีรีส์เกาหลี แต่ในความเป็นจริง เกาหลีใต้ไม่ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเพียงแค่นั้น หากแต่ เคอาร์ต หรือวงการศิลปะเกาหลีก็มีอะไรที่โดดเด่นน่าสนใจเหมือนกัน ดังเช่นที่เรามีโอกาสได้ไปชมนิทรรศการศิลปะที่น่าสนใจของศิลปินเกาหลีใต้ ที่บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาจัดแสดงในบ้านเรา
We use cookies, localStorage and other technologies (collectively, "cookies") to recognise your browser or device, learn more about your interests, and provide you with essential features and services and for additional purposes. ( see details )